[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
27 เมษายน 2567 19:01:48 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สังโยชน์แบ่งไว้ ๒ ระดับ : พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จ.ชลบุรี  (อ่าน 646 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1017


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2564 16:25:28 »



สังโยชน์แบ่งไว้ ๒ ระดับ
โดย พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญานสังวรารามวรมหาวิหาร อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 

พระอนาคามี ได้ละสังโยชน์ ๕ ตัว สังโยชน์ ๓ ตัวแรกพระโสดาบันละได้ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส แล้วพระสกิทาคามีก็มาเพิ่มอีก ๒ ตัว ธรรมอีก ๒ ตัวคือ กามราคะกับปฏิฆะความหงุดหงิดให้เบาบางลง แต่ยังไม่หมด พอพระอนาคามีก็ทำให้ปฏิฆะ กามราคะหมดไป ก็ถือว่าได้ละสังโยชน์ ๕ ตัว เขาเรียกว่าสังโยชน์เบื้องต่ำ

สังโยชน์นี้แบ่งไว้ ๒ ระดับ ระดับต่ำกับระดับสูง ยังมีสังโยชน์อีก ๕ ตัวในระดับสูง สังโยชน์ระดับสูงนี้มีอะไร มีรูปราคะ ความยินดีในรูปฌาน อรูปราคะความยินดีในอรูปฌาน มานะการถือตัว อุทธัจจะความฟุ้งซ่าน อวิชชาความหลงหรือความที่ยังไม่เห็นอริยสัจที่ยังมีหลงเหลืออยู่ภายในจิต เห็นอริยสัจในขันธ์ ๕ ในร่างกาย เห็นอริยสัจแต่ยังไม่เห็นอริยสัจในจิต ยังมีความรักความชอบในความรู้สึกนึกคิดอยู่ ยังชอบอารมณ์ ยังรักอารมณ์ ยังอยากได้อารมณ์ดีๆ ภายในจิต

รูปราคะก็ติดรูปฌาน พอไม่ได้เสพร่างกาย พอปล่อยวางร่างกายได้ ก็ไปเสพรูปฌานแทน เพราะต้องใช้รูปฌานในการปล่อยวางสังโยชน์เบื้องต่ำ ผู้ที่จะละสังโยชน์เบื้องต่ำนี้ได้ต้องเข้าฌานได้ก่อน ได้รูปฌานหรืออรูปฌานก่อน เพราะจะได้ใช้รูปฌานหรืออรูปฌานนี้เป็นเครื่องอยู่แทนการใช้ร่างกายเป็นเครื่องอยู่ แทนที่จะใช้ร่างกาย คือ ตาหูจมูกลิ้นกายเสพรูปเสียงกลิ่นรส ก็เปลี่ยนมาใช้รูปฌานหรืออรูปฌานที่ได้จากการเจริญสติ พอเลิกเสพกามได้ เลิกเสพรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะได้ ก็เลยมาติดรูปฌานอรูปฌาน

รูปฌานอรูปฌานก็เป็นเหมือนร่างกาย คือเป็นไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง มีเกิดมีดับ มีเจริญมีเสื่อม ถ้าไปติดมันก็เหมือนติดรูปเสียงกลิ่นรส เวลาได้เสพรูปเสียงกลิ่นรสก็มีความสุข เวลาไม่ได้เสพรูปเสียงกลิ่นรสก็จะเกิดความทุกข์ขึ้นมา วิธีที่จะทำให้ไม่ติดไม่ทุกข์กับรูปฌานอรูปฌานก็คือ ต้องไม่เสพมัน เวลาอยากเข้ารูปฌานก็ไม่เข้า เวลาอยากเข้าอรูปฌานก็ไม่เข้า ให้อยู่กับความเฉยๆ ของใจ ให้หยุดให้ฝืนความอยากเสพ พอฝืนความอยากได้ด้วยปัญญา เพราะเห็นว่าถ้าไปเสพก็จะติด ติดก็ยังจะไม่หลุด ก็ยังจะต้องกลับมาเกิดในไตรภพอีกต่อไป
ถ้าไม่เสพไม่ติด ต่อไปความอยากเสพมันจะหยุดมันจะหายไป แล้วใจก็จะเป็นเหมือนคนที่หลุดจากการติดบุหรี่ ติดสุรา ติดผู้หญิง ติดผู้ชายนี่ ต้องเลิกความอยากไม่ทำตามความอยาก เพราะเห็นโทษว่าการไปทำตามความอยากต้องพาไปสู่ความทุกข์ต่อไป เพราะสิ่งที่เราเสพเราติดนี้มันไม่เที่ยง เป็นของชั่วคราว เราไปสั่งให้มันเที่ยงไม่ได้ ทำให้มันเที่ยงไม่ได้ มันเป็นอนัตตา มันต้องเสื่อม มันเจริญแล้วเดี๋ยวมันต้องเสื่อม สิ่งใดมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมมีการดับไปเป็นธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ไม่ว่าจะเป็นร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นรูปฌานหรืออรูปฌาน เป็นไตรลักษณ์เหมือนกัน ถ้าไปเสพแล้วมันจะติด แล้วจะทุกข์เวลาที่มันเสื่อมเวลาที่มันไม่ได้เสพ ถ้าไม่ไปเสพไม่ไปติดมัน ก็จะไม่ทุกข์ มันจะเจริญหรือมันจะเสื่อม มันก็ไม่เกี่ยวข้องกับจิตใจของผู้ไม่เสพอีกต่อไป เหมือนผู้ที่ไม่เสพสุราไม่เสพบุหรี่ เวลาไม่มีสุราไม่มีบุหรี่เสพ ก็ไม่เดือดร้อน แต่ผู้ที่ยังเสพสุรายังเสพบุหรี่อยู่ เวลาที่ไม่ได้เสพมันจะเดือดร้อน

