[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 07:05:40 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องย่อในพระธรรมบท (ทัณฑวรรค)  (อ่าน 5911 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 10 กันยายน 2554 13:40:48 »



                   

เรื่องย่อในพระธรรมบท (ทัณฑวรรค)
เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุฉัพพัคคีย์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า สพฺเพ ตสนฺติ เป็นต้น

ใน สมัยหนึ่ง ภิกษุสัตตรสพัคคีย์(ภิกษุกลุ่ม 17) ซ่อมแซมเสนาสนะในวัดเชตวันเพื่อจะใช้พักอาศัย ภิกษุฉัพพัคคีย์(ภิกษุกลุ่ม 6) กล่าวว่า พวกท่านจงออกไป พวกผมแก่กว่า เสนาสนะนี้เป็นของพวกเรา” เมื่อภิกษุกลุ่มสัตตรสพัคคีย์เหล่านั้นพูดว่า “พวกผมไม่ยอมให้ เพราะพวกผมซ่อมแซมไว้เอง” ก็ได้ใช้กำลังเข้าทุบตีภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุสัตตรสพัคคีย์ก็ส่งเสียงร้องเพราะกลัวตาย พระศาสดาทรงสดับเสียงร้องของภิกษุเหล่านั้น ทรงสอบถามจนทราบสาเหตุที่เกิดขึ้น ตรัสว่า “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จำเดิมแต่นี้ ภิกษุไม่ควรทำอย่างนั้น ภิกษุใดทำ ภิกษุนั้นย่อมต้องอาบัติ” ดังนี้แล้ว ทรงบัญญัติปหารทานสิกขาบท ตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้ว่า เราย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญา กลัวต่อความตาย ฉันใด แม้สัตว์เหล่าอื่นก็ย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญา กลัวต่อความตายฉันนั้นเหมือนกัน จากนั้นจึงตรัสพระธรรมบท พระคาถานี้ว่า

สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส
สพฺเพ ภายนฺติ มจฺจุโน
อตฺตานํ อุปมํ กตฺวา
น หเนยฺย น ฆาตเย ฯ

(อ่านว่า)
สับเพ ตะสันติ ทันทัดสะ
สับเพ พายันติ มัดจุโน
อัดตานัง อุปะมัง กัดตะวา
นะ หะเนยยะ น คาคะเย.

(แปลว่า)
สัตว์ทั้งหมด ย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญา สัตว์ทั้งหมด ย่อมกลัวต่อความตาย
บุคคลทำตนให้เป็นอุปมาแล้ว ไม่ควรฆ่าเอง ไม่ควรใช้ให้ฆ่าผู้อื่น

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 10 กันยายน 2554 14:23:48 »



เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุฉัพพัคคีย์ ตรัสพระธรรมเทศฯนี้ว่า สพฺเพ ตสนฺติ เป็น
ต้น

ใน สมัยหนึ่ง พวกภิกษุฉัพพัคคีย์(ภิกษุกลุ่ม 6) หลังจากที่ได้ใช้มือทุบตีภิกษุสัตตรสพัคคีย์(ภิกษุกลุ่ม 17) แล้ว ก็ได้เกิดวิวาทกันเพื่อแย่งชิงเสนาสนะแห่งเดียวกันนั้นอีก และได้เงื้อมือขึ้นเพื่อจะทุบตีอีก พระที่จะถูกทุบตีก็ส่งเสียงร้องเพราะกลัวตาย พระศาสดาได้ยินเสียงของภิกษุเหล่านั้น และได้ตรัสถาม เมื่อทราบสาเหตุนั้นแล้ว ตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จำเดิมแต่นี้ไป ภิกษุไม่ควรทำเช่นนี้ ภิกษุใดทำ ภิกษุนั้นย่อมต้องอาบัติ” ทรงบัญญัติตลสัตติกสิกขาบท ตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทราบว่า แม้สัตว์เหล่าอื่นย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญา อย่างเดียวกับเราเหมือนกัน อนึ่ง ชีวิตก็ย่อมเป็นที่รักของสัตว์เหล่านั้น เหมือนของเราโดยแท้ ก็ไม่ควรประหารเอง และไม่ควรสั่งให้ผู้อื่นประหารด้วย จากนั้น พระศาสดาตรัสพระธรรมบท พระคาถานี้ว่า

สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส
สพฺเพสํ ชีวิตํ ปิยํ
อตฺตานํ อุปมํ กตฺวา
น หเนยฺย น ฆาตเย ฯ

(อ่านว่า)
สับเพ ตะสันติ ทันตัดสะ
สับเพสัง ชีวิตัง ปิยัง
อัดตานัง อุปะมัง กัดตะวา
นะ หะเนยยะ นะ คาตะเย.

(แปลว่า)
สัตว์ทั้งหมด ย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญา
ชีวิตย่อมเป็นที่รักของสัตว์ทั้งหลาย
บุคคลควรทำตนให้เป็นอุปมาแล้ว
ไม่ควรฆ่าเอง ไม่ควรใช้ให้ฆ่าผู้อื่น

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 10 กันยายน 2554 14:25:19 »



เรื่องเด็กหลายคน

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุฉัพพัคคีย์ ตรัสพระธรรมเทศฯนี้ว่า สุขกามานิ ภูตานิ เป็นต้น

ในวันหนึ่ง พระศาสดาเสด็จทรงบาตรเข้าไปในกรุงสาวัตถี ทรงเห็นพวกเด็กเป็นอันมาก เอาไม้ตีงูตัวหนึ่งในระหว่างทาง ตรัสถามว่า พวกเขากำลังทำอะไร เมื่อพวกเด็กตอบว่า “กำลังเอาไม้ตีงู” “ตีมันเพราะเหตุใด” “เพราะกลัวว่ามันจะกัด” พระศาสดาจึงตรัสกับเด็กเหล่านั้นว่า “พวกเจ้าตีงูนี้ด้วยคิดว่า จักทำความสุขแก่ตน จักไม่เป็นผู้ได้รับความสุขในที่โลกหน้าที่ตนไปเกิดแล้วๆ แท้จริง บุคคลเมื่อปรารถนาสุขแก่ตน แต่ประหารสัตว์อื่น ย่อมไม่ควร จากนั้น ได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถานี้ว่า

สุขกามานิ ภูตานิ
โย ทณฺเฑน วิหึสติ
อตฺตโน สุขเมสาโน
เปจฺจ โส น ลภเต สุขํ.

(อ่านว่า)
สุขะกามานิ พูตานิ
โย ทันเทนะ วิหิงสะติ
อัดตะโน สุขะเมสาโน
เปดจะ โส นะ ละพะเต สุขัง.

(แปลว่า)
สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว เป็นผู้ใคร่สุข
บุคคลใดแสวงหาสุขเพื่อตน
แต่เบียดเบียนผู้อื่น ด้วยท่อนไม้
บุคคลนั้นละไปแล้ว ย่อมไม่ได้สุข.

สุขกามานิ ภูตานิ
โย ทณฺเฑน น หึสติ
อตฺตโน สุขเมสาโน
เปจฺจ โส ลภเต สุขํ ฯ

(อ่านว่า)
สุขะกามานิ พูตานิ
โย ทันเตนะ วิหิงสะติ
อัดตะโน สุขะเมสาโน
เปดจะ โส ละภะเต สุขัง.

