[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 19:42:26 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รำ “กระทบไม้” กะเหรี่ยงกระทบไม้มาก่อน ลาวกระทบทีหลัง  (อ่าน 636 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 89.0.4389.114 Chrome 89.0.4389.114


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 29 สิงหาคม 2564 16:14:31 »



รำ “กระทบไม้” กะเหรี่ยงกระทบไม้มาก่อน ลาวกระทบทีหลัง


https://www.silpa-mag.com/wp-content/uploads/2020/05/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%8905.jpg
รำ “กระทบไม้” กะเหรี่ยงกระทบไม้มาก่อน ลาวกระทบทีหลัง
ผู้หญิงชาวแสก (พูดภาษาตระกูลมอญ-เขมร) เมืองนครพนม กำลังเล่นรำกระทบไม้ ในพิธีถวายต้อนรับสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ คราวเสด็จตรวจราชการมณฑลอีสาน พ.ศ. 2449 (ภาพเก่าจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)


          “ลาว-กระทบไม้” ป็นสิ่งซึ่งผู้คนโดยมากรับรู้ว่าเป็นการละเล่นพื้นบ้าน ที่พัฒนามาจากการละเล่นดั้งเดิมที่เรียกว่า “เต้นสาก” เป็นการละเล่นที่ต้องอาศัยจังหวะการ “กระทบไม้” นิยมเล่นกันช่วงว่างเว้นหลังฤดูเก็บเกี่ยวตามวิถีชาวนาไทยลาวสองฝั่งแม่น้ำโขง ว่ากันว่าไทยนำ “เต้นสาก” ของลาวมาดัดแปลงคิดท่ารำใส่ดนตรีแล้วเรียก “ลาวกระทบไม้”  แต่ยังอีกหลายชาติที่มีการละเล่นกระทบไม้อยู่ในวัฒนธรรมของตน    จึงมี “เรือมอันเร” หรือ “เขมรกระทบไม้” ของชาวเขมร, “แสกเต้นสาก” ของชาวแสก (ชนชาติหนึ่งในกลุ่มภาษาตระกูลไท-ลาว), “ม้าจกคอก” ของชาวไทใหญ่ “ตินิคลิ่ง” (Tinikling) หรือ “แบมบูแดนซ์” (Bamboo Dance) ของชาวฟิลิปปินส์ ฯลฯ รวมทั้ง “ติฮัว” หรือ “กะเหรี่ยงกระทบไม้” ของชาวกะเหรี่ยง

          แต่การค้นคว้าของ องค์ บรรจุน เขาเสนอว่า “กะเหรี่ยงกระทบไม้มาก่อนลาว”   ก่อนอื่นคงต้องรู้จักการละเล่นนี้เสียก่อน กรมศิลปากรระบุว่า “รำกระทบไม้” เป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวสุรินทร์ (ก็น่าจะเป็นชาวเขมร) เดิมเรียกว่า “เต้นสาก” อันเป็นการละเล่นที่สอดคล้องกับอาชีพกสิกรรมการทำนาผลิตข้าวเป็นอาหารหลักและสินค้าออกที่สำคัญของไทย ด้วยนิสัยรักสนุก หลังว่างเว้นจากการทำนา จึงนำสากตำข้าวมากระทบกันเป็นจังหวะ พร้อมกับมีการละเล่นให้เข้ากัน ภายหลังกรมศิลปากรได้ศึกษาการละเล่นชนิดนี้และนำมาปรับปรุงจัดระเบียบแบบแผนอย่างค่อนข้างตายตัว

          “ได้นำออกแสดงเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2500 เนื่องในงานแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมกับราชอาณาจักรลาว ในการปรับปรุงครั้งนั้น เนื่องจากบทร้องของเก่าไม่เหมาะสมที่จะรำได้สวยงาม กรมศิลปากรจึงได้ขอให้อาจารย์มนตรี ตราโมท แต่งบทร้อง และท่านผู้หญิงหม่อมแผ้ว สนิทวงศ์เสนีย์ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่…

           การกระทบไม้ แต่เดิมวางไม้สากตามความยาว 2 อัน ให้ไม้หมอนรองหัวและท้ายไม้ทั้ง 2 ด้าน ปลายสากจะมีคน 2 คน จับปลายเพื่อกระทบกัน ภายหลังกรมศิลปากรปรับปรุงและจัดลำดับท่ารำให้เป็นระเบียบขึ้นแต่ยังคงรักษาเค้าแบบแผนเดิม โดยปรับปรุงเป็นไม้ไผ่ 2 ลำ ขนาดเท่ากันยาวประมาณ 2-4 เมตร และใช้ไม้เนื้อแข็งเป็นหมอนวางรองทั้งสองปลาย ผู้กระทบนั่งกับพื้นจับปลายทั้งสองคนเพื่อจะได้ตีกระทบกัน”

