[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 07:29:44 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บ้านม่วง อารยะธรรมมอญ ริมน้ำแม่กลอง จ.ราชบุรี  (อ่าน 1259 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 10 ตุลาคม 2564 17:25:34 »


ผู้รู้บางท่านบอกว่า หากต้องการเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับมอญแล้ว ต้องมาดูในเมืองไทย เพราะเมืองไทย เป็นแหล่งเก็บสะสมรวบรวมสิ่งเหล่านี้
ไว้ครบถ้วนดีที่สุด เมื่อตอนที่มอญอพยพหนีพม่าเข้ามานั้น  นอกจากหอบลูกจูงหลานแล้ว  ยังหาบคอนเอาสมบัติพัสถานบรรมีเข้ามาด้วย
ทั้งที่บางอย่างไม่น่าจะนึกถึงยามต้องเอาตัวรอด ก็ยังแบกหามกันเข้ามา อย่างฆ้องมอญ ปี่พาทย์ ลาดตะโพน พระพุทธรูป ธรรมาสน์
ตู้พระไตรปิฎก คัมภีร์งาช้าง และคัมภีร์ใบลานอีกมากมายมหาศาล
 ... (อ้างอิง - ต้นธาร วิถีมอญ โดย องค์ บรรจุน)




พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง
ตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

วัดม่วง เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดของชาวมอญในลุ่มแม่น้ำแม่กลองตอนล่าง มีประวัติกล่าวไว้ในสมุดข่อยที่เป็นอักษรมอญเก่าแก่ของวัดว่า สร้างมานานไม่น้อยกว่า ๓๐๐ ปี นับเนื่องแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย นอกจากสมุดข่อยใบลานแล้ว ความเก่าแก่ของวัดยังยืนยันได้จากผ้าห่อคัมภีร์ที่เป็นของสวยงาม อยู่ในยุคกรุงศรีอยุธยา  

เชื่อกันว่า บรรพบุรุษรุ่นแรกของมอญบ้านม่วงอพยพจากพม่า ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.๒๑๓๓-๒๑๔๘) โดยติดตามพระมหาเถระคันฉ่อง ซึ่งเป็นพระสงฆ์มอญเข้ามาตั้งถิ่นฐานริมแม่น้ำแม่กลอง ให้ชื่อหมู่บ้านเหมือนบ้านเดิม ในเมืองมอญว่า “บ้านม่วง” (กวานเกริก) และได้สร้างวัดประจำหมู่บ้านว่า “วัดม่วง” ต่อมา

ความเป็นชุมชนมอญเก่าแก่ที่มีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายเฉพาะตนมาเป็นเวลาช้านาน  จนมาถึงวันนี้ชุมชนมอญบ้านม่วง จังหวัดราชบุรี มิอาจเก็บตัวสงบในโลกส่วนตนริมแม่น้ำแม่กลองได้อีกต่อไป ด้วยอารยธรรมเก่าแก่อันเป็นมรดกตกทอดอันทรงคุณค่าที่บรรพบุรุษได้สั่งสมและถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น กลับกลายเป็นเสน่ห์น่าสัมผัสและน่าเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง  ด้วยเหตุนี้เองพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง จึงได้กำเนิดขึ้นโดยดำริของ พระครูวรธรรมพิทักษ์ (ลม คชเสนีย์) เจ้าอาวาสวัดม่วง ต.บ้านม่วง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี

พระครูวรธรรมพิทักษ์ (ลม คชเสนีย์) เป็นคนไทยเชื้อสายมอญ เกิดที่บ้านม่วง ต.บ้านม่วง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๕ เป็นพระภิกษุที่เปี่ยมไปด้วยปฏิปทาและมีอุดมการณ์อันยิ่งใหญ่ที่จะพัฒนาวัดบ้านม่วง ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งของตำบลบ้านม่วง จากสภาพที่ทรุดโทรมเป็นป่ารกจนเจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะการพยายามอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรม  ความเป็นนักพัฒนาของท่าน ทำให้ชาวบ้านเกิดความศรัทธาและเล็งเห็นความสำคัญของสิ่งมีค่าในท้องถิ่นตน จึงร่วมมือกันเก็บรวบรวมสิ่งของที่สะท้อนถึงความเจริญทางภูมิปัญญาของชุมชนแต่โบราณ มาเก็บรวบรวมไว้ที่วัดเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะพระพุทธรูป คัมภีร์ใบลาน สมุดข่อย ซึ่งจารึกข้อความด้วยอักษรมอญ หรือภาษมอญ, ภาษาบาลี ภาษาเขมร ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา มีจำนวนนับพันเรื่อง รวมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ  ได้แก่ ภาชนะดินเผาสมัยประวัติศาสตร์ พบในแม่น้ำแม่กลองบริเวณหน้าวัดม่วง ขวานสำริดแบบมีบ้อง สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้จากห้วยสุด อำเภอสวนผึ้ง ลูกปัดทำด้วยหิน-แก้ว และกำไลกระดูกสัตว์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้จากถ้ำเขาฝากอำเภอโพธาราม

นอกจากนี้ยังมีสิ่งสำคัญที่มีค่าอย่างสูงต่อการศึกษาพระพุทธศาสนาของชาวมอญมาตั้งแต่โบราณกาล ที่เก็บรวบรวมไว้ที่พิพิธภัณฑ์วัดม่วง ได้แก่ ธรรมาสน์มอญ ภาพพระบฏ ที่แสดงเรื่องพุทธประวัติ ตู้พระธรรม คัมภีร์อักษรมอญโบราณที่จารลงบนแผ่นทอง แผ่นเงิน และแผ่นงา ตลอดจนสิ่งของที่เกี่ยวเนื่องกับคัมภีร์ใบลาน และผ้าห่อคัมภีร์ที่บางชิ้นมีอายุเก่าถึงสมัยอยุธยา ผ้าห่อคัมภีร์บางชุดก็ทำมาจากแผงไม้ไผ่ หุ้มด้วยผ้าฝ้ายพิมพ์ลายจากต่างประเทศ ประดับด้วยลูกปัดโดยรอบ เป็นฝีมือพื้นบ้านของชาวบ้านม่วงโดยเฉพาะ  

ผ้าห่อคัมภีร์นี้จึงจัดว่าเป็นความโดดเด่นของอารยธรรมบ้านม่วงที่เกิดขึ้นในชุมชนริมแม่น้ำแม่กลอง ผ้าห่อคัมภีร์มากมายหลายชนิดประกอบด้วยลวดลายและสีสันงดงาม แต่ที่สมบูรณ์ที่สุดมีเป็นจำนวนมากก็คือชุดที่เก่าแก่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โบราณวัตถุเหล่านี้จึงนับว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติอย่างเทียบหาค่าไม่ได้ในปัจจุบัน

ประเพณีการใช้ผ้าที่มีค่าและสวยงาม เช่น ผ้าห่อคัมภีร์นี้ แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกศรัทธาในพระศาสนาของชาวมอญ ที่มีอารมณ์และจิตใจอันละเอียดอ่อนอย่างน่าเลื่อมใสและเอาเป็นแบบอย่าง

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง ตำบลบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี จึงเป็นเสมือนแหล่งวิทยาการความเป็นมาของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ จากความปรารถนาดีของคนรุ่นก่อน ที่เล็งเห็นความสำคัญของสิ่งมีค่าในท้องถิ่นตน ได้อุตส่าห์เก็บรวบรวมสรรพสิ่งมีค่าของพื้นบ้านทั้งหลายมามอบให้ให้เราได้เรียนรู้ ศึกษา  








โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่เก็บรักษาไว้มีจำนวนมาก สถาบันการศึกษาท้องถิ่น สถาบันการศึกษาในประเทศและต่างประเทศ ต่างมุ่งให้ความสนใจ
หมู่บ้านนี้อย่างท่วมท้น ด้วยความปรารถนาจะให้สถานที่นี้เป็นสถานศึกษาทั้งในด้านภาษาศาสตร์ สังคมวิทยา มนุษยวิทยาและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
ด้วยเหตุนี้ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วงจึงได้กำเนิดขี้น มหาวิทยาลัยศิลปากร และกองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ
ร่วมกันสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง และนำโบราณวัตถุศิลปวัตถุเหล่านั้น จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ตามหลักวิชาพิพิธภัณฑสถาน เพื่อร่วม
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๕ โดยสมเด็จ-
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖


ศาลวัดม่วง
ศาลวัดม่วงเป็นศาลไม้ขนาดเล็ก ประดิษฐานอยู่ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ ชาวบ้านม่วงต่างเชื่อว่า ศาลวัดม่วงมีความศักดิ์สิทธิ์อย่างมาก
เมื่อจะทำการสิ่งใดในวัดจำเป็นต้องจุดธูปบอกกล่าวก่อน เช่น เมื่อมีการบวชพระใหม่ ก่อนที่นาคจะเข้าพระอุโบสถจะต้องจุดธูปเทียนขอขมาศาล
เพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุข และเมื่อมีการทำบุญเลี้ยงพระที่วัด ก็จะต้องจัดสำรับอาหารมาเซ่นสรวง  นอกจากนั้นชาวบ้านม่วงยังถือว่าศาลวัดม่วงเป็นที่พึ่ง
ทางใจ เมื่อมีความทุกข์ร้อนหรือปรารถนาสิ่งใด ก็มักจะมาบนบานเพื่อให้สำเร็จสมความปรารถนา และหากได้ผลตามต้องการแล้วก็นิยมแก้บนด้วย
หัวหมู มะพร้าวอ่อน ฉายหนัง หรือสิ่งอื่นตามแต่จะบนบานไว้  ด้วยเหตุนี้ ศาลวัดม่วงจึงเป็นที่เคารพนับถือของชาวมอญบ้านม่วงมาจนทุกวันนี้



พระเจ้าอโนรธามังช่อ หรือ พระเจ้าอโนรธา ปฐมกษัตริย์แห่งพุกามที่ยิ่งใหญ่ในตำนานของพม่า ทรงได้รับการยกย่องเป็นมหาราช ทรงยกทัพ
ไปยึดครองเมืองสะเทิมของมัญ กวาดล้างราชวงศ์กษัตริย์และคนมอญขึ้นไปพุกาม แล้วรับวัฒนธรรมมอญพร้อมกับทรงรับพุทธศาสนาเถรวาท



หงส์อาสน์ สลักไม้ ฝีมือช่างมอญ-พม่า พุทธศตวรรษที่ ๒๕



พุทธทำนายเรื่องหงส์คู่เล่นน้ำ (The Mon during the Suwannaphumi Period) ประวัติการเกิดบ้านเมืองในโลกของคติทางพุทธ
แทบทุกท้องถิ่น มักจะอธิบายว่าสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเสด็จเลียบโลกของพระพุทธเจ้าเสมอ เมืองหงสาวดี อันเป็นดินแดนของคนมอญ
ก็เช่นเดียวกัน คือ เกิดจากการเสด็จมาของพระพุทธองค์แล้วทอดพระเนตรเห็นหงส์เล่นน้ำอยู่ชายทะเล จึงทรงทำนายว่า บริเวณนั้น
จะต้องกลายเป็นที่ตั้งของนครที่มีชื่อว่า “หงสาวดี”



ผ้าห่อคัมภีร์ โบราณวัตถุสำคัญของบ้านม่วง ประกอบด้วยลวดลายและสีสันงดงาม
ที่เก่าแก่ อยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ประเพณีการใช้ผ้าที่มีค่าและสวยงามห่อพระคัมภีร์นี้  
สะท้อนให้เห็นถึงพลังศรัทธาอย่างแก่กล้าในพระพุทธศาสนาของชาวมอญ แสดงให้เห็น
ถึงความอย่างละเอียดอ่อน รวมถึงถึงอารมณ์และจิตใจอันสุนทรีย์