(แปลว่า)
สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว เป็นผู้ใคร่สุข
บุคคลใดแสวงหาสุขเพื่อตน
ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ด้วยท่อนไม้
บุคคลนั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง เด็กเหล่านั้นทั้ง 500 บรรลุโสดาปัตติผล.

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 10 กันยายน 2554 14:39:17 »



เรื่องพระโกณฑธานเถระ

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระโกณฑธานเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า มาโวจ ผรุสํ กญฺจิ เป็นต้น

ตั้งแต่ วันที่พระโกณฑธานเถระอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ก็เกิดปรากฏการณ์ประหลาด มีรูปสตรีคนหนึ่งติดตามไปกับพระเถระเสมอๆ แต่พระเถระไม่แลเห็นรูปสตรีนั้น มีแต่พวกชาวบ้านและภิกษุอื่นแลเห็น เมื่อพระเถระไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน พวกชาวบ้านเมื่อตักข้าวทัพพีแรกใส่บาตรก็จะพูดว่า ท่านขอรับ ทัพพีแรกนี้ จงเป็นของท่าน เมื่อตักทัพพีที่สองใส่ลงในบาตร ก็จะพูดว่า ทัพพีที่สองนี้ จงเป็นของสำหรับสตรีผู้สหายของท่าน เมื่อพวกภิกษุทั้งหลาย เห็นพระเถระมีผู้หญิงเดินไปด้วยเช่นนั้น ก็พยายามไปปรึกษาท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี และนางวิสาขาเพื่อให้จัดการ แต่ทั้งสองท่านเห็นว่าเป็นเรื่องของสงฆ์ก็ควรให้สงฆ์จัดการกันเอง พระภิกษุทั้งหลายจึงได้ทูลพระเจ้าปเสนทิโกศลให้ทรงดำเนินการขับไล่พระเถระ ออกไปเสียจากแคว้นของพระองค์ โดยได้ทูลพระราชาว่า “ มหาบพิตร ภิกษุชื่อโกณฑธานะ พาหญิงคนหนึ่งเที่ยวไป จะยังความเสียหายให้เกิดแก่ภิกษุทุกรูป ขอมหาบพิตร ทรงขับไล่ภิกษุนั้นออกจากแว่นแคว้นของพระองค์เสีย”

พระราชาพร้อมด้วยข้าราชบริพารจึงได้เสด็จไปที่วัดที่พระโกณฑธานเถระพำนัก อยู่นั้นเพื่อทรงสอบสวน เมื่อพระเถระได้ยินเสียงอึกทึกของผู้คน ก็ได้เดินมาที่ประตูกุฏิและก็มีรูปของสตรีมาปรากฏอยู่ไม่ไกลจากพระเถระเหมือนอย่างเคย เมื่อพระเถระได้ทราบว่าพระราชาเสด็จมา จึงไปนั่งที่ห้องเพื่อรอรับเสด็จ พระราชาเสด็จเข้าไปในห้อง ไม่เห็นสตรีอยู่ในห้อง ก็ได้ตรวจดูที่ซอกประตู ที่ให้เตียง ก็ไม่เห็นสตรีนั้น จึงตรัสกับพระเถระว่า ท่านขอรับ โยมเห็นสตรีคนหนึ่งอยู่กับท่าน เธอไปเสียที่ไหน พระเถระตอบว่า อาตมภาพไม่เห็นสตรีที่ว่านั้น “เมื่อกี้โยมแลเห็นอยู่นี่” “แต่อาตมภาพไม่เห็น” เพื่อให้เกิดความมั่นใจยิ่งขึ้น พระราชาได้ขอให้พระเถระออกจากห้อง ไปอยู่ที่หน้ามุข พระองค์ก็ทรงเห็นสตรีนั้นยืนอยู่ข้างหลังพระเถระ และเมื่อพระเถระเดินกลับมาที่ห้อง พระองค์ก็แลเห็นสตรีเดินตามพระเถระเข้ามา แต่พอพระองค์เข้าไปตรวจสอบหาหญิงคนนั้นก็ไม่พบหญิงนั้นแต่อย่างใด พระราชาทรงแน่พระทัยว่ารูปที่คนอื่นแลเห็นกันนั้นเป็นรูปไม่จริง พระเถระยังมีศีลบริสุทธิ์อยู่ ทรงเกรงว่าพระเถระจะเป็นที่รังเกียจของชาวบ้านจนถึงกับไม่ยอมใส่บาตรให้ฉัน จึงได้ทรงอาราธนาพระเถระเข้าไปรับอาหารบิณฑบาตที่พระราชวังของพระองค์เป็น ประจำทุกวัน

เมื่อภิกษุทั้งหลายได้ยินข่าวนี้ ก็กล่าวในเชิงติเตียนพระราชาว่า “ท่านทั้งหลายจงดูการกระทำที่ไม่เหมาะสมของพระราชาชั่วนั้นเถิด เมื่อพวกเราทูลให้ทรงขับไล่พระโกณฑธานะออกไปเสียจากแว่นแคว้น พระองค์กลับนิมนต์พระรูปนั้นไปรับปัจจัย 4 ที่พระราชวัง” และพวกภิกษุก็ได้กล่าวตำหนิพระโกณฑธานะซึ่งหน้าว่า “เฮ้ย คนทุศีล บัดนี้ พระราชาก็กลายเป็นคนชั่วเหมือนเจ้าเข้าให้แล้ว” พระโกณฑธานะจึงพูดโต้ตอบไปบ้างว่า “พวกท่านนะแหละเป็นผู้ทุศีล พวกท่านนะแหละเป็นคนชั่ว พวกท่านนะแหละไปกับผู้หญิง” พวกภิกษุจึงนำเรื่องที่พระโกณฑธานะพูดตอบโต้ไปกราบทูลพระศาสดา และพระศาสดาได้รับสั่งให้พระโกณฑธานะมาเฝ้า ตรัสถามว่า ได้พูดอย่างนั้นหรือไม่ “ พูดจริงพระเจ้าข้า” “พูดอย่างนั้นทำไม” “พูดเพราะพระเหล่านั้นพูดก่อน” “ท่านทั้งหลาย พูดกับพระโกณฑธานะอย่างนั้นเพราะเหตุใด” “เพราะพวกข้าพระองค์เห็นผู้หญิงเดินตามพระโกณฑธานะ” “ที่พระเหล่านี้เห็นผู้หญิงเดินตามเธอ แต่เธอไม่เห็นหญิงผู้นั้น ก็เพราะผลของกรรมในอดีตชาติของเธอนั่นเอง”

