[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 23:11:46 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ที่มาและความหมายของ “บุญผะเหวดอีสาน” งานบุญสำคัญ กับมหาทานบารมี  (อ่าน 424 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 90.0.4430.93 Chrome 90.0.4430.93


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 06 พฤษภาคม 2564 09:36:26 »




ที่มาและความหมายของ “บุญผะเหวดอีสาน” งานบุญสำคัญ กับมหาทานบารมี

https://www.silpa-mag.com/wp-content/uploads/2017/02/B01-696x536.jpg
ที่มาและความหมายของ “บุญผะเหวดอีสาน” งานบุญสำคัญ กับมหาทานบารมี
ภาพประกอบเนื้อหา - งานบุญผะเหวดประจำปีของวัดบูรพาภิราม พระอารามหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด พระครูสุตกิจจานุยุต (ปุ่น) กำลังเทศน์พระเวสสันดรชาดก 
                                                                                                                                                                   
ภายในศาลาจะตกแต่งด้วยผลไม้ดอกไม้ต่างๆ จำลองขึ้นมาให้เหมือนป่าที่พระเวสสันดรเสด็จไปบำเบ็ญพรต และด้านข้างศาลาจะมีผ้าพระเวสหรือภาคกลางเรียกว่าผ้าพระบฏประกอบอยู่ด้วย


          บุญผะเหวด หรือบุญพระเวส หมายถึง บุญพระเวสสันดร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บุญมหาชาติ ชาวอีสานจะนิยมจัดขึ้นในเดือนสี่ (ช่วงเดือนมีนาคม) เป็นบุญประจำปีในฮีตสิบสอง ดังที่ปราชญ์อีสานได้ประพันธ์ผญา (บทกลอน) เกี่ยวกับการทำบุญในช่วงเดือนสามและเดือนสี่ไว้ว่า “เถิงเมื่อเดือนสามค้อยเจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่ ตกเมื่อเดือนสี่ค้อยจัวน้อยเทศน์มัทรี” แปลว่า เมื่อถึงเดือนสามพระภิกษุสามเณรจะรอชาวบ้านทำบุญข้าวจี่ และเมื่อถึงเดือนสี่(ช่วงเดือนมีนาคม) สามเณรเทศน์กัณฑ์มัทรีในงานบุญมหาชาติ

          บุญผะเหวดของชาวอีสานถือเป็นงานบุญสำคัญ ชาวบ้านจะจัดให้มีพิธีอย่างใหญ่โต งานบุญต่อเนื่องกัน 2-3 วัน มูลเหตุที่มีการทำบุญมีคติความเชื่อมาจากเรื่อง พระมาลัยสูตรว่า

         “พระมาลัยได้ขึ้นไปไหว้พระธาตุเกศแก้วจุฬามณีในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พบพระศรีอริยเมตไตรย องค์พระศรีอริยเมตไตรยได้ดำรัสสั่งกับพระมาลัยว่า ถ้ามนุษย์อยากพบพระองค์ จงอย่าได้ทำบาปหนัก ได้แก่ ฆ่าบิดามารดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้า และยุยงให้พระสงฆ์แตกกัน อนึ่งให้ฟังเทศน์เรื่องราวมหาเวสสันดรชาดกให้จบในวันเดียวกัน ฟังแล้วให้นำไปประพฤติปฏิบัติจะได้รับอานิสงส์มาก และจะได้พบพระศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรย เมื่อพระมาลัยกลับมาถึงโลกมนุษย์ จึงได้บอกเรื่องราวให้มนุษย์ทราบ ด้วยเหตุนี้ชาวอีสานผู้ปรารถนาจะพบศาสนาพระศรีอริยเมตไตรย จึงพากันทำบุญพระเวสสันดรสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน”

          เมื่อถึงเดือนสี่ (ช่วงเดือนมีนาคม) ชาวบ้านจะประชุมกันเพื่อกำหนดวันทำบุญว่าจัดวันไหน และจะนิมนต์พระภิกษุสามเณรที่มาเทศน์จากวัดไหนบ้าง ครั้นตกลงกันแล้วก็นำหนังสือใบลานเรื่องพระเวสสันดรชาดก ซึ่งมีจำนวน 13 ผูก ออกมาแบ่งให้ครบเท่าจำนวนพระภิกษุสามเณรที่จะนิมนต์มาเทศน์ จากวัดของหมู่บ้านใกล้เคียง รวมทั้งพระที่อยู่วัดของหมู่บ้านตัวเองด้วย