บ้านม่วง เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ชาวบ้านส่วนใหญ่เรียนหนังสือจนอ่านออกเขียนได้แล้วจึงบวชเป็นสามเณรหรือพระสงฆ์ เพื่อรับการอบรมก่อนที่จะมีเหย้าเรือน วัดจึงเป็นทั้งโรงเรียนและห้องสมุดในการรวบรวมสะสมความรู้และภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของบรรพบุรุษ ดังจะเห็นได้จากการมีสมุดข่อย ใบลาน ที่ไม่เป็นเพียงเรื่องของศาสนาเท่านั้น หากยังรวมถึงบรรดาความรู้ต่างๆ ในทางโลกอีกมาก เช่น ตำรายา ตำราการบ้านเรือน การช่างศิลป์ คัมภีร์ใบลาน สมุดข่อย มรดกทางวัฒนธรรมของชาวมอญบ้านม่วง ที่บรรดาชุมชนอื่นๆ อาจไม่เห็นคุณค่าจึงปล่อยให้ผุพังไป หรือไม่ก็จำหน่ายจ่ายแจกแก่ผู้ที่เห็นคุณค่าไปจนหมดสิ้น  แต่ที่บ้านม่วงทั้งพระสงฆ์และชาวบ้านต่างหวงแหนและเห็นคุณค่า  รักษาต่อกันมาอย่างสืบเนื่อง  บรรดาคัมภีร์ใบลานและสมุดข่อย จึงอยู่ในสภาพที่สวยงามและสมบูรณ์อย่างแทบหาที่ไหนมาเปรียบเทียบไม่ได้เลย เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเลื่อมใสและมั่นคงในพระศาสนาของชาวมอญในท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง

คัมภีร์ใบลาน สมุดข่อย ซึ่งจารึกข้อความด้วยอักษรมอญ หรือภาษามอญ, ภาษาบาลี, ภาษาเขมร มีจำนวนนับพันเรื่อง เท่าที่นักวิจัยโบราณคดีสำรวจไว้มีประมาณ ๑,๒๐๙ เรื่อง คิดเป็นจำนวนผูก ประมาณ ๕,๐๐๐ ผูก สามารถแยกเป็นเรื่องใหญ่ๆ ได้ดังนี้ เรื่องเกี่ยวกับศาสนา, เรื่องเกี่ยวกับประเพณี, วัฒนธรรม, กฎหมาย, เรื่องเกี่ยวกับประวัติสถานที่ต่างๆ และประวัติบุคคล, เรื่องวรรณคดีไทย, และตำราต่างๆ นอกนั้นเป็นเรื่องเบ็ดเตล็ด  คัมภีร์ฉบับเก่าที่สุด ซึ่งจารที่วัดนี้ มีอายุอยู่ในสมัยอยุธยาตอนกลาง เป็นคัมภีร์สิบสองตำนาน จุลศักราช ๑๐๐๐ (พุทธศักราช ๒๑๘๑) อายุของใบลานถึงปัจจุบันนี้ประมาณ ๓๘๓ ปี ฉบับที่เก่ารองลงมาระบุด้วยว่าจารที่วัดม่วง ตรงกับจุลศักราช ๑๑๐๖ (พุทธศักราช ๒๒๘๗) และจุลศักราช ๑๑๑๐ (พุทธศักราช ๒๒๙๑) อายุประมาณ ๒๗๗ ปี และ ๒๗๓ ปี ตามลำดับ เรื่องที่อยู่ในใบลานมีหลายแขนงวิชา เช่น เรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พบประมาณ ๙๕๓ ฉบับ มีหลายเรื่อง เช่น พระอภิธรรม พระสูตร พระวินัย ทศชาติ มหาชาติ ประวัติศาสนา ตำนานมูลศาสนา พุทธวงศ์ นิทานชาดกต่างๆ เป็นต้น  เรื่องเกี่ยวกับประเพณี วัฒนธรรม กฎหมาย พบประมาณ ๒๑ ฉบับ เช่น เรื่องสงกรานต์ เรื่องโลกสิทธิ เรื่องราชนิติ เรื่องการดำรงชีวิต และเรื่องต่างๆ ในครอบครัว ฯลฯ  เรื่องเกี่ยวกับประวัติสถานที่ต่างๆ และประวัติบุคคล พบประมาณ ๑๔ ฉบับ เช่น ประวัติพระธาตุชเวดากอง เรื่องปัทมาวดี เรื่องวังธาตุ เป็นต้น เรื่องตำรายาต่างๆ พบประมาณ ๑๖๑ ฉบับ เช่น ตำรายา ตำราโหราศาสตร์ ตำราเรียนภาษามอญ ตำราทำนายฝัน ตำราเล่นแร่แปรธาตุ ตำรานิมิต ๑๐๐๐ ประการ ตำราสูตรคูณ ฯลฯ  นอกนั้นเป็นเรื่องเบ็ดเตล็ดต่างๆ ซึ่งมีอีกจำนวนมาก  วัสดุที่ใช้ทำคัมภีร์มีหลายประเภท นอกจากใบลานก็มีแผ่นเงินซึ่งใช้เขียนพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ด้วยรัก เป็นอักษรเขมร ภาษาบาลี  ส่วนแผ่นงาช้าง, แผ่นผ้าที่เคลือบด้วยรักสีแดงจนแข็งและแผ่นลานทาทอง เขียนด้วยรักเช่นกัน เป็นคำสวดญัตติที่ใช้ในพิธีอุปสมบท เขียนเป็นอักษรมอญ ภาษาบาลี



