[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 01:25:44 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: องค์พระบาง จากลาวสู่สยาม มาเพราะ การเมือง แต่ส่งกลับเพราะ ความเชื่อ  (อ่าน 3120 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 93.0.4577.63 Chrome 93.0.4577.63


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 04 กันยายน 2564 12:13:41 »


   “พระบาง” จากลาวสู่สยาม มาเพราะ “การเมือง” ส่งกลับเพราะ “ความเชื่อ”

   



บทนํา
จากเอกสารทางประวัติศาสตร์ฉบับต่าง ๆ โดยเฉพาะสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ที่กล่าวถึงการศึกสงครามระหว่างราชสํานักไทย
และอาณาจักรใกล้เคียง มักกล่าวถึงฝ่ายที่มีชัยชนะได้ขนย้ายทรัพย์สินมีค่า แผ้วถางทําลายเมืองกวาดต้อนไพร่พลรวมถึงเหล่าเจ้านายเชื้อพระวงศ์
กลับสู่เมืองของตน หรือในสมัยนี้อาจจะเรียกว่า “ค่าปฏิกรรมสงคราม” เป็นค่าชดเชยความเสียหายที่ผู้ชนะเรียกร้องจากผู้พ่ายแพ้
ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นถึงอํานาจที่เหนือกว่า อีกทั้งเป็นนัยสําคัญที่การขนย้าย หรือทําลายสิ่งของบางอย่าง เป็นไปเพื่อ “ทําลายขวัญ”
อันเป็นหลักชัยของอาณาจักรนั้น ๆ ขวัญกําลังใจสิ่งหนึ่งคือ “พระพุทธรูป”

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ถือว่ากรุงศรีอยุธยาอยู่ใต้อํานาจของพม่าโดยสิ้นเชิง พม่าได้กวาดต้อนไพร่พล เชื้อพระวงศ์ ขนย้ายสิ่งของมีค่า
รวมถึงบุกทําลายพระนคร โดยเฉพาะการเผาทําลายพระศรีสรรเพชญดาญาณอันเป็นพระพุทธรูปสําคัญที่ประดิษฐานในพระอารามพระบรมมหาราชวัง
แม้อาจสันนิษฐานได้ว่าการทําลายด้วยการสุมเพลิงครั้งนั้นเพราะเพียงต้องการทองคําจากองค์พระศรีสรรเพชญดาญาณ แต่ไม่อาจมองข้ามได้ว่า
นี่คือการทําลายขวัญของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา

หรือในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกนําทัพตีเมืองเวียงจันทน์ พระองค์ก็นําพระแก้วมรกตและพระบางอันเป็นพระพุทธรูปสําคัญ
ของเวียงจันทน์กลับสู่กรุงธนบุรีในฐานะฝ่ายที่มีชัยชนะเช่นกัน (ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้นําพระบางกลับคืนล้านช้าง)
และในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชสุภาวดียกทัพไปปราบ
เมื่อปราบกบฏได้เรียบร้อยแล้วพระยาราชสุภาวดีได้อัญเชิญพระบางกลับสู่กรุงรัตนโกสินทร์อีกครั้งในฐานะฝ่ายที่มีชัยชนะ ด้วยความชอบนี้
จึงได้รับโปรดเกล้าฯ เลื่อนยศเป็นเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ที่สมุหนายกในที่สุด

การอัญเชิญพระบางมาสู่ราชสํานักไทยเป็นครั้งที่ 2 ของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) จึงเป็นนัยสําคัญของ “พระบาง” ทั้งที่สมัยรัชกาลที่ 1
ได้โปรดเกล้าฯ ส่งคืนกลับไปแล้ว และท้ายที่สุดในสมัยรัชกาลที่ 4 ก็โปรดเกล้าฯ ส่งคืนกลับไปอีกเช่นกัน โดยทั้ง 2 วาระนั้นเป็นช่วงเวลาที่ราชสํานักไทย
ยังคงมีอํานาจเหนือล้านช้าง หลังจากนั้นพระบางก็ไม่เคยอัญเชิญมาไทยอีกเลย



Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 93.0.4577.63 Chrome 93.0.4577.63


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 04 กันยายน 2564 12:18:57 »


   https://www.silpa-mag.com/wp-content/uploads/2019/11/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87.jpg
องค์พระบาง จากลาวสู่สยาม มาเพราะ การเมือง แต่ส่งกลับเพราะ ความเชื่อ

    จิตรกรรมโคลงภาพพระราชพงศาวดาร ตอน แห่พระแก้วมรกตและพระบางลงมากรุงธนบุรี (คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)



พระบาง พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ตามตํานาน
ตํานานการสร้างพระบางปรากฏในพงศาวดารหลวงพระบาง ตามฉบับที่มีอยู่ในศาลาลูกขุนกล่าวว่าพระ อรหันต์ชื่อจุลนาคเถรได้สร้างพระบางขึ้น
ในศักราช 236 ที่เมืองลังกา และได้อธิษฐานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 5 พระองค์ ไว้ภายในพระบาง ดังนี้



