[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 15:16:24 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตามรอย “กาแฟเอี๊ยะแซ” ตำนานร้านอมตะในชุมชนจีน  (อ่าน 403 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2321


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 97.0.4692.71 Chrome 97.0.4692.71


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 18 มกราคม 2565 10:10:01 »



บรรยากาศด้านหน้าร้าน เอี๊ยะแซ ในถนนพาดสาย เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 ถ่ายโดยกองบก.ศิลปวัฒนธรรม

ตามรอย “กาแฟเอี๊ยะแซ” ตำนานร้านอมตะในชุมชนจีน จุดป้อนอาชีพให้คนเพิ่งตั้งตัวสมัยก่อน
เผยแพร่ - ศิลปวัฒนธรรม วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ.2565

ถ้าถามถึงบรรยากาศการลิ้มรสชิมกาแฟในสมัยนี้ หลายคนน่าจะนึกถึง “คาเฟ่” ตกแต่งเก๋ไก๋ แต่ถ้าถามคนอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป อาจได้คำบรรยายเป็นภาพอีกแบบกับบรรยากาศร้านกาแฟเก่าแก่ และแน่นอนว่าในเมืองกรุง ร้านที่โด่งดังตั้งแต่อดีตและยังคงอยู่มาจนปัจจุบันมีอยู่ไม่มาก หนึ่งในนั้นคือร้านกาแฟ “เอี๊ยะแซ” ร้านเก่าแก่อีกร้านหนึ่งในแถบชุมชนจีนอย่างเยาวราช

ร้านกาแฟเอี๊ยะแซ เปิดขายมายาวนานไม่ต่ำกว่า 70 ปี จากคำบอกเล่าของเจ้าของกิจการอาหารในละแวกใกล้เคียงเล่าว่า สมัยนั้นมีร้านกาแฟอยู่ไม่มาก ขณะที่ร้านกาแฟเอี๊ยะแซ ก็ไม่ใช่ร้านแรกในย่าน มีร้านอื่นเปิดมาก่อน แต่ถ้าถามว่าร้านที่เก่าแก่และยังคงสถานะสินค้าเป็นกาแฟอยู่ก็คงต้องบอกว่าเป็น “ร้านกาแฟเอี๊ยะแซ”

สำหรับขาประจำจะคุ้นเคยสถานที่ตั้งกันดี ร้านแห่งนี้ติดริมถนนพาดสายที่จะเชื่อมไปถนนเยาวพานิช เป็นร้านขนาด 2 ห้อง ให้บริการกาแฟในสโลแกนว่า “คั่วสดๆ ชงใหม่ๆ วันต่อวัน” รสชาติกาแฟที่ทุกคนคุ้นเคยคือ “รสโบราณ” แท้ รวมทั้งฝีมือการปิ้งขนมปังทาเนยแบบโบราณ

บรรยากาศภายในร้านจะเป็นสภาพที่วัยกลางคนขึ้นไปคุ้นชิน ในร้านประดับด้วยภาพเขียนโบราณสมัยถนนเยาวราชยังมีรถเจ๊ก รถสามล้อและรถราง สำหรับโต๊ะนั่งในร้านจะเป็นลักษณะโต๊ะกลมและเก้าอี้แบบโบราณ (สภาพช่วงปลายปี 40) สำหรับคนรุ่นใหม่หรือคนรุ่นหลังอาจสัมผัสถึงบรรยากาศที่สมัยนี้มักนิยามกันด้วยคำว่า “คลาสสิก”

สำหรับความเป็นมาของร้านเอี๊ยะแซ  จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ บรรยายในบทความในหนังสือ “สำเพ็ง : ประวัติศาสตร์ชุมชนชาวจีนในกรุงเทพฯ” โดยระบุว่าเป็นร้านกาแฟที่มีชื่อเสียงที่สุดในสมัยรัชกาลที่ 7 (คาดว่าร้านอื่นที่เปิดก่อนอาจเปลี่ยนกิจการไปบ้างแล้ว) แต่เดิมเป็นร้านกาแฟขนาดเล็ก และย้ายมาเปิดที่ถนนพาดสาย ซึ่งลูกค้าเดิมก็ยังตามมานั่งในร้านด้วย

