[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 19:56:42 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เหตุการณ์ปาราชิกสมัยรัชกาลที่ 4  (อ่าน 367 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2304


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 98.0.4758.82 Chrome 98.0.4758.82


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2565 12:38:55 »



อาบัติ “ปาราชิก”
ย้อนดูเหตุการณ์ปาราชิกสมัยรัชกาลที่ 4

ที่มา - ศิลปวัฒนธรรม
พระสงฆ์สยามในอดีต - ผู้เขียน - ฮิมวัง
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565


ปาราชิก แปลว่า ยังผู้ต้องให้พ่าย, ผู้พ่ายแพ้ เป็นอาบัติของภิกษุที่มีโทษร้ายแรงที่สุดในพุทธบัญญัติ

ปาราชิกมี 4 ประการ คือ เมถุนปาราชิก-เสพเมถุน, อทินนาทานปาราชิก-การลักทรัพย์, มนุสสวิคคหปาราชิก-การฆ่ามนุษย์ และอุตตริมนุสสธรรมปาราชิก-การอวดมนุสธรรม

ไม่เพียงแต่ในพุทธบัญญัติเท่านั้น ปาราชิกยังปรากฏในกฎหมายของไทยมาแต่โบราณ ทั้งนี้เพราะรัฐจำเป็นต้องมีบทบาทควบคุมสังคมและคนในสังคม ภิกษุและศาสนาในทางธรรมจึงมิอาจแยกขาดออกจากทางโลกได้

พระไอยการลักษณะผัวเมีย ในกฎหมายตราสามดวงที่ตราขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 บัญญัติว่า “พระครูภิกษุสามเณรผิดเมียท่านถึงชำเราชื่อว่าปาราชิกให้สึกออกเสียแล้วปรับไหม…” และ “ถ้าพระครูภิกษุสามเณรผู้อยู่ในศีลทำทุราจานผิดกิจวิไนยทำร้ายด้วยหญิงบทผัวมิได้ ถึงชำเราเป็นสังไซ้ชื่อว่าปาราชิก ให้สึกออกลงโทษทวนด้วยลวดหนัง 25 ถึง 50 ที ส่งตัวลงหญ้าช้างหลวง ส่วนหญิงนั้นให้ทำโทษดุจหญิงทำชู้นอกใจผัวนักแล”

นอกจากนี้ยังมีกฎกำหนดให้คณะสงฆ์ต้องคอยกวดขันมิให้ภิกษุกระทำอาบัติปาราชิก หากพบว่าปาราชิกแต่ปกปิดแล้วยังให้เข้าร่วมปฏิบัติกิจสงฆ์ จนเป็นมณฑิลแก่พระศาสนา ต้องถูกลงพระราชอาญาอีกด้วย

จากกฎหมายในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์นี้แสดงให้เห็นว่า ยังมีภิกษุบางรูปพระพฤติตัวไม่สมควร กระทำอาบัติปาราชิกโดยเฉพาะเมถุนปาราชิก หรือการเสพสังวาสกับผู้อื่น ถึงสมัยรัชกาลที่ 4 เหตุการณ์ลักษณะเช่นนี้ยังมีให้พบเห็นอยู่ จนพระองค์ต้องออกประกาศว่าด้วยเรื่องฟ้องหาปาราชิก เมื่อ พ.ศ.2396 ความว่า

“ด้วยพระสงฆ์ทุกวันนี้ดูเหมือนจะไม่มีศรัทธาที่จะให้เป็นประโยชน์ชั่วนี้ชั่วหน้า บวชในพระศาสนาแล้วตั้งใจจะหาแต่ลาภสักการ แล้วกระทำอุลามกต่าง ๆ เป็นต้นว่าไปคบหาผู้หญิงพูดจากันในที่ลับแต่สองต่อสองจนถึงชำเรากันดังนี้เห็นจะมีอยู่โดยมาก แต่หากว่าไม่มีผู้ใดจะฟ้องร้องว่ากล่าว เหมือนเรื่องอ้ายเสนไปคบหากันกับอีหนู ไปมาหากันจนถึงชำเรากันทั้งพระแล้วมีคนไปฟ้องหาในกรมพระธรรมการ

กรมพระธรรมการแลตุลาการชำระอ้ายเสนหาเป็นสัจไม่ด้วยเห็นแก่อ้ายเสน ครั้นมาภายหลังอ้ายเสนกับอีหนูกลับมาเป็นผัวเมียกันเข้า ครั้นเอาตัวอีหนูมาถามกลับรับเป็นสัจ แต่ตัวอ้ายเสนนั้นหนีไปยังไม่ได้ตัว แลพระสงฆ์อื่น ๆ ก็เห็นจะเป็นเหมือนอ้ายเสนจะมีอยู่มาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ว่าแต่นี้สืบไป ถ้าผู้ใดรู้เห็นว่าพระสงฆ์รูปใดวัดใดเป็นเช่นอ้ายเสนนี้แล้ว ให้เห็นแก่พระศาสนาอย่าได้ปิดบังอำพรางไว้ ให้มาฟ้องร้องว่ากล่าวในกรมพระธรรมการตามกระทรวง…“

