[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 10:37:25 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ผัวขายเมีย ครอบครัวขายผู้หญิงในไทยสมัยโบราณ  (อ่าน 489 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2322


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 90.0.4430.93 Chrome 90.0.4430.93


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2564 20:29:42 »

.


ทาสชาวสยาม มีสภาพชีวิตแทบไม่ต่างจากไพร่สามัญในทัศนะของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ 5 จากหอสมุดดำรงราชานุภาพ)

ผัวขายเมีย ครอบครัวขายผู้หญิงในไทยสมัยโบราณ ขายได้เงินเท่าไหร่?
เผยแพร่ - ศิลปวัฒนธรรม
วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2564

ผู้คนในไทยสมัยโบราณนอกเหนือจากชนชั้นระดับเจ้านายและขุนนางแล้ว ส่วนใหญ่ถูกนิยามว่า “ไพร่” และ “ทาส” ในบรรดาชนชั้นไพร่ที่ทำการเกษตร เมื่อประสบปัญหาด้านผลผลิตสืบเนื่องมาจากภัยต่างๆ สถานะการเงินของชาวนาย่อมยากลำบากจนบางครั้งมักพบเห็นชนชั้นไพร่ขายวัวควาย แม้กระทั่งขายลูกขายเมียก็มี

การขายลูกขายเมียในอดีตปรากฏในบันทึกหลากหลายฉบับ ตัวอย่างหนึ่งคือบันทึกของอ็องรี มูโอต์ เป็นนักสำรวจชาวฝรั่งเศสในยุคศตวรรษที่ 19 ซึ่งเดินทางมาสำรวจพื้นที่อุษาคเนย์ บันทึกของเขาเอ่ยถึงสัญญาซื้อขายทาส โดยยกหลักฐานมาจากบันทึกของสังฆราชปาลเลอกัว เนื้อหาในสัญญามีว่า

“วันพุธที่ 25 เดือน 6 ทางจันทรคติ จุลศักราช 1211 ข้าพเจ้า ผู้เป็นผัว พร้อมนางกล ผู้เป็นเมีย นำลูกสาวชื่อ ‘มา’ มาขายให้กับคุณหลวงศรี เป็นเงิน 80 ติกัล (240 ฟรังก์) เพื่อให้ทำงานรับใช้นายท่านแทนดอกเบี้ย ถ้านานมาลูกสาวของเราหลบหนี ให้นายท่านกุมตัวข้าพเจ้า และบังคับให้ตามตัวนางมาส่งคืน”

มูโอต์ ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมไว้ว่า คนที่มีสถานะเป็นหัวหน้าครอบครัวขายเมียเป็นทาส “เป็นเรื่องทั่วไปในหมู่คนชั้นล่าง” และเป็นเรื่องที่ “เกิดขึ้นบ่อยและชวนสลดใจไม่มากก็น้อย”

ผู้ศึกษาค้นคว้าเอกสารทางประวัติศาสตร์อีกท่านที่พบหลักฐานเกี่ยวกับการขายเมียคือ ชัย เรืองศิลป์ ผู้เขียนหนังสือ “ประวัติศาสตร์ สมัย พ.ศ.2352-2453 ด้านสังคม” ชัย เรืองศิลป์ อธิบายไว้ในหนังสือเล่มดังกล่าวว่า ไม่สามารถหาตัวเลขราคาขายลูกขายเมียอย่างชัดเจนในสมัยรัชกาลที่ 2-3 แต่ในหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งพิมพ์ในกรุงเทพฯ โดย “หมอสมิท” ผู้เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ “ไซแอมรีโพซิตอรี” เขียนเล่าไว้ว่า เขาได้รับฟังชาวบางปลาสร้อยปรับทุกข์ว่า ทำหนังสือกรมธรรม์ขายเมียของเขาต่อหน้าเจ้าพนักงานเป็นเงิน 9 ตำลึง

