[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 18:07:21 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วิสาขบูชาคาถา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (อ่าน 842 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1006


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 90.0.4430.212 Chrome 90.0.4430.212


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 25 พฤษภาคม 2564 15:27:48 »



วิสาขบูชาคาถา
(บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังครองวัดบวรนิเวศวิหาร)

         สุภมตถุ
          อาโรคฺยมตฺถุ
(ขอความงามจงมี ขอความไม่มีโรคจงมี)

          วิสาขปุณฺณมายํ โย ชาโต อนฺติมชาติยา
          ปตฺโต จ อภิสมฺโพธึ อโถปิ ปรินิพฺพุโต
          โลเก อนุตฺตโร สตฺถา ทยาญาณณฺณวาสโย
          นายโก โมกฺขมคฺคสฺมึ ติวิธตฺถูปเทสโก
          มหาการุณิกํ พุทฺธํ มยนฺตํ สรณํ คตา
          อามิเสหิ จ ปูเชนฺตา ธมฺเม จ ปฏิปตฺติยา
(พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ประสูติเป็นพระชาติสุดท้าย และทรงบรรลุความตรัสรู้ อีกทั้งเสด็จดับขันธปรินิพพาน ในดิถีเพ็ญเดือนวิสาขะ พระองค์เป็นพระศาสดายอดเยี่ยมในโลก มีพระอัธยาศัยกอปรด้วยพระกรุณาและพระปัญญา (ใหญ่หลวง) ดังห้วงมหาสมุทร ทรงเป็นผู้นำในทางพระนิพพาน ทรงชี้แจงประโยชน์ทั้งสามอย่าง เราทั้งหลายได้ถึงพระพุทธเจ้าผู้กอปรด้วยพระมหากรุณาพระองค์นั้นเป็นสรณะแล้วบูชาอยู่ด้วยอามิสทั้งหลาย และด้วยการปฏิบัติธรรมทั้งหลายด้วย)

          อิมนฺทานิ สุนกฺขตฺตํ อภิมงฺคลสมฺมตํ
          วิสาโขฬุกยุตฺเตน ปุณฺณจนฺเทน ลกฺขิตํ
          สมฺปตฺตา อนุกาเลน พุทฺธานุสฺสรณารหํ
          ชาติสมโพธินิพฺพาน- กาลภูตํ สยมฺภุโน
          ตํ สมฺมานุสฺสรมานา สุจิรํ นิพฺพุตามปิ
          ปสนฺนาการํ กโรนฺตา สกฺกาเร อภิสชฺชิย
          ทณฺฑทีเป ทีปฆเร มาลาวิกติอาทโย
          ตสฺเสว ปูชนตฺถาย ยถาสติ ยถาพลํ
          สมาหริตฺวา เอกตฺถ ฐปยิมฺหา ยถารหํ
(บัดนี้ เราทั้งหลายมาถึงกาลอันนับว่าเป็นฤกษ์ดี สมมติว่าเป็นมงคลยิ่ง ซึ่งท่านกำหนดด้วยจันทร์เต็มดวงร่วมด้วยดาววิสาขะนี้ อันเป็นกาลประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระสยมภูเจ้า ควรแก่อันระลึกถึงพระพุทธองค์ตามกาลอันมาถึงโดยลำดับ เมื่อจะระลึกโดยชอบถึงพระองค์ผู้แม้เสด็จปรินิพพานนานแล้ว จึงแสดงอาการของผู้เลื่อมใส โดยพากันจัดเครื่องสักการะ คือ เทียน โคมไฟ และระเบียบดอกไม้หลากๆ เป็นต้น นำมาตั้งไว้ในที่เดียวกันตามสมควร เพื่อบูชาพระองค์ตามสติกำลัง)

          นรานรานํ สพฺเพสํ สทฺธมฺเม สมฺปสีทตํ
          ธมฺมสฺสวนํ กริสฺสาม สมฺพุทฺธคุณทีปนํ
          พุทฺธสุโพธิตาทีนํ ทีปนตฺถํ มเหสิโน
          ปสนฺนาว มยํ สพฺเพ สทฺทหาม สุโพธิตํ
          สกฺกจฺจนฺตํ นมสฺสาม สมพุทฺธํ โคตมวฺหยํ
          อิเมหิ จ สกฺกาเรหิ ฐปิเตหิ ตหึ ตหึ
          ตสฺสสฺมึ เจติยฏฺฐาเน อภิปูเชม สาธุกํ
(ข้าพเจ้าทั้งหลายจักจัดให้มีธรรมสวนะ อันแสดงพระสัมพุทธคุณเพื่อส่องให้เห็นพระคุณทั้งหลาย มีความตรัสรู้ดีแห่งพระพุทธองค์เป็นต้น แก่คนและภูตที่มิใช่คนทั้งหลายทั้งปวง ผู้เลื่อมใสในพระสัทธรรม ข้าพเจ้าทั้งหลายทั้งปวงเลื่อมใส เชื่อความตรัสรู้ดีแห่งพระมหาฤษีเจ้าแท้ ขอนมัสการพระองค์ผู้ทรงพระนามโดยพระโคตรว่าโคตมะ ผู้ตรัสรู้เองนั้นโดยเคารพ และขอบูชาด้วยดี ณ เจดียสถานแห่งพระองค์นั้น ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ อันตั้งไว้ ณ ที่นั้น ๆ แล้ว)

