[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 21:53:35 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ราชินีมินจายอง ผู้พลีชีพแทนพระเจ้าโกจง จักรพรรดิโดยชอบธรรมองค์สุดท้ายของเกาหลี  (อ่าน 548 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2304


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2564 10:15:25 »




ภาพประกอบเนื้อหา - ภาพในข่าวการล้มล้างราชวงศ์เกาหลีที่สื่อตะวันตกเผยแพร่
(ภาพจาก SOLEIL DU DIMANCHE, 4 Aout, 1907)


ราชินีมินจายอง ผู้พลีชีพแทนพระเจ้าโกจง
จักรพรรดิโดยชอบธรรมองค์สุดท้ายของเกาหลี


ที่มา - ศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2564

เนื้อหานี้คัดส่วนหนึ่งมาจากบทความ “อย่าให้เหมือนเกาหลี กษัตริย์ที่หายไปจากภาพประมุขทั่วโลกออกมหาสมาคม” โดย ไกรฤกษ์ นานา เผยแพร่ในนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เนื้อหาส่วนหนึ่งเกี่ยวกับ ราชินีมินจายอง มีดังนี้

สงครามจีน-ญี่ปุ่นสิ้นสุดลงใน ค.ศ.1895 ส่งผลให้เกาหลีหลุดลอยไปจากจีน ในปีเดียวกันนี้ก็เกิดโศกนาฏกรรมบางอย่างขึ้นในพระราชวังเคียงบอคของพระเจ้าโกจง ซึ่งเป็นผลงานของญี่ปุ่น แต่ไม่มีใครเอาผิดกับญี่ปุ่นได้

สนธิสัญญาชิโมโนเซกิที่จีนยอมจํานนต่อญี่ปุ่นเพื่อยุติสงครามผลักดันจีนให้ออกไปจากเกาหลีและหยุดการที่เกาหลีต้องส่งบรรณาการหรือจิ้มก้องไปจีน แต่ยังไม่ทําให้ญี่ปุ่นพอใจ เพราะราชสํานักเกาหลียังกุมอํานาจอยู่ด้วย พระราชินีองค์หนึ่งผู้ไม่เคยยอมญี่ปุ่น และเป็นผู้ประคับประคองราชบัลลังก์อันโอนเอนของพระเจ้าโกจงตลอดมา พระนางคือราชินีมินจายอง ของพระเจ้าโกจง การดํารงอยู่ของพระนางจะเป็นเสี้ยนหนามมิให้ญี่ปุ่นครอบครองเกาหลีได้สําเร็จ และญี่ปุ่นก็จะไม่เก็บพระนางไว้

ย้อนกลับไปกล่าวถึงรัชกาลของพระเจ้าโกจงสักเล็กน้อย (ครองราชย์ ค.ศ.1864-1907) พระเจ้าโกจงทรงเป็นกษัตริย์แห่งโชซอนในยุคหัวเลี้ยวหัวต่อทางประวัติศาสตร์ทรงอ่อนแอทั้งสติปัญญาและจิตใจ เพราะทรงถูกอุปโลกน์ให้ขึ้นเป็นกษัตริย์ด้วยพระชนมายุเพียง 11 พรรษาโดยการชักใยและบอกบทโดยพระบิดา (เจ้าชายลีแฮอง แต่ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นเจ้าชายแดวอน เมื่อขึ้นเป็นผู้สําเร็จราชการแล้ว – ผู้เขียน)

พระเจ้าโกจงเสวยราชย์เพียงเพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยอํานวยความสะดวกให้แก่กลุ่มอํานาจใหม่เท่านั้น และกลไกในการบริหารประเทศในช่วงต้นรัชกาลตกอยู่ในกํามือของเจ้าชายแดวอน ซึ่งเป็นพระบิดาเรื่อยมา

พอพระเจ้าโกจงทรงเจริญพระชนมายุเพียง 15 พรรษา พระบิดาก็ได้คลุมถุงชนให้กษัตริย์เกาหลีมีพระมเหสี โดยเลือกคู่ครองให้เสร็จสรรพเพื่อให้อยู่ในสายตาของตนต่อไป เด็กสาวผู้ไร้เดียงสาคนหนึ่งจากตระกูลมินอายุเพียง 16 ปีถูกเลือกขึ้นมาให้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าโกจงเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ.1866 เด็กหญิงคนนี้มีชื่อว่า มินจายอง

