[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 20:54:48 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “ไข้เหงื่อออก” ระบาดปริศนายุคราชวงศ์ทิวดอร์ กษัตริย์ยังกักตัว  (อ่าน 484 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2304


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2564 11:34:29 »


พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ช่วง ค.ศ.1491-1547 ภาพโดย Hans Holbein คาดว่าวาดเมื่อ 1540
ไฟล์จาก Wikimedia Commons (ไฟล์ Public Domain)


“ไข้เหงื่อออก” ระบาดปริศนายุคราชวงศ์ทิวดอร์
คร่าชีวิตโดยไม่พบต้นเหตุ กษัตริย์ยังกักตัว

เผยแพร่ : ศิลปวัฒนธรรม
วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2564

ในอดีตปรากฏโรคระบาดหลายชนิดที่สร้างความเสียหายหนักหนาสาหัสให้ผู้คนยุคนั้น บางยุคสามารถหาสาเหตุได้ แต่บางครั้งไม่สามารถหาคำอธิบายสาเหตุของโรคได้ และเมื่อเวลาล่วงเลยมาหลายร้อยปี ถึงในปัจจุบันก็ยังต้องศึกษาข้อมูลและพิสูจน์หลักฐานกันอยู่ ปรากฏการณ์ปริศนาเช่นนี้มีตัวอย่างจากกรณีโรคระบาดในอังกฤษระหว่างปลายศตวรรษที่ 15 จนถึงต้นศตวรรษที่ 16 ซึ่งภายหลังเรียกกันว่า ไข้เหงื่อออก (Sweating sickness หรือ The Sweat)

โรคระบาดปริศนานี้มีบันทึกหลักฐานไว้ว่าปรากฏขึ้นในระดับที่ส่งผลกระทบในวงกว้างอยู่ 5 ครั้งในช่วงปลายศตวรรษที่ 15 จนถึงต้นศตวรรษที่ 16 ในครั้งแรกนั้นปรากฏขึ้นในปี ค.ศ.1485 เมื่อกองทัพของพระเจ้าเฮนรีที่ 7 เคลื่อนทัพมาถึงลอนดอนภายหลังได้ชัยจากการรบที่ Bosworth ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันก็ปรากฏโรคปริศนาเกิดขึ้นตามที่เรียกกันว่า “Sweating sickness

ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อคนทั่วไป โรคปริศนานี้มีแนวโน้มทำให้พระราชพิธีบรมราชาภิเษกต้องเลื่อนออกไปจนถึงช่วงปลายเดือนตุลาคม

อย่างไรก็ตาม การระบาดของโรคปริศนาเกิดขึ้นไม่นานนักก็จางหายไป และวนกลับมาใหม่เป็นครั้งคราวรวมกันแล้วทั้งหมด 5 ครั้ง คือในปี ค.ศ.1485, 1508, 1517, 1528 และ 1551 (แหล่งข้อมูลบางแห่งก็นับว่า 4 ครั้ง คือ 1485, 1517, 1528 และ 1555)

ภาพสะท้อนในแง่ความรุนแรงและความเสียหายของวิกฤตครั้งนั้นมีตัวอย่างเป็นตัวเลขผู้เสียชีวิตจากการระบาดเมื่อปี ค.ศ.1517 แจสเปอร์ ริดลีย์ (Jasper Ridley) นักเขียนผู้ศึกษาช่วงเวลาราชวงศ์ทิวดอร์ (Tudor) บรรยายไว้ว่า เดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ.1517 ภายในสัปดาห์เดียวมีผู้เสียชีวิตในอ็อกซ์ฟอร์ด (Oxford) มากถึง 400 คน

แจสเปอร์ ยังระบุอีกว่า ในบางเมือง ประชากรถึง 1 ใน 3 เสียชีวิตลง หรือบางแห่งมีผู้เสียชีวิตมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรในท้องถิ่น เมื่อมาถึงในปี ค.ศ.1528 ผู้เสียชีวิตในลอนดอนมีมากถึง 2,000 คน

Jean du Bellay ทูตฝรั่งเศสบันทึกไว้ในจดหมายที่เขียนจากลอนดอนเมื่อปี ค.ศ.1528 ว่า “โรคชนิดนี้…เป็นวิธีอันง่ายที่สุดในโลกที่จะได้ตายลง”

ในจดหมายยังบรรยายอาการเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยว่า“จะมีอาการปวดศีรษะและหน้าอก (หัวใจ) เล็กน้อย เมื่อถึงจุดหนึ่งจะเริ่มเหงื่อออก ไม่มีความจำเป็นสำหรับแพทย์…คุณจะจากไปโดยไม่ได้รู้สึกถึงความอ่อนแรงเลย”

ข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้ปรากฏในบันทึกจากแพทย์ฝรั่งเศสอีกรายชื่อ Thomas Le Forestier ซึ่งพำนักในอังกฤษ เมื่อเดินทางกลับมาที่ฝรั่งเศสก็บันทึกเกี่ยวกับโรคนี้ไว้

ขณะที่ข้อมูลเกี่ยวกับโรคชนิดนี้ส่วนใหญ่แล้วปรากฏอยู่ในบันทึก A Boke or Counseill Against the Disease Commonly Called the Sweate, or Sweatyng Sicknesse (1552) ของ John Caius แพทย์ในชรูว์สบิวรี่ (Shrewsbury) ช่วงปี ค.ศ.1551