เมื่อพวกภิกษุกราบทูลถามถึงอดีตชาติของพระโกณฑธานเถระ พระศาสดาได้ทรงนำมาเล่าว่า พระโกณฑธานะในอดีตชาติเคยเกิดเป็นเทวดาตนหนึ่ง เห็นพระสองรูปมีความสมัครสมานสามัคคีกัน ต้องการกลั่นแกล้งให้เกิดความหวาดระแวงและความแตกแยกระหว่างกัน จึงได้แปลงร่างเป็นผู้หญิงเดินตามหลังภิกษุรูปหนึ่งไป จนทำให้ภิกษุอีกรูปหวาดระแวงว่าภิกษุที่มีรูปผู้หญิงเดินตามนั้นทุศีล พระทั้งสองรูปจึงเกิดการแตกแยกและไม่คบหากันกันอย่างรุนแรง และเพราะกรรมชั่วในอดีตนั้นจึงส่งผลให้พระโกณฑธานะในชาติปัจจุบันมีรูป ผู้หญิงเดินตาม
เมื่อตรัสบุรพกรรมจบลง พระศาสดาได้ตรัสสอนพระโกณฑธานะว่า “ภิกษุ เธออาศัยกรรมชั่วนี้ จึงเกิดเรื่องแปลกประหลาดนี้ บัดนี้ การที่เธอถือความเห็นที่ไม่ดีเช่นนี้อีก เป็นการไม่สมควร เธออย่ากล่าวอะไรๆกับภิกษุทั้งหลายอีก จงเป็นผู้ไม่มีเสียง เช่นกังสดาลที่เขาตัดของปากแล้ว เมื่อทำอย่างนั้น จักเป็นผู้ชื้อว่าบรรลุพระนิพพาน

จากนั้น พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถานี้ว่า
มาโวจ ผรุสํ กญฺจิ
วุตฺตา ปฏิวเทยฺยุ ตํ
ทุกฺขา หิ สารมภกถา
ปฏิทณฺฑา ผุเสยฺยุ ตํ ฯ

(อ่านว่า)
มาโวจะ ผะรุสัง กันจิ
วุดตา ปะติวะเทยยุง
ทุกขา หิ สารัมพะกะถา
ปะติทันทา ผุเสยยุ.

(แปลว่า)
เธออย่าได้กล่าวคำหยาบกะใครๆ
ชนเหล่าอื่นถูกเธอว่าแล้ว จะพึงว่าเธอตอบ
เพราะการกล่าวแข่งขันกันให้เกิดทุกข์
อาชญาตอบพึงถูกต้องเธอ.

สเจ เนเรสิ อตฺตานํ
กํโส อุปหโต ยถา
เอส ปตฺโตสิ นิพฺพานํ
สารมฺโภ เต น วิชฺชติ.

(อ่านว่า)
สะเจ เนเรสิ อัดตานัง
กังโส อุปะหะโต ยะถา
เอสะ ปัดโตสิ นิบพานัง
สารัมโพ เต นะ วิดชะติ.

(แปลว่า)
หากเธออาจยังตนไม่ให้หวั่นไหวได้
ดังกังสดลที่ถูกกำจัดแล้วไซร้
เธอนั่นย่อมเป็นผู้บรรลุพระนิพพาน
การกล่าวแข่งขันกัน ย่อมไม่มีแก่เธอ.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นมาก บรรลุโสดาปัตติผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.

แม้พระโกณฑธานเถระ ตั้งอยู่ในพระโอวาทที่พระศาสดาประทานแล้ว ก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล ต่อมาไม่นานนัก ท่านได้เหาะขึ้นไปในอากาศ จับสลากเป็นครั้งแรก.

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 10 กันยายน 2554 14:51:51 »



เรื่องอุโปสถกรรม

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภอุโบสถกรรมของอุบาสิกาทั้งหลายมีนางวิสาขาเป็นต้น ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า ยถา ทณฺเฑน โคปาโล เป็นต้น

ในวันอุโบสถวัน หนึ่ง หญิงประมาณ 500 คนในกรุงสาวัตถี ไปที่วัดบุพพารามเพื่อรักษาอุโบสถ นางวิสาขาซึ่งเป็นผู้บริจาคทรัพย์สร้างวัดแห่งนี้ ก็ได้ถามหญิงวัยชราในหมู่ของหญิงเหล่านี้ว่า มารักษาอุโบสถด้วยวัตถุประสงค์อะไร พวกหญิงในวัยชราบอกว่า มารักษาอุโบสถเพื่อต้องการทิพยสมบัติ ถามหญิงกลางคน ก็ได้คำตอบว่า มารักษาอุโบสถเพื่อต้องการพ้นจากสภาพที่สามีมีภรรยาหลายคน ถามพวกหญิงในวัยสาว ก็ได้คำตอบว่า มารักษาอุโบสถเพื่อต้องการได้บุตรชายในการมีครรภ์คราวแรก ถามหญิงสาวในวัยแรกรุ่น ก็ได้คำตอบว่า รักษาอุโบสถเพื่อต้องการได้สามีแต่วัยสาวๆ นางวิสาขาเมื่อได้ฟังความเห็นที่แตกต่างกันของหญิงเหล่านั้นแล้ว ก็ได้พาหญิงเหล่านั้นไปสู่สำนักพระศาสดา กราบทูลให้ทรงทราบถึงทัศนะที่แตกต่างกันในการรักษาอุโบสถของหญิงเหล่านั้น พระศาสดาตรัสว่า “วิสาขา ธรรมดาสภาวธรรมทั้งหลายมีชาติเป็นต้นของสัตว์เหล่านั้น เป็นเช่นกับนายโคบาลที่มีท่อนไม้ในมือ ชาติส่งสรรพสัตว์ไปสู่สำนักของชรา ชราส่งไปสู่สำนักของพยาธิ พยาธิส่งไปสู่สำนักของมรณะ มรณะย่อมตัดชีวิต ดุจบุคคลตัดต้นไม้ด้วยขวาน แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ปวงสัตว์ชื่อว่าปรารถนา วิวัฏฏะ (พระนิพพาน) ย่อมไม่มี มัวแต่ปรารถนา วัฏฏะ เท่านั้น” จากนั้นพระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถานี้ว่า

ยถา ทณเฑน โคปาโล
คาโว ปาเชติ โคจรํ
เอวํ ชรา จ มจฺจุ จ
อายุ ปาเชนติ ปาณินํ ฯ

(อ่านว่า)
ยะถา ทันเทนะ โคปาโล
คาโว ปาเชติ โคจะรัง
เอวัง ชะรา จะ มัดจุ จะ
อายุ ปาเชนติ ปานินัง.

(แปลว่า)
นายโคบาล ย่อมต้อนโคทั้งหลายไปสู่ที่หากินด้วยท่อนไม้ ฉันใด
ชราและมัจจุ ย่อมต้อนอายุของสัตว์ทั้งหลายไป ฉันนั้น.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นมาก บรรลุโสดาปัตติผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 10 กันยายน 2554 15:01:12 »



เรื่องอชครเปรต

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภอชครเปรต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า อถ ปาปานิ กมฺมานิ เป็นต้น

