[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 14:23:02 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตำนาน ประเพณีสงกรานต์  (อ่าน 359 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 13 เมษายน 2565 15:30:55 »



ภาพวาด “นางสงกรานต์” โดย อ.สมภพ บุตราช

ประเพณีสงกรานต์

คำว่า “สงกรานต์” หมายถึง เทศกาลเนื่องในการขึ้นปีใหม่อย่างเก่า ซึ่งกําหนดตามสุริยคติ ปรกติตกวันที่ ๑๓๑๔๑๕ เมษายน วันที่ ๑๓ คือวันมหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ คือวันเนา และวันที่ ๑๕ คือวันเถลิงศก

ตำนานสงกรานต์ หรือกำเนิดวันสงกรานต์  เป็นตำนานที่กล่าวถึงความเป็นมาของประเพณีสงกรานต์  มีเรื่องราวมาจากคติความเชื่อที่มีมาแต่โบราณว่า เมื่อถึงวาระกำหนดโลกสมมติเป็นวัน “มหาสงกรานต์”  นางเทพธิดา ๗ นาง จะผลัดเวรกันรับหน้าที่เชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมซึ่งประดิษฐานอยู่ในถ้ำคันธชุลี ณ เขาไกรลาส ออกแห่ไปด้วยกันกับเทพบริษัท โดยทางประทักษิณเวียนรอบเขาพระสุเมรุ ผ่านมนุษยโลก เพื่ออำนวยสิริมงคลแก่ชนทั้งหลาย แล้วก็กลับไปยังเทวโลก

ตำนานเล่าว่า มีเศรษฐีฐานะร่ำรวยคนหนึ่ง ไม่มีบุตร จึงไปบวงสรวงขอบุตรกับพระอาทิตย์ และพระจันทร์ แต่รอหลายปีก็ไม่มีบุตรสักที จนกระทั่งถึงฤดูร้อนปีหนึ่ง เศรษฐีได้นำข้าวสารซาวน้ำ ๗ สี หุงบูชารุกขพระไทร พร้อมเครื่องถวาย และการประโคมดนตรี โดยได้ตั้งจิตอธิษฐานขอบุตร พระไทรได้ฟังก็เห็นใจ จึงไปขอบุตรกับพระอินทร์ให้เศรษฐี ต่อมาเศรษฐีได้บุตรชาย และตั้งชื่อว่า "ธรรมบาลกุมาร"

ธรรมบาลกุมารเป็นคนฉลาดหลักแหลม จนมีชื่อเสียงร่ำลือไปไกล ทำให้ท้าวกบิลพรหม ได้ลงมาท้าทายปัญญา โดยได้ถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร ให้เวลา ๗ วัน หากฝ่ายใดแพ้จะต้องตัดศีรษะบูชา ท้ายที่สุดธรรมบาลกุมารสามารถตอบปัญหาได้ ท้าวกบิลพรหมจึงต้องเป็นฝ่ายตัดศีรษะ แต่หากศีรษะนี้ตกลงพื้นโลก จะเกิดเพลิงไหม้โลก

ท้าวกบิลพรหมจึงสั่งให้บาทบาจาริกาของพระอินทร์ทั้ง ๗ นาง สลับหน้าที่หมุนเวียนทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียร หรือศีรษะของตนแห่รอบเขาพระสุเมรุ ปีละ ๑ ครั้ง ซึ่งตรงกับช่วงมหาสงกรานต์ โดยนางสงกรานต์ทั้ง ๗ มีชื่อ ดังนี้ ๑.นางทุงษะเทวี ๒.นางรากษเทวี ๓.นางโคราคเทวี ๔.นางกิริณีเทวี ๕.นางมณฑาเทวี ๖.นางกิมิทาเทวี ๗.นางมโหธรเทวี

คติความเชื่อ และเรื่องราวประวัติวันสงกรานต์ จึงเชื่อมโยงกับโหราศาสตร์การเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษในช่วงวันมหาสงกรานต์ โดยในแต่ละปีก็จะมีชื่อนางสงกรานต์ทั้ง ๗ สลับหมุนเวียนกันนั่นเอง