การที่มินจายองถูกคัดเลือกขึ้นมาเป็นคู่ชีวิตของยุวกษัตริย์ก็เพราะเธอไม่มีทีท่าว่าจะเป็นเสี้ยนหนามของเจ้าชายแดวอน ผู้สําเร็จราชการได้เลย เพราะเธอกําพร้าทั้งบิดามารดาแต่ยังเล็ก ซ้ำร้ายยังไร้ญาติขาดมิตรและกองเชียร์ที่จะสนับสนุนเธอให้ขึ้นมามีบทบาทอะไรได้ อันเป็นการพยากรณ์ที่ผิดพลาดโดยสิ้นเชิง เพราะในอีก 30 ปีต่อมา มินจายองจะก้าวขึ้นไปเป็นราชินีผู้ทรงอิทธิพลที่สุดองค์หนึ่งของเกาหลีผู้กุมอํานาจอยู่ข้างหลังบัลลังก์ของพระเจ้าโกจงอย่างแท้จริง

การเป็นคนใฝ่หาความรู้ของราชินีมินจายอง ทําให้พระนางเจริญวัยขึ้นมาเป็นคนรู้มาก และกลายเป็นนักบริหารที่มีขุนนางกลุ่มยังเติร์กหรือพวกหัวสมัยใหม่เป็นพวกของพระนางเอง การมองการณ์ไกลของพระนางทําให้เกิดคณะปฏิรูปเล็กๆ ขึ้นคณะหนึ่งที่ถูกส่งออกไปดูงาน (ล้วงความลับ) ถึงจีนและญี่ปุ่น ได้เห็นความล้มเหลวของจีนและเบื้องหลังความสําเร็จของญี่ปุ่นในระยะสร้างชาติ พระนางได้กลายเป็นกําลังสําคัญของพระเจ้าโกจงในช่วงการแทรกแซงของญี่ปุ่น จนมีผู้ยกย่องให้พระนางเป็นเสาหลักของความเป็นชาติเกาหลีและภาพพจน์ของความซื่อตรงต่อชาติบ้านเมือง

ในระยะที่อิทธิพลของพระนางกําลังผลักดันให้ต่างชาติที่มิได้ประสงค์ร้ายจนเกินไปคือจีนและรัสเซียเข้ามาสนับสนุนการเคลื่อนไหวของกลุ่มขุนนางหัวสมัยใหม่ในราชสํานักเกาหลีนั้น เจ้าชายแดวอนผู้อาวุโสกลายเป็นผู้แปรไปเป็นฝ่ายญี่ปุ่นเสียเองและดําเนินการอย่างลับๆ ที่จะกําจัดพระนางออกไปให้พ้นทาง

ด้วยการวางแผนของราชินีมิน พระเจ้าโกจงทรงดําเนินการติดต่อในทางลับกับรัสเซีย เพื่อหาทางสกัดกั้นการคุกคามของญี่ปุ่นซึ่งต้องการให้เกาหลีเป็นเพียงจังหวัดหนึ่งของจักรวรรดิญี่ปุ่นเท่านั้น แต่นโยบายถ่วงดุลอํานาจของราชินีมินก็มิได้เล็ดลอดสายตาของเจ้าชายแดวอน ผู้รายงานให้ข้าหลวงใหญ่ญี่ปุ่นทราบเป็นระยะๆ แผนการกําจัดราชินีมินจึงอุบัติขึ้นเพื่อหยุดยั้งการแทรกแซงของมือที่ 3 ในเกาหลี

แผนลอบประทุษร้ายราชินีเกาหลีของทีมสังหารจากญี่ปุ่นลอบเข้าไปภายในพระราชวังเคียงบอคอย่างเงียบๆ ในเช้าตรู่ของวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ.1895 ทีมสังหารบุกเข้าไปถึงพระราชฐานชั้นในอันเป็นที่ประทับ แต่ก็ถูกสกัดกั้นโดยราชองครักษ์ของราชินีมิน แต่ทีมสังหารซึ่งมีกําลังมากกว่าและเป็นมืออาชีพจากญี่ปุ่น ซึ่งได้รับการชี้เป้าจากสายลับเกาหลีที่นิยมญี่ปุ่นก็เข้าไปจนถึงพระตําหนักฝ่ายใน ได้สังหารองครักษ์และพระสนมซึ่งพยายามปกป้องราชินีมินอย่างสุดความสามารถแต่ก็ไร้ผล

