[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
01 พฤศจิกายน 2567 05:46:01 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ฮีตเวฟ ... คลื่นความร้อนที่ควรระวัง  (อ่าน 1835 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2553 20:42:36 »

ฮีตเวฟ ... คลื่นความร้อนที่ควรระวัง
http://health.kapook.com/view12875.html

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

            ด้วยสภาพอากาศแปรปรวนอย่างหนัก อันเป็นผลจากความวิปริตแปรปรวนของปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้อุณหภูมิแทบจะทุกตารางนิ้วของประเทศไทยพุ่งพรวดเหยียบ 40 องศาเซลเซียส ติดต่อกันมาหลายวัน ส่งผลให้อากาศร้อนอบอ้าวผิดปกติ โดยเฉพาะที่จังหวัดลำปาง อุณหภูมิสูงถึง 43 องศาเซลเซียส ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน

            นอกจากนี้ ยังส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจาก "ภาวะคลื่นความร้อน" หรือ "ฮีตเวฟ" ไปแล้ว 15 ราย ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าประเทศไทยกำลังเผชิญกับปรากฏการณ์ "ฮีตเวฟ" อย่างหนัก

            เอ่ยมาถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัยและยังไม่รู้ว่า "ฮีตเวฟ" คืออะไร น่ากลัวอย่างไร วันนี้กระปุกดอทคอมมีคำตอบดี ๆ มาอธิบายกันค่ะ...

            ภาวะคลื่นความร้อน หรือ ฮีตเวฟ (Heat wave) หมายถึง อากาศร้อนจัดที่สะสมอยู่พื้นที่บริเวณหนึ่ง แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

            - แบบสะสมความร้อน เกิดในพื้นที่ซึ่งสะสมความร้อนเป็นเวลานาน อากาศแห้ง ลมนิ่ง ทำให้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ไม่เคลื่อนที่ เมื่ออุณหภูมิร้อนสะสมหลายวันจะเกิดคลื่นความร้อนมากขึ้น เช่น หากพื้นที่ไหนมีอุณหภูมิ 38-41 องศาเซลเซียส แล้วไม่มีลมพัดต่อเนื่อง 3-6 วัน ไอร้อนจะสะสมจนกลายเป็นคลื่นความร้อน

            - แบบพัดพาความร้อน ซึ่งคลื่นความร้อนชนิดนี้เกิดจากลมแรงหอบความร้อนจากทะเลทราย ขึ้นไปในเขตหนาว ซึ่งมักเกิดในยุโรป

            ทั้งนี้ ประเทศไทยเรียกว่าแทบจะไม่มีโอกาสเกิด "คลื่นความร้อน" หรือ "ฮีตเวฟ" ได้เลย เนื่องจากไม่ได้ตั้งอยู่ในพื้นที่มีมวลอากาศร้อนจัด ประกอบกับไม่มีทะเลทราย นอกจากนี้ ฮีทเวฟจะเกิดได้ก็ต่อเมื่ออุณหภูมิร้อนเกิน 40 องศาต่อเนื่องกันหลายสัปดาห์ แต่สภาพอากาศของไทยมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาทุก 7-10 วัน ทำให้เกิดฝนตก ช่วยลดอุณหภูมิไม่ให้ไต่ระดับสูงถึงขั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ปี 2553 ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น อันเนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญ่ ทำให้ฤดูร้อนปีนี้ของประเทศไทยอุณหภูมิเฉลี่ย 42-43 องศา ทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านโลกร้อนยืนยันว่า ไทยเสี่ยงต่อปรากฏการณ์ "ฮีตเวฟ" เป็นอย่างมาก

            เกี่ยวกับเรื่องนี้ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า สภาพอากาศของไทยช่วงนี้มีความแปรปรวนสูง โดยเฉพาะอากาศร้อนจัดและที่มีแนวโน้มจะร้อนเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายอย่างยิ่ง เพราะอุณหภูมิสูงติดต่อกันเกิน 3 วันขึ้นไปจะทำให้เกิด "คลื่นความร้อน" และคนที่ได้รับคลื่นความร้อนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ และตามรายงานมีผู้เสียชีวิตจากความร้อนแล้ว 15 คน ซึ่งถือว่าเยอะเป็นประวัติการณ์ จึงขอฝากบอกไปยังกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้รีบออกประกาศเตือนภัย เพราะหากปรับสภาพร่างกายไม่ทัน อาจทำให้หัวใจวายและเสียชีวิตในที่สุด หากทุกคนยังไม่ตระหนักถึงเรื่องนี้ แนวโน้มความรุนแรงของสภาพอากาศจะยิ่งสูงขึ้นอีกในปีต่อ ๆ ไป โดยเฉพาะในปี 2554 จะมีปรากฏการเอลนินโญ่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิก ก็ยิ่งจะทำให้สภาพอากาศเลวร้ายและประชาชนจะต้องประสบกับปัญหาภัยแล้ง และเผชิญกับคลื่นความร้อนที่รุนแรงมากขึ้นอีก

            อย่างไรก็ตาม ไม่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นที่กำลังเผชิญหน้ากับ "ฮีตเวฟ" อันเนื่องมาจากผลของภาวะโลกร้อน เพราะทั่วโลกก็กำลังได้รับผลกระทบเหมือน ๆ กัน ซึ่งทำให้เกิดคำถามตามมาว่า ... ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะหันมาศึกษาและป้องกันภัยจาก "ภาวะโลกร้อน" อย่างจริงจัง

      สำหรับวิธีปฏิบัติตัวเพื่อบรรเทาความร้อน ได้แก่...

            1. ให้หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดที่ร้อนจัด พยายามอยู่ในที่ร่มโดยเฉพาะเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว

            2. ให้ดื่มน้ำมาก ๆ ไม่น้อยกว่าวันละ 8 แก้ว หรือ 2 ลิตรต่อวัน มีวิธีสังเกตง่าย ๆ ว่าร่างกายได้รับน้ำเหมาะสมหรือไม่ คือสังเกตจากสีของปัสสาวะ ถ้าปัสสาวะมีสีเหลืองจาง ๆ แสดงว่าได้รับน้ำเพียงพอ แต่ถ้าปัสสาวะสีเหลืองเข้มและปัสสาวะออกน้อย แสดงว่าได้รับน้ำไม่เพียงพอ จะต้องดื่มน้ำให้มาก ๆ

            3. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้ง

            4. หากร้อนจัดแล้วเหงื่อไม่ออกให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว เพื่อระบายความร้อนในตัวออกมา และเป็นการลดความร้อนออกจากร่างกาย

            5. หากมีอาการของโรคลมแดด คืออาการกระหายน้ำ ตัวร้อนแต่ไม่มีเหงื่อออก หายใจถี่ ปากคอแห้งและอาจวิงเวียนศีรษะ ขอให้รีบไปพบแพทย์

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7862


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2553 23:01:57 »

ช่วงนี้อากาศร้อนมาก

ขอบคุณสำหรับความรู้ดี ๆ ครับ
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.465 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 15 สิงหาคม 2567 14:49:56