พิจารณาด้วยไตรลักษณ์ ก็จะปล่อยรูปราคะได้ อรูปราคะได้ ส่วนมานะก็คือการถือตัว ถือว่าเราสูงกว่าเขาบ้าง ต่ำกว่าเขาบ้าง เท่าเขาบ้าง อันนี้ก็เป็นความคิดเฉยๆ ความจริงเราเป็นเท่ากันหมด เราเป็นเหมือนกันหมด เราเป็นผู้รู้ผู้คิดเป็นจิตวิญญาณที่ท่องเที่ยวอยู่ในไตรภพ แล้วก็อาศัยบุญบาปที่ทำให้เราสูงทำให้เราต่ำ คนทำบุญก็จะได้สูง คนทำบาปก็จะได้ต่ำ ได้เกิดในที่สูงเกิดในที่ต่ำ แต่นั่นเป็นเพียงสมมุติเท่านั้นเอง ความจริงแล้วจิตก็เป็นจิตเหมือนกันทุกคน ไม่มีจิตไหนของใครสูงกว่ากันต่ำกว่ากัน เพราะจิตไม่มีอัตตาตัวตน
ตัวที่เป็นอัตตาตัวตนคือเกิดจากความรู้สึกนึกคิดนั่นเอง คือสังขารสัญญาปรุงแต่งขึ้นมา เมื่อพิจารณาด้วยปัญญาก็จะรู้ทัน รู้ว่าเป็นมายาเป็นของปลอมไม่ใช่ของจริง แต่ก็ไม่ปฏิเสธ เมื่อยังอยู่ในโลกของมายาอยู่ ก็ไม่ไปลบหลู่ ไม่เชื่อแต่ไม่ลบหลู่ รู้ทันแต่ไม่ลบหลู่ รู้ว่าเป็นสมมุติเขาสมมุติให้เราเป็นหญิงเป็นชาย เป็นคนรวยเป็นคนจนเป็นคนฉลาดเป็นคนโง่ เป็นคนดีเป็นคนชั่ว ก็เคารพกฎของสมมุติไป แต่รู้ว่าความจริงการที่เป็นตัวตนเหล่านี้เป็นเหมือนตัวละครเท่านั้นเอง ผู้ที่แสดงละครนี่ไม่ได้เป็นไปตามตัวละคร ผู้ที่เป็นตัวแสดงก็คือจิตเป็นผู้รู้ผู้คิด เหมือนกันทุกคน ก็จะไม่ไปถือตัวว่าใหญ่กว่าคนนั้นต่ำกว่าคนนี้หรือเท่าคนนั้น แต่รู้อยู่ภายในใจแต่ไม่แสดงออกมาทางภายนอก ทางภายนอกก็ว่าไปตามกฎของสมมุติเขา เขาเป็นพี่ก็ต้องเคารพเขา เขาเป็นน้องก็ต้องเอ็นดูเขาไปตามฐานะของสมมุติไป แต่จะไม่มีความทุกข์ถ้าเป็นพี่แล้วเขาไม่มาเคารพเราก็ไม่เดือดร้อน เขาไม่เคารพเราก็ไม่เป็นไร เพราะเรากับเขาก็ไม่ต้องเคารพกันอยู่แล้ว ที่เคารพกันก็เคารพที่สมมุติเท่านั้นเอง เขาเป็นน้องเขาก็ต้องเคารพพี่ แต่เขาไม่เคารพพี่ก็เป็นเรื่องของเขา เขาเป็นลูกเขาไม่เคารพพ่อไม่เคารพแม่ก็เป็นเรื่องของเขา

