[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 23:58:54 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไมถึงมี “วงรัศมี” รอบศีรษะบุคคลสำคัญทางศาสนา  (อ่าน 537 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 91.0.4472.124 Chrome 91.0.4472.124


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 14 กรกฎาคม 2564 14:03:13 »


ภาพประกอบเนื้อหา

ทำไมถึงมี “วงรัศมี” รอบศีรษะบุคคลสำคัญทางศาสนา
ทั้งฝั่งตะวันตก-ตะวันออก ?


ที่มา - ศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ - วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2564


ศาสนาหรือลัทธิความเชื่อต่างๆ ทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าจะเป็นศาสนาพุทธ คริสต์ ฮินดู โซโรคัสเตอร์ หรือแม้แต่เทพปกรณัมของกรีก มักถูกมองว่าล้วนมีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป แต่เมื่อดูงานศิลปะอันเกี่ยวเนื่องกับศาสนาต่างๆ เหล่านี้แล้วกลับพบว่า ยังมีบางสิ่งที่พอจะเชื่อมโยงความเชื่อทางศาสนาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน สิ่งนั้นก็คือ สัญลักษณ์วงรัศมี

หากสังเกตในงานศิลปะทางศาสนา หลายคนน่าจะพอจำสัญลักษณ์วงรัศมีซึ่งปรากฏอยู่รอบศีรษะของบุคคลซึ่งถูกมองว่ามีสถานะความศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของแต่ละกลุ่ม

วงรัศมีในงานศิลปะมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นประกายแบบที่ปรากฏในเทพีเสรีภาพ หรือแบบที่เป็นลักษณะเปลวเพลิงในงานศิลปะแบบอิสลาม ทั้งในจักรวรรดิออตโตมัน จักรวรรดิโมกุล กระทั่งจักรวรรดิเปอร์เซีย

เหตุผลในการประดิษฐ์สัญลักษณ์วงรัศมีนี้ มีผู้สันนิษฐานไปในทิศทางต่างๆ นานา โดยแหล่งข้อมูลบางแห่งอ้างว่า เดิมทีวงรัศมีนี้เป็นรูปแบบของมงกุฎ หรือบ้างก็ว่าเป็นสัญลักษณ์ของความรุ่งโรจน์ที่แผ่ออกมาจากจิตใจของผู้มีความศักดิ์สิทธิ์ หรืออาจเป็นข้อเสนอที่เรียบง่ายกว่านั้น โดยอ้างว่าเป็นเพียงการประดับตกแต่ง

นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานที่แหวกแนวออกไปอีกว่า วงรัศมีนี้พัฒนามาจากแผ่นที่ติดอยู่กับรูปปั้นเพื่อป้องกันมูลนกตกใส่ศีรษะของรูปปั้นทวยเทพ

แมทธิว วิลสัน (Matthew Wilson) ผู้เขียนบทความเรื่อง “สัญลักษณ์วงรัศมีซึ่งแพร่กระจายไปทั่วโลก” ในเว็บไซต์ BBC อธิบายว่า การค้นคว้าศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดเชิง “หน้าที่” ของสัญลักษณ์วงรัศมีในงานศิลปะทางศาสนาที่ผ่านมาพบว่า สามารถสืบข้อมูลย้อนกลับไปได้ไกลถึงแค่ช่วงระหว่าง 100 ปีก่อนคริสตกาลถึงช่วง 1 ปีก่อนคริสตกาล และแม้ว่าวงรัศมีนี้จะไม่มีปรากฏอย่างโดดเด่นในศาสนาใดๆ มาก่อนหน้านี้ แต่เพียงไม่กี่ศตวรรษถัดมา มันได้กลายส่วนหนึ่งของศาสนาต่างๆ ไปทั่วยูเรเซีย

ตามมุมมองของแมทธิว วิลสัน เขาอธิบายว่า สัญลักษณ์วงรัศมีนี้มีแนวโน้มว่าวิวัฒนาการมาจากศิลปะในยุคแรกๆ ของอียิปต์โบราณ ซึ่งมีเทพรา (Ra) ผู้เป็นสุริยเทพที่มักจะมีรูปทรงกลมอันเป็นตัวแทนแห่งดวงอาทิตย์ปรากฎอยู่บริเวณเหรือศีรษะ