          สาธุ โน ภนฺเต ภควา สุจิรํ ปรินิพฺพุโต
          ธรนฺโต โพธิยา สกฺขิ- ภูตานนฺตคุเณน โส
          ปวตฺติตฺวา นิรุทฺเธน อนนฺตารมฺมเณนปิ
          ปจฺฉิมาชนตาภูต- สตฺตานุกมฺปมานสา
          อนุกมฺปํ อุปาทาย ชานนฺโตวาภิวาทนํ
          ปฏิคฺคณฺหาตุ สกฺกาเร สุสชฺชิเต ตถา ตถา
          ทีฑรตฺตมฺปิ อมฺหากํ หิตาย จ สุขาย จ
          อปายปฺปริหานาย อายานญฺจาภิวุฑฺฒิยา
(ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ สาธุ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสด็จปรินิพพานนานแล้ว แต่ยังดำรงอยู่โดยพระอนันตคุณอันเป็นพยานแห่งความตรัสรู้ของพระองค์ ทรงทราบอยู่เป็นแท้ซึ่งความกราบไหว้บูชา (ของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย) ด้วยพระหฤทัยกรุณาในหมู่สัตว์ที่เป็นประชุมชนผู้เกิดภายหลัง หากมีอารมณ์อันเป็นไปแล้วแลดับไปเป็นอนันตะ โปรดทรงพระกรุณารับเครื่องสักการะอันจัดไว้ดีอย่างนั้นๆ ของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเถิด เพื่อประโยชน์และเพื่อความสุขเพื่อหายสูญไปแห่งความเสื่อม และเพื่อเพิ่มพูนขึ้นแห่งความเจริญแก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญ)

(ให้ส่วนบุญแก่ภูตมีเทวดาเป็นต้น และขออานุภาพเทวดาคุ้มครองตนและพระศาสนา)

          อิมมฺหิ จ วิหารสมึ ปฏิมาเจติยาทิสุ
          เย เทวาสุรคนฺธพฺพ- ยกฺขนาคา นิวาสิโน
          ตสฺมึ ภควติปฺปสนฺนา ปฏิมารกฺขกาทิกา
          สพฺเพปิ เต สมาคนฺตฺวา สุณนฺตุ ภาสิตํ อิมํ
(อนึ่ง เทวดา และอสูร คนธรรพ์ ยักษ์ นาค ทั้งหลายใด อาศัยสิงอยู่ ณ สถานที่ต่าง ๆ มีที่พระปฏิมาและพระเจดีย์เป็นต้นในวัดนี้ เป็นผู้เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทำหน้าที่มีรักษาองค์พระปฏิมาเป็นอาทิ ขอเชิญภูตทั้งหลายทั้งปวงนั้นมาประชุมพร้อมกันฟังภาษิตต่อไปนี้)

          สพฺโพ จายํ ภิกฺขุสงฺโฆ วินฺเย ปฏิปตฺติยา
          ปราธี สทฺธมฺมกาโม ปเรสญฺจ หิเตสโก
          ตเมตารหนฺตํ สมมา- สมพุทฺธํ อคฺคปุคฺคลํ
          วนฺทิตฺวา จ ปูเชตฺวา จ ลทฺธา ปุญฺญมหณฺณวํ
          เทวาสุราทิภูตาน นํ ปตฺติทานํ กโรติ โว
(ก็แลภิกษุสงฆ์ทั้งปวงนี้เป็นผู้อาศัยผู้อื่น (เป็นอยู่) เพราะปฏิบัติอยู่ในพระวินัย เป็นผู้รักพระสัทธรรม และเป็นผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่นกราบไหว้และบูชาพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นอัครบุคคลนั้น ได้บุญเป็นอันมาก แล้วทำปัตติทาน (ให้ส่วนบุญ) แก่ท่านทั้งหลายผู้เป็นภูตมีเทวดาและอสูรเป็นต้นด้วย)