มีสตรีรวม 3 คนถูกสังหารอย่างเหี้ยมโหดในเช้าวันนั้น หนึ่งในร่างที่ไร้วิญญาณก็คือราชินีมินผู้สูงศักดิ์ และเพื่อให้แน่ใจว่าเป้าหมายถูกกําจัด ทีมสังหารได้เผาพระบรมศพเป็นเถ้าถ่านเพื่อทําลายหลักฐานในป่าสนหลัง พระตําหนักนั่นเอง (วิโรจน์, 2555)

ราชินีมินสวรรคตอย่างมีปริศนาด้วยพระชนมายุ เพียง 43 พรรษาโดยปราศจากร่องรอยหลักฐาน ทิ้งให้พระเจ้าโกจงต้องทนต่อสู้กับชะตากรรมตามลําพังต่อไปอย่างไม่มีจุดหมาย

อิทธิพลของญี่ปุ่นและเหตุการณ์ในวันนั้นสามารถปิดปากสื่อมวลชนทั่วโลกที่มองว่าเกาหลีเป็นเพียงเรื่องภายในของญี่ปุ่นเท่านั้น ไม่มีใครอยากติดตามเสนอข่าว เพราะเกรงว่าจะกระทบกระเทือนความสัมพันธ์กับญี่ปุ่น แม้สื่อตะวันตกที่ไม่เคยตกข่าวสําคัญเกี่ยวกับราชวงศ์ก็ยังงดการเสนอข่าวใดๆ ที่จะเปิดเผยชะตากรรมของ ราชวงศ์เกาหลี เพราะต้องการเอาใจญี่ปุ่น

ผู้เขียนเป็นนักสะสมเอกสารโบราณประเภทหนังสือเก่าและหนังสือพิมพ์เก่าจากยุโรปมีหนังสือพิมพ์รายวันที่ตีพิมพ์ในประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐฯ ตลอดปี ค.ศ.1895 หลายร้อยฉบับ แต่ก็ไม่พบการเสนอข่าวใดๆ เกี่ยวกับการจากไปของราชินีมินแม้แต่ประโยคเดียว อันเป็นเรื่องผิดสังเกตโดยเฉพาะเมื่อเกิดกับสื่อมวลชนยุโรปที่เคยเสนอข่าวเกี่ยวข้องกับเกาหลีไม่มากก็น้อย ทุกวันนี้ก็ยังไม่อยากเชื่อว่าเงินและอํานาจซื้อสํานักพิมพ์อิสระของฝรั่งได้

เพียงแต่รู้คร่าวๆ จากหนังสือประวัติศาสตร์เกาหลีที่พิมพ์ในสมัยหลังว่าภายหลังการปลงพระชนม์พระราชินีมิน ผ่านไปราว 2 ปี คือในวันที่11 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1897 พระเจ้าโกจงก็ทรงละทิ้งพระราชวังเคียงบอค เสด็จฯ ไปประทับลี้ภัยภายในสถานทูตรัสเซียเป็นเวลาเกือบ 1 ปีเต็ม เพราะไม่มั่นใจในความปลอดภัยของพระองค์เอง ทรงคิดอยู่เสมอว่ารัสเซียน่าจะเป็นทางออกของเกาหลีที่ดีได้

หมายเหตุ : หลังสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นจบลงด้วยความปราชัยของรัสเซีย ไม่มีชาติใดกล้าข้องแวะกับญี่ปุ่นอีก ปล่อยให้ญี่ปุ่นคุกคามส่วนต่างๆ ของเอเชีย

ค.ศ.1907 ญี่ปุ่นผนวกเกาหลีเข้าเป็นจังหวัดหนึ่งได้สำเร็จ และปลดพระเจ้าโกจงออกจากราชบัลลังก์แล้วควบคุมพระองค์ไปที่ญี่ปุ่น ไม่ปล่อยให้พระองค์กลับมาปกครองเกาหลีอีก รัฐบาลญี่ปุ่นสถาปนาพระเจ้าซุนจง พระราชโอรสของพระเจ้าโกจงเป็นจักรพรรดิเกาหลี แต่ก็เป็นแค่ในนาม ปล่อยให้ข้าหลวงใหญ่ญี่ปุ่นปกครองกันเอง

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ราชินีมิน ผู้พลีชีพแทนพระเจ้าโกจง จักรพรรดิโดยชอบธรรมองค์สุดท้ายของเกาหลี
สุขใจ ห้องสมุด
ใบบุญ 0 604 กระทู้ล่าสุด 27 พฤศจิกายน 2563 14:47:37
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.41 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 04 มีนาคม 2567 13:32:50