อินเทอร์เน็ตทำงานช้ามาก
โปรดติดตามตอนต่อไป

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 ตุลาคม 2564 19:32:44 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 18 ตุลาคม 2564 21:07:57 »



กากะเยีย ทำจากไม้ประดับงา
กากะเยีย เป็นเครื่องใช้สําหรับวางหนังสือ หรือคัมภีร์ใบลาน ทําด้วยจำนวนไม้ ๘ อัน ร้อยเชือกไขว้กัน  โดยกลึงไม้ให้กลม มีเส้นรอบวงประมาณ
๔-๗ ซ.ม. ยาวประมาณ ๔๐-๕๐ ซ.ม. ไม้แต่ละอันเจาะรูตรงกลาง ปลายไม้ ร้อยเชือกในลักษณะที่ทำให้ไม้ทั้ง ๘ อัน ตั้งเป็นฐานสำหรับวางใบลานได้




ที่จารตัวอักษรลงบนใบลาน (ทำจากเหล็กแหลมคม)



โบราณวัตถุที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชนชาติมอญ
โต๊ะจารคัมภีร์ ใช้สำหรับจารคัมภีร์ในวัดม่วง
ประกอบด้วยโต๊ะวางใบลาน ที่จารตัวอักษร ชุดน้ำชา และตะเกียงโบราณ บอกถึงลักษณะของการทำงาน ที่ต้องการความเงียบสงบ
เพื่อให้จิตก็เข้าสู่สมาธิ พร้อมดื่มด่ำละเลียดจิบชาไปด้วยอย่างสบายอารมณ์  โต๊ะทำจากไม้เนื้อแข็งมีลวดลายและสีสันงดงาม
มีความสูงในระดับที่ผู้จารหนังสือซึ่งนั่งกับพื้นสามารถจารอักษรได้สะดวก ขาโต๊ะไขว้กันเป็นรูปกากบาททั้ง ๒ ด้าน ด้านขอบโต๊ะทั้่ง
๒ ด้านแกะเป็นเศียรพญานาค ขอบโต๊ะทั้งสี่ด้านมีแผ่นไม้เขียนลวดลายทาสีงดงาม ปกปิดไม่ให้เห็นรอยต่อของไม้



ที่จารตัวอักษรลงบนใบลาน (ทำจากเหล็กแหลมคม)



เอกสารโบราณ สามารถใช้เปลือกไม้ชนิดต่างๆ นำมาใช้ทำเป็นกระดาษได้ เช่น เปลือกปอ เปลือกข่อย เปลือกสา
ทำให้หนาพอสมควร และเป็นแผ่นยาวๆ ติดต่อกันพับกลับไปกลับมาได้ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าใช้รองรับการเขียน
การชุบตัวอักษร การเขียนภาพ การเขียนลายเส้นต่างๆ