          ยญฺจญฺญํ ภิกฺขุสงฺเฆน ธมฺมยุตฺติกวาทินา
          จตุนฺนํ สงฺฆกมฺมานํ สกฺกจฺจกรเณนปิ
          ลาภํ ยสํ อคเณตฺวา ธมฺมานุวตฺตเนนปิ
          สีลานํ ปูรเณนาปิ ยถาสติ ยถาพลํ
          ธุตงฺคานญฺจ เกสญฺจิ วตฺตานํ รกฺขเนนปิ
          อินฺทริยานํ ทมฺเนน สญฺญเมน ยถาพลํ
          ปญฺญาย ภาวนาโยค- วายามกรเณนปิ
          อโถปิ พุทฺธวจน- สทฺธมฺมปริยตฺติยา
          สพฺพณฺณโนปเทสาย อชเฌนาชฺฌาปเนนปิ
          ปาฐทฺธารณสชฺฌาย- อตฺถพฺพิจารเณนปิ
          ปเรสํ อตฺถกามานํ ติวิธํ สุขมิจฺฉตํ
          ยถานุรูป ธมฺมสฺส เทสนาจิกฺขนาหิปิ
          นิพทฺธํ พุทฺธเจเตฺยสุ ปูชาทิกรเณนปิ
          ธมฺมสฺสวนทิวเสสุ เทสนาสวเนหิปิ
          สมาธิญาณสาเธฺยสุ กมฺมฎฺฐาเนสุ เกสุจิ
          อปุญฺญานํ ปหานาย ปุญฺญานญฺจาภิวุฑฺฒิยา
          อาโยคมนสีการ- วายามภาวนาหิปิ
          อโถ สพฺรหฺมจารีนํ ตํ ตํ ปจฺจยมิจฺฉตํ
          ยถาลทฺธปจฺจเยหิ ปจฺจยานุคฺคเหนปิ
          มิจฺฉาคาหคหเณสุ ชฏิเตสุ ตถา ตถา
          มุยฺหนฺเตสุ มนุสฺเสสุ คณฺหนฺเตสุ อเนกธา
          ญาณุกฺกาย ปโชเตตฺวา ปหาย คหนญฺชสํ
          พุทฺธเทสิตมคฺเคน สยํ คนฺตฺวา ยถาพลํ
          อญฺเญเปตฺถ นิโยเชตฺวา สทฺธมฺมทีปเนนปิ
          อิจฺเจวรูปกมฺเมหิ ปวุตฺตํ สุผลาหรํ
          ปุญฺญพืชํ ปรมตฺถ- สุขูปนิสสยีกตํ
          ตสฺมิมฺปิ ปุญฺญพืชมฺหิ อเนกาการสญฺจิเต
          ภูมิรุกฺขนภาทีสุ สพฺพตฺถาปาธิวาสตํ
          นรานรานํ สพฺเพสํ ปตฺติ ทิยฺยติ สพฺพทา
(อนึ่ง บุญพืชอื่นใดอันจะพึงนำมาซึ่งผลดี ทำให้เป็นอุปนิสัยแห่งปรมัตถสุขที่ภิกษุสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกวาที ได้หว่านไว้แล้วด้วยกรรมต่างๆ คือ ด้วยทำสังฆกรรม ๔ คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม) โดยเคารพก็ดี ด้วยไม่เห็นแก่ลาภยศ ประพฤติตามธรรมก็ดี ด้วยรักษาศีลให้บริบูรณ์ตามสติกำลังก็ดี ด้วยรักษาธุดงควัตร์ลางอย่างก็ดี ด้วยสำรวมอินทรีย์ทั้งหลายตามกำลังสามารถก็ดี ด้วยทำความเพียรพยายามในภาวนาด้วยปัญญา (มิใช่ทำด้วยความงมงาย) ก็ดี ด้วยเรียนและสอนพระปริยัติสัทธรรม อันเป็นพระพุทธวจนะ พร้อมทั้งอรรถกถาฎีกาก็ดี ด้วยท่องจำและสวดพระบาลี และพิจารณาเนื้อความพระบาลีนั้นด้วยก็ดี ด้วยแสดงและบอกธรรมตามสมควรแก่คนอื่นๆ ผู้ใคร่ประโยชน์ ปรารถนาความสุข ๓ ประการ คือ ทิฏฐธัมมิกสุข สัมปรายิกสุข ปรมัตถสุข) ก็ดี ด้วยทำสามีจิกรรมมีบูชาเป็นต้น ในพระพุทธเจดีย์ทั้งหลายเนืองนิตย์ก็ดี ด้วยเทศนาและฟังธรรมในวันธรรมสวนะทั้งหลายก็ดี ด้วยประกอบ มนสิการ พยายาม ภาวนา ด้วยความเอื้อเฟื้อ ในกัมมัฏฐานลางข้อซึ่งยังสมาธิและปัญญา (คือสมถะและวิปัสสนา) ให้สำเร็จ เพื่อละบาปและเพิ่มพูนบุญก็ดี ด้วยอนุเคราะห์ด้วยปัจจัยตามที่ได้มาแก่เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้ต้องการปัจจัยนั้นๆ ก็ดี ด้วยการที่เมื่อคนทั้งหลาย มัวหลงถือไปด้วยอาการต่างๆ หลายอย่างอยู่ในป่าคือมิจฉาคาหะ (ความถือผิด) อันรกชัฏด้วยประการนั้นๆ อยู่ จึงละทางรกเสีย เดินไปตามทางที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตามกำลังสามารถแล้วจึงส่องประทีปคือพระสัทธรรม แนะนำชักชวนผู้อื่นไปในทางที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้นั้นด้วยก็ดี ส่วนบุญในบุญพืชที่ภิกษุสงฆ์ก่อสร้างสั่งสมมาด้วยประการต่างๆ นั้น ภิกษุสงฆ์ให้แก่คนและภูตทั้งหลายทั้งปวงที่สิงสถิตอยู่ในที่ทั้งปวง มีที่พื้นดินที่ต้นไม้และที่ฟ้าเป็นต้น ทุกเมื่อไป)

