[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 13:24:19 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: "ซอ" การร้องเพลงโต้ตอบโดยใช้ปฏิภาณไหวพริบของชาวล้านนา  (อ่าน 679 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 19 ธันวาคม 2564 20:45:57 »





การแสดงมหรสพเพื่อเฉลิมฉลองการเสด็จกลับเข้าเมืองของพระเวสสันดร พระนางมัทรี และกัณหา ชาลี
จิตรกรรมฝาผนัง ภายในวิหารวัดเกาะลาน บ้านเกาะลาน ตำบลสมอโคน อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก
เล่าเรื่องพระเวสันดรชาดก ตอนนครกัณฑ์
ขอขอบคุณ "กลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี กรมศิลปากร" (ที่มาภาพประกอบ)

ซอ : การขับร้องเพลง

ซอ เป็นการขับร้องเพลงพื้นบ้านของชาวล้านนา เป็นลักษณะเพลงปฏิพากย์ คือมีนักร้องชายหญิง ซึ่งเรียกว่า ช่างซอ (อ่าน “จ้างซอ”) ทำหน้าที่ขับเพลงหรือร้องเพลง  เป็นทำนองต่างๆ โต้ตอบกันโดยใช้ปฏิภาณไหวพริบของตัวช่างซอ ที่จะนึกหาคำร้องโต้ตอบกันอย่างทันทีทันใด มีเครื่องดนตรีพื้นบ้านประเภท “ปี่” ประกอบจังหวะ คล้ายลำตัดของภาคกลาง การซอมีทั้งการโต้ตอบกันในลักษณะบทเกี้ยวพาราสี ระหว่างชายหญิง หรือเล่าเรื่อง พรรณนาเหตุการณ์ และในขณะที่ซอก็ต้องมีการเป่าปี่คลอไปกับการซอด้วย  นอกจากใช้ปี่เป็นเครื่องประกอบการซอแล้ว ในบางท้องถิ่น เช่น จังหวัดน่าน จะใช้ซึงและสะล้อประกอบกันแทนปี่หรือร่วมกับปี่ก็ได้ แล้วแต่ความนิยมของแต่ละท้องถิ่น

การซอที่นิยมและมีมาตั้งแต่โบราณนั้นคือการซอคู่ คือการซอตอบโต้กันระหว่างช่างซอหญิงกับช่างซอชาย ช่างซอทั้งชายและหญิงจะใช้ความรู้ในเรื่องภาษาร่วมกับปฏิภาณไหวพริบเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อให้ร้องโต้ตอบได้อย่างทันควัน แล้วยังมีการแสดงออกถึงท่าทางต่างๆ หรือฟ้อนรำประกอบไปด้วย

ในปัจจุบันมีการพัฒนาผสมผสานระหว่างการซอแบบโบราณ (ซอคู่) กับลักษณะการผูกเรื่องขึ้นมาเล่น มีลักษณะคล้ายลิเกของภาคกลาง แต่ยังคงรักษารูปแบบด้านภาษา คือยังร้องเป็นภาษาพื้นเมืองอยู่ และดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงยังใช้วง “ปี่ชุม” อยู่ แต่อาจจะมีการผสมผสานการเล่นเครื่องดนตรีที่ทันสมัยเข้ามาบรรเลงร่วมด้วยก็มี เช่น อิเลคโทน หรือกลองชุด เป็นต้น

การซอ นิยมจัดในงานบุญ เช่น งานทอดกฐิน งานทอดผ้าป่า หรืองานฉลองต่างๆ เช่น งานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 ธันวาคม 2564 20:49:00 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.304 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 13 มีนาคม 2567 23:50:49