           ส่วนการ “กระทบไม้” ของวัฒนธรรมอื่นนั้น ผู้เขียน (องค์ บรรจุน) อธิบายเป็นตัวอย่างดังนี้


           “ เขมร-กระทบไม้ ” เป็นการละเล่นของชาวเขมรที่ต้องอาศัยจังหวะการ “กระทบไม้” มีที่มาจากการเล่นกระโดดสาก นิยมเล่นในช่วงสงกรานต์ เพื่อเฉลิมฉลองประเพณีสรงน้ำพระ เล่นกันเพียงปีละครั้งเท่านั้น เดิมเป็นการละเล่นในเชิงพิธีกรรม ต่อมาได้มีการประยุกต์คิดค้นท่ารำขึ้นให้เกิดความสวยงาม และเอาดนตรี “กันตรึม” บรรเลงประกอบเพื่อความสนุกสนาน แต่ยังคงแบบแผนเค้าโครงดั้งเดิม

           “ ฟิลิปปินส์-กระทบไม้  ” เป็นการละเล่นที่ต้องอาศัยจังหวะการ “กระทบไม้” การละเล่น/เต้นรำ ที่ชาวนาแสดงเลียนแบบนกติคลิ่ง (Tikling Birds) ขณะก้าวย่างไปตามทุ่งหญ้า เป็นการแสดงพื้นเมืองดั้งเดิมแถบหมู่เกาะมินดาเนา โดยเต้นรำบนไม้ไผ่ที่ผู้จับไม้ไผ่จะเคาะไม้ไผ่ทั้ง 2 อันกระทบพื้นและเคาะลำไม้ไผ่กระทบเข้าหากันเป็นจังหวะ ภายหลังจะรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้าผสมผสาน ชุดเครื่องแต่งกาย  รูปแบบการเต้นรำ การสะบัดพัดและชายผ้าเพื่อสร้างความอ่อนช้อยพลิ้วพราย และดนตรีประกอบที่มีสีสัน

            คราวนี้ก็มาถึง “กระเหรี่ยง-กระทบไม้” กันบ้าง

          “ กะเหรี่ยง-กระทบไม้ ” ถือเป็นการละเล่นที่ต้องอาศัยจังหวะการ “กระทบไม้” ในภาษากะเหรี่ยงเรียกว่า “ติฮัว” ที่ปัจจุบันมีจำนวนผู้เล่นและจำนวนไม้ไผ่เคาะจังหวะมากกว่าหลายชาติ มีการเคาะไม้พร้อมๆ กันหลายคู่ แต่เดิมการละเล่นชนิดนี้นิยมเล่นหลังจากว่างเว้นไร่นา ผู้หลักผู้ใหญ่จะเปิดโอกาสให้หนุ่มสาวได้เต้นรำเกี้ยวพาราสีกัน ล่าสุดได้มีการผนวกการละเล่นกระทบไม้เข้ากับการแสดงถักเชือก ประกอบวงดนตรีปี่พาทย์ ใช้ผู้แสดงรวมหลายสิบคน และเพิ่มการอธิบายความหมายในเชิงรักสามัคคี

           การแสดงกระทบไม้เป็นการฝึกให้เด็กเยาวชนมีสมาธิ ความทรงจำดี และสร้างความพร้อมเพรียงในหมู่คณะ

           กะเหรี่ยงเป็นเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมบนพื้นที่สูงมาช้านาน นับเป็นชาติพันธุ์ผู้พิทักษ์ขุนเขา กระจายตามแนวตะเข็บชายแดนทั้งในประเทศไทยและพม่า แต่ไม่เคยมีอาณาจักรปกครองตนเอง มีสถานะเป็นเพียงชนกลุ่มน้อยนับแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน แม้เคยมีสถาบันการปกครองอยู่บนผืนแผ่นดินไทยในจังหวัดกาญจนบุรี คือเมืองศรีสวัสดิ์ซึ่งเทียบขนาดและหน่วยปกครองแล้วเป็นเพียงระดับอำเภอ

           ชาวกะเหรี่ยงได้รับเอาอิทธิพลวัฒนธรรมมอญด้านต่างๆ ที่มีความเจริญรุ่งเรืองในอดีตไว้มาก ทั้งด้านศาสนา ภาษา นาฏศิลป์ดนตรี และประเพณีพิธีกรรม แต่ในเวลาเดียวกัน วัฒนธรรมกะเหรี่ยงบางอย่างก็ได้ปะปนอยู่ในวัฒนธรรมมอญด้วย