          สาธุ เทวาทโย ภูตา ปฏิมารกฺขกาทิกา
          สพฺพํ ทินฺนมิทํ ปตฺตึ มนฺตวา สามํ กตามิว
          สกฺกจฺจมนุโมทนฺตุ ปุญฺญสมฺปตฺติสิทฺธิยา
          ตาย เตสํ สมิชฺฌนฺตุ สมฺปตฺติโย ยถิจฺฉิตา
(ขอภูติทั้งหลายมีเทวดาเป็นต้น ผู้ทำหน้าที่มีรักษาพระปฏิมาเป็นอาทิ ทราบส่วนบุญที่ภิกษุสงฆ์ให้ทั้งปวงนี้แล้ว จงอนุโมทนาโดยเคารพ ให้เหมือนดังว่าตัวได้ทำเองเถิด เพื่อสำเร็จเป็นสมบัติขึ้น ด้วยอำนาจบุญสมบัตินั้น ขอสมบัติทั้งหลายตามที่ปรารถนาไว้ จงสำเร็จแก่ภูตทั้งหลายนั้นเถิด)

          เทวาทโย จ ลทฺธาน อมฺหํ ปตฺตานุโมทนํ
          ปตฺติทายกภูเตสุ อมฺเหสุ เมตฺตจิตฺตตํ
          กโรนฺตุ อตฺถกามาว อุปตฺถมเภนตุ สาสนํ
          สํวิทหนฺตุ อารกฺขํ อมฺหากํ ธมฺมกานินํ
          อหิตานิ อปเนนฺตุ หิตานิ อุปเนนฺตุ โน
          ยถานุภาวํ สาเธนฺตุ สพฺพา กุสลปตฺถนา
          อมฺหากํปิ จ สพฺเพสํ ธมฺเมน ปฏิปชฺชตํ
          ยา จ เทวมนุสฺสานํ สตฺตกาลวิปตติยํ
          พาลตาทีหิ อุปฺปนฺนา วิปนฺนตา ตถา ตถา
          ตํ สพฺพมฺปิ นิวาเรตฺวา สมฺปตฺตึ สาธยนฺตุ โว
          อโถ ปจฺจตฺถิกา สพฺเพ สาสนสฺสตฺตโนปิ จ
          อนตฺถกรโณกาสํ มา ลภึสุ กทาจิปิ
          สาสนํ พุทฺธเสฎฺฐสฺส จิรํ ทิปฺปตุ ตาทิโน
          สมฺมาปโยคยุตฺเตสุ อมฺหาทิเสสุ มานุสา
          เทวาวิคฺคหิตา หุตฺวา ปสนฺนา โหนฺตุ สาสเน
(อนึ่ง ภูตทั้งหลายมีเทวดาเป็นต้น ได้อนุโมทนาส่วนบุญของข้าพเจ้าทั้งหลายแล้ว ก็ขอจงทำความมีจิตเมตตาในข้าพเจ้าทั้งหลายซึ่งเป็นผู้ให้ส่วนบุญด้วยเถิด ขอจงเป็นผู้เห็นแก่ประโยชน์ ช่วยอุปถัมภ์พระศาสนา จัดการอารักขาพวกข้าพเจ้าผู้รักธรรม นำสิ่งไม่เกื้อกูลออกไป นำสิ่งเกื้อกูลเข้ามาให้แก่พวกข้าพเจ้า อนึ่งเล่า จงยังความปรารถนาที่เป็นกุศลทุกอย่าง ให้สำเร็จแก่ข้าพเจ้าทั้งปวงผู้ปฏิบัติตามธรรมอยู่ ตามอานุภาพของตนๆ เถิด อนึ่งความวิบัติด้วยประการนั้นๆ อันใด ที่เกิดขึ้นแก่เทวดาและมนุษย์ด้วยเหตุทั้งหลายมีความเป็นพาล (โง่เขลา?) เป็นต้น ในกาลวิบัติของสัตว์ (เช่นเกิดโรคระบาด?) ขอท่านทั้งหลายจงช่วยห้ามกันซึ่งวิบัตินั้นเสียทุกอย่าง แล้วบันดาลสมบัติให้มีให้เป็นขึ้นเถิด อนึ่ง ข้าศึกศัตรูทั้งปวงอย่าได้โอกาสที่จะทำความเสียหายแก่พระศาสนา และแก่ตัวข้าฯ ด้วยแต่สักครั้งเดียวขอพระศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ทรงตาทิคุณอันประเสริฐ จงรุ่งเรืองไปตลอดกาลนาน เพราะเหตุที่เหล่าชนผู้รักธรรมเช่นพวกข้าพเจ้าประกอบความเพียรโดยชอบ มนุษย์ทั้งหลายจึงเป็นผู้อันเทวดาคุ้มแล้วก็จงเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระศาสนาเทอญ  (ถวายพระพรพระเจ้าแผ่นดิน)

