[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 03:14:44 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตัวเหลืองในทารกแรกเกิด  (อ่าน 692 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 90.0.4430.93 Chrome 90.0.4430.93


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 03 พฤษภาคม 2564 11:50:26 »


ตัวเหลืองในทารกแรกเกิด


          ตัวเหลือง เป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุดในทารกแรกเกิด เนื่องจากทารกมีจำนวนเม็ดเลือดแดงมากกว่าผู้ใหญ่ เมื่อเม็ดเลือดแดงแตกหรือหมดอายุ จะทำให้ได้สารสีเหลืองในเลือดที่เรียก บิลิรูบิน  โดยตับมีหน้าที่ขับถ่ายออกทางน้ำดี ในทารกแรกเกิดการทำงานของตับยังไม่เจริญเต็มที่ เราจึงพบว่าประมาณร้อยละ 50-60 ของทารกปกติจะมีอาการตัวเหลืองได้ประมาณวันที่ 3-5 หลังเกิด    อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่ของทารกเหล่านี้จะมีอาการเหลืองไม่มาก  เป็นการเหลืองในทารกปกติที่ไม่ต้องการรักษาอย่างใด

          ในทารกบางคนมีอาการเหลืองผิดปกติ เช่นเหลืองในวันแรก หรือตัวเหลืองมากกว่าธรรมดา จำเป็นต้องหาสาเหตุและให้การรักษา เพราะการที่ทารกตัวเหลืองมากกว่าธรรมดามากจะมีผลต่อสมอง เมื่อสีเหลืองย้อมติดเนื้อสมองแล้วจะไม่สามารถให้การรักษาได้ จะทำให้เกิดอาการทางสมอง เช่น ตัวเกร็ง ชัก ปัญญาอ่อน เป็นต้น ในรายที่สงสัยว่าทารกจะตัวเหลืองมากกว่าธรรมดาจำเป็นต้องเจาะเลือดเพื่อตรวจหาระดับสีเหลือง คือ บิลลิรูบินในเลือด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการรักษาต่อไป



          สาเหตุที่สำคัญๆ ที่ทำให้ทารกตัวเหลืองมากกว่าปกติ ได้แก่

          1.หมู่เลือดของมารดาและทารกไม่เข้ากัน เป็นสาเหตุที่ทำให้ทารกตัวเหลืองได้เร็ว และเหลืองมากกว่าปกติ เนื่องจากมีการทำลายของเม็ดเลือดแดงมากกว่าธรรมดา
          2.เม็ดเลือดแดงผิดปกติ เช่น รูปร่างผิดปกติแต่กำเนิดหรือเอ็นไซม์ในเม็ดเลือดแดงบกพร่อง (G6PD ) จะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายกว่าธรรมดาได้
          3.มีเลือดออกตามที่ต่างๆในร่างกาย ทำให้จำนวนเม็ดเลือดแดงที่ต้องทำลายมีมากขึ้น
          4.เกิดก่อนกำหนด  ทารกที่เกิดก่อนกำหนด ยังมีการทำงาน ของตับไม่ดี มักจะมีตัวเหลืองมากกว่าทารกครบกำหนดเสมอ
          5.จากน้ำนมแม่ เนื่องจากน้ำนมแม่เฉพาะบางคน จะมีสารที่ต้านการทำงานของตับในการขับถ่ายสารสีเหลืองจะทำให้ทารกตัวเหลืองได้ พบไม่บ่อยและจะเหลืองเมื่ออายุมากกว่า 10 วัน แตกต่างจากตัวเหลืองทั่วไปที่มักจะตัวเหลืองในสัปดาห์แรก ในรายที่เหลืองมากๆ                               
          อาจต้องงดนมแม่ชั่วคราว1- 2วัน เพื่อให้หายเหลืองเร็วขึ้น ส่วนใหญ่สามารถกลับมาให้นมแม่ใหม่ได้
          6.จากการดูดนมแม่ เป็นตัวเหลืองในทารกแรกเกิดที่พบได้บ่อย และพบในสัปดาห์แรกเนื่องจากน้ำนมยังมีน้อย ทำให้ทารกขาดน้ำ พลังงานและสารอาหาร ส่วนใหญ่มักไม่มีอันตราย และป้องกันโดยให้ทารกดูดนมมารดาได้บ่อยๆในช่วงแรก
          7.สาเหตุอื่นๆ ของตัวเหลือง เช่นการติดเชื้อ มารดาเป็นเบาหวาน ลำไส้อุดตัน ต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อย และความผิดปกติต่างๆของการขับถ่ายสารสีเหลือง เป็นต้น