อ้างถึง


   มีพระอรหันต์องค์หนึ่งชื่อพระจุลนาคเถรอยู่เมืองลังกาทวีป ประกอบด้วยพระไตรปิฎกคิดจะให้พระพุทธ ศาสนารุ่งเรืองไปตราบเท่าถ้วนถึง 5000 พระวัสสา
   พระองค์จึงพิเคราะห์ด้วยเหตุจะสร้างรูปพระปฏิมากร จึงให้คนไปป่าวร้องชาวเมืองลังกาทวีปให้มาพร้อมกันแล้ว ให้ช่างปั้นรูปพระพุทธเจ้ายกพระหัตถ์ทั้งสองขึ้นห้าม
   เมื่อพระยากบิลพัสดุ์ พระยาโกลียยกไพร่พลมารบกันริมน้ำโรทินี ครั้นปั้นเสร็จแล้วคนทั้งหลายก็เอาเงินและทองคํา ทองแดง ทองเหลืองมาให้พระจุลนาคเถร
   หล่อรูปพระปฏิมากร แล้วชาวเมืองลังกาก็พากันทําสักการะบูชาต่าง ๆ

   พระจุลนาคเถร พระยาลังกาพร้อมกันยกเอาพระปฏิมากรขึ้นตั้งไว้ในปราสาท ขนานนามตั้งว่าพระบาง แล้วพระจุลนาคเถรจึงอัญเชิญพระบรมธาตุ 5 พระองค์
   ใส่ผอบแก้วขึ้นตั้งไว้บนอาสนะทองตรงพระพักตร์พระบาง อธิษฐานว่าพระบางองค์ฃนี้จะได้เป็นที่ไหว้ที่บูชาแก่เทพยาดามนุษย์ทั้งปวงถาวรสืบไปถึง 5000 พระวัสสา
   ก็ขอให้พระบรมธาตุ 5 พระองค์ เสด็จเข้าสถิตอยู่ในรูปพระบางนั้น แล้วพระบรมธาตุเสด็จเข้าอยู่ที่พระนลาตองค์ 1 อยู่ที่พระหนุองค์ 1 อยู่ที่พระอุระองค์ 1
   อยู่พระหัตถ์เบื้องขวาองค์ 1 อยู่พระหัตถ์เบื้องซ้ายองค์ 1 แล้วพระบางก็ทําปาฏิหาริย์มหัศจรรย์ต่าง ๆ ได้มีการสมโภช 7 วัน 7 คืน
[1]




ในกาลต่อมาพระยาศรีจุลราชได้ขออัญเชิญพระบางจากพระยาสุบินราชเจ้าแผ่นดินเมืองลังกามาประดิษฐานเมืองอินทปัตนคร (กรุงกัมพูชา) ต่อมาพระเจ้าฟ้างุ้ม
ผู้ครองเมืองศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวผู้เป็นลูกเขยจึงขออัญเชิญพระบางไปยังเมืองของตน ครั้นเมื่อเดินทางถึงนครเวียงคํา พระยาเวียงคําขออัญเชิญพระบาง
ไว้ทําสักการบูชาก่อน พระเจ้าฟ้าจุ้มจึงพาไพร่พลไปเมืองศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว

ในศักราช 834 (พ.ศ. 2015) สมัยพระยาล่าน้ำแสนไทไตรภูวนารถเจ้าเมืองศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว ให้ท้าวพระยาไปอัญเชิญพระบางจากเมืองเวียงคํา
มาไว้ที่วัดเชียงกลางเมืองศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว (เมืองหลวงพระบาง) จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่พระบางได้ประดิษฐานในอาณาจักรล้านช้าง
เหตุการณ์หลังจากนี้เป็นการเล่าพระราชพงศาวดาร รวมถึงการกล่าวถึงการอัญเชิญพระบางไปประดิษฐานยังพระอารามต่าง ๆ ที่กษัตริย์ล้านช้าง
มีพระราชศรัทธาสร้างขึ้น

ในศักราช 921 (พ.ศ. 2102) สมัยพระไชยเชษฐาธิราชลงมาตั้งเมืองเวียงจันท์ มีชื่อว่าเมืองจันทบุรีศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว แต่พระบางยังอยู่เมืองศรีสัตนาคนหุต
ล้านช้างร่มขาว จึงเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองหลวงพระบางราชธานีศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว ตามชื่อของพระบาง และในศักราช 1043 (พ.ศ. 2224)
ท้าวนองอัญเชิญพระบางลงมาเมืองเวียงจันทบุรีศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว (เมืองเวียงจันทน์) จนกระทั่งถูกอัญเชิญไปกรุงธนบุรี

จากตํานานหรือพระราชพงศาวดารหลวงพระบางข้างต้นแสดงให้เห็นถึงความสําคัญของพระบางทั้งใน ด้านความศักดิ์สิทธิ์ และระยะเวลานับร้อยปีที่พระบางประดิษฐาน
ในอาณาจักรล้านช้างที่มีความเกี่ยวพันกับเหตุการณ์สําคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นที่น่าสังเกตว่าการเปลี่ยนชื่อเมืองตามนามของพระบาง หรือการอัญเชิญพระบาง
ไปพร้อมกับการย้ายเมือง แสดงให้เห็นถึงฐานะของพระบางที่เป็นพระพุทธรูปสําคัญอันมีความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นตัวแทนหลักชัยของอาณาจักรด้วย




บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 93.0.4577.63 Chrome 93.0.4577.63


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 04 กันยายน 2564 12:31:57 »

   https://www.silpa-mag.com/wp-content/uploads/2019/11/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%872.jpg
องค์พระบาง จากลาวสู่สยาม มาเพราะ การเมือง แต่ส่งกลับเพราะ ความเชื่อ