รัชกาลที่ 4 ทรงต้องการให้ราษฎรช่วยกันสอดส่อง หากพบกรณีดังกล่าวก็ให้มาฟ้องร้องในกรมพระธรรมการตามกระทรวง แต่หากตุลากรผู้ไต่สวนเอนเอียงเห็นแก่ฝ่ายจำเลย ทำการผัดผ่อนจนเนิ่นนาน ก็ให้โจทก์ทำเรื่องถวายฎีกา แล้วพระองค์จะทรงแต่งตั้งคนไปตัดสินความ หากชำระความว่าเป็นจริง คือ ภิกษุปาราชิกด้วยเหตุเสพเมถุน โจทก์ก็จะได้รับพระราชทานรางวัลตามสมควรอีกด้วย

นอกจากนี้ ในประกาศยังระบุด้วยว่า หากราษฎรหรือผู้ใดที่มีบ้านใกล้เรือนเคียง รู้เห็นการกระทำผิดแล้วปิดบังไม่ยอมมาฟ้องร้องกับทางราชการจะต้องถูกปรับ (ให้เข้าเดือน) ถ้าคนที่เป็นผู้รู้เห็นเป็นใจหรือช่วยเป็นพ่อสื่อแม่ชักระหว่างภิกษุกับผู้หญิง หากชำระความว่าเป็นจริงจะต้องถูกปรับเช่นกัน (ไปเป็นตะพุ่นหญ้าช้าง คือ หาหญ้าให้ช้างกิน)

รายละเอียดของ ปาราชิก มี 4 ประการ ดังนี้

“สิกขาบทที่ 1 ว่า ภิกษุใดถึงพร้อมด้วยสิกขาและธรรมเนียมเลี้ยงชีพร่วมกันของภิกษุทั้งหลายแล้ว ไม่กล่าวคืนสิกขา ไม่ได้ทำให้แจ้ง ความเป็นผู้ถอยกำลัง [คือความท้อแท้] จะพึงเสพเมถุนธรรม โดยที่สุดแม้ในดิรัจฉานตัวเมีย ภิกษุนี้เป็นปาราชิก ไม่มีสังวาส [คือธรรมเป็นเหตุอยู่ร่วมกับภิกษุอื่น]”

กล่าวคือ ห้ามมิให้เสพเมถุนธรรม…คือ ให้องคชาติเข้าไปในทวารทั้ง 3 คือ ทวารหนัก 1 ทวารเบา 1 ปาก 1 ของมนุษย์และอมนุษย์ คือ เทวดา ยักษ์ เปรต ผี ปีศาจ และสัตว์เดรัจฉาน ทั้งหญิงชาย ตัวผู้ตัวเมีย เป็น 3 จำพวกด้วยกัน แม้ว่าภิกษุเสพเมถุนในซากศพที่มีทวารทั้ง 3 นั้น อันสัตว์กัดกินเสียยังไม่ครึ่งหนึ่งก็ดี ภิกษุให้ผู้อื่นใส่องคชาติเข้าไปในทวารหนักและปากของตนก็ดี ภิกษุหลังอ่อนก้มลงอมองคชาติของตนเองก็ดี ภิกษุที่มีองคชาติยาวจับองคชาติแหย่แยงเข้าไปในทวารหนักของตนเองก็ดี อาการเหล่านี้ชื่อว่าเสพเมถุนทั้งสิ้น

“สิกขาบทที่ 2 ว่า อนึ่ง ภิกษุใดถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เป็นส่วนแห่งโจรกรรม จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี พระราชาจับโจรได้แล้วฆ่าเสียบ้าง จำขังไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง ด้วยปรับโทษว่า เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นขโมยดังนี้ เพราะถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานใด ภิกษุถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานนั้น แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้”

กล่าวคือ ห้ามมิให้ลักทรัพย์สิ่งของที่เจ้าของหวงแหน มิได้อนุญาตยอมให้ภิกษุมีไถยจิต (จิตคิดลักขโมย) คิดจะขโมย ล้วง ลัก เบียดบัง ฉ้อ ตระบัด ปล้นสะดม ข่มเหง แย่งซื้อ ลอบ ริบถือเอาพัสดุสิ่งของที่เจ้าของหวงแหน ควรแก่ราคา 5 มาสก ที่เรียกว่าหนึ่งบาทของชาวมคธขึ้นไป คิดเป็นราคาทองหนัก 20 เมล็ดข้าวเปลือกทอนลงเป็นเงินสองสลึงเฟื้องกับห้ากล่ำในสยามประเทศนี้ ลักเองก็ดีให้ผู้อื่นลักก็ดี ภิกษุนั้นเป็นปาราชิก…