สมัยหนึ่ง พระมหาโมคคัลลานะเถระกับพระลักขณเถระลงจากเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นสัตว์ชื่ออชครเปรต(เปรตงูเหลือม) ร่างกายใหญ่ยาวประมาณ 25 โยชน์ ด้วยจักษุทิพย์ มีเปลวไฟลุกไหม้ทั้งสามด้าน คือตั้งแต่ศีรษะลามจนถึงหาง ตั้งแต่หางลามไปถึงศีรษะ และตั้งแต่ข้างลำตัวลามไปที่กลางตัว พระมหาโมคคัลลานะเมื่อเห็นแล้วก็ยิ้มออกมา เมื่อถูกพระลักขณเถระถามถึงสาเหตุของการยิ้มนั้น ก็ได้ตอบว่า ผู้มีอายุ ตอนนี้ยังไม่ถึงเวลาที่จะตอบคำถาม ท่านค่อยถามผมเมื่อตอนที่เราไปในสำนักของพระศาสดาเถิด จากนั้นได้เข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ เมื่อพระเถระทั้งสองไปเฝ้าพระศาสดาและพระมหาโมคคัลลานเถระถูกพระลักขณเถระ ถามอีกครั้งหนึ่ง จึงตอบว่า ผู้มีอายุ ผมเห็นเปรตตนหนึ่ง ณ ที่ตรงนั้น ร่างกายของมันยาวใหญ่มาก ผมเห็นมันก็จึงยิ้มออกมา เพราะเห็นว่า เปรตอะไรช่างตัวยาวใหญ่เสียเหลือเกิน ไม่เคยพบเห็น ณ ที่ไหนมาก่อน พระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้น แม้เราก็ได้เห็นเหมือนกันที่ควงต้นโพธิพฤกษ์ แต่เราไม่พูด เพราะเห็นว่า พูดไปคนก็จะไม่เชื่อ เมื่อคนไม่เชื่อก็จะไม่เกิดประโยชน์อะไร บัดนี้เราได้โมคคัลลานะมาเป็นพยานแล้ว จึงได้พูด เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลถามถึงบุรพกรรมของเปรตนั้น พระศาสดาได้ตรัสเล่าว่า ในสมัยแห่งพระพุทธจ้าพระนามว่ากัสสปะ เปรตนี้เป็นโจรใจดำอำมหิต ได้จุดไฟเผาบ้านของเศรษฐีผู้หนึ่งถึง 7 ครั้ง เท่านั้นยังไม่พอ โจรคนนี้ก็ยังจุดไฟเผาพระคันธกุฎีของพระกัสสปพุทธเจ้าที่เศรษฐีนั้นสร้าง ถวายขณะที่พระกัสสปพุทธเจ้าเสด็จไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน เพราะผลแห่งกรรมชั่วนั้น ทำให้โจรได้รับความทุกข์ในอเวจีนรกอยู่เป็นเวลานาน ในกาลบัดนี้ ได้มาเกิดเป็นอชครเปรต ถูกไฟไหม้อยู่ที่เขาคิชฌกูฏ ด้วยวิบากแห่งกรรมที่ยังเหลือ พระศาสดาครั้นตรัสถึงบุรพกรรมของเปรตนั้นแล้ว จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาคนพาล ทำกรรมชั่วอยู่ย่อมไม่รู้ แต่ภายหลังเร่าร้อนอยู่เพราะกรรมอันตนทำแล้ว ย่อมเป็นเช่นกับไฟไหม้ป่า ด้วยตนของตนเอง จากนั้น พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถานี้ว่า

อถ ปาปานิ กมฺมานิ
กรํ พาโล น พุชฺฌติ
เสหิ กมฺเมหิ ทุมฺเมโธ
อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ ฯ

(อ่านว่า)
อะถะ ปาปานิ กัมมานิ
กะรัง พาโล นะ พุดชะติ
เสหิ กำเมหิ ทุมเมโท
อักคิทัดโท วะ ตับปะติ.

(แปลว่า)
อันคนพาล ทำกรรมทั้งหลายอันลามกอยู่ ย่อมไม่รู้สึก
บุคคลมีปัญญาทราม ย่อมเดือดร้อน ดุจถูกไฟไหม้

เพราะกรรมของตนเอง.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นมาก บรรลุโสดาปัตติผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 10 กันยายน 2554 15:24:48 »



เรื่องพระมหาโมคคัลลานเถระ

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภพระมหาโมคคัลลานเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า โย ทัณเฑน อทัณเฑสุ เป็นต้น

ในสมัยหนึ่ง พวกนิครนถ์ประชุมกันวางแผนสังหารพระมหาโมคคัลลานเถระ เพราะคิดว่าเมื่อกำจัดพระเถระรูปนี้เสียแล้ว ก็จะทำให้ลาภสักการของพระศาสดาสิ้นสุดลง ด้วยว่าพระเถระท่องไปในเทวโลก สอบถามกรรมที่พวกเทวดกระทำแล้วก็กลับมาบอกกับพวกมนุษย์ว่า ทวยเทพทำกรรมอย่างนี้ ๆแล้วก็ได้ไปเกิดในสวรรค์ และพระเถระก็ยังได้ไปท่องในนรก และได้ถามพวกสัตว์นรกถึงกรรมที่พวกตนทำไว้แล้วกลับมาบอกพวกมนุษย์ว่า สัตว์นรกทำกรรมอย่างนี้ๆไว้จึงได้ไปเกิดและเสวยทุกข์ในนรกอย่างนี้ ๆ พวกมนุษย์ได้ฟังถ้อยคำของพระเถระนั้นแล้ว ก็ได้นำลาภและสักการะเป็นอันมากมาถวายพระเถระ ถ้าพวกเราสังหารพระเถระนั้นได้ ลาภและสักการะนั้นก็จะเกิดแก่พวกเรา ดังนั้นพวกนิครนถ์จึงได้ไปว่าจ้างพวกโจรไปสังหารพระเถระซึ่งในขณะนั้นพำนัก อยู่ที่กาฬสิลา ใกล้กรุงราชคฤห์

แต่ด้วยเหตุที่พระเถระมีฤทธิ์มาก เมื่อถูกพวกโจรเข้าล้อมวัด ในวันแรกพระเถระได้ใช้กำลังแห่งฤทธิ์หลบหนีออกมาผ่านทางช่องลูกกุญแจ ในวันที่สองได้หลบหนีออกมาทางหลังคากุฏิ พระเถระสามารถหลบหนีพวกโจรได้ในช่วงสองเดือนแรก พอถึงเดือนที่สามพระเถระระลึกได้ว่า ท่านเคยประกอบกรรมทำชั่วมาในชาติหนึ่ง ท่านจึงไม่ยอมใช้ฤทธิ์ทำการหลบหนีอีกต่อไป ท่านจึงถูกโจรจับและถูกทุบตีจนกระทั่งกระดูกแตกละเอียด หลังจากนั้นพวกโจรได้นำร่างของท่านไปทิ้งไว้ที่พุ่มไม้เพราะเข้าใจว่าท่าน เสียชีวิตแล้ว แต่ท่านยังไม่เสียชีวิต และคิดว่า จะไปเฝ้าพระศาสดาเสียก่อนแล้วจักปรินิพพาน จึงได้ใช้กำลังแห่งฌานประสานกระดูกให้กลับแข็งแรง แล้วไปเหาะสู่สำนักของพระศาสดา ถวายบังคมแล้วกราบทูลอำลา พระศาสดาได้ตรัสบอกให้เถระแสดงธรรมให้พระองค์สดับเสียก่อน พระเถระก็ได้กระทำตามพุทธฎีกา จากนั้นได้ถวายบังคมลา เหาะไปที่ดงกาฬสิลา และได้ปรินิพพาน ณ ที่นั้น