    ภาพแสดงลักษณะขององค์ พระบาง (คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)


อัญเชิญพระบางมาไทยถึง 2 ครั้ง
การอัญเชิญพระบางมาสู่ราชสํานักไทยทั้ง 2 ครั้ง ล้วนแต่เกิดจากการขนย้ายทรัพย์สินไพร่พลในฐานะฝ่ายที่มีชัยชนะทั้งสิ้น ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2322 สมัยกรุงธนบุรี
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพไปปราบกบฏเมืองเวียงจันทน์ เมื่อปราบกบฏเรียบร้อยแล้วได้ขนย้าย
กวาดต้อนบรรดาเชื้อพระวงศ์ ทรัพย์สินมีค่าต่าง ๆ รวมถึงพระบาง ดังนี้

กองทัพไทยก็เข้าเมืองได้จับได้ตัวเจ้าอุปฮาด เจ้านันทเสน และราชบุตรบุตรีวงศานุวงศ์ชะแม่สนมกํานัลและขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวงกับทรัพย์สินสิ่งของ
และเครื่องสรรพศัสตราวุธปืนใหญ่น้อยเป็นอันมาก เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกให้กวาดขนข้ามมาไว้ ณ เมืองพานพร้าวฟากตะวันตก
กับท้องครอบครัวลาวชาวเมืองทั้งปวง แล้วให้อัญเชิญพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกตและพระบางซึ่งสถิตอยู่ ณ พระวิหารในวังพระเจ้าล้านช้างนั้น
อาราธนาลงเรือข้ามฟากมาประดิษฐานไว้ ณ เมืองพานพร้าวด้วย [ 2 ]

ทางกรุงธนบุรีเมื่อทราบว่าสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพกลับกรุงธนบุรีพร้อมด้วยพระบาง (และ พระแก้วมรกต) สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้จัดแต่งสถานที่
และการมหรสพในการสมโภชรวมถึงเสด็จพระราชดําเนินไปรับพระบาง (และพระแก้วมรกต) ด้วยพระองค์เอง ดังนี้

กองทัพถึงเมืองสระบุรีในเดือนยี่ ปีกุน เอกศก ศักราช 1141 จึงบอกลงมากราบทูลพระกรุณาให้ทราบ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวมีพระราชดํารัส
ให้นิมนต์สมเด็จพระสังฆราช พระราชาคณะทั้งปวงให้ขึ้นไปรับพระพุทธรูปปฏิมากรแก้วมรกตถึงเมืองสระบุรี แล้วให้แต่งเรือชัยกิ่งขึ้นไปรับพระพุทธรูปด้วย
ครั้นมาถึงตําบลบางธรณี จึงเสด็จพระราชดําเนินขึ้นไปรับโดยทางชลมารค พร้อมด้วยกระบวนนาวาพยุหแห่ลงมาตราบเท่าถึงพระนคร
แล้วให้ปลูกโรงรับเสด็จพระพุทธปฏิมากรพระแก้วพระบางอัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ ณ โรงข้างพระอุโบสถวัดแจ้งภายในพระราชวัง
ตั้งเครื่องสักการบูชามโหฬาราธิการโดยยิ่ง แล้วมีงานมหรสพถวายพุทธสมโภชครบสามวัน [ 3 ]

การประดิษฐานพระบางในสมัยกรุงธนบุรีหลังจากเหตุการณ์การสมโภชพระบางข้างต้นแล้วไม่ปรากฏว่ามีการกล่าวถึงพระบางอีกเลยตลอดสมัยกรุงธนบุรี
แต่ได้มีการกล่าวถึงพระบางอีกครั้งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบางคืนให้เจ้านันทเสน
เพื่ออัญเชิญกลับไปล้านช้าง ดังนี้

พระบาทสมเด็จพระบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ จึงมีพระราชดํารัสโปรดให้เจ้านันทเสน ราชบุตรนั้นกลับขึ้นไปครองกรุงศรีสัตนาคนหุตสืบต่อไป
แล้วเจ้านันทเสนจึงกราบทูลขอพระบางกลับคืนไปด้วย [ 4 ]

การที่เจ้านันทเสนทูลขอพระบางกลับคืนไปสู่ล้านช้างอาจไม่ใช่ข้อที่น่าสังเกตมากนัก เพราะพระบางเดิมเคยประดิษฐานในล้านช้างอยู่เก่าก่อน เพียงฉงนใจ
ว่าเหตุใดเจ้านันทเสนจึงกล้าทูลขอพระราชทานพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเป็นผู้อัญเชิญมาในฐานะเครื่องหมายแห่งชัยชนะ
จากการปราบกบฏล้านช้าง แต่สิ่งที่น่าสังเกตเป็นพิเศษคือเหตุใดพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานคืนกลับไปโดยง่าย
เพราะดังที่กล่าวไปแล้วว่า พระบางเป็นสัญญะของอํานาจเหนือล้านช้างของพระองค์




   https://www.silpa-mag.com/wp-content/uploads/2016/11/prakaew1.jpg
องค์พระบาง จากลาวสู่สยาม มาเพราะ การเมือง แต่ส่งกลับเพราะ ความเชื่อ

