[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 19:56:32 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: "พระเจ้าสุทโธทนะ" พระพุทธบิดา มหาราชาผู้ทรงธรรม  (อ่าน 422 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5461


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 08 ธันวาคม 2564 19:43:01 »



"พระเจ้าสุทโธทนะ" พระพุทธบิดา มหาราชาผู้ทรงธรรม

ประติมากรรมรูปบุคคลดินเผา สูง ๙.๕ เซนติเมตร พบจากการขุดแต่งเจดีย์หมายเลข ๑๑ เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ใต้ฐานประติมากรรมมีจารึกอักษรหลังปัลลวะ ภาษาสันสกฤต กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ จารึกบรรทัดบนอ่านว่า “ศุทฺโธ” บรรทัดที่ ๒ ซึ่งค่อนข้างสมบูรณ์กว่า อ่านว่า “ศุทฺโธทน” จึงเชื่อได้ว่าประติมากรรมรูปบุคคล ดังกล่าว หมายถึง “พระเจ้าสุทโธทนะ” หรือพระพุทธบิดา

พระเจ้าสุทโธทนะ เป็นพระมหากษัตริย์แห่งแคว้นสักกะ ซึ่งมีนครหลวงอยู่ที่กรุงกบิลพัสดุ์ ทรงมีพระอัครมเหสี พระนามว่าพระนางสิริมหามายา เจ้าหญิงโกลิยวงศ์จากกรุงเทวทหะ ทรงให้กำเนิดพระราชโอรส คือ เจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ ๗ วัน พระนางสิริมหามายาเสด็จสวรรคต พระเจ้าสุทโธทนะจึงอภิเษกสมรสใหม่กับพระนางมหาปชาบดีโคตมี ซึ่งเป็นพระกนิษฐาร่วมชนนีกับพระนางสิริมหามายา และมีพระโอรสคือ เจ้าชายนันทะ และพระธิดาคือ เจ้าหญิงรูปนันทา

พระเจ้าสุทโธทนะเป็นกษัตริย์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมและยึดมั่นในราชประเพณีอย่างเคร่งครัดในการปกครองบ้านเมือง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขตลอดรัชสมัยของพระองค์ ทรงมุ่งหวังที่จะให้พระโอรสโดยเฉพาะเจ้าชายสิทธัตถะได้รับเลือกจากสภาศากยะให้สืบราชสมบัติต่อจากพระองค์ แต่เจ้าชายสิทธัตถะได้ตัดสินพระทัยเสด็จออกผนวช ต่อมาเมื่อทรงทราบว่าเจ้าชายสิทธัตถะทรงตรัสรู้เป็นพระโคตมพุทธเจ้าแล้ว จึงได้ทูลเชิญให้เสด็จกลับมายังกรุงกบิลพัสดุ์ ในครั้งนั้นพระเจ้าสุทโธทนะได้สดับรับฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธองค์ ทรงเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา และได้บรรลุพระโสดาบันเป็นอุบาสก ในพรรษาที่ ๕ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเจ้าสุทโธทนะประชวรหนัก พระพุทธองค์จึงได้เสด็จจากเมืองเวสาลี แคว้นวัชชี มายังเมืองกบิลพัสดุ์ ทรงแสดงธรรมโปรดพระเจ้าสุทโธทนะด้วยเรื่องความเป็นอนิจจังของสังขาร พระองค์ได้บรรลุพระอรหัตผล หลังจากนั้นอีก ๗ วัน ทรงสิ้นพระชนม์และนิพพาน

พระเจ้าสุทโธทนะ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ นอกจากทรงเป็นพระมหาราชาผู้ทรงธรรมแล้ว ยังทรงเป็นพระพุทธบิดา ผู้ให้กำเนิดพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศาสดาเอกของโลก ซึ่งต่อมาพระพุทธศาสนาที่ได้เผยแผ่และเจริญขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วโลก โดยเฉพาะในดินแดนไทย จนถือเป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมไทย โดยเฉพาะพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทรงมีหลักธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ทรงเป็นพุทธมามกะ ในเวลาเดียวกันทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกศาสนาต่างๆ ในพระราชอาณาเขตให้เจริญวัฒนา เป็นศูนย์รวมใจและเป็นที่พึ่งของอาณาประชาราษฎร์ทุกยุคสมัยตราบปัจจุบัน


ขอขอบคุณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง (ที่มาข้อมูลและภาพประกอบ)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.252 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 22 มีนาคม 2567 09:46:28