[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 12:11:46 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ พระธรรมปิฎก  (อ่าน 2847 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2553 02:10:38 »




โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ

พระธรรมปิฎก
(ป.อ. ปยุตฺโต)


คัดลอกจากหนังสือ พุทธธรรม หน้า ๗๓๘ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๙


โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบระดับโลกุตระ คือเหนือโลก ไม่ขึ้นต่อโลก ได้แก่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโลกเกี่ยวกับชีวิตถูกต้องตามความเป็นจริง หรือรู้เข้าใจตามสภาวะของธรรมชาติ พูดง่ายๆว่า รู้เข้าใจธรรมชาตินั่นเอง เกิดจากโยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นองค์ประกอบภายใน หรือปัจจัยภายในตัวบุคคล ปรโตโฆสะ (คือปัจจัยฝ่ายภายนอก หรือองค์ประกอบทางสังคม โดยอาศัยศรัทธาเป็นเครื่องเชื่อมโยงหรือชักนำ - webmaster) ที่ดีหรือกัลยาณมิตรอาจช่วยเหลือได้เพียงด้วยการกระตุ้นให้บุคคลนั้นใช้โยนิโสมนสิการแล้วรู้เห็นเข้าใจเอง หมายความว่าสัมมาทิฏฐิประเภทนี้ ไม่ อาจเกิดขึ้นได้จากการรับฟังแล้วเชื่อตามคนอื่นด้วยศรัทธา เพราะต้องเป็นการรู้จักที่ตัวสภาวะเอง ต้องเอาธรรมชาตินั่นเองเป็นข้อพิจารณาโดยตรง และด้วยเหตุนี้จึงไม่มีลักษณะเป็นหลักการ กฎเกณฑ์ ข้อยึดถือที่ปรุงแต่งหรือบัญญัติวางซ้อนเพิ่มขึ้นมาต่างหากจากธรรมดาของ ธรรมชาติ และจึงเป็นอิสระจากการหล่อหลอมของสังคม ไม่ขึ้นต่ออิทธิพลของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป และเป็นการเกี่ยวข้องกับธรรมชาติเองแท้ๆ ซึ่งมีสภาวะและธรรมดาเสมอเหมือนกันทุกถิ่นฐาน ทุกกาลสมัย โดยนัยนี้สัมมาทิฏฐิประเภทนี้จึงมีลักษณะเป็นโลกุตระ คือไม่ขึ้นต่อกาล ไม่จำกัดสมัย เป็นความรู้ความเข้าใจอย่างเดียวกัน จำเป็นสำหรับปรีชาญาณและความหลุดพ้นในทุกถิ่นทุกกาลเหมือนกัน

สัมมาทิฏฐิตามความหมายที่สองนี้ (ความหมายที่หนึ่ง ท่านได้กล่าวในหนังสือถึง โลกียสัมมาทิฏฐิ หรือความเห็นชอบระดับ โลกีย์ หรือแบบโลกๆ - webmaster) ที่ท่านจัดเป็นโลกุตระนั้น หมายเอาเฉพาะที่เป็นความรู้ความเข้าใจชัดเจนแจ่มแจ้ง ถึงขั้นเป็นมรรคเป็นผลทำให้เป็นอริยบุคคลเท่านั้น แต่ กระนั้นก็ตาม สัมมาทิฏฐิที่เป็นมรรคเป็นผลนั้น ก็สืบเนื่องไปจากสัมมาทิฏฐิแบบเดียวกันที่เป็นของปุถุชนนั่นเอง ดังนั้นจึงขอเรียกว่าสัมมาทิฏฐิตามความหมายอย่างที่สองนี้ขั้นที่เป็นของ ปุถุชนว่า สัมมาทิฏฐิแนวโลกุตระ

พึงเห็นความสำคัญของสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตรหรือแนวโลกุตระนี้ว่า เป็นธรรมที่มีผลลึกซึ้งกว่าโลกียสัมมาทิฏฐิมากสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบุคลิกภาพอย่างที่เรียกว่าถอนรากถอนโคน สัมมาทิฏฐิระดับนี้เท่านั้นจึงกำจัดกิเลสได้ มิใช่เพียงกด ข่ม หรือทับไว้ และทำให้เกิดความมั่นคงในคุณธรรมอย่างแท้จริง ไม่แกว่งไกวโอนไปตามค่านิยมที่สังคมหล่อหลอม เพราะมองความจริงผ่านทะลุเลยระดับสังคมไปถึงสภาวธรรมที่อยู่เบื้องหลังแล้ว จึงไม่เต้นส่ายไปกับภาพปรุงแต่งในระดับสังคม ความที่ว่าในตอนนี้ มีความหมายสำคัญในแง่ของการศึกษาด้วย เพราะจะเป็นข้อพิจารณาเกี่ยวกับพัฒนาการของบุคคลว่าควรจะสัมพันธ์กับสังคม และธรรมชาติอย่างไร ควรได้รับอิทธิพลหรือได้รับประโยชน์จากสังคมและธรรมชาตินั้นแค่ไหนเพียง ไร

