[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 18:07:39 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ - ชาวสยามผูกคอตายใต้ต้นโพธิ์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา  (อ่าน 492 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2327


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 89.0.4389.128 Chrome 89.0.4389.128


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 21 เมษายน 2564 15:04:14 »


                    ภาพลายเส้นวัดและพระพุทธรูปสมัยอยุธยา จากจดหมายเหตุลา ลูแบร์

บันทึก “ลา ลูแบร์” เผย ชาวสยามผูกคอตายใต้ต้นโพธิ์ ถวายเป็นพุทธบูชา
เผยแพร่ : ศิลปวัฒนธรรม
วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ.2564

ลา ลูแบร์ (Simon de La Loubère) ราชทูตฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในสมัยรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ ได้บันทึกเกี่ยวกับชาวสยามผูกคอตายใต้ต้นโพธิ์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ความว่า

“ยิ่งกว่านั้น ชาวชมพูทวีปทั้งปวงคิดอยู่ว่า การฆ่าตัวเองตายนั้นมิชั่วแต่เป็นสิ่งที่พึงอนุญาตให้กระทำได้ เพราะเขาเชื่อว่าเขาเป็นเจ้าของตัวของเขาเองเท่านั้น แต่หากเป็นความเสียสละอันมีประโยชน์แก่วิญญาณ ทำให้ได้บรรลุถึงซึ่งคุณธรรมชั้นสูงและความบรมสุข

ด้วยประการฉะนี้ในลางครั้งจึงมีการผูกคอตายเป็นพุทธบูชากับต้นไม้ชนิดหนึ่งซึ่งเขาเรียกเป็นภาษาบาลีว่า พระศรีมหาโพธิ (prá si mahà Pout) และในภาษาสยามเรียกว่า ต้นโพ (Top pô). ศัพท์ในภาษาบาลีนี้ดูเหมือนจะมีความหมายว่า ประเสริฐ หรือต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระพุธผู้ยิ่งใหญ่ (Grand Mercure) อันนามว่าพระพุธนี้เป็นนามวันพุธ (mercredi) ในภาษาบาลี. ชาวยุโรปเรียกต้นไม้นี้ว่า ต้นไม้อุโบสถ (Arbre des Pagodes) เพราะชาวสยามปลูกต้นไม้ชนิดนี้ไว้หน้าพระอุโบสถ.

ต้นไม้ชนิดนี้เติบโตขึ้นในป่าเช่นเดียวกับต้นไม้ชนิดอื่นๆ ในประเทศนั้น แต่เอกชนคนใดจะนพเอาไปปลูกไว้ในสวนของตนมิได้ และเนื้อไม้นี้แลที่ใช้แกะทำเป็นพระปฏิมากรพระสมณโคดมในเมื่อต้องการสร้างขึ้นด้วยไม้ แต่ศรัทธาอันชักนำให้ชาวสยามไปผูกคอตายที่ต้นโพในลางครั้งนั้น มักจะมีสาเหตุเนื่องมาจากมีความเบื่อหน่ายในชีวิตเป็นประมาณ หรือว่าด้วยความหวาดกลัวอันใหญ่หลวง เช่นกลัวว่าจะได้รับพระราชอาญาเป็นต้น.”

นอกจากนี้ ลา ลูแบร์ ยังบันทึกถึงเหตุการณ์ที่ชาวมอญ (พะโค) เผาตัวตายที่วัดสามพิหาร (วัดสามวิหาร) ความว่า

“เมื่อ 6 หรือ 7 ปีที่แล้วมานี้ ชาวพะโคคนหนึ่งได้เผาตัวเองภายในโบสถ์แห่งหนึ่ง ซึ่งชาวพะโคที่อยู่ในประเทศสยามเรียกว่า สามพิหาร (Sam Pihan) เขานั่งขัดสมาธิแล้วเอาน้ำมันชนิดหนึ่งทาตัวเสียหนาเตอะ หรือจะพูดให้ถูกก็เป็นน้ำยางชนิดหนึ่งแล้วก็จุดไฟขึ้น มีผู้เล่ากันว่าชาวพะโคผู้นั้นมีความไม่พอใจในครอบครัวของตน ที่แม้กระนั้นก็ยังมาร้องห่มร้องไห้อยู่เป็นหนักหนารอบ ๆ ตัว