เมื่อข่าวการเสียชีวิตของพระเถระได้ กระจายไปทั่วชมพูทวีป พระเจ้าอชาตศัตรูก็ได้ใช้สายสืบออกไปสืบข่าวเพื่อตามจับกุมคนร้าย และในที่สุดโจรเหล่านั้นก็ถูกจับกุมและถูกประหารชีวิตด้วยการถูกเผาด้วยไฟ ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า น่าสังเวชจัง พระมหาโมคคัลลานะ มรณภาพแบบนี้ไม่สมควร พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย โมคคัลลานะมรณภาพ ไม่สมควรในชาตินี้ก็จริง แต่เธอถึงมรณภาพ สมควรแก่กรรมที่เธอกระทำไว้ในกาลก่อน เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลถามถึงบุรพกรรมในอดีตของพระเถระ ได้ตรัสเล่าว่า ในชาติหนึ่งพระเถระเคยเกิดเป็นชายหนุ่มและได้สังหารบิดามารดาที่ตาบอด ในตอนแรกนั้น ชายหนุ่มผู้นี้ก็เลี้ยงดูบิดามารดาที่ตาบอดเป็นอย่างดี

แต่หลังจากแต่งงานแล้วถูกภรรยายุแหย่แนะนำให้ฆ่าบุพพการีตาบอดทั้งสองคนเสีย ชายหนุ่มจึงได้พาบิดามารดาขึ้นเกวียนเข้าไปในป่า แล้วทำการทุบตีบิดามารดาจนถึงแก่ความตายโดยโยนบาปว่าเป็นการกระทำของพวกโจร ด้วยผลกรรมนั้น ทำให้ชายหนุ่มไปตกนรกอยู่หลายแสนปี ด้วยเศษของวิบาก จึงถูกทุบตีกระดูกแตกละเอียด เสียชีวิตแบบนี้อยู่ถึง 100 ชาติ และในตอนท้ายของพุทธดำรัสมีความว่า โมคคัลลานะได้มรณภาพอย่างนี้ ก็พอสมแก่กรรมของตนเองแท้ พวกเดียรถีย์ 500 กับโจร 500 ประทุษร้ายต่อบุตรของเราผู้ไม่ประทุษร้าย ก็ได้มรณะแก่กรรมที่เหมาะแก่กรรมของตนเหมือนกัน ด้วยว่า บุคคลผู้ประทุษร้าย ต่อบุคคลผู้ไม่ประทุษร้าย ย่อมถึงความพินาศฉิบหาย ด้วยเหตุ 10 ประการเป็นแท้” จากนั้น พระศาสดาจึงตรัสพระธรรมบท พระคาถานี้ว่า

โย ทณฺเฑน อทณฺเฑสุ
อปฺปทุฏฺเฐน ทุสฺสติ
ทสนฺนมญฺญตรํ ฐานํ
ขิปฺปเมว นิคจฺฉติ ฯ

(อ่านว่า)
โย ทันเทนะ อะทันเทสุ
อับปะทุดเถนะ ทุดสะติ
ทะสันนะมันยะตะรัง ถานัง
ขิบปะเมวะ นิคัดฉะติ.

(แปลว่า)
ผู้ใด ประทุษร้ายในท่านผู้ไม่ประทุษร้าย
ผู้ไม่มีอาชญา ด้วยอาชญา
ย่อมถึงฐานะ 10 อย่าง
อย่างใดอย่างหนึ่งพลันทีเดียว

เวทนํ ผรุสํ ชานึ
สรีรสฺส ว เภทนํ
ครุกํ วาปิ อาพาธํ
จิตฺตกฺเขปํ ว ปาปุเณ ฯ

(อ่านว่า)
เวทะนัง ผะรุสัง ชานิง
สะรีรัดสะ วะ เพทะนัง

คะรุกัง วาปิ อาพาทัง
จิดตักเขปัง วะ ปาปุเน.

(แปลว่า)
คือ ถึงเวทนากล้า 1 ความเสื่อมทรัพย์ 1 ความสลายแห่งสรีระ 1
อาพาธหนัก 1 ความฟุ้งซ่านแห่งจิต 1


ราชโต วา อุปสคฺคํ
อพฺภกขาตํ ว ทารุณํ
ปริกฺขยํ ว ญาตีนํ
โภคานํ ว ปภงคุณํ.

(อ่านว่า)
ราชะโต วา อุปะสักคัง
อับพักขาตัง วะ ทารุนัง
ปะริกขะยัง วะ ยาตีนัง
โพคานัง วะ ปะพังคุนัง.

(แปลว่า)
ความขัดข้องแด่พระราชา 1
การถูกกล่าวตู่อย่างร้ายแรง 1
ความย่อยยับแห่งเครือญาติ 1
ความเสียหายแห่งโภคะทั้งหลาย 1


อถวาสฺส อครานิ
อคฺคิ ฑหติ ปาวโก
กายสฺส เภทา ทุปฺปญฺโญ
นิริยํ โส อุปปชฺชติ.

(อ่านว่า)
อะถะวาดสะ อะคะรานิ
อักคิ ทะหะติ ปาวะโก
กายัดสะ เพทา ทุบปันโย
นิริยัง โส อุปะปัดชะติ.

(แปลว่า)
อีกอย่างหนึ่ง ไฟป่าย่อมไหม้เรือนของเขา
ผู้นั้นมีปัญญาทราม เพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงนรก.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นมาก บรรลุโสดาปัตติผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 10 กันยายน 2554 15:53:06 »



เรื่องภิกษุมีภัณฑะมาก

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภภิกษุผู้มีภัณฑะมาก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า น นคฺคจริยา เป็นต้น

ในสมัยหนึ่ง ที่กรุงสาวัตถี มีเศรษฐีอยู่ผู้หนึ่ง หลังจากที่ภรรยาเสียชีวิตแล้ว เศรษฐีนี้ได้ไปบวชเป็นภิกษุ แต่ก่อนจะเข้ามาบวชเป็นภิกษุ เศรษฐีได้ให้คนสร้างวัดและสร้างครัวและห้องเก็บสิ่งของไว้ในวัดด้วย เมื่อบวชแล้วพระเศรษฐีก็ได้ให้คนขนเฟอร์นิเจอร์ เครื่องครัว ข้าวเปลือก น้ำมัน เนยแข็ง และสิ่งอื่นๆอีกมากมาย มาไว้ที่วัด แม้แต่เวลาจะฉันอาหารพระเศรษฐีก็มีคนใช้ตระเตรียมให้ฉัน สรุปว่า ถึงแม้ว่าจะเข้ามาบวชเป็นพระแล้วพระเศรษฐีก็ยังดำเนินชีวิตฟุ่มเพือยแบบเดียวกับเมื่อตอนที่ยังครองเรือนอยู่ และเพราะมีสิ่งของติดตัวมาบวชมากมายพระเศรษฐีจึงมีชื่อเรียกว่า พหุภัณฑิกะ(ภิกษุมีภันฑะมาก) อยู่มาวันหนึ่ง พวกภิกษุอื่นได้นำตัวพระเศรษฐีไปเฝ้าพระศาสดา และได้กราบทูลเรื่องที่พระเศรษฐีมีสิ่งของมากมายติดมาอยู่ในวัด