ความประณีตของการเขียนภาพ การเขียนลายเส้นต่างๆ บนคัมภีร์บ้านม่วง



ตำรายา คัมภีร์ใบลานมิใช่จะมีแต่เรื่องทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น เรื่องที่เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ก็มี เช่น เรื่องกฎหมาย
วรรณคดี ประวัติบุคคล ตำรายา ฯลฯ  







« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 ตุลาคม 2564 19:37:49 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 20 ตุลาคม 2564 21:02:32 »


เครื่องบดยา
เป็นเครื่องใช้สำหรับบดยาที่แพทย์แผนไทยสมัยโบราณใช้กัน ประกอบด้วยรางเหล็กและลูกกลิ้งกลมขอบคม ลูกกลิ้งจะยึดติดกับคันโยก
ผู้บดจะต้องโยกคันโยกไปมาเพื่อให้ลูกกลิ้งหมุนและบดจนตัวยาสมุนไพรแหลกแล้วจึงนำตัวยาที่บดไปร่อนในตะแกรงตาถี่ ส่วนที่ยังหยาบ
ก็นำไปบดต่อ แล้วนำมาร่อนในตะแกรงอีก จนตัวยาเป็นผงละเอียดทั้งหมดจึงใช้ได้

ในอดีต ที่วัดม่วงมีโรงยาตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ชาวบ้านเรียกว่า โรงยาหลวงปู่ (ตามชื่อหลวงปู่โวะเจ้าอาวาส) บางทีก็เรียกโรงเครื่อง เพราะนอกจากเก็บยา ยังเก็บเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เช่น สว่าน ค้อน จอบ เสียม ไถ ฯลฯ ชาวบ้านคนใดมีต้นยาสมุนไพรในบ้าน หรือไปท่องเที่ยวที่ต่างๆ พบต้นยาขึ้นอยู่ตามป่า เขา ทุ่งนา ก็มักเก็บเอามาไว้ในโรงยานี้ ใช้เป็นที่รวมยา ถือว่าเอามาถวายวัด  เมื่อมีผู้ป่วย ตัวผู้ป่วยหรือญาติก็จะเดินมาวัด เล่าอาการเจ็บไข้ให้พระฟัง พระก็จะบอกยาหรือจัดยาให้รักษา  ปัจจุบันโรงยานั้นพังไปแล้ว ส่วนหมอยาที่เป็นฆราวาสนั้น จะมีย่ามบรรจุยาหรือล่วมยาติดตัว ภายในก็มียาชนิดต่างๆ เวลามีคนเจ็บไข้ อาการหนักลุกไม่ได้ ญาติก็จะมาบอกหมอยา หมอก็จะจัดข้าวของเครื่องใช้ ไปพักอยู่บ้านคนเจ็บ นอนค้างคืนเฝ้าอาการ แล้วคอยจัดยาหรือรักษาผู้ป่วยจนกว่าจะหาย ค่ารักษาไม่แน่นอน คิดบ้าง ไม่คิดบ้าง ถือว่าช่วยเหลือกันยามทุกข์ยาก (ข้อมูลจากอาจารย์จวน เครือวิชญยาจารย์)




คัมภีร์ตำรายาวัดม่วง จารไว้เป็นอักษรมอญ มีผู้แปลตำรับตำรายาแผนโบราณมอญ เป็นภาษาไทย ดังนี้

ยาแก้พิษเมาเห็ด : ถ้าเมาเห็ด ใช้เปลือกต้นกระทุ่ม บดให้ละเอียด ละลายน้ำดื่ม หายแล

ตำรายาหยอดตา : สมอดีงู ว่านน้ำ ดีปลี สมอพิเภก เปลือกหอยสังข์ มนังคศิลา  รวมกันบดละเอียดกับน้ำนมแพะ แล้วปั้นให้ยาว ตากบนใบขมิ้นแห้ง  บดกับน้ำ หยอดแก้ตามัว ตาฝ้า ตาต้อ หากหมดแล