          หนังสือใบลานที่แบ่งออกเรียกว่ากัณฑ์ ชาวบ้านแต่ละครัวเรือนจะจับฉลากแบ่งกันเป็นเจ้าภาพกัณฑ์ต่างๆ เท่ากับจำนวนหนังสือใบลานที่แบ่งและจำนวนพระภิกษุสามเณรที่นิมนต์มา ในอดีตครัวเรือนที่เป็นเจ้าภาพจะเรียกว่า “ค้ำบุญ” ทำหน้าที่ต้อนรับพระภิกษุสามเณรและโยมผู้ติดตาม มีการตั้งผามบุญ(ปะรำ)เรียงรายตามกำแพงรอบวัด ตั้งโอ่งน้ำดื่ม เตรียมหมากพลูบุหรีและจตุปัจจัยไทยทาน เพื่อสำหรับถวายพระภิกษุสามเณรในวันงานอีกด้วย แต่ปัจจุบันการตั้งผามบุญ เพื่อสำหรับต้อนรับพระภิกษุสามเณร ได้หายไปตามยุคสมัยเหลือเฉพาะการเป็นเจ้าภาพกัณฑ์เทศน์อย่างเดียว  ครั้นจับสลากแบ่งกัณฑ์เทศน์เสร็จแล้ว ก็มีการออกใบฎีกานิมนต์ชาวอีสานเรียกว่าการใส่หนังสือ นิมนต์พระภิกษุสามเณรจากอารามต่างๆ มาเทศน์ พร้อมใส่หนังสือใบลานที่แบ่งเป็นกัณฑ์ไปด้วย พระภิกษุสานเณรที่ได้รับใบฎีกานิมนต์พร้อมหนังสือใบลานกัณฑ์ต่างๆก็จะฝึกเทศน์ให้ชำนาญ ก่อนถึงวันบุญที่จะมาเทศน์ฉลองศรัทธาแก่ชาวบ้าน

                                                                                                                                 


https://www.silpa-mag.com/wp-content/uploads/2017/02/B02.jpg
ที่มาและความหมายของ “บุญผะเหวดอีสาน” งานบุญสำคัญ กับมหาทานบารมี
บุญผะเหวดของชาวบ้านดงเค็ง ตำบลป่าสังข์ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด ในภาพชาวบ้านกำลังนั่งฟังเทศน์พระเวสสันดรชาดกภายในศาลาโรงธรรม ที่ประดับตกแต่งด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย และดอกไม้ตามฤดูกาลของภาคอีสาน


           ก่อนวันงานชาวบ้านจะออกไปรวมตัวกันที่วัด เพื่อจัดตกแต่งประดับศาลาโรงธรรมประกอบด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย และดอกไม้ตามฤดูกาลของภาคอีสานโดยนำมาร้อยให้สวยงาม เช่น ดอกทองกาว ดอกสะแบง ดอกพระยอม ดอกดอกปีป ฯลฯ ส่วนผู้สูงอายุจะเตรียมทำหมากพันคำ เมี่ยงพันคำ ธูปเทียนอย่างละพัน และข้าวตอกดอกไม้เพื่อใช้สำหรับเป็นเครื่องบูชาคาถาพัน รอบศาลาโรงธรรมจะมีธงผะเหวดปักไว้8ทิศ ตามต้นเสามีขันกะย่องที่สานด้วยไม้ไผ่ผูกติดไว้เพื่อใช้ใส่ข้าวพันก้อน และตั้งหอพระอุปคุตที่ด้านทิศตะวันออกของศาลา ป้องคุ้มครองมิให้เกิดเหตุเภทภัยอันตรายทั้งปวง

          ข้างธรรมมาสน์ที่ใช้แสดงธรรมจะมีดาบ ปืนติดไว้ และอ่างน้ำ 4 ใบ ที่จำลองขึ้นเป็นสระน้ำ มีจอก แหน (สาหร่าย) ต้นบัว ดอกบัว ผักตบอยู่ในอ่างด้วย หน้าธรรมมาสน์จะตั้งหม้อน้ำมนต์ และเครื่องบูชาต่างๆ ไว้สำหรับเจ้าภาพมาจุดธูปเทียนบูชาตามกัณฑ์เทศน์ของตนเอง การจัดตกแต่งศาลาโรงธรรมชาวอีสานจะนิยมทำคล้ายๆกัน อาจจะแตกต่างกันบ้างตามความนิยมของแต่ละท้องถิ่น และจัดให้เสร็จเรียบร้อยก่อนถึงวันงาน