และมิหนำซ้ำก็ยังใช้ชีวิตฟุ่มเฟือยในแบบของผู้ครองเรือนเสียอีกด้วย พระศาสดาได้ตรัสกับพระเศรษฐีว่า “ภิกษุ เราแสดงธรรมเพื่อความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย เพราะเหตุใดเธอจึงเป็นผู้มีสิ่งของมากอย่างนี้เล่า” พระเศรษฐีโกรธที่ถูกพระศาสดาตำหนิ ได้กราบทูลด้วยความว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะดำเนินชีวิตตามพระประสงค์ ว่าแล้วก็เปลื้องจีวรออกจากกายมีเฉพาะผ้าสบงติดตัวอยู่ผืนเดียว แล้วไปยืนอยู่ในท่ามกลางบริษัท 4 พระศาสดาเมื่อทรงเห็นเช่นนั้น ก็ตรัสว่า “ภิกษุ ในกาลก่อน เธอแสวงหาหิริและโอตตัปปะ แม้ในกาลเป็นรากษสน้ำ ก็แสวงหาหิริโอตตัปปะอยู่ถึง 12 ปี มิใช่หรือ? บัดนี้ เธอบวชในพุทธศาสนา ที่เคารพอย่างนี้ แล้วเปลื้องผ้าห่มละหิริและโอตตัปปะ ยืนอยู่ในท่ามกลางบริษัท 4 เพราะเหตุใด?”

พระเศรษฐีได้ยินดำรัสของ พระศาสดาเช่นนั้น ก็กลับได้สติ รีบห่มจีวร ถวายบังคมพระศาสดาแล้วนั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง พระภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลให้พระศาสดาเล่าเรื่องบุรพชาติของพระเศรษฐี พระศาสดาจึงตรัสเล่าเรื่องในอดีตชาติในรูปของชาดกเรื่องหนึ่ง และตรัสกับพระเศรษฐีว่า “ ภิกษุ ในกาลก่อน เธอแสวงหาเทวธรรม ถึงพร้อมด้วยหิริและโอตตัปปะเที่ยวไปอย่างนั้น บัดนี้ เธอยืนอยู่ในทำนองนี้ ในท่ามกลางแห่งบริษัท 4 กล่าวอยู่ต่อหน้าเราว่า ฉันมีความปรารถนาน้อย ชื่อว่าได้ทำกรรมอันไม่สมควรแล้ว เพราะว่า บุคคลจะชื่อว่าเป็นสมณะ ด้วยเหตุสักว่าห้ามผ้าสาฎกเป็นต้นก็หามิได้” จากนั้น พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถานี้ว่า

น นคฺคจริยา น ชฏา น ปงฺกา
นานาสกา ตณฺฑิลสายิกา วา
รโชชลฺลํ อุกฺกุฏิกปฺปธานํ
โสเธนฺติ มจฺจํ อวิติณฺณกงฺขํ ฯ

(อ่านว่า)
นะ นักคะจะริยา นะ ชะตา นะ ปังกา
นานาสะกา ตันทิละสายิกา
ระโชชันลัง อุกกุติกับปะทานัง
โสเทนติ มัดจัง อะวิตินนะกังขัง.

(แปลว่า)
การประพฤติเป็นคนเปลือย
ก็ทำสัตว์ให้บริสุทธิ์ไม่ได้
การเกล้าชฎาก็ไม่ได้
การนอนเหนือเปือกตมก็ไม่ได้
การไม่กินข้าวก็ไม่ได้

การนอนบนแผ่นดินก็ดี
ความเป็นผู้มีกายหมักหมมด้วยธุลีก็ดี
ความเพียรด้วยการนั่งกระหย่งก็ดี
แต่ละอย่าง หาทำสัตว์ผู้ยังไม่ล่วงสงสัยให้บริสุทธิ์ได้ไม่.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นมาก บรรลุโสดาปัตติผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 10 กันยายน 2554 16:23:03 »



เรื่องสันตติมหาอำมาตย์

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสันตติมหาอำมาตย์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า อลงฺกโต เจปิ สมญฺจเรยฺย เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง สันตติมหาอำมาตย์ ปราบปรามพวกกบฏที่พรมแดนได้สำเร็จ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพอพระหฤทัย ประทานราชสมบัติให้ 7 วัน และได้ประทานหญิงที่เก่งในการร่ายรำและขับร้องนางหนึ่งให้ สันตติอำมาตย์ดื่มสุรามึนเมาอยู่ทั้ง 7 วัน พอถึงวันที่ 7 ก็แต่งกายด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง ขึ้นคอช้างไปที่ท่าอาบน้ำ เห็นพระศาสดากำลังเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ก็ได้ผงกศีรษะถวายบังคม พระศาสดาทรงกระทำการแย้มพระโอษฐ์ (ยิ้ม) เมื่อพระอานท์ทูลถามถึงสาเหตุของการแย้มพระโอษฐ์นั้น ได้ตรัสว่า “ อานนท์ เธอจงดูสันตติมหาอำมาตย์ ในวันนี้เอง เขาประดับด้วยอาภรณ์ทุกอย่างเทียว มาสู่สำนักของเรา จักบรรลุพระอรหัตในเวลาจบคาถาอันประกอบด้วยบท 4 แล้ว นั่งบนอากาศ ชั่ว 7 ลำตาล จักปรินิพพาน”

สันตติมหาอำมาตย์ เล่นน้ำตลอดวันอยู่ที่ท่าอาบน้ำ แล้วไปนั่งดื่มสุราอยู่ที่สวนอุทยาน และชมการแสดงการร้องรำทำเพลงของหญิงที่พระราชาประทานมาให้นั้น หญิงนางรำได้แสดงการร้องรำทำเพลงอย่างสุดความสามารถเพื่อให้สันตติมหาอำมาตย์ได้ชม แต่เนื่องจากนางควบคุมอาหารเป็นเวลา 7 วันเพื่อให้ร่างกายอ้อนแอ้นให้เหมาะกับงานแสดง ทำให้ในขณะแสดงอยู่นั้นเกิดเป็นลมปากอ้าตาเหลือกเสียชีวิตอย่างฉับพลัน สันตติมหาอำมาตย์เห็นเหตุการณ์ถึงกับตกตะลึงและเกิดความเสียใจกับการเสียชีวิตอย่างกะทันหันของนาง ในขณะที่เกิดความเศร้าสลดใจเขาก็นึกถึงพระศาสดา จึงได้เดินทางไปเฝ้าพร้อมค้วยคณะในตอนเย็น ๆ เขาได้กราบทูลพระศาสดาว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความโศกเป็นปานนี้เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์มาแล้ว ก็ด้วยหมายใจว่า พระองค์จักอาจเพื่อจะดับความโศกของข้าพระองค์ได้ ขอพระองค์จงทรงเป็นที่พึ่งของข้าพระองค์เถิด”

พระศาสดาตรัสว่า “ท่านมาสู่สำนักของผู้สามารถ เพื่อดับความโศกได้แน่นอน อันที่จริง น้ำตาที่ไหลออกของท่านผู้ร้องไห้ ในเวลาที่หญิงนี้ตาย ด้วยเหตุนี้นั่นแล มากกว่าน้ำของมหาสมุทรทั้ง 4” จากนั้น พระศาสดาได้ตรัสด้วยพระคาถาว่า “กิเลสเครื่องกังวลใด มีอยู่ในกาลก่อน เธอจงยังกิเลสเครื่องกังวลนั้น ให้เหือดแห้งไป กิเลสเครื่องกังวลนั้น จงอย่ามีแก่เธอในภายหลัง ถ้าเธอจักไม่ยึดถือขันธ์ ในท่ามกลาง จักเป็นผู้สงบระงับเที่ยวไป

