[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
27 เมษายน 2567 07:43:22 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ไอบูโพรเฟน กับ 5 ข้อควรระวัง เสี่ยงอันตรายต่อไต  (อ่าน 798 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Compatable
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +3/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1210


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 91.0.4472.106 Chrome 91.0.4472.106


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 18 มิถุนายน 2564 16:51:03 »



ไอบูโพรเฟน-ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs กับ 5 ข้อควรระวัง อาจเสี่ยงอันตรายต่อไต





อย. เตือน หากกินยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs ไม่ถูกวิธี อาจเสี่ยงโรคที่เกี่ยวกับไตได้

ยาแก้ปวดที่เรากินกันอยู่ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลักๆ ได้แก่ ยาพาราเซตามอล ยาแก้อักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์
NSAID (Non-Sterodical Anti-Inflammatory Drugs) ยาแก้ปวดกลุ่ม COX–2 Inhibitor และ ยาแก้ปวดชนิดเสพติด
กลุ่มอนุพันธ์ของฝิ่นและมอร์ฟีน



ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ระบุว่า ยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ มีฤทธิ์แก้ปวด ต้านการอักเสบ
และลดไข้ ยากลุ่มนี้ เป็น “ยาอันตราย” ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์หรือเภสัชกร

ตัวอย่างยาที่เห็นกันบ่อยๆ เช่น

 - แอสไพริน (Aspirin)
 - ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)
 - ไดโคลฟีแน็ก (Diclofenac)
 - นาพร็อกเซน (Naproxen)
 - เซเลค็อกสิบ (Celecoxib)
 - ไพร็อกซิแคม (Piroxicam)
 - เมล็อกซิแคม (Meloxicam)
 - เอทอริค็อกสิบ (Etoricoxib)
 - ฯลฯ



ข้อควรระวังในการกินยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs

การกินยาในกลุ่มนี้แนะนำให้กินหลังอาหารทันที และดื่มน้ำตามมากๆ เนื่องจากยามีผลข้างเคียงที่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร       



กินยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs มากเกินไป ส่งผลต่อไต

หากใช้ยาในกลุ่มนี้มากเกินไป จะส่งผลให้การไหลเวียนเลือดภายในไตลดลง อาจทำให้เกิดภาวะไตเสียหายเฉียบพลันได้ และยาในกลุ่มนี้
ยังทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย การใช้ยาในระยะยาวจึงนำไปสู่การเกิดโรคไตเรื้อรังได้



5 ข้อควรระวัง กินยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs อาจเกิดอันตรายต่อไต

การเกิดอันตรายต่อไตเมื่อกินยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs ขึ้นอยู่กับ

  1  ขนาดยาและระยะเวลาที่ใช้ยา ไม่ควรใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ ควรใช้ยาในขนาดต่ำสุดที่ให้ผลในการรักษา และใช้เป็นเวลาสั้นที่สุดตามความจำเป็น
  2  ผู้สูงอายุและทารกแรกคลอดมีความเสี่ยงสูง
  3  ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูง โรคตับ โรคเบาหวาน โรคอ้วน
  4  ผู้ที่อยู่ในภาวะเสียเลือดมากหรือเสียน้ำมาก
  5  การใช้ร่วมกับยาอื่น เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดันโลหิต

ดังนั้น การใช้ยาต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ หรือเภสัชกรเท่านั้น และหากมีโรคประจำตัวควรแจ้งให้เภสัชกรทราบก่อนซื้อยาทุกครั้ง
ไม่อย่างนั้นอาจเกิดอันตรายได้








ขอขอบคุณ
ข้อมูล :สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.),Arin Care
ภาพ :iStock
เรียบเรียง :Sanook.com
โดย :Jurairat N.

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ผีถ้วยแก้ว วิธีเล่น ข้อควรระวัง และประสบการณ์ตรงของน้าแม๊ค ที่เคยลอง
ร้อยภูติ พันวิญญาณ
หมีงงในพงหญ้า 0 5073 กระทู้ล่าสุด 13 มกราคม 2553 21:56:03
โดย หมีงงในพงหญ้า
ข้อควรระวัง จาก Fwd mail
สุขใจ ไปรษณีย์
sithiphong 3 2849 กระทู้ล่าสุด 11 มิถุนายน 2553 08:23:11
โดย sithiphong
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.238 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 04 เมษายน 2567 07:53:32