     พระแก้วมรกต ลายเส้นวาดจากภาพถ่ายเก่า พิมพ์ในหนังสือ The Land of White Elephant ของ Frank Vincent
     ผู้เดินทางเข้ามาเมืองไทยเมื่อ ค.ศ. 1871 (พ.ศ. 2414) ตีพิมพ์ครั้งแรกที่ลอนดอนเมื่อ ค.ศ. 1873 (พ.ศ. 2416)




สาเหตุของการพระราชทานพระบางกลับคืนล้านช้าง โดยง่ายน่าจะมีสาเหตุมาจากความเชื่อเรื่องผีรักษาพระพุทธรูปที่เจ้านันทเสนกราบทูลต่อพระองค์ ดังนี้

พระแก้วกับพระบางมีปิศาจที่รักษาพระพุทธรูปไม่ชอบกัน ถ้าอยู่ด้วยกันเมืองใดก็ไม่มีความสบายที่เมืองนั้น การเห็นเป็นอย่างมา 3 ครั้ง แล้วคือ


แต่เมื่อครั้งพระแก้วมรกตอยู่เมืองเชียงใหม่ กรุงศรีสุตนาคนหุตก็อยู่เย็นเป็นสุข ครั้งพระเจ้าไชยเชษฐาเชิญพระแก้วมรกตจากเมืองเชียงใหม่ไปไว้ด้วยกับพระบาง
ที่เมืองหลวงพระบาง เมืองเชียงใหม่ก็เป็นกบฏต่อกรุงศรีสุตนาคนหุต แล้วพม่ามาเบียดเบียนจนต้องย้ายราชธานีลงมาตั้งอยู่ ณ นครเวียงจันทน์

ครั้นอัญเชิญพระบางลงมาไว้นครเวียงจันทน์กับพระแก้วมรกตด้วยกันอีก ก็เกิดเหตุจลาจลต่าง ๆ บ้านเมืองไม่ปกติจนเสียนครเวียงจันทน์ให้กับกรุงธนบุรี

ครั้งอัญเชิญพระแก้วมรกตกับพระบางลงมาไว้ด้วยกันในกรุงธนบุรี ไม่ช้าก็เกิดเหตุจลาจล ขออย่าให้ทรงประดิษฐานพระบางกับพระแก้วมรกตไว้ด้วยกัน
[5]


หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ปราบดาภิเษก และสร้างพระนครรวมถึงวัดพระศรีรัตนศาสดารามเรียบร้อยแล้ว
เอกสารทางประวัติศาสตร์ฉบับต่าง ๆ ได้กล่าวถึงแต่เพียงพระแก้วมรกตในการอัญเชิญมาสู่พระนครแห่งใหม่ว่า
“การก่อสร้างอารามสําเร็จในปีมะโรง ฉศก จุลศักราช 1146 (พ.ศ. 2327) ครั้น ณ วันจันทร์ เดือน 4 แรม 14 ค่ำ จึงโปรดให้เชิญพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกต
จากโรงในพระราชวังเดิมฟากตะวันตกลงเรือพระที่นั่งกิ่งมีเรือแห่เป็นกระบวนข้ามมายังพระอารามที่สร้างใหม่”
[6] คือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

แต่สําหรับพระบางนั้นผู้เขียนเชื่อว่าน่าจะอัญเชิญจากโรงพระราชวังเดิมมาพร้อมกัน หากไม่นํามาประดิษฐานในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ก็น่าจะต้องอยู่ในเขตพระบรมมหาราชวัง เพราะเป็นพระพุทธรูปสําคัญทั้ง 2 องค์ ที่พระองค์เองเป็นผู้อัญเชิญมาจากล้านช้าง

ดังนั้น เหตุผลเรื่องความเชื่อของผีรักษาพระแก้วมรกตและผีรักษาพระบางไม่ถูกกันจนทําให้บ้านเมืองทั้ง 3 แห่งที่อัญเชิญพระพุทธรูปทั้ง 2 องค์ไว้ด้วยกันเกิดเหตุร้าย
จนถึงขั้นเสียบ้านเสียเมือง อีกทั้งในขณะกรุงรัตนโกสินทร์อยู่ในช่วงเวลาเริ่มก่อร่างสร้างเมือง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงพระราชทานพระบาง
กลับคืนสู่ล้านช้าง จึงสอดคล้องกับเจ้านันทเสนกล้ากราบทูลขอพระราชทานพระบางกลับคืนสู่ล้านช้าง เพราะเจ้านันทเสนเองเป็นผู้ที่แจ้งเรื่องผีที่รักษาพระพุทธรูปทั้งสอง

พระบางถูกอัญเชิญมาสู่ไทยเป็นครั้งที่ 2 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยเหตุเจ้าอนุวงศ์ เป็นกบฏ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ
ให้พระยาราชสุภาวดี (ต่อมาคือเจ้าพระยาบดินทรเดชา) ยกทัพไปปราบ เมื่อปราบกบฏเป็นที่เรียบร้อยแล้วได้นําพระบางกลับลงมาสู่กรุงรัตนโกสินทร์ด้วย
จึงมีประเด็นที่น่าสนใจว่าเจ้าพระยาบดินทรเดชา “รู้” หรือ “ไม่รู้” เรื่องผีรักษาพระบาง เพราะหากรู้เรื่องผีรักษาพระบางแล้วเหตุใดเจ้าพระยาบดินทรเดชา
จึงนําพระบางกลับมาสู่กรุงรัตนโกสินทร์อีก



