[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 05:37:18 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กบฏเงี้ยวเมืองแพร่ (พ.ศ.๒๔๔๕)  (อ่าน 1231 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5461


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 24 พฤษภาคม 2564 19:16:03 »


ขอขอบคุณ t1.bdtcdn.net (ที่มาภาพประกอบ)

กบฏเงี้ยวเมืองแพร่ (พ.ศ.๒๔๔๕)

กบฏเงี้ยวเมืองแพร่ คือการก่อการจลาจลของพวกโจรเงี้ยวที่ยกพวกเข้ายึดเมืองแพร่ จนรัฐบาลจากส่วนกลางต้องส่งกองทัพไปปราบปรามจนสงบราบคาบได้ในที่สุด

เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นระหว่างกลางเดือนกรกฎาคม ถึงกลางเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๕ เมื่อพกาหม่องหัวหน้าโจรเงี้ยวนำพรรคพวกประมาณ ๓๐-๔๐ คน เข้าโจมตีสถานที่ราชการต่างๆ ในเมืองแพร่ พวกเงี้ยวชาวเมืองอีกประมาณ ๓๐๐ คน จับอาวุธขึ้นสนับสนุนพวกโจรเข้าตีศาลากลาง จับข้าราชการรวมทั้งข้าหลวงออกมาฆ่า หลังจากยึดเมืองแพร่ได้แล้ว พวกกบฏเกิดความฮึกเหิมคิดการเข้าตีเมืองลำปาง ซึ่งเคยรับจะร่วมกันก่อการกบฏ โดยแบ่งออกเป็น ๒ กอง กองหนึ่งยกไปตีลำปาง อีกกองหนึ่งออกไปขัดตาทัพกองทหารรัฐบาลที่คาดว่าจะมาจากมณฑลพิษณุโลกและนครสวรรค์ ซึ่งรัฐบาลส่งขึ้นไปปราบปราม พวกที่ยกไปตีลำปางทำการไม่สำเร็จ เพราะทางเมืองลำปางรู้ตัวล่วงหน้า จึงจัดกำลังต่อสู้ขับไล่เงี้ยวไปได้

พกาหม่องหัวหน้าโจรเงี้ยวถูกยิงตาย ส่วนอีกกองหนึ่งถูกกองทัพรัฐบาลที่ยกไปจากเมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก เมืองสุโขทัย เมืองนครไทย และเมืองตาก ตีโอบล้อมเข้ามา  พวกเงี้ยวพอรู้ว่าพกาหม่องหัวหน้าตายแล้ว ก็หมดกำลังใจจะต่อสู้ จึงหนีกระจัดกระจาย  จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) แม่ทัพ ขึ้นไปถึงเมืองแพร่พร้อมด้วยกองทัพหลวง และได้ตั้งกรรมการสอบสวนต้นเหตุของกบฏเงี้ยวครั้งนี้

ผลของการสอบสวนทำให้ทราบว่า สาเหตุของการกบฏเกิดจากบรรดาเจ้าเมืองประเทศราชภาคเหนือซึ่งไม่พอใจการปกครองระบบเทศาภิบาลที่รัฐบาลนำมาใช้ เพราะการแต่งตั้งข้าหลวงจากส่วนกลางมาประจำตามหัวเมืองต่างๆ ทำให้อำนาจของเจ้าผู้ครองนครแต่เดิมที่เคยมีอยู่อย่างสมบูรณ์ถูกลิดรอนลงเรื่อยๆ เช่น อำนาจในการปกครองข้าหลวงมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการของเจ้าเมือง หรือให้คำแนะนำแก่เจ้าเมืองในการให้ยศถาบรรดาศักดิ์ขุนนางพื้นเมือง อำนาจทางการศาล ข้าหลวงได้รับอนุญาตให้ออกกฎหมายได้ อำนาจทางการคลัง ข้าหลวงเป็นผู้เก็บเงินค่าราชการ อีกทั้งลดค่าตัวทาสได้ ความไม่พอใจเหล่านี้ทำให้เจ้าผู้ครองนครขัดเคือง จึงคิดการกบฏขึ้นเพื่อเรียกร้องอำนาจเก่ากลับคืน

ส่วนเงี้ยวที่ทำการกบฏนั้น มีพกาหม่องเป็นหัวหน้าพวกโจร  พกาหม่องผู้นี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงบรรยายว่า หนีหนี้จากเมืองเชียงตุงมาอาศัยอยู่เมืองแพร่ และทำการโจรกรรมอยู่เนืองๆ ในเขตเมืองลำปาง เมืองแพร่ จึงถูกเจ้าเมืองลำปางปราบปราม เมื่อเจ้าเมืองแพร่ต้องการจะคิดการแข็งขืนต่อรัฐบาลกลาง จึงอาศัยพกาหม่องช่วยดำเนินการ โดยเสนอให้เงินรางวัลจากเงินของหลวงที่เก็บอยู่ พกาหม่องจึงยินดีรับข้อเสนอ เพราะเห็นว่ามีผลดีแก่ตนเองทุกด้าน

