[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 19:06:25 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “พระนางเธอลักษมีลาวัณ” ร.6 ทรงขอแยกทาง-บั้นปลายพระชนม์สุดสลด  (อ่าน 543 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2304


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 28 สิงหาคม 2564 17:03:55 »

.


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และพระนางเธอลักษมีลาวัณ (ภาพจากหนังสือ ราชพัสตราภรณ์)

“พระนางเธอลักษมีลาวัณ” ร.6 ทรงขอแยกทาง-บั้นปลายพระชนม์สุดสลด

ที่มา - ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤษภาคม 2545
ผู้เขียน - ฉัตรชัย ว่องกสิกรณ์
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2564


หลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงครองพระองค์เป็นโสดมานาน ก็ทรงมีพระราชดําริที่จะอภิเษกสมรสเพื่อให้มีรัชทายาทสืบราชบัลลังก์ แต่เมื่อทรงคบหาใกล้ชิดกับสตรีผู้สูงศักดิ์นางใดแล้วก็ยังไม่ทรงพอพระราชหฤทัย บางครั้งทรงหมั้นหมายประกาศให้ประชาชนรับรู้แล้วก็ทรงถอนหมั้นเสียโดยทรงให้เหตุผลว่า “ไม่สบพระอัธยาศัยบางประการ”

ในที่สุดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพอพระราชหฤทัย ในหม่อมเจ้าหญิงวรรณพิมล วรวรรณ พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ และหม่อมหลวงตาด ประสูติเมื่อปีกุน วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม 2442 และถือว่าเป็นพระนัดดาในรัชกาลที่ 4 ซึ่งมีเชื้อสายขัตติยราชโดยตรงทั้งสายพระบิดา และพระมารดา โดยเฉพาะท่านย่าคือ เจ้าจอมมารดาเขียนนั้นเป็นศิลปินด้านนาฏศิลป์ที่มีชื่อท่านหนึ่ง

สาเหตุที่ทรงเกิดความสนพระทัยในหม่อมเจ้าหญิงวรรณพิมล เพราะพระบิดาในหม่อมเจ้าหญิงเป็นเจ้าของละครคณะ “ปรีดาลัย” ซึ่งมีชื่อเสียงด้านละครร้องมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ส่วนหม่อมเจ้าหญิงเองก็เป็นตัวละครของพระบิดา จนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสชักชวนให้ไปแสดงละครในวังร่วมกับพระองค์ นับว่าเป็นสตรีท่านแรกที่ได้รับบทนางเอกในละครพูด ละครสังคีตบทพระราชนิพนธ์ เช่น เรื่องกุศโลบาย วิวาหพระสมุทร ซึ่งต้องพระอุปนิสัยในรัชกาลที่ 6 อย่างยิ่ง เพราะโปรดการละครเหมือนกัน

นอกจากนั้นหม่อมเจ้าหญิงวรรณพิมลยังทรงศึกษาวิชาอักษรศาสตร์จากวรรณคดีไทย และงานนิพนธ์ ของพระบิดาอย่างแตกฉาน จนสามารถพระนิพนธ์โคลงกลอนได้เฉียบขาดเจริญรอยตามพระบิดาตรงกับพระอัธยาศัยในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งโปรดงานกวีนิพนธ์เช่นเดียวกัน

นับว่าเป็นคู่ที่เหมาะสมกันที่สุดตรงกับคํากล่าวที่ว่า “คุยกันรู้เรื่อง”

ไม่เพียงเท่านั้น หม่อมเจ้าหญิงวรรณพิมลยังมีรูปโฉมงดงามสมกับที่รับบทนางเอกละครในราชสํานักเป็นที่ ต้องตาต้องใจของผู้ชมทั่วไป พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมฉายาลักษณ์พร้อมทั้งลายพระราชหัตถเลขาว่า “ให้แม่ติ๋วพร้อมด้วยดวงจิต และขอฝากชีวิตและความสุขไว้ด้วย”

หม่อมเจ้าหญิงวรรณพิมลได้พระนิพนธ์บทกลอนทูลสนองตอบดังนี้

อันพระองค์ทรงฝากพระชีพไว้
หม่อมฉันขอรับใส่ในดวงจิต
อีกทรงฝากความสุขทุกชนิด
ขอถวายไม่คิดขัดจํานง
อะไรเป็นความสราญวานรับสั่ง
จะถวายได้ดังพระประสงค์
ขอเพียงแต่ทรงเลี้ยงให้เที่ยงตรง
อย่าผลักส่งเข้าขังวังหลวงเอย

การถวายบทกลอนแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเช่นนี้ทําให้ทรงเพิ่มความรักต่อหม่อมเจ้าหญิงเป็น อย่างยิ่ง เพราะแสดงให้เห็นถึงความเป็นสตรีเจ้าบทเจ้ากลอนซึ่งหามิได้ง่ายนัก

พระราชทานนามใหม่ และสถาปนาอิสริยยศ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนนามหม่อมเจ้าหญิงวรรณพิมลให้ใหม่เป็น หม่อมเจ้าหญิงลักษมีลาวัณ ต่อมาได้สถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ และครั้งสุดท้าย สถาปนาอิสริยยศเป็น พระนางเธอลักษมีลาวัณ ทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์ประทับยืนคู่คล้องพระกรในฐานะมเหสีพร้อมทั้งทรงจารึกใต้ภาพว่า “ให้แม่ติ๋วยอดชีวิตของโตด้วยความรักยิ่งกว่าสิ่งใดในโลก เพื่อเป็นที่ระลึกถึงวันที่ได้ชื่นใจมากที่สุดครั้งแรกในชีวิต ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2463”