          สุเขตฺตาติสยีภูเต อุตฺตเม รตนตฺตเย
          ปวุตฺตํ ปุญฺญพีชํ ยํ ปุญฺญาภิวฑฺฒนาทิหิ
          ตํ โน สาธารณํ ปุญฺญ- พีชํ ปวุตฺตเมกโต
          อุปตฺถมเภตุ ราชานํ สามานํ รฏฺฐวฑฺฒนํ
          โย โน อนตฺถกามานํ อนตฺถวารเณน จ
          ปจฺจยานุปฺปทาเนน สมฺมาเนน ตถา ตถา
          อนุคฺคหปคฺคเหหิ อสฺมากํ อุปตฺถมฺภโก
          ยํ นิสฺสาย มยํ สพฺเพ อโรคา นิรุปทฺทวา
          สพฺพารีหิ อปฺปสยฺหา ปฏิปชฺชาม สาสนํ
          จิรํ ธรตุ โส ราชา อโรโค นิรุปทฺทโว
          ธมฺเมเนว ปติฏฺฐาตุ ปาปเกหิ อวญฺจิโย
          สพฺพนฺตรายโมกฺขาย เทวา รกฺขนฺตุ นํ สทา
(บุญพืชใด ที่อาตมภาพทั้งหลายหว่านลงแล้วในพระรัตนตรัยอันอุดม ซึ่งเป็นเกษตรดียิ่งยวด ด้วยกิจมีบำเพ็ญกรรมฐานเพื่อเพิ่มพูนบุญเป็นต้น ขอบุญนั้นอันมีอยู่ทั่วกันแก่อาตมภาพทั้งหลายๆ ได้หว่านไว้ด้วยกันแล้ว จงอุปถัมภ์พระราชาผู้ทรงทะนุบำรุงสยามรัฐให้เจริญเถิด พระราชาพระองค์ใดทรงอุปถัมภ์   อาตมภาพทั้งหลาย ด้วยทรงห้ามกันเสียซึ่งความเสียหาย แต่พวกคนที่คิดจะทำลายอาตมภาพทั้งหลายก็ดีด้วยคอยพระราชทานจตุปัจจัยก็ดี ด้วยทรงนับถือก็ดี ด้วยทรงอนุเคราะห์และประเคราะห์ (ยกย่อง) ก็ดี อาตมภาพทั้งปวงได้อาศัยพระราชาพระองค์ใดจึงได้เป็นผู้ไม่มีโรคไม่มีอุปัททวะเป็นผู้อันข้าศึกศัตรูทั้งหลายข่มเหงไม่ได้ ได้ปฏิบัติสาสนธรรมมา ขอพระราชาพระองค์นั้นจงทรงดำรงอยู่ยั่งยืน ปราศจากโรคาพาธอุปัทวันตราย อันคนชั่วทั้งหลายหลอกลวงไม่ได้ประดิษฐานอยู่ในราชสมบัติโดยธรรม ขอเทวดาทั้งหลายจงรักษาพระราชานั้นให้พ้นจากอันตรายทั้งปวงทุกเมื่อเทอญ)
(ตั้งอธิษฐานให้ภิกษุสงฆ์และสังฆิกาวาสเจริญมั่นคงด้วยอำนาจบุญที่เป็นทิฏฐธรรมเวทนีย)