โดยลักษณะในทำนองเดียวกันนี้ยังพบที่เมือง Mohejo-daro (ในหุบเขา Indus ปากีสถาน) ช่วงทศวรรษ 2,000s ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งรัศมีเหล่านี้ปรากฏลักษณะประกายแบบเปล่งออร่าทั่วร่างกาย ไม่ได้เป็นแค่เพียงบริเวณศีรษะเท่านั้น

หรือแม้แต่ในศิลปะของกรีกโบราณยังสามารถพบมงกุฎที่แผ่รัศมีออกมาจากบริเวณศีรษะของวีรบุรุษในตำนาน ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นพลังอันศักดิ์สิทธิ์ แต่วงรัศมีที่พบเห็นในปัจจุบันนี้ แมทธิว มองว่าเป็นผลมาจากการประดิษฐ์ในยุคหลัง ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากแนวคิดทางศาสนาที่เฉพาะตัว

ตัวอย่างแรกสุดของวงรัศมียุคแรกๆ ที่เป็นลักษณะจานทรงกลมมาจากในงานศิลปะทางศาสนาของอิหร่านโบราณเมื่อทศวรรษ 300s ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งมักจะถูกรับรู้ว่าเป็นลักษณะเด่นของ Mithra ผู้เป็นเทพแห่งแสงในศาสนาโซโรคัสเตอร์ มีข้อเสนอแนะว่า แนวคิดเรื่องความรุ่งโรจน์อันศักดิ์สิทธิ์ในโซโรคัสเตอร์เกี่ยวพันเชื่อมโยงกับแนวคิดการแผ่รัศมีของดวงอาทิตย์ ซึ่งการใช้วงรัศมีในบริบทนี้เป็นการสื่อสารเชิงภาพในแง่ที่พยายามเชื่อมโยงคุณลักษณะของวงรัศมี(เชิงดวงอาทิตย์)มาผูกเข้ากับลักษณะของ Mithra แบบเดียวกับที่เกิดขึ้นกับเทพรา (Ra)

เมื่อเวลาล่วงเลยมาถึงช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 100 เริ่มพบสัญลักษณ์วงรัศมีในสถานที่ที่กว้างไกลออกไป เช่น เมือง El Djem ในตูนิเซีย เมือง Samosata ในตุรกี หรือเมือง Sahri-Bahlol ของปากีสถาน เรื่อยมาจนถึงช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 400 สัญลักษณ์วงรัศมีถูกผนวกเข้ากับศิลปะแบบคริสเตียนในกรุงโรม รวมถึงศิลปะทางพุทธศาสนาในประเทศจีน ในระยะเวลาเพียงไม่กี่ศตวรรษ สัญลักษณ์วงรัศมีก็กลายมาเป็นสัญลักษณ์แห่งความศักดิ์สิทธิ์ในหลายศาสนาแถบยูเรเซียไป

Matthew Wilson อธิบายอีกว่า อิทธิพลของสัญลักษณ์วงรัศมีที่แพร่กระจายไปทั่วโลก เริ่มจากการเคลื่อนตัวออกจากอิหร่าน ซึ่งอาจถือว่าเป็นถิ่นกำเนิดของมันออกไปสู่ทั้งแถบตะวันออกและตะวันตก ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1 เมื่อชาวอินโด-ไซเธียน (ชนเผ่าเร่ร่อนจากอิหร่าน) และคูชาน (จากบักเตรียในอัฟกานิสถาน) รุกรานพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ดินแดนที่ปัจจุบันคือพื้นที่ของปากีสถาน อัฟกานิสถาน และอินเดียตอนเหนือในปัจจุบัน ทั้งสองอาณาจักรซึ่งอยู่ท่ามกลางวัฒนธรรมอิหร่านโบราณ นำระบบเงินตราที่ปรากฏเหรียญซึ่งสื่อถึงเทพ Mithra อันมีวงรัศมีปรากฏอยู่เข้ามาด้วย

