[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 05:24:10 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระโอวาทในวันอาสาฬหบูชา  (อ่าน 1915 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5436


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2564 13:17:16 »


สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

พระโอวาทในวันอาสาฬหบูชา
พระธรรมเทศนา สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
ในวันอาสาฬหบูชา พุทธศักราช ๒๕๐๑

วันนี้ เป็นวันอาสาฬหบุรณมี ดิถีพระจันทร์เต็มดวงเดือนอาสาฬหะตามจันทรคติทางราชการ ซึ่งตรงกับวันที่พระบรมศาสดา ได้ทรงแสดงพระปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ประกาศสัจจธรรม ธรรมที่เป็นจริงแก่ชาวโลกเป็นวาระแรก และท่านแสดงว่าท่านพระโกณฑัญญะ เมื่อฟังเทศนานี้ได้เกิดธรรมจักษุ คือดวงตาเห็นธรรม ได้ขอประทานอุปสมบทพระบรมศาสดาได้ทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือการบวชเป็นภิกษุ ด้วยพระวาจาว่า “จงเป็นภิกษุมาเกิด” แก่ท่าน  จึงเกิดพระปฐมสังฆรัตนะปฐมภิกขุขึ้นในโลก นับว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ทางคณะสงฆ์และทางราชการจึงได้จัดให้เป็นวันบูชาที่สำคัญอีกวันหนึ่งของพุทธศาสนิกชนผู้นับถือพระพุทธศาสนา

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ทรงมีพระมหากรุณาแก่เวไนยสัตว์ ไม่ทรงหยุดอยู่เสวยวิมุติสุข สุขที่เกิดแก่ความหลุดพ้น ลำพังพระองค์เดียว ได้ทรงเทศนาสั่งสอน และได้ทรงแสดงพระธัมมจักกัปปวัตนสูตร พระสูตรที่ยังล้อคือพระธรรมให้หมุนไป เป็นครั้งแรก อันเรียกว่า ปฐมเทศนา
อรรถะโดยย่อแห่งพระสูตรนี้ ทรงสั่งสอนมิให้เสพส่วนสุด ๒ อย่างคือ การประกอบตนให้พัวพันอยู่ด้วยความสุขในกาม อันเรียกว่ากามสุขัลลิกานุโยค ๑ การทำตนให้ลำบาก อันเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค ๑ ทั้ง ๒ อย่างนี้ เป็นสิ่งที่บุคคลไม่ควรประพฤติ แลทรงแสดงชี้ทางดำเนิน คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทาให้บุคคลประพฤติปฏิบัติ อันได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ เป็นต้น อันเป็นทางปฏิบัติเพื่อวิชชาความรู้จริงในอริยสัจจธรรมและเมื่อวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์

บุคคลผู้มุ่งที่จะบรรลุผลทั้งทางคดีโลกทั้งทางคดีธรรมจักบรรลุถึงผลนั้นๆ ได้ ต้องดำเนินถูกทาง ไม่ข้องติดอยู่ในกามสุขัลลิกานุโยค การประกอบตนให้หนักอยู่ในความสุขทางกาม คือ หมกมุ่นอยู่แต่ความสุข หรือที่เรียกว่าติดสุขทางกามคุณ เพราะเมื่อติดอยู่ในความสุขเช่นนั้น ก็ต้องแสวงหาเพื่อบำรุงบำเรอตน ให้ได้มาเพื่อปรนปรือสมกับความอยาก ความต้องการของตน เมื่อไม่ได้ในทางที่ชอบ ก็แสวงหาในทางที่ไม่ชอบ ตกเป็นทาสของความอยากความต้องการ อันความอยากและความต้องการนั้น บังคับใช้ให้ต้องแสวงหากันไม่มีที่สิ้นสุด แม้ในปัจจุบันนี้เอง ที่เห็นเดือดร้อนกันอยู่ก็เพราะดิ้นรนแสวงหามาเพื่อความสุขของตนบ้าง พรรคพวกของตนบ้าง กล่าวโดยทางธรรม เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมติดอยู่ในกามสุขัลลิกานุโยคก็เชื่อว่าดำเนินผิดทาง เพราะกามสุขัลลิกานุโยคนั้น มิใช่ทางแห่งการบรรลุธรรมจึงทรงสอนให้ละมิให้ประพฤติ นี้เป็นส่วนสุดข้างหนึ่งที่ทรงสั่งสอนให้ละเว้นไม่ต้องเสพ

ส่วนสุดอีกข้างหนึ่ง คืออัตตกิลมถานุโยค การประกอบตนให้ลำบาก คือการทรมานกายให้ลำบากด้วยอาการต่างๆ ด้วยนึกว่าการทำเช่นนั้น เป็นทางให้สำเร็จผลตามที่ปรารถนา แต่การทำตนให้ลำบากเช่นนั้น มิใช่ทางแห่งมรรคผลในทางธรรม จึงทรงสั่งสอนให้ละเลิกเสีย.

กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยคทั้ง ๒ นี้ พระบรมศาสดาได้เคยดำเนินมาด้วยพระองค์แล้ว เมื่อครั้งยังเป็นโพธิสัตว์ ทรงเห็นว่ามิใช่ทางแห่งความตรัสรู้ จึงทรงละเลิกเสียแล้วทรงเปลี่ยนไปดำเนินในทางมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ, สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ, สัมมาวาจา การเจรจาชอบ, สัมมากัมมันตะ การงานชอบ, สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ, สัมมาวายามะ พยายามชอบ, สัมมาสติ ระลึกชอบ, สัมมาสมาธิ การตั้งใจชอบ, รวมลงเป็นศีล สมาธิ ปัญญา จึงได้ตรัสรู้อริยสัจจธรรม. ในปฐมเทศนานี้ ได้ทรงแสดงปฏิปทาที่ทรงละและทรงดำเนิน ตลอดจนอริยสัจจธรรมที่ได้ตรัสรู้ ปฏิญาณพระองค์ว่าทรงเป็นพระพุทธ ผู้ตรัสรู้ชอบเองไม่มีใครสู้ได้ในโลก

เมื่อวันอาสาฬหบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนามาถึงเข้าเช่นนี้ พุทธศาสนิกชน พึงตั้งใจนอบน้อมบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยดอกไม้ของหอมเป็นต้น เป็นอามิสบูชา และตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามธรรมะ กล่าวคือเว้นไม่ประพฤติซึ่งส่วนสุด ๒ อย่างคือกามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค แล้วประพฤติตามมัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางมีองค์ ๘ เป็นปฏิบัติบูชา บูชาด้วยการปฏิบัติ อันเป็นการบูชาอย่างสูงสุดในพระพุทธศาสนา

ขออานุภาพแห่งพระรัตนตรัย และอานุภาพแห่งการตั้งใจปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ จงอภิบาลคุ้มครองรักษาพุทธศาสนิกชนทุกหมู่ทุกเหล่าให้ปราศจากทุกข์ภัยพิบัติทั้งปวง ประสพความแช่มชื่นผ่องใสทั้งทางกายและทางใจ มีใจเห็นชอบตามธรรมที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศแล้วทุกประการเทอญ ฯ


(ที่มา สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์, พระโอวาทในวันอาสาฬหบูชา พุทธศักราช ๒๕๐๑)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5436


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2564 13:21:38 »


สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

พระวรธรรมคติ ในวันอาสาฬหบูชา
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
พ.ศ.๒๕๕๖

วันอาสาฬหบูชา เป็นอภิลักขิตกาล คือ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ คำสอนที่เป็นหลักสำคัญของพระพุทธศาสนาครั้งแรก เรียกว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร และเป็นวันที่เกิดพระสงฆ์ซึ่งเป็นหนึ่งในพระรัตนตรัย อันเป็นที่เคารพสูงสุดในพระพุทธศาสนา เป็นเหตุให้พระรัตนตรัยบังเกิดขึ้นในโลกครบบริบูรณ์ ซึ่งจะถือว่าเป็นวันบังเกิดขึ้นของพระรัตนตรัยก็ได้

เมื่ออภิลักขิตกาลเช่นนี้เวียนมาถึง ควรที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จักได้น้อมใจรำลึกถึงพระรัตนตรัย พร้อมทั้งสำรวจตรวจสอบดูใจของตนเองว่า ได้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งแท้จริงแค่ไหนเพียงไร อันการถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งตามนัยแห่งพระพุทธศาสนานั้น มิใช่ถึงโดยการกราบไหว้อ้อนวอน หรือถึงโดยการอธิษฐานขอพรให้พระรัตนตรัยมาช่วยปกป้องรักษา เพื่อที่ตนจะได้มีชีวิตอย่างปลอดภัยเป็นสุข

แต่การถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะอย่างแท้จริงนั้น คือ การศึกษาเรียนรู้พระรัตนตรัยให้เข้าใจแจ่มชัด แล้วน้อมนำเอาความจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ พระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนและพระสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเป็นแบบอย่าง มาเป็นหลักเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสมถูกต้อง อันจะทำให้ได้ชื่อว่า นับถือและบูชาพระรัตนตรัยอย่างแท้จริงด้วย ทั้งพระรัตนตรัยก็จะปกป้องคุ้มครองมิให้ตกไปสู่ความชั่ว โดยไม่ต้องอธิษฐานอ้อนวอน ขออำนวยพรให้ท่านทั้งหลาย เจริญในธรรม ประสบสันติสุขทั่วกัน ขออำนวยพร


สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ประทานพระวรธรรมคติ เนื่องในวันอาสาฬหบูชา พ.ศ.๒๕๕๖
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.256 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 29 มีนาคม 2567 04:07:00