แจสเปอร์ ริดลีย์ บรรยายอาการของผู้ป่วยโรคปริศนานี้ว่า โรคนี้ปรากฏขึ้นอย่างกะทันหัน สำหรับคนที่ร่างกายปกติดีก็เริ่มได้รับผลกระทบขณะที่พวกเขาอยู่บนเตียง, ทานอาหารบนโต๊ะ หรือเดินไปตามถนนหนทาง คนที่มีอาการจะเหงื่อออกจำนวนมากและเสียชีวิตลงในที่สุด อาจเกิดขึ้นภายในแค่ 10-12 ชั่วโมงบางทีเกิดขึ้นภายใน 4 ชั่วโมงเท่านั้น

เอ็ดเวิร์ด ฮอลล์ (Edward Hall) นักประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ทิวดอร์ บันทึกสภาพของบางคนไว้ว่า “รื่นเริงตอนมื้อเย็น เมื่อถึงมื้อค่ำกลับเสียชีวิต”

หากผู้มีอาการมีลมหายใจได้ถึง 24 ชั่วโมงจะรอดชีวิตมาได้และสภาพร่างกายจะกลับมาฟื้นฟูอย่างรวดเร็ว แจสเปอร์ ยังบรรยายว่า ในยุคนั้นมีข้อควรคำนึงสำคัญว่า ผู้ป่วยไม่ควรสัมผัสอุณหภูมิร้อนหรือหนาวจนเกินไป ควรนอนพักอยู่บนเตียง ห่มผ้าไว้โดยนำมือมาไขว้กันบนหน้าอกเพื่อป้องกันอากาศสัมผัสใต้รักแร้ แต่ห้องที่อาศัยอยู่ต้องมีอุณหภูมิอุ่นระดับปานกลางเท่านั้น

ด้วยสภาพของผู้ป่วยที่มีไข้จะทำให้รู้สึกกระหายน้ำอย่างมาก และต้องไม่ให้ดื่มน้ำเย็น สำหรับผู้ที่รับประทานทุกอย่างเข้าไปมักเสียชีวิต อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลแล้วบ่งชี้ว่า เพศหญิงมีโอกาสป่วยน้อยกว่าเพศชาย ในแต่ละท้องถิ่นการระบาดกินเวลาไม่กี่สัปดาห์

เมื่อมาถึงรัชสมัยพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แม้พระองค์จะเป็นที่รับรู้ในแง่มีความมั่นใจในพระองค์เอง แต่ครั้งนี้พระองค์ทรงวิตกอย่างมากว่าจะติดโรคระบาดไปด้วย พระองค์เสด็จฯ จากพื้นที่ใกล้เคียงในลอนดอนออกไปประทับที่หอคอยใน Hertfordshire โดยมีผู้ติดตามรับใช้เพียงคนเดียว

แจสเปอร์ เล่าว่า ราชเลขาฯ ในพระองค์ชื่อ Brian Tuke มีอาการไข้เหงื่อออก แต่เขาไม่ได้ตื่นตระหนก โดยเขาเชื่อว่าปัจจัยทางจิตนั้นส่งผลสำคัญต่ออาการเจ็บป่วยชนิดนี้

ในช่วงที่พระเจ้าเฮนรีที่ 8 ทรงกักตัว พระองค์ทรงได้รับข่าวว่าแอน โบลีน มีอาการป่วยด้วยแต่โชคดีที่แอน โบลีน หายเป็นปกติ

ไม่เพียงแค่ไข้เหงื่อออกอันเป็น “โรคระบาด” ที่ถูกพูดถึงมาในยุคราชวงศ์ทิวดอร์ มีผู้เสียชีวิตนับพันรายหากอ้างอิงตามบันทึกของทูตฝรั่งเศส ขณะที่ผู้มีอาการป่วยราว 40,000 ราย ช่วงรัชสมัยพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ยังมีโรคระบาดอื่นที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากอีกหลายครั้ง

ในปี ค.ศ.1563 หลังจากกองทหารอังกฤษเดินทางกลับมาจาก Le Havre ช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ.1563 ถึงมิถุนายน ปี ค.ศ.1564 ปรากฏผู้เสียชีวิตในลอนดอนมากถึง 17,000 คน คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 6 ของประชากรทั้งหมดในเวลานั้น หากอ้างอิงข้อมูลจากนักวิชาการที่เชื่อว่ามีประชากรทั้งหมดราว 100,000 คน

นักประวัติศาสตร์ยังไม่สามารถบ่งชี้หรืออธิบายโรคปริศนาที่เกิดขึ้นในอังกฤษได้อย่างชัดเจน Caius แสดงความคิดเห็นโดยสันนิษฐานว่าอาจมาจากดินและสิ่งสกปรก

ขณะที่ในยุคปัจจุบันมีนักวิจัยสนใจศึกษาค้นหาเกี่ยวกับโรคระบาดชนิดนี้อยู่หลายกลุ่ม อาทิ การวิจัยข้อสันนิษฐานว่าการป่วยไข้ปริศนาเกี่ยวข้องกับ Hantaviruses หรือไม่?

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.326 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 23 กันยายน 2566 08:26:11