[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 08:02:46 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ที่มาของการสวดปาฏิโมกข์  (อ่าน 1870 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5436


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 15 เมษายน 2564 15:13:37 »


ภาพจิตรกรรม พระสงฆ์สวดปาฏิโมกข์

การสวดปาฏิโมกข์

“การสวดปาฏิโมกข์” เป็นการทบทวนศีล ๒๒๗ ข้อ ของพระภิกษุ เป็นทั้งสังฆกรรมตามพระวินัย  และเป็นกิจสงฆ์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง ผู้ที่บวชในพระพุทธศาสนาควรมีโอกาสได้ร่วมฟัง โดยจะมีการสวดทุก ๑๕ วัน คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑๕ ในเดือนเต็ม หรือวันแรม ๑๔ ค่ำ ในเดือนขาด นอกจากนั้น ยังอนุญาตให้ทำอุโบสถเป็นพิเศษในคราวที่ภิกษุแตกความสามัคคี เมื่อภิกษุกลับมาสามัคคีกันอีกครั้ง แม้จะยังไม่ถึงวันปาฏิโมกข์ ก็ให้สวดปาฏิโมกข์ได้ เรียกว่า สามัคคีอุโบสถ การฟังปาฏิโมกข์เป็นกิจของสงฆ์ที่สำคัญ และเป็นสังฆกรรมเฉพาะพระภิกษุเท่านั้น เพราะว่า ปาติโมกข์ที่ยกเอาพระวินัยขึ้นสวดนี้ เรียกว่า วินัยปาติโมกข์ ซึ่งก็คือ คัมภีร์รวมวินัยสงฆ์ ๒๒๗ ข้อ แม้สามเณรก็เข้าร่วมไม่ได้ เพราะเณรมีศีลเพียง ๑๐ ข้อ  และไม่มีเหตุจำเป็นจะหยุดสวดปาฏิโมกข์ในระหว่างไม่ได้   

เหตุจำเป็นที่ทำให้ต้องหยุดสวดปาฏิโมกข์มี ๑๐ อย่าง คือ
        ๑.พระราชาเสด็จมา  ให้เลิกสวดปาฏิโมกข์เพื่อจะรับเสด็จได้
        ๒.โจรมาปล้น  เลิกสวดปาฏิโมกข์เพื่อหนีภัยได้
        ๓.ไฟไหม้ เลิกสวดปาฏิโมกข์เพื่อไปดับไฟได้
        ๔.น้ำหลากมา เลิกสวดปาตฏิโมกข์เพื่อหนีน้ำได้ ถ้าสวดกลาง แจ้ง เกิดฝนตกในระหว่าง เลิกได้เหมือนกัน
        ๕.คนมามาก เลิกสวดปาฏิโมกข์เพื่อไปต้อนรับปฏิสันถาร
        ๖.ผีเข้าภิกษุ เลิกสวดปาฏิโมกข์เพื่อขับผีออกจากภิกษุ
        ๗.สัตว์ร้ายเช่น เสือ เป็นต้น เข้ามาในอาราม เลิกสวดปาฏิโมกข์เพื่อไล่สัตว์ได้
        ๘.งูร้ายเลื้อยเข้ามาในที่ชุมนุม ก็เหมือนกัน
        ๙.ภิกษุอาพาธด้วยโรคร้ายขึ้นในที่ชุมนุมสงฆ์ อันจะเป็นอันตรายแก่ชีวิต เลิกสวดปาฏิโมกข์เพื่อช่วยแก่ไขได้ ถ้ามีเหตุอันจะเป็นอันตรายเกิดขึ้นในที่นั้นก็หยุดได้
      ๑๐.มีอันตรายแก่พรหมจรรย์  เช่น มีใครมาเพื่อจับภิกษุรูปใดรูปหนึ่งให้เลิกสวดปาฏิโมกข์ เพราะความสับสนอลหม่าน

ทรงตรัสห้ามมิให้สวดปาฏิโมกข์โดยมีคฤหัสถ์ปนอยู่ในท่ามกลางหมู่ภิกษุสงฆ์ หมายความว่าไม่พึงสวดปาติโมกข์ในบริษัทที่มีคฤหัสถ์ปนอยู่ด้วย  รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฎ

ในระหว่างที่กำลังสวดปาฏิโมกข์ หากมีผู้มิใช่ภิกษุเข้ามาในหัตถาสต้องเริ่มสวดปาฏิโมกข์ใหม่ เพราะเป็นสังฆกรรมวิบัติ