คนที่รู้ทันสมมุติแล้วจะไม่ทุกข์ในฐานะของตน เป็นใหญ่เป็นโตไม่มีใครเขาให้เกียรติก็ไม่ทุกข์ เป็นหัวหน้าสั่งลูกน้องมันไม่ฟังก็ไม่ทุกข์ มันไม่ฟังก็เรื่องของมัน เราปลดมันได้ก็ปลดมันไป เปลี่ยนได้ก็เปลี่ยนไป แต่ไม่ต้องไปทุกข์กับมันเพราะเราไปบังคับเขาไม่ได้ เขาจะเคารพเราชอบเราชังเรานี้เราไปห้ามเขาไม่ได้ ใจจะไม่วุ่นวายไปกับเรื่องของสมมุติต่างๆ ละมานะการถือตัวได้ ละอัตตาตัวตนได้รู้ว่าอัตตาตัวตนนี้เป็นสมมุติ เป็นมายาเป็นของปลอม ของจริงนี้เป็นแต่ผู้รู้ผู้คิดเท่านั้นเอง เป็นจิตตวิญญาณที่ล่องไปล่องมาในไตรภพตามอำนาจของบุญของบาป ตามอำนาจของกิเลสตัณหา ก็จะไม่มีการถือเนื้อถือตัวอีกต่อไป

แล้วก็เหลืออวิชชากับอุทธัจจะ อุทธัจจะก็เกิดขึ้นจากการที่พิจารณาค้นหาอวิชชา นี่ว่าอวิชชามันเป็นอะไร ยิ่งค้นยิ่งเครียดเพราะค้นแล้วก็ไม่เจอ ไม่รู้ว่ามันเป็นอะไร ในที่สุดก็ต้องหยุดอุทธัจจะ หยุดการหยุดค้น พอหยุดค้นปั๊บก็จะเข้าใจ อ๋อ ความอยากนี่เองที่ทำให้เราเครียดอยากหาอวิชชาอยากรู้ว่าอวิชชาเป็นใครเป็นอะไรอย่างไร พอหยุดปั๊บนี่ หยุดค้นหยุดคิดปั๊บจิตสงบปั๊บ กลับมาสู่ที่จุดที่ควรจะเป็นคือปล่อยวาง พอจิตปล่อยวางก็ปล่อยทุกสิ่งทุกอย่าง ปล่อยความอยากต่างๆ ที่ยังมีอยู่ภายในจิตให้หมดไปได้ ก็เห็นอริยสัจขึ้นมาว่าที่ยังเครียดอยู่ยังฟุ้งซ่านอยู่ก็เพราะยังมีความอยาก เช่น ยังอยากบรรลุอยู่ รู้ว่าตอนนั้นมันใกล้จะบรรลุแล้วแต่มันยังรู้สึกมันยังขาดๆ เกินๆ อยู่ มันยังไม่เข้าล็อคอย่างนั้น ไม่รู้ว่ามันเป็นอะไร ทำไปทำมาลองผิดลองถูกเดี๋ยวก็เข้าใจเองเดี๋ยวก็จะเห็นมาสรุปที่ตัวความอยากนี่เอง ความอยากให้ทุกสิ่งทุกอย่างมันเข้าร่องเข้ารอย ยิ่งอยากมันยิ่งไม่เข้าใหญ่พอหยุดอยากปั๊บมันข้าวของมันเองโดยอัตโนมัติ ไอ้ตัวที่อยากนี่มันมาทำให้ไม่เข้าล็อคกัน จิตไม่เข้าร่องเข้ารอยเข้าสู่ความสงบความปล่อยวางอย่างแท้จริง