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 กันยายน 2564 12:49:56 โดย หมีงงในพงหญ้า » บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 93.0.4577.63 Chrome 93.0.4577.63


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 04 กันยายน 2564 12:46:50 »

เจ้าพระยาบดินทรเดชา “รู้” หรือ “ไม่รู้” เรื่องผีรักษาพระบาง
เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นบุตรคน ที่ 4 ของเจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น) กําเนิดแต่คุณหญิงฟัก เมื่อปีระกา พ.ศ. 2320
ตรงกับปลายรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระราชทาน
คืนพระบางกลับสู่ล้านช้าง เพราะเหตุผลในเรื่องผีรักษาพระแก้วมรกตและผีรักษาพระบางไม่ถูกกันน่าจะเกิดประมาณปี พ.ศ. 2327
อันเป็นปีที่อัญเชิญพระแก้วมรกตจากโรงในพระราชวังเดิม มาประดิษฐานในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง

ดังนั้น เหตุการณ์จึงเกิดช่วงเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) มีอายุประมาณ 2 ปี ต่อมาเจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น) ผู้เป็นบิดา
ได้นําตัวนายสิงห์เข้ารับราชการในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
คือพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชสมภพ พ.ศ. 2310 เมื่อเทียบเหตุการณ์
การพระราชทานพระบางกลับคืนล้านช้าง ช่วงเวลานั้น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรจะมี พระชนมายุ 16 พรรษา
หากเมื่อพิจารณาถึงเรื่องพระชนมายุ และการสนองงานในราชสํานักจึงน่าเป็นไปได้ว่า พระองค์ได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อ
เรื่องผีรักษาพระแก้วและพระบางไม่ถูกกัน

รวมถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวอันเป็นสมัยที่เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) อัญเชิญพระบางมาสู่พระนคร
พระองค์ได้รับรู้เรื่องผีรักษาพระแก้วและพระบางจึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) อัญเชิญไปไว้วัดจักรวรรดิราชาวาส
เพราะเป็นพระอารามที่อยู่นอกพระนคร เพื่อไม่ให้ใกล้ชิดกับพระแก้วมรกตที่ประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง
ปรากฏหลักฐานดังนี้


   ครั้นเมื่อแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว… จึงทรงพระราชศรัทธาให้เชิญพระบาง พระแฑรกคํา พระฉันสมอ ไว้ในหอพระนาค
   วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ครั้นภายหลังได้ทรงสดับการแต่หลังมา จึงทรงดําริว่า จะขัดแก่การซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์
   ได้ทรงบังคับมาแต่ก่อน เพื่อจะให้เป็นมงคลแก่พระนครหาควรไม่ ควรจะให้พระมีชื่อซึ่งลาวนับถือว่ามีปิศาจสิง 3 พระองค์ให้ไปอยู่ภายนอกพระนคร

   จึ่งพระราชทานพระบางให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาเชิญไปไว้วัดกระวัดราชาวาศ พระราชทานพระฉันสมอ ให้เจ้าพระยาพลเทพ (ฉิม)
   ไปไว้วัดอับษรสวรรค์ พระราชทานพระแฑรกคําให้พระยาราชมนตรี (ภู่) ไปไว้วัดคฤหบดี เป็นภายนอกพระนครทั้งสามพระองค์ [7]


จากเหตุผลข้างต้นจึงน่าจะเชื่อได้ว่าเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) รับรู้เรื่องความเชื่อเรื่องผีรักษาพระแก้วและพระบางไม่ถูกกัน
จากคําบอกเล่าของผู้คนในราชสํานัก หรือคําเล่าของบิดาก็เป็นได้

เมื่อเป็นเช่นนี้เหตุผลที่เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) อัญเชิญพระบางกลับมาสู่ราชสํานักไทยเป็นครั้งที่ 2 จึงน่าจะเป็น
การแสดงถึงแสนยานุภาพของฝ่ายที่มีชัยชนะเหนือศัตรู “พระบางจึงเป็นสัญญะแห่งอํานาจเหนือล้านช้าง”




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 กันยายน 2564 12:49:05 โดย หมีงงในพงหญ้า » บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 93.0.4577.63 Chrome 93.0.4577.63


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 04 กันยายน 2564 13:00:12 »



   https://www.silpa-mag.com/wp-content/uploads/2019/11/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4.jpg
องค์พระบาง จากลาวสู่สยาม มาเพราะ การเมือง แต่ส่งกลับเพราะ ความเชื่อ

     แผนที่กรุงเทพโดย ร้อยโท เจมส์ โลว์ พ.ศ. 2378 ในวงกลมคือวัดจักรวรรดิราชาวาส (คลิกที่ภาพ เพื่อขยาย)



อัญเชิญมา “เพราะการเมือง” ส่งคืนกลับ “เพราะความเชื่อ”
การอัญเชิญพระบางจากล้านช้างมาสู่ราชสํานักไทย ทั้งในสมัยกรุงธนบุรีและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ล้วนแล้วแต่เป็นผลจากการสู้รบ
ที่ฝ่ายไทยได้รับชัยชนะทั้งสิ้น การอัญเชิญพระบางมาพร้อมกับทรัพย์สินมีค่าจึงอาจแสดงได้ว่า การอัญเชิญพระบาง
มาสู่ราชสํานักไทยเป็นเหตุผลทางการเมือง ทั้งเพื่อแสดงถึงอํานาจที่มีเหนือกว่า รวมถึงการทําลายขวัญอันเป็นหลักชัยของบ้านเมือง
เพื่อไม่ให้มีใจคิดแข็งเมืองขึ้นมาอีก