เขานำเงินจำนวนนี้มาซื้อที่นาแปลงหนึ่ง จากนั้นก็ลงมือปลูกบ้าน ภายหลังมีญาติของเจ้าของที่ดินมารื้อบ้าน และฟ้องขับไล่ออกจากที่ดิน ผู้ว่าราชการเมืองบางปลาสร้อยไม่สามารถตัดสินคดีลงได้ ต้องส่งเรื่องมาให้ในหลวงพิจารณา ซึ่งกรณีนี้หมอสมิทแสดงความคิดเห็นวิจารณ์ผู้ว่าราชการเมืองบางปลาสร้อยว่าไร้สมรรถภาพ จากที่ต้องส่งเรื่องคดีแบบนี้มาให้ในหลวงพิจารณาตัดสิน

สำหรับค่าตัวทาสสินไถ่ (ทาสที่เป็นชนต่างด้าว, ถูกพ่อ-แม่หรือผัวขาย, สมัครใจเป็นทาสเอง, ถูกศาลตัดสินให้เป็นทาสเพราะไม่มีเงินชำระหนี้) ชัย เรืองศิลป์ ค้นคว้าแล้วไม่พบว่ามีระบุพิกัดค่าตัวทาสสินไถ่ไว้ในกฎหมาย ซื้อขายกันเท่าไหร่ก็ได้ คาดว่าอาจถือพิกัดลูกทาสเป็นเกณฑ์ตั้งราคาก็เป็นได้

ส่วนในแง่ตัวเลขราคาการขายในอดีตนั้น พิกัดค่าลูกทาส/ลูกครอก(ลูกที่เกิดจากมารดาซึ่งขายตัวเป็นทาส)เพศหญิงที่รัฐบาลตั้งไว้มีดังนี้

อายุ 16-20 ค่า 10 ตำลึง
อายุ 21-30 ค่าสูงสุด 12 ตำลึง
อายุ 31-35 ค่า 11 ตำลึง
อายุ 36-40 ค่า 10 ตำลึง
อายุ 41-45 ค่า 9 ตำลึง

กฎหมายมีระบุค่าตัวไปจนถึงอายุ 100 ปี

ทั้งนี้ ชนชั้นในไทยแตกต่างจากของอินเดีย ชนชั้นของไทยไม่ได้ติดตัวมาแต่กำเนิดเหมือนระบบวรรณะ ของไทยสามารถเลื่อนชั้นได้ แต่จากการศึกษาเรื่องทาสในสมัยอยุธยาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์โดยชาติชาย พณานานนท์ ซึ่งศึกษาจากหลักฐานศิลาจารึกสมัยอยุธยา, บันทึกร่วมสมัยของชาวต่างชาติ และประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1 (ส่วนใหญ่แล้วประมวลกฎหมายของรัชกาลที่ 1 ยังคงใช้มาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5) พบว่า การเลื่อนชั้นมีให้เห็นน้อยมาก โดยทาสจะเป็นอิสระได้ต่อเมื่อมีสงครามแล้วอาสาไปรบ เมื่อรอดตายจะได้เป็นอิสระ หรืออีกกรณีคือหาเงินไถ่ตัวได้

ขณะที่งานวิจัยเรื่อง “ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเมืองไทยตั้งแต่รัชสมัยพสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถึงสมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ.2310-2394)” โดยสุวิทย์ ธีรศาสวัต ให้ข้อมูลไว้เพิ่มเติมว่า ทาสว่ายากแล้ว สำหรับไพร่ ขุนนาง และข้าราชการ เลื่อนชั้นยากกว่าอีก ช่วงต้นรัตนโกสินทร์พบหลักฐานเกิดขึ้นครั้งเดียวคือการรัฐประหารล้มอำนาจสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พวกที่มีโอกาสได้เลื่อนชั้นมากกว่าพวกอื่นคือ ไพร่ได้เป็นขุนนางและข้าราชการ ไพร่ในช่วง พ.ศ.2374-2392 มี 675 คน จาก 4,355 คน ได้เลื่อนชั้นเป็นข้าราชการและขุนนาง

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ผัวขายเมีย ครอบครัวขายผู้หญิงในไทยสมัยโบราณ ขายได้เงินเท่าไหร่?
สุขใจ ไปรษณีย์
ใบบุญ 0 84 กระทู้ล่าสุด 09 พฤศจิกายน 2566 14:17:01
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.276 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 13 มีนาคม 2567 14:25:35