          เตเนว ปุญฺเญน ทิฏ ฐ- ธมฺมเวทนิเยน จ
          สุเขตฺเต สมฺปสิทฺเธน อสยฺเหนญฺญกมฺมุนา
          อยเมว ภิกฺขุสงฺโฆ โรคูปทฺทววชฺชิโต
          วุฑฺฒึ วิรุฬฺหึ เวปุลฺลํ ปปฺโปตุ พุทฺธสาสเน
          ปจฺจยูปตฺถมฺภเกหิ อเวกลฺโล อนากุโล
          สมคฺโค สมฺโมทนาโน สีลาลงฺการภูสิโต
          สมาธิญาณสํยุตฺโต สทา โหตุ อสํหิโร
          สมฺปาเทตุ อปฺปมตฺโต สทฺธมฺมํ ติวิธํ วรํ
          อโนลีโน อนุกฺกณฺโฐ อาราเธตุ อนุกฺกมา
          สทฺธมฺมํ ปฏิเวธากฺขยํ โย โลกุตฺตรสญฺญิโต
          ตทูปการภูเตสุ โกสลฺเลสุ ตถา ตถา
          มูลภาสากถาทีสุ สมฺปาปุณาตุ ปาฏวํ
          สทฺธมฺมสฺสุปฆาตาย มา ลภนฺตุ วิปกฺขิกา
          โอตารมถวา กิญฺจิ อหิตํ อุปเนตเว
          อเปกฺขนฺตา อหิตมฺปิ อุปเนนฺตุ หิตํ หิตํ
          โทสาโรเปตุกามานํ ลเภ ธมฺเมน นิคฺคหํ
          ปโหตุ ธมฺมกามานํ เนตํ พุทฺธสฺส สาสเน
          เยปิสฺส ปาปกา ธมฺมา สทธมฺมสฺสนฺตรายิกา
          อวิชฺชาตณฺหาสมภูตา ราคโทสปภูตโย
          สพฺเพปิ เต อนุปฺปนฺนา มาจุปฺปชฺชนตุ กสฺสจิ
          อุปฺปนฺนา ตุ ปหิยฺยนฺตุ โยนิโส ปฏิปตฺติยา
(ด้วยบุญ (ที่พวกข้าพเจ้าสั่งสมมาแล้ว) นั้นนั่นแหละ ส่วนที่เป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม และด้วยกรรม (ที่เป็นบุญ) อื่นที่ไม่มีอะไรจะข่ม (มิให้อำนวยผลในปัจจุบัน) ได้ ซึ่งประสิทธิ์แล้วในเขตอันดี ขอภิกษุสงฆ์หมู่นี้แลจงเป็นผู้ปราศจากโรคและอุปัทวะ ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระพุทธศาสนา จงเป็นผู้ไม่อัตคัดยุ่งยากด้วยอุปฐากผู้อุปถัมภ์ด้วยจตุปัจจัย จงสมัครสมานชื่นบานต่อกัน ประดับด้วยสีลาลังการ ประกอบในสมาธิและญาณ (คือ สมถะและวิปัสสนา) ทุกเมื่อไม่ง่อนแง่น จงเป็นผู้ไม่ประมาทยังพระสัทธรรมทั้ง ๓ ให้ถึงพร้อมไม่ย่อหย่อน ไม่กระสัน จงยินดี (ประพฤติพรหมจรรย์) ไปโดยลำดับ ส่วนผู้ที่มุ่งหมายโลกุตตรธรรม จงเรียนพระสัทธรรมอันว่าด้วยปฏิเวธให้ชัดเจนในโกสัลละ (วิธีทำให้ฉลาด) ในคัมภีร์มีมูลภาษาและกถาต่างๆ เป็นอาทิ อันเป็นอุปการะแก่ปฏิเวธสัทธรรมนั้น อนึ่ง ขอพวกคนที่เป็นข้าศึก (ต่อพระศาสนา) จงอย่าได้ช่องที่จะนำความร้ายเข้ามาเพื่อทำลายล้างพระสัทธรรม แม้มุ่งร้ายก็จงกลายเป็นนำสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลเข้ามาให้ไปเสีย ขอพระสงฆ์จึงได้นิคหะโดยธรรมแก่พวกคนที่มุ่งจะยกโทษเอา จงสามารถที่จะแนะนำในคำสอนของพระพุทธเจ้าแก่เหล่าชนผู้รักธรรม แม้บาปธรรมทั้งหลายใดที่เป็นอันตรายแก่พระสัทธรรม เกิดแต่อวิชชาตัณหา มีราคะ โทสะ (โมหะ) เป็นต้นราก บาปธรรมทั้งหลายนั้นทุกอย่างที่ยังไม่เกิด ก็ขออย่าได้เกิดขึ้นแก่ภิกษุสงฆ์นั้นแต่สักรูปเดียว ส่วนที่มันเกิดขึ้นแล้ว ก็ขอจงละเสียได้ด้วยความปฏิบัติโดยถูกทางเถิด)

          ยํ ยญฺจ สงฺฆิกาวาสํ อชฺฌาวสติ ปาลยํ
          ปฏิมาเจติยาทีนิ สทฺธมฺมญฺจ ปวตฺตยิ
          โส โส ภิกฺขูนมาวาโส สพฺพทา โหตุ ปูชิโต
          อพฺโพกิณฺโณ อลชฺชีหิ อิทฺโธ ผีโต นิรพฺพุโท
          มา จ โหตุ วิปกฺเขหิ คหณิโย กทาจิปิ
(อนึ่ง ภิกษุสงฆ์อยู่ครองสังฆิกาวาสใดๆ รักษาปูชนียวัตถุมีพระปฏิมาและพระเจดีย์เป็นต้นอยู่ และยังพระสัทธรรมให้เป็นไป (ด้วยการเรียน การสอน การปฏิบัติ) อยู่ ขออาวาสของภิกษุสงฆ์นั้นๆ จงเป็นที่ที่คนทั้งหลายบูชาตลอดไปทุกเมื่อ ไม่เป็นที่เกลื่อนกล่นไปด้วยพวกอลัชชี จงเจริญรุ่งเรืองปราศจากเสี้ยนหนาม และอย่าพึงถูกพวกคนที่เป็นข้าศึก (ต่อพระศาสนา) ยึดเอาไปเสียเลย ไม่ว่าในกาลไหนๆ)