การอัญเชิญพระบางจากราชสํานักไทยกลับสู่ล้านช้างในครั้งที่ 1 เพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ทรงเชื่อถือเรื่องผีรักษาพระแก้วมรกตและผีรักษาพระบางไม่ถูกกันจึงพระราชทานคืนให้กับเจ้านันทเสนตามที่เจ้านันทเสนทูลขอ
พระราชทานนํากลับไปล้านช้างดังเดิม

การอัญเชิญพระบางจากราชสํานักไทยกลับสู่ล้านช้างในครั้งที่ 2 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2409
พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าอุปราชเมืองหลวงพระบางอัญเชิญพระบางกลับสู่ล้านช้าง (หลวงพระบาง) เช่นเดิม ดังนี้



   ครั้นมาถึงปีอัฐศก เจ้าอุปราชเมืองหลวงพระบางลงมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้รับพระบาง
   ขึ้นไปประดิษฐานไว้เมืองหลวงพระบางตามเดิม เจ้าอุปฮาดราชวงษได้เชิญเสด็จพระบางออกจากวัดจักรวัดิ ราชาวาศ
   ณ เดือน 5 ขึ้น 15 ค่ำ เวลาเพลแล้ว โปรดให้ไปประทับไว้ที่พระตําหนักน้ำ ทําการสมโภชอยู่ 3 วัน
   แล้วบอกบุญพระราชาคณะเปรียญการสัตบุรุษแห่ขึ้นไปส่งเพียงปากเกรด [ 8 ]



เหตุผลในการพระราชทานพระบางคืนกลับไปสู่ล้านช้างในครั้งที่ 2 ไม่ต่างกับเหตุผลครั้งแรก คือการเชื่อถือว่าผีรักษาพระพุทธรูปทั้ง 2 องค์
เมื่ออยู่เมืองใดเมืองนั้นย่อมประสบความเดือดร้อน

กล่าวคือ ความเชื่อเรื่องนี้ปรากฏครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทาน
คืนพระบางกลับสู่ล้านช้าง และในการอัญเชิญพระบางมาสู่ราชสํานักไทยครั้งที่ 2 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดเกล้าฯ
ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) อัญเชิญพระบางไปยังพระอารามนอกพระนคร เพราะไม่ต้องการ
ให้พระบางอยู่ภายในพระบรมมหาราชวังอันเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต และในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พบหลักฐานว่า “เสนาบดีเข้าชื่อกันทําเรื่องราวทูลเกล้าฯ ถวายเรื่องราษฎรกล่าวว่าพระบาง พระพุทธรูปทําให้ฝนแล้ง”
โจษจันกันทั่วพระนครถึงเรื่องผีรักษาพระแก้วมรกตและพระบาง ดังนี้

แลเมื่อปีชวดฉศก [ 9 ] เกิดฝนแล้งข้าวแพงท่านเสนาบดีเข้าชื่อกันทําเรื่องราวทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายว่า ด้วยได้ยินราษฎรชายหญิง
หลายพวกหลายเหล่าบ่นซุบซิบกันอยู่เนือง ๆ มานานแล้วว่า ครั้นตั้งแต่พระเดิมเมืองเวียงจัน ซึ่งมาอยู่เมืองหนองคาย
เชิญลงมาไว้ในกรุงเทพมหานคร เมื่อปลายปีมะเส็งนพศก [ 10 ] แลพระสัยเมืองเวียงจัน ซึ่งมาอยู่ด้วยพระเสิม ณ เมืองหนองคาย
แลพระแสนเมืองมหาไชยเชิญมาไว้ ณ วัดประทุมวนาราม

เมื่อปลายปีมะเมียสัมฤทธิศก [ 11 ] นั้นมา ฝนในแขวงกรุงเทพมหานครน้อยไปกว่าแต่ก่อนทุกปี ต้องบ่นว่าฝนแล้งทุกปี
ลางพวกก็ว่าพระพุทธรูปเหล่านี้ไปอยู่ที่ไหนของแพงที่นั่น แลว่าของลาวเขาถือว่าพระพุทธรูปของบ้านร้างเมืองเสีย ปิศาจมักสิงสู่
ลาวเรียกว่า พุทธยักษ รังเกียจนัก ไม่ให้เข้าบ้านเข้าเมือง

ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังเนือง ๆ จึงได้ปรึกษากัน รําพึงถึงกาลเก่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์เป็นแม่ทัพ
เสด็จขึ้นไปตีเมืองเวียงจันครั้งก่อน ก็ได้พระพุทธรูปมีชื่อทั้งปวงในเมืองนั้นมาอยู่ในอํานาจ แต่ทรงเลือกให้เชิญลงมากรุงธนบุรี
แต่พระแก้วมรกฏกับพระบาง 2 พระองค์ พระพุทธรูปมีชื่อนอกนั้น โปรดให้คงอยู่เมืองเวียงจัน