[ข้อมูลอัปเดตเพิ่มเติม ณ วันที่ 15 ก.พ.2564 : ร้านเก่าแก่อีกแห่งในละแวกใกล้เคียงกันมี “เอ็กเต็งผู่กี่” ด้วย และร้านเอ็กเต็งผู่กี่ ยังประกอบกิจการมาจนถึงปัจจุบัน]

เพิ่มเติมข้อมูล ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 : จากการสัมภาษณ์คนรุ่นหลังในตระกูลผู้ก่อตั้งร้าน (คุณพลอย) ผู้ให้สัมภาษณ์อธิบายเพิ่มเติมว่า “เอ็กเต็งผู่กี่” กับ “เอี๊ยะแซ” มาจากตระกูลเดียวกัน โดยต้นตระกูลทำธุรกิจกาแฟมา อาชีพเกี่ยวกับกาแฟหล่อเลี้ยงตระกูลมายาวนาน ทายาทจึงอยากดำเนินกิจการนี้ต่อ ทั้งสองร้านเป็นญาติกัน สินค้าและสูตรอาหารของแต่ละร้านต่างพัฒนาจากต้นตระกูล ขณะที่ในยุคปัจจุบัน สินค้าและสูตรอาหารถูกพัฒนาโดยแต่ละร้านและออกมามีลักษณะแตกต่างกัน ทั้งสองร้านยังดำเนินกิจการแบบต่างฝ่ายต่างบริหารร้านของตัวเอง

ทั้งนี้ คำแรกของชื่อร้านว่า “เอ็กเต็ง..” ถ้าอ่านแบบแต้จิ๋ว จะออกเสียงเป็น “เอี๊ยะแซ” และ “เอี๊ยะแซ” ถ้าอ่านแบบไหหลำ จะออกเสียงเป็น “เอ็กเต็ง”

คลิกดูประวัติร้าน “เอ็กเต็งผู่กี่” จากคลิปด้านล่าง โดยนายธนโชติ สิงคิลวิทย์ ทายาทรุ่นที่ 4 ของร้านเอ็กเต็งผู่กี่ เล่าว่าประวัติแรกเริ่มเดิมทีของร้าน เริ่มจับใจความได้ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ.2462 ซึ่งกงเต่าเดินทางมาจากเกาะไหหลำมาทำงานอยู่ที่ร้านกาแฟ ตั้งชื่อร้านว่า “เอ็กเต็งผู่กี่” ตามสำเนียงชาวไหหลำเรียกกัน

ด้วยความที่ทั้งสองร้านเป็นญาติกันและยังเป็นร้านกาแฟที่ขึ้นชื่อเหมือนกัน เมื่อมีคนถามขึ้นว่า “ร้านเอี๊ยะแซอยู่ไหน” ลูกค้ามักจะชี้ไปทั้งสองร้าน แล้วบอกว่ามีอยู่ทั้งสองร้าน ซึ่งผู้รู้บางท่านกล่าวว่า ชื่อ “เอ็กเต็งผู่กี่” นั้น เป็นชื่อเรียกที่มีความหมายเดียวกับ “เอี๊ยะแซ” เพียงแต่เรียกต่างกันเพราะเป็นเรื่องของภาษา แม้ว่าทั้งสองร้านจะมีเครื่องดื่มเหมือนกัน แต่รสชาติกาแฟรวมไปถึงลูกค้าขาประจำนั้นแตกต่างกันไป

ลูกค้าขาประจำของร้านเอี๊ยะแซ ส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนที่ทำงานหรืออยู่อาศัยในย่านเยาวราช และชาวจีนยังถือว่า “เอี๊ยะแซ” คือหนึ่งในจุดนัดพบของชาวจีนหลากหลายอาชีพ โดยเฉพาะเป็นจุดนัดหาพ่อครัว แม่ค้าที่ทำอาชีพจัดโต๊ะจีน รวมถึงเด็กเสริฟ์ที่อยู่ตามภัตตาคารต่างๆ ในละแวกนั้น เหตุเพราะย่านพาดสาย-เยาวราช ถือเป็นแหล่งจัดโต๊ะจีนหรือภัตตาคารที่มีชื่อเสียง นอกจากกลุ่มชาวจีนเดิมแล้ว ชาวจีนซึ่งเพิ่งมาเมืองไทยแล้วไม่รู้ลู่ทางก็มักมาที่นี่