          ปัจจุบันมีเครื่องมือวัดดัชนีความเหลืองจากความเข้มของสีจากผิวหนังทารกได้ โดยมีผลใกล้เคียงกับในเลือด ทำให้การประเมินภาวะตัวเหลือง  ทำได้แม่นยำขึ้นกว่าการใช้สายตา จึงนำมาใช้ในการคัดกรองทารกที่มีภาวะตัวเหลืองได้ดี ทำให้ไม่จำเป็นต้องเจาะเลือดทารกทุกครั้ง อย่างไรก็ตามถ้าทารกตัวเหลืองมาก หรือไม่แน่ใจ เราต้องใช้ผลการตรวจจากเลือดเสมอ เพื่อเป็นข้อบ่งชี้ในการรักษา


          การรักษา เนื่องจากภาวะตัวเหลืองที่มากกว่าธรรมดา อาจทำอันตรายต่อสมองได้ จึงมีความจำเป็นที่ต้องให้การรักษาเพื่อป้องกันอันตรายดังกล่าว การรักษาที่สำคัญมี 2 แนวทาง คือ

          1.การส่องไฟ  มีหลักการคือใช้พลังงานจากแสงที่มีคลื่นความถี่ใกล้เคียงกับแสงสีฟ้าและสีเขียว ซึ่งจะเปลี่ยนสารสีเหลืองของบิลิรูบิน ให้ละลายน้ำได้ แล้วขับออกทางลำไส้และปัสสาวะ ในทางปฏิบัติอาจใช้หลอดไฟนีออนสีขาว สีน้ำเงิน หรือสีน้ำเงินพิเศษก็ได้ นอกจากนี้พลังงานแสงจากหลอดไฟ LED มักจะให้พลังงานได้มากกว่าหลอดนีออนทั่วไป และให้ความร้อนน้อย ปัจจุบันจึงมีผู้นิยมใช้มากขึ้น วิธีการส่องไฟ คือการให้ผิวหนังทารกมีโอกาสถูกแสงมากที่สุด แต่ต้องปิดตา เพื่อไม่ให้แสงทำอันตรายต่อประสาทตาของทารกได้ ระหว่างที่ส่องไฟทารกอาจมีถ่ายเหลวเล็กน้อย มีผื่นตามผิวหนัง และสูญเสียน้ำเพิ่มขึ้น ทารกจึงมักจะดูดนมเพิ่มขึ้นเองเพื่อป้องกันการขาดน้ำ

          2.การเปลี่ยนถ่ายเลือด เป็นวิธีที่ลดสารสีเหลืองลงได้ทันที เพราะสารเหลืองที่อยู่ในเลือดจะลดลงทันทีภายหลังการเปลี่ยน แต่เนื่องจากสารสีเหลืองมีอยู่ในส่วนอื่นๆของร่างกายด้วย ร่างกายจึงต้องขับออกเองหรือใช้ไฟส่องร่วมด้วย เพื่อให้หายเหลืองเร็วขึ้น การเปลี่ยนถ่ายเลือดจึงจำเป็นเฉพาะทารกที่เหลืองจัด ไม่สามารถรอให้หายเหลืองจากการส่องไฟได้ ส่วนกรณีตัวเหลืองทั่วๆไป มักจะไม่จำเป็นต้องทำการถ่ายเลือด เนื่องจากจะมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้มากกว่าการส่องไฟ



          ที่มา หน่วยทารกแรกเกิด ชั้น 18 อาคารศูนย์การแพทย์วิชัยยุทธ


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.264 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 04 กันยายน 2566 02:12:43