เมื่อพระศาสดาตรัสพระคาถานี้จบลง สันตติมหาอำมาตย์ ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล และพิจารณาเห็นว่าอายุสังขารของตนจะสิ้นสุดลงแล้ว จึงกราบทูลพระศาสดาว่า “ข้าพระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงทรงอนุญาตการปรินิพพานแก่ข้าพระองค์เถิด” เมื่อพระศาสดาทรงอนุญาตแล้ว เขาก็จึงถวายบังคมพระศาสดา เหาะขึ้นสู่อากาศสูงชั่วลำตาลหนึ่ง ลงมาถวายบังคมพระศาสดาอีกครั้ง แล้วเหาะขึ้นไปนั่งขัดสมาธิอยู่บนอากาศ สูงชั่ว 7 ลำตาล แล้วขออนุญาตเล่าบุรพกรรมของตนถวายพระศาสดา เสร็จแล้วก็เข้าเตโชธาตุปรินิพพาน เกิดเปลวไฟเผาไหม้สรีระร่างกาย เหลือเป็นธาตุมีสัณฐานดุจดอกมะลิ พระศาสดารับสั่งให้ห่ออัฐิธาตุนั้นด้วยผ้าขาว แล้วนำไปบรรจุไว้ในสถูปที่ทางใหญ่ 4 แพร่ง เป็นที่สักการบูชาของมหาชนสืบต่อไป

พวกภิกษุสนทนากันในโรงธรรมว่า สันตติยังมีเพศเป็นฆราวาส แต่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์เช่นนี้ ควรจะเรียกท่านว่า สมณะ หรือ พราหมณ์ ดี พระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การเรียกบุตรของเราแม้ว่า สมณะ ก็ควร เรียกว่า พราหมณ์ ก็ควรเหมือนกัน

จากนั้น พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถานี้ว่า
อลงฺกโต เจปิ สมญฺจเรยฺย
สนฺโต ทนฺโต นิยโต พฺรหฺมจารี
สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑํ
โส พฺราหฺมโณ โส สมโณ ส ภิกขุ.

(อ่านว่า)
อะลังกะโต เจปิ สะมันจะเรยยะ
สันโต ทันโต นิยะโต พรัมมะจารี
สับเพสุ พูเตสุ นิทายะ ทันทัง
โส พรามมะโน โส สะมะโน ส พิกขุ.

(แปลว่า)
แม้ถ้าบุคคลประดับแล้ว พึงประพฤติสม่ำเสมอ เป็นผู้สงบ
ฝึกแล้ว เที่ยงธรรม มีปกติประพฤติประเสริฐ
วางเสียซึ่งอาชญาในสัตว์ทุกจำพวก บุคคลนั้น
เป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ เป็นภิกษุ.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นมาก บรรลุโสดาปัตติผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 10 กันยายน 2554 16:33:38 »



เรื่องพระปิโลติกเถระ

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระปิโลติกเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า หิรินิเสโธ ปุริโส เป็นต้น

ในวันหนึ่ง พระอานนทเถระไปพบทารกคนหนึ่งนุ่งผ้าเก่า ถือกระเบื้องเที่ยวขอทานอยู่ เกิดความเวทนาสงสาร จึงชักชวนให้มาบวชเป็นสามเณร โดยท่านเองเป็นผู้บวชให้ ก่อนจะบวชให้เป็นสามเณร พระอานนทเถระได้นำผ้านุ่งเก่าและกระเบื้องขอทานเก่าของสามเณรไปแขวนไว้ที่ กิ่งของต้นไม้ต้นหนึ่ง เพราะเห็นว่ามันเก่าจนไม่สามารถจะนำไปใช้สอยได้แล้ว

เมื่อสามเณรได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ก็ได้นามว่า ปิโลติกติสสะ ท่านได้ฉันอาหารที่อุดมสมบูรณ์ในวัด ร่างกายก็อ้วนท้วนสมบูรณ์แข็งแรง มีความรู้สึกทางเพศขึ้นมา ไม่ต้องการอยู่ในเพศนักบวชต่อไป ต้องการสึกไปเป็นฆราวาส จึงไปที่ต้นไม้ต้นที่พระอานนท์แขวนผ้านุ่งเก่าและกระเบื้องขอทานของตนเอาไว้ นั้น เอามือไปลูบคลำผ้านุ่งเก่า ทำผ้านั้นให้เป็นอารมณ์พระกัมมัฏฐาน และให้โอวาทตนด้วยตนว่า “เจ้าผู้ไม่มีหิริ หมดยางอาย เจ้ายังปรารถนาเพื่อจะละทิ้งผ้าที่นุ่งห่มดีๆกลับไปนุ่งผ้าท่อนเก่านี้ มีมือถือกระเบื้องเที่ยวขอทานอีกหรือ

เมื่อท่านโอวาทตนอยู่นั่น แหละ จิตใจก็ผ่องใส ท่านจึงเก็บผ้านุ่งเก่าแขวนไว้ที่เดิม แล้วกลับวัด และเมื่อใดที่ท่านนึกอยากสึกขึ้นมาอีก ท่านก็จะไปที่ต้นไม้ เอามือคลำผ้านุ่ง และให้โอวาทเช่นเดิมนั้นอีก เป็นอย่างนี้หลายสองสามวัน พวกภิกษุเห็นท่านเดินไปๆมาๆอยู่อย่างนั้นจึงถามท่านว่า ท่านไปไหนมา ท่านบอกว่า ไปสำนักอาจารย์ ต่อมาท่านไปทำเช่นนั้นจนในที่สุดได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ท่านก็จึงเลิกไป ภิกษุทั้งหลายเห็นท่านไม่ไปทางนั้นอีก ก็ได้ตั้งคำถามถามท่านว่า “ผู้มีอายุ บัดนี้ ท่านไม่ไปสำนักอาจารย์หรือ ? ทางนี้เป็นทางเที่ยวไปของท่านมิใช่หรือ?” ท่านตอบว่า “ผู้มีอายุ เมื่อความเกี่ยวข้องกับอาจารย์มีอยู่ ผมจึงไป แต่บัดนี้ ผมตัดความเกี่ยวข้องได้แล้ว ผมจึงไม่ไปสำนักอาจารย์” พวกภิกษุจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระศาสดา โดยกล่าวหาว่า พระปิโลติกเถระอวดอ้างตนว่าบรรลุพระอรหัตตผล พระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถูกละ บุตรของเรา เมื่อความเกี่ยวข้องมีอยู่ จึงไปสำนักอาจารย์ แต่บัดนี้ ความเกี่ยวข้องเธอตัดได้แล้ว เธอห้ามตนด้วยตนเอง บรรลุพระอรหัตแล้ว

จากนั้น พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท สองพระคาถานี้ว่า
หิรินิเสโธ ปุริโส
โกจิ โลกสฺมึ วิชฺชติ
โย นิทฺทํ อปโพเธติ
อสฺโส ภทฺโร กสามิว ฯ

(อ่านว่า)
หิรินิเสโท ปุริโส
โกจิ โลกัดสะหมิง
โย นิดทัง อะปะโพเทติ
อัดโส พัดทะโร กะสามิวะ.