ในที่สุดมันก็จะสำเร็จ ในที่สุดจิตก็จะลงตัว ก็เหมือนกับทำครอสเวิร์ดพัซเซิล (crossword puzzle) ทำไอ้พวกพัซเซิลที่มีภาพต่างๆ จิ๊กซอว์พัซเซิล (jigsaw puzzle) เดี๋ยวเจออันสุดท้ายก็รู้เองว่า อ้อ ใส่ตรงนี้ปุ๊บภาพก็จะปรากฏขึ้นมาสมบูรณ์ทันที การปฏิบัติของจิตก็เป็นในลักษณะนั้น จิตมันยังต้องการรับการจัดการให้มันเข้าร่องเข้ารอย จะเข้าร่องเข้ารอยก็ต้องอาศัยปัญญาที่จะคอยตรวจดูเช็คดู เอ๊ะ เข้าตรงนี้ก็ยังเข้าไม่ได้ เข้าแบบนี้ยังเข้าไม่ได้ ต้องเข้าแบบนั้น เอ้า ลองเข้า วิธีเข้าที่ถูกต้องก็คือต้องหยุดความอยาก ต้องปล่อยวาง อยู่เฉยๆ ปล่อยให้มันเข้าล็อคของมันเอง ไม่ต้องไปจับ ตัวสุดท้ายนี้ไปจับมันไม่ได้ต้องให้มันเข้าล็อคของมันเอง เพราะจับก็แสดงว่ายังมีตัวตนอยู่ ยังมีตัวจัดการอยู่ ต้องจัดการตัวจัดการนี้ให้ได้ เราปฏิบัติมาเราใช้ตัวจัดการนี้มาได้ทุกขั้น แต่พอมาถึงขั้นสุดท้ายนี้ต้องหยุดไอ้ตัวจัดการนี้ เพราะไอ้ตัวจัดการนี้เป็นตัวปัญหาไปซะแล้ว เมื่อก่อนเป็นเครื่องมือในการจัดการกับปัญหาต่างๆ พอมาถึงขั้นสุดท้าย เอ๊ะ ไอ้ตัวจัดการนี้กลับเป็นตัวปัญหาเสียแล้ว ต้องปล่อยต้องหยุดไอ้ตัวจัดการนี้ พอหยุดไอ้ตัวจัดการนี้ปั๊บจิตมันก็เข้าร่องเข้ารอยของมันไปทันที มันก็รู้ว่าตอนนี้จิตเข้าสู่ความสมบูรณ์แล้ว ไม่มีความบกพร่องอีกต่อไปภายในจิต ไม่มีความอยากไม่มีความหิวโหยไม่มีความทุกข์กับอะไรอีกต่อไป มีแต่ความอิ่มตลอดเวลา เป็น “ปรมัง สุขัง” ตลอดเวลา
 
นี่คือขั้นละอวิชชา ขั้นละสังโยชน์เบื้องบน ก็ละรูปราคะละอรูปราคะ แล้วก็มาละมานะแล้วก็มาละอวิชชาด้วยการให้มันปล่อยวาง ให้หยุดจัดการกับจิต แล้วก็ตัวฟุ้งซ่านมันก็จะหยุด จิตก็จะเข้าลงล็อคทันที จิตก็รู้ว่าตอนนี้ไม่ต้องทำอะไรอีกแล้ว ไม่ต้องขุดคุ้ยไม่ต้องจัดการกับตัวจิตอีกต่อไป จิตมันสมบูรณ์มันอยู่ของมันเองได้ไม่ต้องไปทำอะไรให้กับมันอีกแล้ว เมื่อก่อนต้องช่วยมันต้องช่วยกำจัดกิเลสตัวนั้นตัวนี้ที่ทำให้จิตใจมันวุ่นวายต่างๆ แต่พอมาถึงขั้นสุดท้ายนี้ต้องมาจัดการกับตัวจัดการให้มันหยุดจัดการ คือไล่ผู้จัดการออก ผู้จัดการเป็นตัวปัญหาของบริษัทเสียแล้ว ทำไมบริษัทไม่สงบ พอไล่ผู้จัดการออกไปปั๊บบริษัทก็สงบ นี่คือขั้นตอนของการปฏิบัติธรรม

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
สร้างธรรมะให้เป็นที่พึ่งกับใจ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จ.ชลบุรี
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
Maintenence 0 941 กระทู้ล่าสุด 02 กันยายน 2562 16:17:35
โดย Maintenence
การทำบุญไม่ได้เป็นการสูญเปล่า พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จ.ชลบุรี
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
Maintenence 0 908 กระทู้ล่าสุด 14 กันยายน 2562 09:54:00
โดย Maintenence
เจริญมรรคให้สมบูรณ์ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จ.ชลบุรี
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
Maintenence 0 805 กระทู้ล่าสุด 18 กันยายน 2562 18:32:14
โดย Maintenence
การฝึกฝนอบรมจิตใจ : พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จ.ชลบุรี
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
Maintenence 0 747 กระทู้ล่าสุด 08 ตุลาคม 2562 16:35:13
โดย Maintenence
ปัญหาของคนที่ไม่มีธรรมะ - พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จ.ชลบุรี
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
Maintenence 0 778 กระทู้ล่าสุด 21 พฤศจิกายน 2562 15:56:07
โดย Maintenence
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.351 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 12 พฤศจิกายน 2566 21:59:40