เมื่อถูกไฟครอกและเนื้อตัวไม้เกรียมไปแล้ว ก็มีผู้เอาปูนชนิดหนึ่งมาพอกกะเลวร่างของผู้ตายเข้าไว้ นำเอาไปเป็นแม่พิมพ์หล่อรูปขึ้นแล้วลงรักผิดทอง นำไปประดิษฐานไว้บนแท่นชุกชีเบื้องปฤษฏางค์พระปฏิมากรแห่งพระสมณโคดม เขาเรียกนักบุญจำพวกนี้ว่า พระเที่ยงแท้ (prá tian tée) เที่ยง หมายความว่า แท้ (véritable) แท้ หมายความว่า แน่นอน (assurément). ชาวสยามเข้าใจศีลองค์แรกของเขาด้วยประการฉะนี้แล.”

แม้ ลา ลูแบร์ จะไม่ได้กล่าวถึงสาเหตุที่แท้จริงที่ชาวมอญผู้นี้เผาตัวตาย แต่จากการที่มีการหล่อรูปลงรักปิดทองนำประดิษฐานให้สักการะนี้แล้ว ก็อาจเชื่อได้ว่าชาวมอญผู้นี้มุ่งเผาตัวตายเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา

อย่างไรก็ตาม จากบันทึกของ ลา ลูแบร์ จะเห็นว่า สาเหตุของการสละชีพเพื่อพระพุทธศาสนานี้มิได้มีเหตุปัจจัยมาจากเรื่องพระพุทธศาสนาแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ตามที่ ลา ลูแบร์ ได้อธิบายให้เห็นถึงบริบทแวดล้อมของเหตุการณ์เหล่านั้น กล่าวคือ การผูกคอตายใต้ต้นโพธิ์ก็มีเหตุปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากความเบื่อหน่ายในชีวิตหรือการหลบหนีพระราชอาญา ดังที่บันทึกว่า “แต่ศรัทธาอันชักนำให้ชาวสยามไปผูกคอตายที่ต้นโพในลางครั้งนั้น มักจะมีสาเหตุเนื่องมาจากมีความเบื่อหน่ายในชีวิตเป็นประมาณ หรือว่าด้วยความหวาดกลัวอันใหญ่หลวง เช่นกลัวว่าจะได้รับพระราชอาญาเป็นต้น.”

ส่วนเรื่องชาวมอญเผาตัวตายก็มีเหตุปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากชีวิตส่วนตัว ดังที่บันทึกว่า “มีผู้เล่ากันว่าชาวพะโคผู้นั้นมีความไม่พอใจในครอบครัวของตน ที่แม้กระนั้นก็ยังมาร้องห่มร้องไห้อยู่เป็นหนักหนารอบ ๆ ตัว”



อ้างอิง : มองซิเออร์ เดอ ลา ลูแบร์. (2548). จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม. สันต์ ท. โกมลบุตร (แปล). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา.

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 เมษายน 2564 15:08:20 โดย ใบบุญ » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
พลิกแฟ้ม จดหมายเหตุ
สุขใจ ห้องสมุด
Kimleng 2 2058 กระทู้ล่าสุด 18 กันยายน 2560 18:09:58
โดย Kimleng
จดหมายเหตุ ของพระภิกษุฟาเหียน หลวงจีนผู้จาริกไปอินเดียก่อนพระถังซัมจั๋ง
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 406 กระทู้ล่าสุด 28 พฤศจิกายน 2565 13:42:03
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.247 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 14 เมษายน 2567 20:12:08