ครั้นได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ทรงจัดการแผ่นดิน และสร้างพระนครพระราชวังใหม่ เจ้านันทเสน แลเจ้าเขียวค่อมท้ายสวน
กราบพระกรุณาว่า



อ้างถึง


   พระแก้วกับพระบางมีปิศาจที่รักษาพระพุทธรูปไม่ชอบกัน ถ้าอยู่ด้วยกันเมืองใดก็ไม่มีความสบายที่เมืองนั้น
   การเห็นเป็นอย่างมา 3 ครั้งแล้ว…

   …ข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงเห็นด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมว่า จะขอรับพระราชทานพระพุทธรูปที่ลาวนับถือ คือพระเสิม พระสัย
   พระแสน ฤาพระบาง พระแฑรกคํา พระฉันสมอ พระมีชื่ออื่น ๆ ด้วย พระราชทานคืนให้เจ้าเมืองหัวเมืองลาวที่เดิม
   ฤาเมืองอื่นที่นับถือรับไปไว้ทําบูชา ฤาถ้าทรงดําริเห็นว่า ได้เชิญมาแล้ว จะคืนไปเป็นที่เสื่อมเสียพระเกียรติยศ
   ก็ขอพระราชทานพระบางไปเมืองหลวงพระบาง ให้ได้ประดิษฐานอยู่ตามชื่อเมืองเดิม
   ก็จะเป็นพระเกียรติยศมากด้วยทําให้เมืองนั้นซึ่งเป็นข้าของขัณฑเสมาคงชื่อเดิม…
   ควรมิควรสุดแล้วแต่จะพระกรุณาโปรด [ 12 ]




การเข้าชื่อของเสนาบดีกราบทูลเหตุการณ์ราษฎรโจษจันเรื่องผีรักษาพระพุทธรูปทั้ง 2 องค์ ไม่ถูกกันจึง เกิดเหตุเดือดร้อน
“ไม่มีความสบายที่เมืองนั้น” ใน พ.ศ. 2407 เหตุการณ์นี้ได้แสดงให้เห็นว่าความเชื่อเรื่องผีรักษาพระพุทธรูปทั้ง 2 องค์
ที่ร่ำลือตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเป็นที่รับรู้สืบต่อมาทั้งในส่วนราชสํานักและราษฎร
หลังจากนั้นอีกเพียง 2 ปี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบางคืนกลับไปสู่เมืองหลวงพระบาง
ตามแต่ครั้งเมื่อพระบางประดิษฐานที่ล้านช้างเป็นครั้งแรก

ด้วยเหตุนี้จึงทําให้น่าเชื่อว่าการพระราชทานคืนพระบางกลับสู่ล้านช้างของราชสํานักไทยทั้ง 2 ครั้ง ในช่วงเวลาที่ราชสํานักไทย
ยังคงมีอํานาจเหนือล้านช้างมาจาก เหตุผลเรื่องความเชื่อในผีรักษาพระแก้วมรกตและพระบางไม่ถูกกันเป็นสําคัญ






บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 93.0.4577.63 Chrome 93.0.4577.63


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 04 กันยายน 2564 13:09:45 »




   https://www.silpa-mag.com/wp-content/uploads/2019/11/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87.jpg
องค์พระบาง จากลาวสู่สยาม มาเพราะ การเมือง แต่ส่งกลับเพราะ ความเชื่อ

       การอัญเชิญพระบางออกมาสรงน้ำเนื่องเทศกาลงานบุญปีใหม่ สงกรานต์ ออกจากพระราชวังหลวง
      เมืองหลวงพระบาง ไปยังวัดใหม่สุวรรณภูมาราม
(คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)




บทสรุป
“พระบาง” อาจไม่ใช่พระพุทธรูปสําคัญในประวัติศาสตร์ไทย แต่มีความพิเศษกว่าพระพุทธรูปองค์อื่น ๆ
เพราะเป็นพระพุทธรูปต่างบ้านต่างเมืองที่ถูกอัญเชิญมาสู่ราชสํานักไทยถึง 2 ครั้ง ในฐานะที่ฝ่ายราชสํานักไทยทําศึกมีชัยชนะ
เป็นสิ่งแสดงถึงวีรกรรมของแม่ทัพและอํานาจที่เหนือกว่าล้านช้าง แต่สุดท้ายต้องส่งคืนกลับไปยังเมืองที่เป็นฝ่ายพ่ายแพ้
ทั้ง 2 ครั้ง เช่นกัน

การอัญเชิญพระบางมาสู่ราชสํานักไทยทั้ง 2 ครั้ง เป็นการกระทําเพื่อประโยชน์ทางการเมือง โดยเฉพาะการอัญเชิญพระบาง
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) รับรู้ถึงผีรักษาพระแก้วมรกต
และพระบางแต่ยังคงอัญเชิญพระบางกลับสู่พระนคร จึงเป็นการแสดงให้เห็นว่า “พระบางคือสัญญะแห่งอํานาจเหนือล้านช้าง”
แต่การอัญเชิญพระบางกลับสู่ล้านช้างทั้ง 2 ครั้ง เป็นผลมาจากความเชื่อถือเรื่องผีรักษาพระพุทธรูปทั้งสองไม่ถูกกัน
จะบันดาลให้เกิดเหตุร้ายในบ้านเมือง