          ยา จาสา หิตกมฺเมสุ ปเรสมตฺตโนปิ จ
          อุปฺปนฺนา ภิกฺขุสงฺฆสฺส ตทูปกรเณสุ จ
          ขิปฺปํ สพฺพา กุสลาสา สิชฺฌเตฺวว อนีติยา
(อนึ่ง ความหวังในอันจะทำประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่นและแก่ตนก็ดีในอันจะเกื้อหนุนส่งเสริมการบำเพ็ญประโยชน์นั้นก็ดี อันใด เกิดขึ้นแก่สงฆ์แล้ว ขอความหวังอันเป็นกุศลทั้งปวงนั้น จงสำเร็จเร็วพลันโดยหาอันตรายมิได้เถิด)
(อธิษฐานให้ภิกษุสงฆ์ที่ยังไม่สิ้นชาติไปเกิดในภพที่ดีในชาติหน้าด้วยอำนาจบุญที่เป็นอุปปัชชเวทนีย)

          เตน สิทฺเธนุปปชฺช- เวทีนเยน กมฺมุนา
          เย เย อิมมฺหิ สงฺฆสฺมึ ปุญฺญายุกฺขยมาคตา
          สพฺเพ อิโต จวิตฺวาน อายุหนฺตา ปุนพฺภวํ
          เย เทวา วา มนุสฺสา วา ธมฺมิกา ธมฺมวาทิโน
          สมฺมาทสฺสนสมฺปนฺนา สตํธมฺมาภิโรจกา
          เยสุ วา อยํ สทฺธมฺโม ตถาคตปฺปเวทิโต
          ปริยตฺติปฏิปตฺติ- วเสน สมฺปวตฺตติ
          เตสเมว สหพฺยตํ อุปปชฺชนฺตุ ตาทิเส
          ยตฺถ ปุชฺชพฺภเว ฐตฺวา ลภิตฺวา มิตฺตสมฺปทํ
          ปูเรยฺยํ กุสลํ ธมฺมํ วิวฏฺฏสฺสูปนิสฺสยํ
(ด้วยบุญ (ที่พวกข้าพเจ้าสั่งสมมาแล้ว) นั้น ส่วนที่เป็นอุปปัชชเวทนียกรรม ภิกษุทั้งหลายใดใดในสงฆ์หมู่นี้ ที่มาสิ้นบุญหรือสิ้นอายุเคลื่อนจากภพนี้ไปสู่ภพใหม่ทุกรูป เทวดาหรือมนุษย์เหล่าใดตั้งอยู่ในธรรม กล่าวเป็นธรรม ถึงพร้อมด้วยความเห็นชอบ พอใจในธรรมของสัตบุรุษ หรือว่าพระสัทธรรมที่พระตถาคตเจ้าทรงประกาศแล้วนี้ย่อมเป็นไปพร้อมในเทวดาและมนุษย์เหล่าใด โดยการเรียนและการปฏิบัติตาม ขอภิกษุทั้งหลายนั้นๆ จงได้ไปเกิดร่วมอยู่กับเทวดาและมนุษย์ผู้ตั้งอยู่ในธรรมเหล่านั้นในภพเช่นนั้น อันเป็นภพที่เขายกย่องบูชา ซึ่งเป็นภาพที่บุคคลได้อยู่แล้ว จะพึงได้พบมิตรที่ดี ได้บำเพ็ญกุศลธรรมอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานเถิด (ตั้งปณิธานเพื่อได้ฐานะอันดีในภพต่อๆ ไปด้วยอำนาจบุญที่เป็นอปราปริยเวทนีย)

          เตเนวาปราปริย- เวทนีเยน กมฺมุนา
          ตโตปิ สํสรนฺตา เต ภเวสุ อปราปรํ
          นิยตา โพธิสตฺตาว สมพุทฺเธน วิยากตา
          มาฏฺฐารสปิ อภพฺพ- ฐานานิ อุปปชฺชิสํ
          มา มิจฺฉาทิฏฐิกา โหนฺตุ โหนฺตุเยว สุทิฏฺฐิโน
          วชฺเชนฺตุ ปาปกมฺมานิ สมฺปาปกานิ ทุคฺคตึ
          พาลานํ ปาปการีนํ มา ทิฏฺฐานุคตึ กรุํ
          พุทฺเธ ปจฺเจกสมฺพุทฺเธ อถวา พุทฺธสาวเก
          โลเก อุปฺปนฺเน อุปฺปนฺเน เสวนฺตุ ธีรปณฺฑิเต
          สญฺจินนฺตุ กุสลานิ สํสารมฺหา วิมุตฺติยา
          เตสํ สมฺปุณฺณกาลมฺหิ อุปคนฺตฺวาน ภพฺพตํ
          สจฺฉิกโรนฺตุ นิพฺพานํ ปปฺโปนฺตุ อาสวกฺขยํ
          เตน เตน วิเสเสน ยถิจฺฉิเตน มณฑิตา
(ด้วยบุญ (ที่พวกข้าพเจ้าสั่งสมมาแล้ว) นั้นแหละ ส่วนที่เป็นอปราปริยเวทนียกรรม ภิกษุทั้งหลายนั้นยังท่องเที่ยวไปในภพทั้งหลายแต่ภพ (ที่สอง) นั้นต่อๆ ไปอีก ขออย่าได้เข้าถึงอภัพฐานทั้ง ๑๘ ประการ ดังพระนิยตโพธิสัตว์ที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์แล้วฉะนั้นเถิดอย่าเป็นคนมีความเห็นผิด จงเป็นคนมีความถูกทีเดียว จงเว้นบาปกรรมทั้งหลายที่จะพาไปทุคติ อย่าได้ทำตามเยี่ยงอย่างพวกคนพาลที่ชอบทำบาป จงได้ประสบคบหาพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธ พระพุทธสาวก และบัณฑิตผู้มีปัญญา ที่เกิดๆ มาในโลก จงได้สร้างสมกุศลทั้งหลายเพื่อความหลุดพ้นจากสงสาร ในกาลที่กุศลเหล่านั้นเต็มเปี่ยมแล้ว ขอจงเข้าถึงความเป็นภัพพบุคคล แล้วทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน บรรลุอาสวักขัยประดับด้วยคุณวิเศษนั้นๆ ดังปรารถนา)