จากการเป็นแหล่งนัดพบ “จัดหาคน จัดหางาน” ส่งผลให้ร้านกาแฟแห่งนี้เติบโตเป็นที่รู้จักของชาวจีน มีชื่อเสียงในแง่เป็น “สภาประชาคมชาวจีน” กล่าวได้ว่า “เอี๊ยะแซ” มิใช่เป็นเพียงร้านกาแฟอย่างเดียวเท่านั้น อีกนัยหนึ่งก็เป็นเสมือนพื้นที่ถ่ายทอดวัฒนธรรม พิธีกรรม และประเพณี ของชาวจีน โดยถูกถ่ายทอดส่งผ่านคำบอกเล่าระหว่างเพื่อนฝูง รุ่นพี่รุ่นน้องและรุ่นพ่อรุ่นลูก

นอกจากนี้ ร้านเอี๊ยะแซ ยังทำหน้าที่เป็นสภากาแฟของคนในชุมชนย่านนี้มาอย่างต่อเนื่อง ลูกค้าที่มาชุมนุมนั้นอาวุโสขึ้นตามวันเวลา เพราะเป็นลูกค้าหน้าเดิมเสียเป็นส่วนใหญ่  จุฬากรณ์ เปรียบร้านในตำนานนี้เสมือน “สภากาแฟร่วมสมัย” ที่มีกลิ่นอายของชาวจีนรุ่นเก่า

ในช่วงปลายยุค 40 (ประมาณ 2548) “เอี๊ยะแซ” ยังคงเป็นร้านกาแฟที่ได้รับนิยมและมีชื่อเสียงในย่านสำเพ็ง-พาดยาว พร้อมทั้งกลายเป็นตราสินค้าอันเป็นสัญลักษณ์กาแฟจีนโบราณโดยการขยายกาแฟเอี๊ยะแซไปสู่พื้นที่อื่นๆ ในรูปแบบ “แฟรนไชส์” ทำให้กาแฟเอี๊ยะแซเป็นที่รู้จักมากขึ้นในหลายพื้นที่

บทความพยายามสืบเสาะหาข้อมูลว่า “กาแฟเอี๊ยะแซ” จะเป็นอีกหนึ่งจุดพบปะนัดปรึกษางานในสมัยที่อิทธิพลอั้งยี่เติบโตจริงหรือไม่ แต่ข้อมูลที่รวบรวมจากการสัมภาษณ์ยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน แม้มีผู้สันนิษฐานว่า สมัยที่อั้งยี่เติบโต สถานที่อย่างศาลเจ้า หรือร้านกาแฟแหล่งสมาคมต่างๆ มักใช้เป็นจุดนัดพบ

ในเว็บไซต์ earsaecoffee.com อันเป็นช่องทางติดต่อสื่อสารของร้านซึ่งเริ่มต้นเมื่อปีก่อน ระบุข้อมูลว่า ปัจจุบันดำเนินกิจการมาถึงทายาทรุ่นที่ 4 รวมเป็นเวลา 89 ปี ขณะที่บทความของนิตยสารเส้นทางเศรษฐี ฉบับมกราคม พ.ศ.2548 เล่าว่า ทายาทรุ่นที่ 4 คือ ปริญญา ทองวิริยะกุล ซึ่งหันมาขยายตลาดธุรกิจเป็นตลาดท้องถิ่น และขยายกลุ่มผู้บริโภคใหม่ โดยไม่กลัวเสียกลุ่มลูกค้าเดิม

อย่างไรก็ตาม การให้สัมภาษณ์ของเถ้าแก่เนี้ยเมื่อหลายปีก่อน ยังยอมรับว่า แม้บางวันขายกาแฟที่ร้านเดิมได้ไม่มาก แต่ก็ต้องให้ความสำคัญ และจะอยู่ดูแลร้านทุกวัน

หากพูดถึงกาแฟในยุคนี้ ต้องยอมรับว่ามุมมองยุคใหม่อาจมองเป็น “ธุรกิจ” แต่อีกแง่หนึ่ง ร้านกาแฟยังเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่สะท้อนวิถีชีวิตของชาวจีน เป็นสถานที่ซึ่งยังมีชีวิตชีวาผ่านการปฏิสังสรรค์โดยมีเครื่องดื่มและบรรยากาศที่คนในพื้นที่คุ้นเคยเป็นสื่อกลาง




Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.296 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 19 ธันวาคม 2566 04:13:17