(แปลว่า)
บุรุษผู้ห้ามอกุศลวิตกด้วยหิริได้ น้อยคนจะมีในโลก
บุคคลใด กำจัดความหลับตื่นอยู่
เหมือนม้าดีหลบแส้ไม่ให้ถูกตน
บุคคลนั้น หาได้ยาก.

อสฺโส ยถา ภทฺโร กสานิวิฏฺโฐ
อาตาปิโน สํเวคิโน ภวาถ
สทฺธาย สีเลน จ วีริเยน จ
สมาธินา ธมฺมวินิจฺฉเยน จ
สมฺปนฺนวิชชาจรณา ปฏิสฺสตา
ปหสฺสถ ทุกฺขมิทํ อนปฺปกํ ฯ

(อ่านว่า)
อัดโส ยะถา พัดทะโร กะสานิวิดโถ
อาตาปิโน สังเวคิโน พะวาถะ
สัดทายะ สีเลนะ จะ วีริเยนะ จะ
สมาทินา ทำมะวินิดฉะเยนะ จะ
สัมปันนะวิดชาจรนา ปะติดสะตา
ปะหัดสะถะ ทุกขะมิทัง อะนับปะกัง.

(แปลว่า)
ท่านทั้งหลาย จงมีความเพียร มีความสลดใจ
เหมือนม้าดีถูกเขาตีด้วยแส้แล้ว มีความบากบั่น ฉะนั้น
ท่านทั้งหลาย เป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล วิริยะ สมาธิ
และด้วยคุณเครื่องวินิจฉัยธรรม มีวิชชา และจรณะถึงพร้อม
มีสติมั่นคง จักละทุกข์อันมีประมาณไม่น้อยนี้ได้
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นมาก บรรลุโสดาปัตติผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 10 กันยายน 2554 16:55:14 »



เรื่องสุขสามเณร

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสุขสามเณร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า อุทกํ หิ นยนฺติ เนตฺติกา เป็นต้น

สุขกุมาร ได้บวชเป็นสามเณรเมื่อตอนอายุแค่ 7 ขวบ โดยมีพระสารีบุตรเถระเป็นพระอุปัชฌาย์ ในวันที่แปดหลังจากบวชเป็นสามเณรแล้ว สุขสามเณรได้เดินตามพระสารีบุตรไปบิณฑบาต ขณะเดินไปนั้น ทั้งสองพระเถระและสามเณรก็ได้ไปพบชาวนากำลังไขน้ำเข้านา ไปพบช่างศรกำลังดัดลูกศร และไปพบช่างถากกำลังถากไม้ เพื่อทำล้อเกวียนเป็นต้น เมื่อเห็นบุคคลทำสิ่งหล่านี้ สามเณรสุขก็ได้เรียนถามพระสารีบุตรว่า สิ่งของที่ไม่มีชีวิตทั้งหลาย คนสามารถทำให้เป็นไปตามปรารถนาได้ใช่หรือไม่ เมื่อพระเถระตอบว่าใช่ สุขสามเณรก็เกิดความคิดว่า หากเป็นเช่นนั้นจริง ก็ไม่มีเหตุผลอะไร ที่คนเราถึงจะไม่สามารถฝึกจิตจนได้สมาธิและปัญญา สามเณรสุขจึงลาพระสารีบุตรเดินทางกลับวัดก่อน

จากนั้นก็เข้าห้องปิดประตูและปฏิบัติสมาธิภาวนา จนท้าวสักกะและทวยเทพทั้งหลายต้องมาคอยดูแลไม่ให้เกิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันจะ เป็นการรบกวนและเป็นอันตรายต่อการปฏิบัติธรรมของสามเณรสุข และในวันนั้นเอง สามเณรสุขก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ พวกภิกษุเกิดความสงสัยถึงความผิดปกติของธรรมชาติอันเกิดจากการดลบันดาลของ ท้าวสักกะและทวยเทพทั้งหลาย จึงนำความเข้ากราบทูลถามพระศาสดา พระศาสดาได้ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในเวลาทำสมณธรรมของผู้มีบุญทั้งหลาย ย่อมเป็นเช่นนั้นแล ก็ในวันนี้ ท้าวมหาราช 4 องค์ ยึดอารักขาไว้โดยรอบ พระจันทร์และพระอาทิตย์ได้ยึดวิมานหยุดอยู่ ท้าวสักกะทรงยึดอารักขาที่สายยู ถึงเราก็ยึดอารักขาอยู่ที่ซุ้มประตู วันนี้ สุขสามเณร เห็นคนไขน้ำเข้าเหมือง ช่างศรดัดศรให้ตรง ช่างถากถากสัมภาระทั้งหลายมีล้อเป็นต้นแล้ว ฝึกตน บรรลุพระอรหัตแล้ว

จากนั้น พระศาสดาตรัสพระธรรรมบท พระคาถานี้ว่า
อุทกํ หิ นยนฺติ เนตฺติกา
อุสุการา นมยนฺติ เตชนํ
ทารํ นมยนฺติ ตจฺฉกา
อตฺตานํ ทมยนฺติ สุพฺพตา ฯ

(อ่านว่า)
อุทะกัง หิ นะยันติ เนดติกา
อุสุการา นะมะยันติ เตชะนัง
ทารุง นะมะยันติ ตัดฉะกา
อัดตานัง ทะมะยันติ สุบพะตา.

(แปลว่า)
คนไขน้ำทั้งหลาย ย่อมไขน้ำ
ช่างศรทั้งหลาย ย่อมดัดศร
ช่างถากทั้งหลาย ย่อมถากไม้
ผู้สอนง่ายทั้งหลาย ย่อมฝึกตน
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นมาก บรรลุโสดาปัตติผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.



นำมาแบ่งปันโดย :
baby@home : http://agaligohome.com/index.php?topic=4632.0
Pics by : Google
ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต * อกาลิโกโฮม
สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
เรื่องย่อในพระธรรมบท (ยมกวรรค)
ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
เงาฝัน 13 11502 กระทู้ล่าสุด 16 กรกฎาคม 2554 08:52:50
โดย เงาฝัน
เรื่องย่อในพระธรรมบท (อัปปมาทวรรค)
ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
เงาฝัน 8 8492 กระทู้ล่าสุด 25 กรกฎาคม 2554 14:51:05
โดย เงาฝัน
เรื่องย่อในพระธรรมบท (จิตตวรรค)
ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
เงาฝัน 8 6955 กระทู้ล่าสุด 28 กรกฎาคม 2554 12:14:15
โดย เงาฝัน
เรื่องย่อในพระธรรมบท (ปุปฺผวรรค)
ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
เงาฝัน 11 8973 กระทู้ล่าสุด 30 กรกฎาคม 2554 16:02:25
โดย เงาฝัน
เรื่องย่อในพระธรรมบท (พาลวรรค)
ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
เงาฝัน 14 12094 กระทู้ล่าสุด 04 สิงหาคม 2554 05:29:30
โดย เงาฝัน
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.365 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 11 มีนาคม 2567 14:02:53