“สิกขาบทที่ 3 ว่า อนึ่ง ภิกษุใดแกล้งพรากกายมนุษย์จากชีวิต หรือแสวงหาศัสตราอันจะนำ [ชีวิต] เสีย ให้แก่กายมนุษย์นั้น หรือพรรณนาคุณแห่งความตาย หรือชักชวนเพื่ออันตาย ด้วยคำว่า แน่ะนายผู้เป็นชาย มีประโยชน์อะไรแก่ท่านด้วยชีวิตอันชั่วนี้ ท่านตายเสียดีกว่าเป็นอยู่ ดังนี้ เธอมีจิตมีใจ มีจิตดำริอย่างนี้ พรรณนาคุณแห่งความตายก็ดี ชักชวนเพื่ออันตายก็ดี โดยหลายนัย แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้”

กล่าวคือ ห้ามมิให้ฆ่ามนุษย์ในครรภ์ นอกครรภ์ ภิกษุรูปใดรู้ว่ามนุษย์มีชีวิตคิดแกล้งจะฆ่าให้ตายด้วยอุบายต่าง ๆ จำเดิมแต่ประกอบยาให้หญิงมีครรภ์กิน ให้ครรภ์คือสัตว์ที่เกิดในท้องมารดาตั้งแต่แรกตั้งปฐมวิญญาณให้ตกไป ฆ่าด้วยมือตนก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นฆ่าก็ดี หรือวางศัสตราวุธไว้ใกล้เพื่อจะให้เขาฆ่ากัน ตายก็ดีหรือแกล้งพรรณนาคุณความตายให้เขาเกลียดหน่ายร่ายกาย ไม่เสียดายชีวิต ฆ่าตัวตายเสียก็ดี หรือชักชวนให้ถือเอาถ้อยคำของตนว่า ท่านอยู่ทนทุกข์ลำบากไปต้องการอะไร ตายเสียดีกว่าอยู่ดังนี้ ถ้าเขาฆ่าตัวตายตามคำก็ดี หรือแกล้งหลอกหลอนให้เขาตกใจตายก็ดี เมื่อคิดจะให้มนุษย์ตายแกล้งประกอบอุบายต่าง ๆ สมตามความคิดของตนได้แล้ว ชื่อว่าเป็นอันฆ่ามนุษย์ตายทั้งสิ้น ภิกษุแกล้งให้มนุษย์ตายด้วยอุบายต่าง ๆ ดังว่ามานี้ภิกษุนั้นเป็นปาราชิก

“สิกขาบทที่ 4 ว่า อนึ่ง ภิกษุใดไม่รู้เฉพาะ [คือไม่รู้จริง ๆ] กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้ามาในตัวว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ ครั้นสมัยอื่นแต่นั้น อันผู้ใดผู้หนึ่งถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม [คือเชื่อก็ตาม ไม่เชื่อก็ตาม แต่ในบทภาชนีย์คัมภีร์วิภังค์ แก้ความว่า ถูกซักถามก็ตาม ไม่ถูกซักถามก็ตาม] ก็เป็นต้องอาบัติแล้ว มุ่งความหมดจด [คือพ้นโทษ] จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะท่าน ข้าพเจ้าไม่รู้ ได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็น ได้กล่าวว่าเห็น ได้พูดพล่อย ๆ เป็นเท็จเปล่า ๆ เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้”

กล่าวคือ ห้ามมิให้อ้างอวดอุตตริมนุสธรรม (คืออวดธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ ได้แก่ ฌาณวิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรคผล หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ธรรมวิเศษหรือคุณวิเศษ) ที่ไม่มีในตน ภิกษุรูปใดไม่รู้ไม่เห็น ไม่ได้ไม่ถึง ไม่ได้ตรัสรู้ แต่เป็นคนใจบาป อยากจะได้ลาภสักการะ จะให้มีผู้สรรเสริญเลื่องลือชื่อคุณ กล่าวอวดซึ่งธรรมของมนุษย์…อวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตนให้มนุษย์เชื่อถือ แม้จะใช้เล่ห์อุบายเปรียบปรายแสดงกายวิการเป็นเลศกระหยิบตา พยักหน้าเป็นต้น ให้สังเกตสำคัญว่า ตนได้คุณวิเศษดังว่ามานี้ก็ดี เมื่อมนุษย์เชื่อถือตามความคิดของตนในขณะนั้นแล้ว ภิกษุนั้นเป็นปาราชิก

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
เหตุการณ์ปาราชิกสมัยรัชกาลที่ 4
เกร็ดศาสนา
ใบบุญ 0 275 กระทู้ล่าสุด 07 กรกฎาคม 2565 19:31:43
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.339 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 26 กันยายน 2566 07:30:08