สิ่งที่น่าภาคภูมิใจคือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศว่าขอมีชายาแต่เพียงผู้เดียวตามแบบอย่างวิถีชีวิตของชาวตะวันตก

 
บทกลอนพระราชทานประทับใจ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์บทกลอนที่แสดงถึงความรักอันสุดซึ้งเป็นจํานวนมาก พระราชทานแด่มเหสีดังเช่น

นั่งคํานึงถึงน้องผู้ต้องจิต
แม่มิ่งมิตรยอดรักลักษมี
ความรักรุกทุกทิวาและราตรี
บได้มีสร่างรักสักเวลา
ในกลางวันสุริยันแจ่มกระจ่าง
เห็นหน้าน้องฟ่องกลางหว่างเวหา
ยามราตรีพี่พินิจพิศนภา
ก็เห็นหน้าโฉมตรูอยู่แทนจันทร์
อันตัวหล่อนกล่าวกลอนฝากชีวาตม์
ฉันรับฝากใจสวาทไว้แม่นมั่น
ขอถนอมดวงจิตสนิทกัน
ด้วยชีวันยอมสละแลกหทัย
ถึงตัวไปใจอยู่เป็นคู่ชม
ร่วมภิรมย์รักชิดพิสมัย
ถึงร่างกายวายวับดับชีพไป
ขอฝากใจจอดจู่อยู่แทนเอย


สิ้นสุดวันหวานอันแสนสั้น

ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงครองรักกับพระนางเธอลักษมีลาวัณครบรอบปี แล้ว แต่พระนางเธอฯ ก็หาได้ทรงครรภ์ให้กําเนิดรัชทายาทไม่ ขณะที่ประชาชนทั่วประเทศต่างเฝ้ารอชม พระโอรสองค์น้อยอย่างใจจดใจจ่อ

ในที่สุดพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดํารัสขอแยกทางดําเนินชีวิตกับพระนาง เธอฯ โดยจะทรงอภิเษกสมรสกับสตรีคนใหม่เพื่อทรงหวังให้กําเนิดรัชทายาทสืบราชบัลลังก์ อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานตําหนัก เครื่องเพชร เงินบํานาญ เพื่อให้พระนางเธอฯ ดํารงพระชนมชีพอย่างมิต้องเดือดร้อน

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลือกสตรีท่านต่อมาและจัดงานอภิเษกสมรสตามแบบอย่างของชาวตะวันตกอย่างยิ่งใหญ่ครั้งแล้วครั้งเล่าถึง 3 ครั้ง เพราะสตรีที่ทรงอภิเษกสมรสด้วยหาได้มีประสูติ กาลองค์รัชทายาทไม่ นับตั้งแต่พระสุจริตสุดา สนมเอก มิได้ทรงครรภ์เลย ส่วนสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายานั้นทรงครรภ์แต่ก็ตกเสีย คงมีเพียงพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี มเหสีองค์สุดท้ายทรงครรภ์ใกล้มีประสูติกาลแต่ก็เป็นเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกําลังประชวรหนัก และพระมเหสีได้มีประสูติกาลเป็นพระราชธิดาคือ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ก่อนเสด็จสวรรคตเพียงวันเดียว

นับเป็นการสิ้นสุดรัชทายาทเชื้อสายในพระองค์แต่เพียงนั้น


หนังสือคือเพื่อนผู้ซื่อสัตย์

พระนางเธอลักษมีลาวัณทรงใช้ชีวิตเพียงลําพังต่อมา โดยใช้เวลาว่างให้หมดไปกับการทรงพระอักษรและนิพนธ์นวนิยายไว้หลายเรื่อง เช่น เรื่องยั่วรัก ชีวิตหวาม เสื่อมเสียงสาป รักที่ถูกรังแก โชคเชื่อมชีวิต เรือนใจที่ไร้ค่า ภัยรักของฉันจลา โดยใช้นามปากกาว่า “ปัทมะ” ส่วนบทละครที่นิพนธ์ไว้เช่นเรื่อง เบอร์หก หาเหตุหึง ปรีดาลัย ออนพาเหรด ใช้นามปากกาว่า “วรรณพิมล”

พระนางเธอฯ ทรงตระหนักแน่แท้แล้วว่าหนังสือคือเพื่อนผู้ซื่อสัตย์ ดังคําโคลงที่ทรงนิพนธ์ว่า

เขียนกลอนพออ่านได้      ดับเข็ญ
อันปากกาย่อมเป็น         เพื่อนแท้
แทนฉายส่ายสอดเห็น     กระจ่าง
สุขทุกข์ปลุกปลอบแก้     กล่าวค้านเตือนกัน


ตั้งคณะละคร สืบสานศิลปะการแสดง

ด้วยพระทัยรักในศิลปะการแสดงมาก่อนเก่า จึงทรงรื้อฟื้นคณะละครปรีดาลัยสืบสานจากพระบิดา โดยจัดเป็นละครร้องมีทํานองทั้งเพลงไทยและเพลงสากล มีระบําเบิกโรงก่อนแสดงละครเรื่อง วงดนตรีเครื่องฝรั่งวงใหญ่บรรเลง เป็นเพลงแบบโอเปร่าตั้งแต่ต้นจนจบ เปิดการแสดงที่ ศาลาเฉลิมกรุง ศาลาเฉลิมนคร โรงมหรสพนาครเขษม

นอกจากนั้นยังจัดละครการกุศลเช่นเก็บเงินให้กองทัพเรือ งานฉลองรัฐธรรมนูญ จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงทรงยุบเลิกคณะละครเพราะพระชนมายุเริ่มเข้าสู่วัยชรา




พระนางเธอลักษมีลาวัณ (พระนามเดิม หม่อมเจ้าวรรณพิมล วรวรรณ เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.331 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 28 กุมภาพันธ์ 2567 05:48:45