ในการกบฏครั้งนี้ นอกจากเจ้าผู้ครองนครแพร่ให้การสนับสนุนแล้ว พวกโจรยังได้รับความร่วมมือจากเงี้ยวชาวเมืองและชาวพื้นเมืองอีก ด้วยการช่วยฆ่าฟันพวกข้าราชการ ทั้งนี้เนื่องจากพวกเงี้ยวพื้นเมืองส่วนมากเป็นพวกเงี้ยวจากรัฐฉานเข้ามาหากินด้วยการทำป่าไม้และหาเพชรพลอยในเขตเมืองแพร่มาแต่เดิม ต่อมาทางการกวดขันมากขึ้น ทั้งการจัดหาซื้อที่ทำมาหากิน หรือการออกหนังสือเดินทาง และถูกจับกุมหากพบว่าไม่มีหนังสือเดินทาง จึงคับแค้นใจมาก ในขณะเดียวกัน ชาวพื้นเมืองไม่พอใจข้าราชการที่เรียกเก็บเงินแทนการเกณฑ์แรงงาน และแม้จะจ่ายเงินแล้วก็ยังถูกเกณฑ์ไปทำงานโยธา เช่น การสร้างถนน สร้างสะพานอีก ทำให้เห็นว่าข้าราชการหลอกลวงเอาเงินและยังคงใช้แรงงานอีก  นอกจากนั้นยังถูกบังคับ กวดขัน ตามกฎเกณฑ์ต่างๆ ทำให้ราษฎรเกลียดชังพวกข้าราชการ เมื่อเกิดกบฏขึ้น ทั้งชาวพื้นเมืองและเงี้ยวชาวเมืองจึงเข้าข้างพวกกบฏ เป็นศัตรูกับทางราชการ

อีกพวกหนึ่งที่สนับสนุนพวกเงี้ยวคือ ฝรั่งเศสและอังกฤษ ได้พบหลักฐานว่าทั้ง ๒ ชาติมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยในระยะแรก เพราะต้องการให้เกิดความยุ่งยากปั่นป่วนแก่การปกครองของไทย ซึ่งจะเป็นโอกาสให้ใช้เป็นข้ออ้างเข้ายึดประเทศไทยได้ แต่เนื่องจากรัฐบาลปราบปรามพวกกบฏราบคาบอย่างรวดเร็ว  ฝรั่งเศสจึงไม่กล้าสนับสุนพวกกบฏอย่างเต็มที่ เพราะขณะนั้นฝรั่งเศสยังมีกำลังน้อยในเขตนั้น และพวกกบฏเงี้ยวเป็นพวกโจรผู้ร้าย ซึ่งอาจจะสร้างความยุ่งยากแก่ตนต่อไปได้หากให้การเกื้อหนุน ส่วนอังกฤษนั้นเป็นเพราะการปราบกบฏทำอย่างรวดเร็วจนกงสุลอังกฤษยื่นมือเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ทัน เหตุการณ์จึงสงบลง

การเกิดกบฏครั้งนี้ทำให้รัฐบาลต้องปรับปรุงวิธีการปกครองเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยยิ่งขึ้น ความจำเป็นบางอย่างสำหรับการปกครองยังให้คงอยู่ เช่น การเก็บเงินค่าราชการ แต่การดำเนินการบางเรื่อง ได้มีการปรับปรุง เช่น การปฏิบัติตัวของเจ้าหน้าที่ให้เหมาะสมที่จะทำให้ชาวเมืองเกิดความรักใคร่นับถือ พร้อมทั้งเร่งสร้างสาธารณูปโภค เช่น เหมืองฝาย โรงเรียน โรงพยาบาลขึ้น เพราะได้ตระหนักแต่ครั้งนั้นแล้วว่า ระบบการปกครองกับความเป็นอยู่ที่ดีเป็นเรื่องที่จะต้องกระทำให้สอดคล้องควบคู่กัน


คัดจาก "กบฏเงี้ยวเมืองแพร่" สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน,  ราชบัณฑิตยสถานจัดพิมพ์เผยแพร่


เจ้าพิริยเทพวงษ์ หรือเจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ ๒๒
ครองราชย์ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๒ - พ.ศ.๒๔๔๕
พิราลัย พ.ศ.๒๔๕๕  หลวงพระบาง สปป.ลาว.



Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 พฤษภาคม 2564 19:21:40 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
กบฏเงี้ยวเมืองแพร่ (พ.ศ.๒๔๔๕)
สุขใจ ห้องสมุด
Kimleng 0 178 กระทู้ล่าสุด 19 มีนาคม 2566 15:28:21
โดย Kimleng
กบฏผีบุญภาคอีสาน (พ.ศ.๒๔๔๓-๒๔๔๕)
สุขใจ ห้องสมุด
Kimleng 0 144 กระทู้ล่าสุด 15 เมษายน 2566 13:25:16
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.263 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 18 เมษายน 2567 17:35:44