          งานบุญผะเหวดของชาวอีสานจะจัดอยู่ 2 วันคือ                                                                                                                                                                                                                                                                                   
          1.มื้อโฮม(วันรวม) โดยในตอนเช้ามีการทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสามเณร ช่วงบ่ายมีการอัญเชิญพระอุปคุตจากสระหรือหนองน้ำใกล้หมู่บ้านมาประดิษฐาน ณ หอที่ตั้งไว้ มีขบวนแห่อัญเชิญพระเวสสันดร พระนางมัทรี พร้อมด้วยกัญหาและชาลีเข้าเมือง บางท้องที่จัดใหญ่โตมีช้างประกอบขบวนแห่อย่างเอิกเกริก ส่วนชาวบ้านจะเก็บดอกไม้ตามป่าโคกเพื่อมาบูชาพระ เข้าร่วมขบวนแห่มีดนตรีกลองยาวเล่นอย่างสนุกสนาน เมื่อมาถึงศาลาโรงธรรมก็ร่วมกันฟังเทศน์พระมาลัยหมื่นพระมาลัยแสน บางท้องที่มีมหรสพสมโภชไปตลอดทั้งคืน
          2.มื้องัน (วันเทศน์) ตอนเช้าตรู่เวลาประมาณ 05.00น. มีการแห่ข้าวพันก้อนที่ชาวบ้านทำจากข้าวเหนียวปั้นให้เป็นลูกกลมขนาดเท่าหัวแม่มือจำนวน 1,000 ก้อน (เป็นคติการบูชาคาถา 1,000 พันคาถาในเรื่องพระเวสสันดรชาดก) นำมาแห่รอบศาลาโรงธรรม 3 รอบแต่ละรอบก็นำข้าวพันก้อนวางไว้ตามขันกะย่องที่ผูกไว้ต้นเสาธงผะเหวดให้ครบทั้ง 8 ทิศ



           จากนั้นพระภิกษุสามเณรก็จะเริ่มเทศน์ตั้งแต่กัณฑ์สังกาส คือการบอกศักราช กล่าวถึงอายุกาลของพระพุทธศาสนาที่ล่วงมาตามลำดับ ต่อมาเป็นการเทศน์พระเวสสันดรชาดกเริ่มกัณฑ์แรกคือกัณฑ์ทศพร เรียงตามลำดับกัณฑ์ไปเรื่อยๆ ตลอดทั้งวันจนถึงนครกัณฑ์เป็นกัณฑ์สุดท้าย
การเทศน์ของพระภิกษุสามเณรมี 2 ลักษณะคือ 1.เทศน์แบบอ่านหนังสือหรือเทศน์ธรรมดาเป็นทำนองคล้ายกับการสูตรขวัญของอีสาน มีหลายทำนองตามความถนัดของพระผู้เทศน์ เช่น ทำนองกาเต้นก้อน ทำนองช้างเทียมแม่ 2.เทศน์เล่นเสียงยาวๆหรือเรียกว่าเทศน์แหล่ พระผู้เทศน์มีการเล่นลูกคอและทำเสียงสูงต่ำ เพื่อให้เกิดความไพเราะ ส่วนญาติโยมที่นั่งฟังเทศน์ เมื่อพระภิกษุสามเณรที่ตนรับเป็นเจ้าภาพรับกัณฑ์ขึ้นเทศน์ เจ้าภาพก็จุดเทียนบูชาคาถา หว่านข้าวตอกข้าวสาร ในช่วงเวลาที่พระภิกษุสามเณรกำลังเทศน์อยู่นั้น ถ้าพระผู้เทศน์เสียงดี ญาติโยมชาวบ้านก็จะถวายปัจจัยพิเศษเพิ่มเติมเรียกว่า
“แถมสมภาร” และช่วงเย็นมีการแห่ กัณฑ์จอบ กัณฑ์หลอน


           ในปัจจุบันประเพณีบุญผะเหวดของภาคอีสานนิยมทำกันทุกหมู่บ้าน เป็นการสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่บ้านและเป็นการค้ำจุนพระพุทธศาสนาไปอีกทางหนึ่งด้วย รวมถึงจังหวัดร้อยเอ็ดที่จัดงานบุญผะเหวดเป็นงานบุญใหญ่ประจำจังหวัด โดยมีคำที่ชาวร้อยเอ็ดพูดติดปากว่า “ไปกินข้าวปุ้น(ขนมจีน) เอาบุญผะเหวด ฟังเทศน์มหาชาติ” งานบุญจัดขึ้นที่บริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์และบึงพลาญชัย ตรงกับวันศุกร์ วันเสาร์ วันอาทิตย์แรกของเดือนมีนาคมของทุกปี ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ.2534     ในงานประกอบด้วยขบวนแห่ 13 กัณฑ์ มีการตกแต่งขบวนแห่อย่างสวยงามตามเนื้อเรื่องของพระเวสสันดรชาดก มีการจัดซุ้มโรงทานข้าวปุ้น(ขนมจีน)ของประชาชน ห้างร้าน หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ไว้คอยบริการแก่ผู้มาร่วมงานที่สามารถรับประทานกันได้อย่างเต็มอิ่ม และมีการแห่กัณฑ์จอบกัณฑ์หลอนของละคุ้ม หน่วยงานราชการ ภาครัฐและเอกชนอย่างยิ่งใหญ่ รวมเงินที่ได้ปีละหลายแสนบาท    บุญผะเหวดนอกจากจะเป็นงานบุญในฮีตสิบสอง ที่ชาวอีสานจัดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันแล้ว ยังเป็นงานบุญประจำปีที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวจังหวัดร้อยเอ็ดอีกด้วย

 
ที่มา
สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 9. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพานิชย์, 2542.
วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดร้อยเอ็ด. หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2542
https://www.silpa-mag.com/history/article_6667

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.406 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 27 กุมภาพันธ์ 2567 19:53:44