ความจริงมีข้อห้ามอีกหลายข้อ แต่ไม่ได้ขอกล่าวในที่นี้ แต่ถ้าโยมนั่งฟังพระสวดปาฏิโมกข์แล้วเข้าใจความหมาย ก็นับว่าได้ทั้งบุญและอานิสงค์ เพราะการสวดปาฏิโมกข์จะเป็นภาษาบาลี หรือภาษามคธ พระสงฆ์ที่เข้าร่วมฟังปาฏิโมกข์จะรู้ได้เฉพาะตน หรือพระสงฆ์ที่มีเปรียญธรรม ๕ ประโยคขึ้นไปก็อาจฟังรู้เรื่อง

ที่มาของการสวดพระปาฏิโมข์
ในการเสด็จจำพรรษาที่พระเวฬุวันมหาวิหาร แคว้นมคธ พระเจ้าพิมพิสารได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วกราบทูลว่าสำนักอื่น ๆ มีการลงสวดอุโบสถกรรมกัน ขอให้พระพุทธองค์ทรงมีพุทธานุญาตให้ลงสวด เพื่อความเลื่อมใสศรัทธาแห่งพุทธบริษัท พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาว่ามีประโยชน์จึงทรงบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์ลงอุโบสถกรรมสวดพระปาฏิโมกข์ หรือ ศีล ๒๒๗ ข้อ ในวันอุโบสถ วันพระจันทร์เพ็ญ และวันพระจันทร์ดับ คือวันพระข้างขึ้น ๑๕ ค่ำ และข้างแรม ๑๕ ค่ำ

พระพุทธเจ้าได้ประทับเป็นประธานหมู่พระสงฆ์ แล้วก็ทรงแสดงพระโอวาทปาติโมกข์ขึ้นด้วยพระองค์เองทุก ๑๕ วัน  ทรงทำอุโบสถร่วมด้วยภิกษุสงฆ์แล้วก็เรียกว่า ปาริสุทธิอุโบสถ คือ เป็นอุโบสถที่บริสุทธิ์ พระพุทธเจ้าก็ทรงบริสุทธิ์ พระสงฆ์ก็บริสุทธิ์ จนถึงมีเรื่องที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมามีเล่าไว้ในบาลีวินัย (วิ.จุลฺล. ๗/๒๘๓/๔๔๗-๘; ขุ.อุ. ๒๕/๑๕๐/๑๑๖.)ว่า พระสงฆ์มาประชุมพร้อมกันแล้ว พระพุทธเจ้าก็ไม่เสด็จลงมา จึงถึงเวลา ๑ ยาม พระอานนท์ก็ไปกราบทูลเตือนว่า ยามหนึ่งแล้วพระมานั่งรออยู่นานแล้วขอให้พระองค์ท่านเสด็จลงทรงสวดพระปาติโมกข์เถิด  พระพุทธเจ้าก็ไม่เสด็จลง ครั้นถึงยามที่ ๒ พระอานนท์ก็ไปกราบทูลเตือนอีก พระพุทธเจ้าก็ไม่เสด็จลง ครั้นถึงยามที่ ๓ พระอานนท์ก็ไปกราบทูลเตือนอีก พระพุทธเจ้าก็ไม่เสด็จลง แต่ว่าในยามที่ ๓ นี้ได้มีพระพุทธดำรัสว่า บริษัทไม่บริสุทธิ์ คือว่ามีพระทุศีลมาปนอยู่ด้วย พระโมคคัลลานะจึงได้เที่ยวตรวจดู เมื่อไปพบภิกษุที่ทุศีลก็บอกให้ออกไปจากที่ประชุม ผู้นั้นก็ไม่ยอมออกไป ต้องฉุดแขนออกไป แต่ก็สว่างเสียแล้ว พ้นเวลาที่จะทำอุโบสถ ก็เป็นอันว่าในอุโบสถนั้นไม่ได้ทำ พระพุทธเจ้าจึงทรงปรารภเรื่องนี้ (วิ.จุลฺล.๗/๒๙๒/๔๖๖) ตรัสให้พระสงฆ์ยกเอาพระวินัยที่ทรงบัญญัติขึ้นไว้มาสวดเป็นปาติโมกข์แทน และให้พระสงฆ์สวดกันเอง พระพุทธเจ้าไม่เสด็จมาทำอุโบสถร่วมด้วยอีกต่อไป เพราะฉะนั้น จึงมีการยกเอาวินัยขึ้นสวดเป็นปาติโมกข์ทุกๆ ๑๕ วัน สืบต่อมาจนบัดนี้ ปาติโมกข์ที่ยกเอาพระวินัยขึ้นสวดนี้ เรียกว่า วินัยปาติโมกข์ ซึ่งก็คือ คัมภีร์รวมวินัยสงฆ์ ๒๒๗ ข้อ ซึ่งต้องสวดทบทวนในที่ประชุมสงฆ์หรือการลงอุโบสถทุกกึ่งเดือนในวันพระ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.281 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 12 เมษายน 2567 18:55:09