ตำรายาถ่าย : ไข่เป็ด ๑๐ ใบ ไข่ไก่ ๑๐ ฟอง กล้วยน้ำไทย ๑ หวี  ฝิ่น ๒๐ เมา น้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊บ กล้วย พริก ดีปลี ขิง เจตมูลเพลิง เทียน สลอด เข้าตัวยาทั้งหมด บดให้ละเอียด ต้มกับน้ำผึ้งรับประทานเข้ากับเมล็ดงิ้ว หรือเมล็ดฝ้าย จะถ่าย

ลูกมะขามป้อม : ต้มน้ำสามให้เหลือน้ำหนึ่ง แล้วรดบนเหล็กเผาไฟเอาน้ำที่รองจากเหล็กมาหยอดแก้ตามัวหาย หยอดตาแก้ขนตาคุด แทงย้อนเข้าข้างในหาย

ตรีผลา : ต้มเอาน้ำกรองให้สะอาด เอาผ้าปิดขนตา เอาน้ำหยอด ตาฝ้าตาฟางจะหาย ตามัวตามืดจะเห็น




พระพุทธรูปปางมารวิชัย หินอ่อน  
สมัยรัตนโกสินทร์ สมบัติของพระครูวรธรรมพิทักษ์ (ลม คชเสนีย์)




พระพุทธรูปยืน ไม้กาสี


 
พระพุทธรูปไม้ : นางวี  พิทักษ์บำรุงธรรม มอบให้วัดม่วง





พระกระดาน ๑๐๘ องค์ สร้างให้ผู้ตายสมัยเก่า




พระบฏภาพพุทธประวัติ สมบัติของวัดม่วง
การสร้างภาพพระบฏถือเป็นการบุญที่สำคัญอย่างหนึ่งของคนมอญ ภาพเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญ
กับเหตุการณ์ต่างๆในพุทธประวัติ ตามความเชื่อและความนิยมของชาวมอญ




ห่อคัมภีร์ มีป้ายบอกชื่อคัมภีร์ ทำจากงาช้าง และไม้



ตู้พระธรรม
ตู้พระธรรม สำหรับเก็บรักษาพระไตรปิฎกซึ่งเป็นคัมภีร์หลักในทางพระพุทธศาสนา
ลวดลายประณีตงดงาม  โดยทั่วไปมีชั้นวางหนังสือเฉลี่ย ๒-๓ ชั้น




โตก สำหรับบรรจุอาหารถวายพระสงฆ์



ขันน้ำมนต์



ของใช้สมัยโบราณ : กลองมโหระทึก - ทำจากโลหะ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อใช้ในพิธีกรรมที่เกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์
เช่น พิธีกรรมขอฝน เป็นต้น   การใช้กลองมโหระทึก เป็นวัฒนธรรมเฉพาะของชนชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบัน
ยังคงมีใช้กันอยู่ในกลุ่มชนพื้นเมืองในประเทศจีน พม่า และเวียดนาม












« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 ตุลาคม 2564 21:25:20 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
สถานที่ท่องเที่ยว ราชบุรี รวมมิตรสุดยอดที่เที่ยวน่าไป
สุขใจ ไปเที่ยว
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ 9 7090 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2556 11:45:59
โดย 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
หลวงปู่เหลา ธัมมสาโร วัดอัมพวัน บ้านม่วง ต.ลาดพัฒนา อ.เมือง จ.มหาสารคาม
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 949 กระทู้ล่าสุด 23 กุมภาพันธ์ 2561 16:20:02
โดย ใบบุญ
หลวงปู่แฟ้บ สุภัทโท วัดป่าดงหวาย ต.บ้านม่วง อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 656 กระทู้ล่าสุด 07 มิถุนายน 2562 15:43:26
โดย ใบบุญ
หลวงพ่อห้อง พุทธรักขิโต วัดช่องลม จ.ราชบุรี
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 843 กระทู้ล่าสุด 27 กุมภาพันธ์ 2563 12:54:41
โดย ใบบุญ
หลวงพ่อหรีด จันทสาโร วัดเพลง อ.วัดเพลงจ.ราชบุรี
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 518 กระทู้ล่าสุด 15 พฤศจิกายน 2564 16:11:35
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.558 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 25 มีนาคม 2567 23:23:50