          เอวายํ กุสลา อาสา ภิกฺขุสงฺเฆน ปตฺถิตา
          สาทเรน ปณิธาย ปฏิมายปิ สมฺมุขา
          อนนฺตรายา สิชฺฌนฺตุ เทวานํ อปิ ถามสา
          เทวาภิรกฺขิโต สงฺโฆ สทา ภทฺรานิ ปสฺสตุ
(ความหวังอันเป็นกุศลดังกล่าวมานี้ ที่ภิกษุสงฆ์ได้ตั้งปณิธานปรารถนาด้วยความเคารพต่อพระพักตร์พระปฏิมาแล้ว แม้ด้วยพลานุภาพของเทวดาทั้งหลาย จงสำเร็จหาอันตรายมิได้ ภิกษุสงฆ์อันเทวดาคุ้มครองรักษาแล้ว จงประสบแต่ความเจริญทุกเมื่อเถิด)

(อธิษฐานขอให้บุรพาจารย์ที่ไปเกิดเป็นเทวดาช่วยรักษาพระศาสนาด้วย)

          อิทํ โข สาสนํ สตฺถุ โลเกตุตฺตมตาทิโน
          โอปายิกํ สุสีลาทิ- สงฺคหํ อมตาวหํ
          ปุพฺพาจริยสีเหหิ อาภตํ ปฏิปาฏิยา
          ยาวมฺหากํปิ ปาเปตฺวา ยถากถญฺจิ ติฏฺฐติ
          ปุพฺพาจริยสีหา เย เสขา สปฺปฏิสนธิกา
          อปฺปหีนาลยา ธมฺเม กลฺยาณา วา ปุถุชฺชนา
          เทเวสุ นิพฺพตฺติตฺวาน อนุปาเลนฺติ สาสนํ
          สมฺมาปฏิปชฺชนฺตานํ อตฺถกามา หิเตสิโน
          สพฺเพ เทวาทิภูตา เต ยตฺถ กตฺถจิ สณฺฐิตา
          อชฺฌาสยํ ปชานนฺตุ อมหากํ ธมฺมกามินํ
          อนุคฺคณฺหนฺตุ อมเหปิ ตตฺถ ตตฺถ ยถารหํ
(พระศาสนาของพระศาสดา ผู้ทรงตาทิคุณอุดมในโลก เป็นศาสนาชอบแก่เหตุผล เป็นที่รวบรวมธรรมอันดีมีศีลเป็นต้น นำพระอมตผลมาให้ (แก่ผู้ปฏิบัติตาม) นี้แล ท่านบุรพาจารยสีหะทั้งหลายนำสืบกันมาโดยลำดับ จนถึงข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย ยังประดิษฐานอยู่ตามที่ปรากฏอยู่อย่างไรนี่แหละ ท่านบูรพาจารยสีหะทั้งหลายใด ยังเป็นพระเสขะ ยังจะต้องถือปฏิสนธิ ยังละอาลัยไม่ได้ หรือเป็นกัลยาณปุถุชนในธรรมก็ดี ไปเกิดในหมู่เทวดาแล้วคอยรักษาพระศาสนาอยู่ ขอท่านเหล่านั้นผู้เป็นเทวดาเป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นผู้หวังความเจริญแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแก่เหล่าชนที่ปฏิบัติชอบ สถิตอยู่ ณ สถานที่ใดๆ ก็ดี ขอจงทราบอัชฌาสัยของข้าพเจ้าทั้งหลายผู้รักธรรมอยู่โดยปกติ ช่วยอนุเคราะห์ข้าพเจ้าทั้งหลาย ในกาลและสถานที่นั้นๆ ตามควรด้วยเทอญ

ที่มา https://www.facebook.com/Bowonniwet

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.731 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 27 กุมภาพันธ์ 2567 15:59:10