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 89.0.4389.114 Chrome 89.0.4389.114


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 29 สิงหาคม 2564 16:16:57 »


 (ต่อ)

         ขณะที่มอญไม่มีการละเล่นกระทบไม้โดยตรง แต่ปรากฏสิ่งคล้ายกันซึ่งถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์โบราณ เป็นประเพณีที่มีมาแต่อดีตกาลอยู่ในวรรณคดีเรื่องราชาธิราช (ครองราชย์ พ.ศ. 1830-49) รวมทั้งจารึกภาษามอญวัดโพธิ์ร้าง จารึกขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ. 1143 ที่ปรากฏคำว่า “โต้ง” หรือผู้อำนวยการพิธีรำผีซึ่งทำหน้าที่ผู้นำทางจิตวิญญาณมาแต่โบราณ [ขอไม่ลงรายละเอียดในส่วนนี้]

         ในขั้นตอน “รำกะเหรี่ยง” โต้งจะแต่งตัวให้กับผู้รำผีในชุดกะเหรี่ยงโบราณ ใช้ผู้รำ 4-5 คน สวมเสื้อและผ้าถุงแบบกะเหรี่ยงรวมทั้งโพกศีรษะแบบกะเหรี่ยง มีผ้าคาดอกผืนหนึ่ง แล้วเชิญวิญญาณผีกะเหรี่ยงเข้าร่าง รำพร้อมอุปกรณ์ ต่างๆ ตามขั้นตอน

         นำสากตำข้าวขนาดยาว 2 อัน วางคู่กันบนขอนห่างกันพอประมาณ ผู้รำผีสองคนนั่งเคาะสากบนขอนเป็นจังหวะ ผู้รำผีอีก 3 คน ร่ายรำตามจังหวะและทำนองปี่พาทย์คล้ายพิธีกระโดดสากของเขมร หรือการละเล่นที่ต้องอาศัยจังหวะ “กระทบไม้” ของหลายชาติ

         ข้างต้นคือคัมภีร์รำผีของมอญน้ำเค็ม ย่านสมุทรสาคร บางกระดี่ แต่หากเป็นคัมภีร์รำผีมอญของทางปทุมธานี ลพบุรี ในขั้นตอนการรำกะเหรี่ยงนี้ จะเป็นการเชิญผีกะเหรี่ยงมารักษาโรคด้วย โดยภายหลังจากเชิญผีมาเซ่นสรวงและรำกะเหรี่ยงแล้ว ผีกะเหรี่ยงก็จะทำพิธีรักษาคนป่วยเจ็บภายในตระกูล ด้วยการให้คนป่วยเจ็บนั่งลงบนสากตำข้าวทั้ง ๒ แล้วผีกะเหรี่ยงก็จะทำการรักษาด้วยน้ำมนต์ สมุนไพร และอาคม ซึ่งสะท้อนสังคมในอดีตที่ผู้คนต่างชาติพันธุ์อยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยผ่านพิธีกรรมรำผีดังกล่าวมา

         การแลกรับปรับเปลี่ยนในทางวัฒนธรรมนั้นปกติสามัญ แต่มีความจำเป็นที่จะต้องแบ่งปันพื้นที่ให้กับความบังเอิญไม่คาดคิด แม้ความเป็นไปได้อาจมีโอกาสเพียงหนึ่งในล้าน กรณีที่แต่ละชาติคิดการละเล่นกระทบไม้ขึ้นเองและคล้ายกันด้วยความบังเอิญ แต่ในกรณีนี้ เมื่อชนชาติเก่าแก่ของอุษาคเนย์กล่าวอ้างคัมภีร์รำผีมอญอายุหลายร้อยปีซึ่งบันทึกการละเล่นที่เรียกว่า “เล่ะฮ์กะเรียง” หรือ “รำกะเหรี่ยง” นี้ไว้ แล้วเหตุใดเราจะไม่ยกเครดิตชาติผู้สร้างสรรค์การละเล่นกระทบไม้ให้กับกะเหรี่ยง



ข้อมูลจาก

องค์ บรรจุน. “กะเหรี่ยงกระทบไม้มาก่อนเก่า ลาวกระทบทีหลัง”. ใน ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤศจิกายน  2557.
https://www.silpa-mag.com/culture/article_50137
 
บันทึกการเข้า

คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.296 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 02 ตุลาคม 2566 20:18:32