[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
01 พฤษภาคม 2567 11:30:07 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “การบูร” เครื่องหอม-ยา แต่โบราณ ในตำราพระโอสถของพระนารายณ์  (อ่าน 890 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2327


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 97.0.4692.71 Chrome 97.0.4692.71


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 12 มกราคม 2565 13:06:24 »


ต้นการบูร (Public domain – pixabay.com)

“การบูร” เครื่องหอม-ยา แต่โบราณ ในตำราพระโอสถของพระนารายณ์
เผยแพร่ - ศิลปวัฒนธรรม วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ.2565

“การบูร” เป็นพืชชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cinnamomum camphora และมีชื่อสามัญตามสกุลว่า camphor (แคมเฟอร์)

การบูรเป็นเครื่องหอมที่แทรกอยู่ในบรรยากาศชีวิตและลมหายใจของคนไทยมาช้านาน ดังเช่น เครื่องหอมอย่าง “บุหงารำไป” ที่ใช้คุณสมบัติหอมระเหยของการบูรเป็นตัวชูกลิ่นสร้างบรรยากาศเย็นสดชื่น นอกจากนี้การบูรยังเปรียบเสมือน “ยาขาว” เพราะอยู่ในสูตรยาหอม ยาขับลม ยาดม ยาบำรุงหัวใจ ยาหม่องแก้ปวด บวม เคล็ดขัดยอก ฯลฯ

ในจดหมายเหตุสมัยกรุงศรีอยุธยาระบุว่า เครื่องบรรณาการ 10 รายการ ที่ส่งไปยังญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ.2166 หนึ่งในนั้นมีการบูร 2 ชั่งรวมอยู่ด้วย แต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า เป็นการบูรหรือพิมเสนกันแน่ เพราะญี่ปุ่นเป็นแหล่งใหญ่ในการผลิตการบูรชั้นดีอยู่แล้ว แต่ถ้าเครื่องบรรณาการนั้นเป็นการบูรจริง ก็แสดงว่าคนไทยเรารู้จักกลั่นการบูรชั้นดีจากแก่นไม้มาช้านานแล้ว

ข้อน่าสังเกตคือ ชื่อเรียกการบูรในภาษาญี่ปุ่นคือ กุสุโนกิ (Kusunoki) และในภาษาจีนคือ เจียโล่ (แต้จิ๋ว) และจางหน่าว (แมนดาริน) ในขณะที่คนไทยเรียกชื่อสมุนไพรตัวนี้ตามภาษาอินเดียโบราณ แสดงว่าในอดีตดินแดนแถบประเทศไทยนี้น่าจะได้การบูรจากแหล่งตะวันตกมากกว่าแหล่งตะวันออก

ในตำราพระโอสถของสมเด็จพระนารายณ์ อันเป็นตำรายาแห่งราชสำนักกรุงศรีอยุธยา ก็มียาหลวงไม่น้อยกว่า 7 ตำรับที่แทรกการบูร เช่น

น้ำมันทิพโสฬศ เป็นยาน้ำมันที่ใช้ทั้งกินและทาครอบฝีร้าย 16 จำพวก รวมทั้งริดสีดวงทวารใช้ทานวดแก้ปวดเมื่อย และยังเป็นยาสำหรับเด็กกินแก้พิษไข้ตานทราง แก้ไอเรื้อรัง หลอดลมโป่งพอง ขี้ผึ้งปิดพระยอด สำหรับ “ปิดฝีเปื่อยเน่า บาดเจ็บใหญ่น้อย ให้ดูดบุพโพกัดเนื้อ เรียกเนื้อ” คือช่วยกัดหนอง กัดเนื้อเน่า เรียกเนื้อดีกลับมาโดยไม่มีแผลเป็น

น้ำมันมหาจักร เป็นยาภายนอกใช้หยอดหูแก้หูน้ำหนวก แก้เปื่อยคันในหู ใส่บาดแผลแก้พิษปวด และทานวดแก้เมื่อยขบ

น้ำมันมหาปะไลยกัลป์ ใช้ทาแก้เส้นอัณฑพฤกษ์ ที่ทำให้ตายด้าน ช่วยให้นกเขาขันไพเราะเหมือนเก่าก่อน

ยามหากทัศใหญ่ ตำราโบราณว่าใช้กินแก้ลมร้ายได้ทุกชนิดที่ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต สะบักจม ปวดชายโครงและบั้นเอว ยาออกฤทธิ์ร้อนวาบถึงปลายมือปลายเท้าเลยทีเดียว

ยาศุขไสยาศน์ ยานี้เข้าทั้งใบกัญชาและการบูร ตำราโบราณว่า “กินพอควร แก้สรรพโรคทั้งปวงหายสิ้น มีกำลัง กินข้าวได้ นอนเป็นสุขนักแล ฯ”

ยาทิพกาศ ยานี้เข้าทั้งฝิ่น กัญชา และการบูร สรรพคุณจึงไม่ธรรมดา ตำราโบราณว่า “กินพอควร แก้สารพัดทั้งหลายอันให้ระส่ำระสาย กินข้าวไม่ได้ นอนมิหลับ ตกบุพโพโลหิต ลงแดง หายแล ฯ”

เพียงแค่เด็ดใบต้นการบูรมาดมก็หอมชื่นใจแล้ว ส่วนการทำการบูรนั้น จะนำส่วนของเนื้อไม้หรือรากไม้มาผ่านกระบวนการสกัด จนได้การบูรผง บ้างก็นำการบูรนมาทำเป็นน้ำมันหอมระเหย ส่วนสรรพคุณก็มากมายหลากหลายดังกล่าวข้างต้น


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.271 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 04 กันยายน 2566 12:14:06