การตอกย้ำถึงเรื่องการเมืองในการอัญเชิญพระบางมาสู่ราชสํานักไทย อันเป็นสัญญะแห่งอํานาจเหนือล้านช้างได้ปรากฏแฝง
ในถ้อยคําเสนอแนะของเสนาบดีที่เข้าชื่อกันทําเรื่องทูลเกล้าฯ ถวายเรื่องราษฎรกล่าวว่าพระบางเป็นพระพุทธรูป
ที่ทําให้ฝนแล้งถึงการแก้ปัญหาเรื่องนี้ว่า

“ฤาถ้าทรงดําริเห็นว่า ได้เชิญมาแล้ว จะคืนไปเป็นที่เสื่อมเสียพระเกียรติยศ ก็ขอพระราชทานพระบางไปเมืองหลวงพระบาง
ให้ได้ประดิษฐานอยู่ตามชื่อเมืองเดิม ก็จะเป็นพระเกียรติยศมากด้วยทําให้เมืองนั้น ซึ่งเป็นข้าของขัณฑเสมาคงชื่อเดิม”









« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 กันยายน 2564 13:11:20 โดย หมีงงในพงหญ้า » บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 93.0.4577.63 Chrome 93.0.4577.63


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 04 กันยายน 2564 13:16:25 »

เชิงอรรถ :

 [ 1 ] ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 9, (2545), น. 56
 [ 2 ] พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 2, (2535), น. 222
 [ 3 ] เรื่องเดียวกัน, น. 222
 [ 4 ] เรื่องเดียวกัน, น. 238
 [ 5 ] พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขํา บุนนาค), (2548), น. 284-285.
 [ 6 ] พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขํา บุนนาค), (2531), น. 24.
 [ 7 ] พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขํา บุนนาค), น. 285-287.
 [ 8 ] เรื่องเดียวกัน, น. 288
 [ 9 ] พ.ศ. 2407
 [ 10 ] พ.ศ. 2400
 [ 11 ] พ.ศ. 2401
 [ 12 ] พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขํา บุนนาค), น. 284-288.




บรรณานุกรม :

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, (2552), พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายความทรงจําของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์) ตั้งแต่ จ.ศ. 1129 ถึง 1182 เป็นเวลา 53 ปี. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา

ปฐมพงษ์ สุขเล็ก. (2555), สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช : เรื่องเล่าและการประกอบสร้างความหมาย. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. (ภาษาไทย), กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร

ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 9, (2545), กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร

ปรามินทร์ เครือทอง. “พุทธคุณพระแก้วมรกต,” ใน ศิลปวัฒนธรรมปีที่ 30 ฉบับที่ 1 (พฤศจิกายน 2551), น. 72-83.

พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขํา บุนนาค) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพทรงตรวจชําระและทรงนิพนธ์อธิบาย, (2531). พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร

พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขบุนนาค), (2548), พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จํากัด

พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 2, (2535) พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร

ภาสกร วงศ์ตาวัน. เจ้าอนุวงศ์กบฏหรือวีรบุรุษ. (2553). กรุงเทพฯ : ยิปซี กรุ๊ป.

ศานติ ภักดีคํา “พระแก้วมรกตเคยประดิษฐานที่วัดพระเชตุพนฯลงลืมใน “สังคีติยวงศ์”,” ใน ศิลป วัฒนธรรม, ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 (พฤศจิกายน 2553), น. 110-119.

สมเด็จพระเจ้าตากสิน จอมบดินทร์มหาราช. (2535?). ม.ป.ท.




ขอขอบคุณที่มา
เรื่อง: “พระบาง” จากลาวสู่สยาม มาเพราะ “การเมือง” ส่งกลับเพราะ “ความเชื่อ” จากเว็บไซท์ศิลปวัฒนธรรม
ภาพ: เว็บไซท์ศิลปวัฒนธรรม
จากต้นฉบับ: ศิลปวัฒนธรรม ฉบับมกราคม 2556
ผู้เขียน: ปฐมพงษ์ สุขเล็ก
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ศรัทธา - ความเชื่อ « 1 2 »
สุขใจ ห้องสมุด
sometime 20 12289 กระทู้ล่าสุด 12 มีนาคม 2553 12:49:49
โดย หมีงงในพงหญ้า
ว่าด้วยการยึดถือ,ความเชื่อ :การพินิจด้วยปัญญาเพื่อละสีลัพพตปรามาส
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
เงาฝัน 0 1716 กระทู้ล่าสุด 12 ตุลาคม 2555 15:15:03
โดย เงาฝัน
ความเชื่อ เรื่องการสวดภาณยักษ์
เกร็ดศาสนา
Kimleng 0 3813 กระทู้ล่าสุด 02 พฤศจิกายน 2556 19:11:24
โดย Kimleng
ครูบาศรีวิชัย ศรัทธา อภินิหาร การเมือง
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
ใบบุญ 0 1500 กระทู้ล่าสุด 16 สิงหาคม 2559 20:28:24
โดย ใบบุญ
[ข่าวด่วน] - “จุรินทร์”แนะเลือกประชาธิปัตย์ เบอร์ 26 ประเทศรอดทั้งเศรษฐกิจ การเมือง ประชาธิปไ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 105 กระทู้ล่าสุด 04 พฤษภาคม 2566 16:39:06
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.383 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 20 กุมภาพันธ์ 2567 04:35:58