อนึ่งดังที่ทราบอยู่แล้วว่า สัมมาทิฏฐิแนวโลกุตรเกิดจากการโยนิโสมนสิการ โยนิโสมนสิการ จึงมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ ซึ่งควรยํ้าไว้อีกครั้งหนึ่งว่า ตามปกติ พฤติกรรมของมนุษย์ปุถุชนจะเป็นไปตามอำนาจของค่านิยมที่เกิดจากการหล่อหลอม ทางสังคม ละเว้นการกระทำไม่ดีอย่างนั้น และกระทำการที่ดีอย่างนี้ ตามคำอบรมสั่งสอนบอกเล่าถ่ายทอดเล่าเรียนหรือจดจำแบบอย่างมา ถ้าเมื่อใดปุถุชนไม่ตกอยู่ในอำนาจของค่านิยมเช่นนั้น เขาก็จะตกเป็นทาสของตัณหาที่เรียกกันในสมัยใหม่ว่าอารมณ์ของตนเอง แต่ โยนิโสมนสิการ ช่วยให้หลุดพ้นได้ทั้งอิทธิพลของค่านิยมทางสังคม และจากความเป็นทาสแห่งตัณหาหรืออารมณ์กิเลสของตนเอง ทำให้มีพฤติกรรมอิสระที่เป็นไปด้วยปัญญา จึง อาจพูดสรุปได้ว่า ปุถุชนจะคิดจะทำการใดๆก็ตาม หากขาดโยนิโสมนสิการเสียแล้ว ถ้าไม่ตกอยู่ในอำนาจของค่านิยมจากภายนอกก็ย่อมตกเป็นทาสแห่งตัณหาของตนเอง เมื่อใดมีโลกุตรสัมมาทิฏฐิ เมื่อนั้นเขาก็จะหลุดพ้นจากอำนาจปรุงแต่งของสังคมได้อย่างแท้จริง

เมื่อใดทิฏฐิกลายเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อนั้นก็จัดเป็นปัญญาหรือ ไวพจน์คำหนึ่งของปัญญา แม้ว่าในขั้นแรกเริ่มสัมมาทิฏฐินั้นจะยังเป็นเพียงความเห็นหรือความเชื่อ ทั้งนี้เพราะความเห็นและความเชื่อนั้นสอดคล้องกับความจริง มีความเข้าใจตามสภาวะหรือตามเหตุปัจจัยเป็น ที่อ้างอิง เริ่มเดินหน้าออกจากอำนาจครอบงำของอวิชชาและตัณหา ต่อจากนั้น แม้ว่าความเห็นหรือความเชื่อนั้นจะกลายเป็นความรู้ความเข้าใจอย่างชัดเจน แจ่มแจ้งที่เรียกว่าญาณแล้ว ก็ยังคงเรียกชื่อเดิมว่าสัมมาทิฏฐิได้เรื่อยไปเพื่อสะดวกในการมองเห็น ความเจริญเติบโตหรืองอกงามที่ต่อเนื่องกัน โดยนัยนี้สัมมาทิฏฐิจึงมีความหมายกว้างขวาง คลุมตั้งแต่ความเห็นและความเชื่อถือที่ถูกต้องไปจนถึงความรู้ความเข้าใจตามสภาวะที่เป็นจริง



http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=29561




Credit by : http://board.palungjit.com/f4/โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ-206158.html
Pics by : Google

ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาสาธุค่ะ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2553 07:29:00 »






(o0!)พี่ แป๋ม เข้าอกาลิโกได้งัย เรายังเข้าไม่ได้เลย โอ๊ะ
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ภัยแห่งพระพุทธศาสนาในประเทศไทย โดย พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)
เสียงธรรมเทศนา
หมีงงในพงหญ้า 0 4279 กระทู้ล่าสุด 11 มิถุนายน 2555 10:55:48
โดย หมีงงในพงหญ้า
พระธรรมปิฎก สงฆ์ดียังมีอยู่ (รายการ : รายงานแปซิฟิค)
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
มดเอ๊ก 0 1437 กระทู้ล่าสุด 01 ตุลาคม 2559 02:09:01
โดย มดเอ๊ก
สารคดี ส่องพุทธบุตร ประวัติ พระพรหมคุณาภรณ์ (พระธรรมปิฎก ปอ.ปยุตโต )
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
มดเอ๊ก 0 2229 กระทู้ล่าสุด 26 ตุลาคม 2559 05:35:41
โดย มดเอ๊ก
การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย จริยธรรมของนักการเมือง (พระธรรมปิฎก ปอ.ปยุตโต )
เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
มดเอ๊ก 0 1723 กระทู้ล่าสุด 14 พฤศจิกายน 2559 11:45:16
โดย มดเอ๊ก
พุทธรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์แนวพุทธ สิทธิมนุษยชน (พระธรรมปิฎก ปอ.ปยุตโต )
เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
มดเอ๊ก 0 1537 กระทู้ล่าสุด 14 พฤศจิกายน 2559 11:52:08
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.315 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 05 เมษายน 2567 20:18:17