เทพซึ่งมีลักษณะน่าสนใจและมีรัศมีแห่งเทพเจ้าเป็นสิ่งที่ชวนดึงดูดความสนใจผู้คนในแถบเทือกเขาฮินดูกูช (Hindu Kush) แมทธิว ชี้ว่า แม้แต่ภาพของพระพุทธองค์ที่เชื่อกันว่าเป็นงานภาพยุคแรกๆ ที่นำเสนอภาพของพระพุทธองค์อย่างภาพภายนอกที่เก็บพระธาตุ Bimaran (ซึ่งอาจมีขึ้นตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1) ยังแสดงให้เห็นพระพุทธเจ้าพร้อมวงรัศมี แบบที่พบในความเชื่อของกลุ่ม Mithra

เวลาต่อมา Mithras ยังมีอิทธิพลต่อการเขียนรูปลักษณ์ของของเทพโรมันอีกองค์หนึ่ง คือ Sol Invictus เทพเจ้าทั้งสององค์ล้วนผนวกเอาร่างกายที่สง่างามเข้ากับพลังศักดิ์สิทธิ์ โดยเชื่อมโยงกับการแผ่รัศมีและอำนาจของดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชนชั้นนำในสังคมเคารพบูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับจักรพรรดิแห่งโรมันอย่างคอนสแตนติน (จักรพรรดิในปี ค.ศ.306-337) ซึ่งยอมรับสัญลักษณ์ของวงรัศมีในเชิงอำนาจของมัน คอนสแตนตินกับทายาทจึงใช้วงรัศมีนี้ในงานศิลปะที่แสดงให้เห็นภาพของพวกเขา

จากนั้น เมื่อศาสนาคริสต์ในจักรวรรดิโรมันเริ่มได้การยอมรับมากขึ้น ศิลปินจึงเริ่มสร้างงานศิลปะแบบที่นำเสนอภาพของพระเยซูพร้อมวงรัศมี การประยุกต์ใหม่ในทางสัญลักษณ์ในหมู่คริสเตียนนี้ปรากฏขึ้นในช่วงราวทศวรรษที่ 300s หลังจากมันปรากฏในศาสนาพุทธมากกว่า 200 ปี

สัญลักษณ์วงรัศมีนั้นคงอยู่ในงานศิลปะของคริสเตียนนับแต่นั้นมา แม้ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนดัดแปลงบ้างในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

สำหรับศาสนาพุทธ เชน และฮินดู ทั้งสามศาสนาปรากฏที่ทางอยู่ในอินเดียร่วมกันได้ในช่วงพันปีแรกของคริสต์ศตวรรษ ทั้งสามความเชื่อแชร์ไอเดียและการเขียนรูปลักษณ์ในงานศิลปะรวมถึงสัญลักษณ์วงรัศมีด้วย

งานแกะสลักยุคแรกๆ ที่ปรากฏรูปวงรัศมีจากศาสนาในอินเดียมาจากศูนย์กลางการผลิตงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่สองแห่ง ได้แก่ Gandhara (ที่ชายแดนของปากีสถานและอัฟกานิสถาน) และ Mathura (ห่างจากทางตอนใต้ของเมืองเดลี 90 ไมล์)

ในยุคโบราณตอนปลายและยุคกลาง Gandhara อยู่ในบริเวณศูนย์กลางของเครือข่ายเส้นทางการค้าขนาดใหญ่ที่ทอดยาวไปถึงจีนทางตะวันออกและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันตก

วัดทางพุทธศาสนาจึงปรากฏขึ้นตามจุดเชื่อมต่อหลักของเส้นทางการค้า และวัดทางพุทธศาสนานี้เอง เป็นสถานที่ให้เหล่าพ่อค้าได้พักผ่อน สวดมนต์ และพักฟื้น กลายเป็นจุดเริ่มต้นที่พระพุทธศาสนาแผ่ขยายวงกว้างไปทั่วจีน รวมทั้งการเขียนรูปลักษณ์ทางศาสนาในงานศิลปะ เมื่อเวลาผ่านไป สัญลักษณ์วงรัศมีก็ปรากฏในงานศิลปะในแถบเกาหลีและญี่ปุ่น ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 500

การเผยแพร่แบบเดียวกันนี้เกิดขึ้นกับศาสนาฮินดูเช่นกัน โดยแพร่กระจายไปทั่วเอเชียผ่านเส้นทางการค้าทางบกและทางทะเล รวมถึงได้นำแนวคิดความเชื่อทางศาสนาและรูปแบบศิลปะมาสู่อินโดนีเซีย มาเลเซีย และดินแดนอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.368 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 01 ตุลาคม 2566 07:39:58