คติความเชื่อเรื่องนางสงกรานต์ที่เข้ามาเป็นประเพณีเนื่องด้วยวันมหาสงกรานต์ดังกล่าว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายความเป็นมาพอสรุปได้ว่า...พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้จารึกลงในแผ่นศิลาติดไว้ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ติดไว้ที่คอสอง ในศาลาล้อมพระมณฑปทิศเหนือ - ปัจจุบันบางแผ่นหายไป))ตำนานเรื่องนี้ได้เป็นต้นเค้าที่มีผู้นำเอารูปนางสงกรานต์มาเขียนฉากให้คนดู เมื่อขึ้นปีใหม่ทุกๆ ปี แต่สมัยก่อน  ตัวตำนานนางสงกรานต์น่าจะเป็นนิทานมอญมีมาเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก แล้วมีมอญที่เป็นคนรู้วิชาโหราศาสตร์นำนิทานเรื่องนี้ไปประสมเข้ากับตำราโหราศาสตร์ เป็นอุบายเพื่อให้คนสามัญในเมืองมอญซึ่งใช้ปฏิทินทางจันทรคติอยู่ก่อนได้รู้ปฏิทินทางสุริยคติขึ้น  นิทานเดิมที่มีในจารึกกล่าวแต่ว่ามีนางสงกรานต์ ๗ นาง ทรงเทพศัตราและพาหนะต่างๆ ผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมออกแห่เท่านั้น  โหรมอญภายหลังแต่งตำราใหม่เพิ่มอธิบายให้แจ่มแจ้งพิสดาร และสมมตินางสงกรานต์ทั้ง ๗ นาง เทียบกับวันทั้ง ๗ ในสัปดาห์ ปีไหนพระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เถลิงศกปีใหม่ตามสุริยคติกาลในวันชื่อใด ก็กำหนดว่านางสงกรานต์ที่มีชื่อสมมติเข้ากับวันนั้นเป็นเวรเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมในวันมหาสงกรานต์ขึ้นปีใหม่นั้น

นางสงกรานต์ทั้ง ๗ นาง ที่ผลัดเวรกันมารับหน้าที่เชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมออกแห่ในวันมหาสงกรานต์ทุกๆ ปีดังกล่าว เป็นธิดาของท้าวกบิลพรหม คือ นางทุงษ นางรากษส นางโคราค นางกริณี นางมณฑา นางกิมิทา นางมโหทร เทพธิดาทั้ง ๗ นางนี้เป็นบาทบริจาริกาของพระอินทร์ ภายหลังท้าวกบิลพรหมแพ้พนันธรรมกุมาร ต้องตัดเศียรออกบูชาธรรมบาลตามสัญญา ท้าวกบิลพรหมวิตกว่าพระเศียรของพระองค์จะเกิดเป็นอันตรายแก่โลกธาตุ จึงสั่งให้นางทุงษ ธิดาคนโตเอาพานมารับพระเศียรนำไปประดิษฐานไว้ในถ้ำคันธชุลี ณ เขาไกรลาส ครั้นถึงวารกำหนดครบ ๓๖๕ วัน โลกสมมติว่าปีหนึ่งเป็นวันมหาสงกรานต์ นางเทพธิดาทั้ง ๗ นาง ก็ทรงเทพพาหนะต่างๆ ผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมออกแห่ โดยเหตุที่นางเทพธิดาทั้ง ๗ ของท้าวกบิลพรหมปรากฏในวันมหาสงกรานต์เป็นประจำ จึงมีสมญาว่า “นางสงกรานต์

เกณฑ์กำหนดว่านางสงกรานต์นางใด เป็นเวรที่จะเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมออกแห่มีในตำรา ดังนี้

ถ้าพระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษในวันใด ให้เป็นเวรของนางเทพธิดาต่อไปนี้

๑. วันอาทิตย์ นางทุงษ ทัดดอกทับทิม เครื่องประดับปัทมราค ภักษาหารผลมะเดื่อ หัตถ์ขวาถือจักร หัตถ์ซ้ายถือสังข์ ครุฑเป็นพาหนะ

๒. วันจันทร์ นางโคราค ทัดดอกปีบ เครื่องประดับมุกดา ภักษาหารน้ำมัน หัตถ์ขวาถือพระขรรค์ หัตถ์ซ้ายถือไม้เท้า เสือเป็นพาหนะ

๓. วันอังคาร  นางรากษส ทัดดอกบัวหลวง เครื่องประดับโมรา ภักษาหารโลหิต หันถ์ขวาถือตรีศูล หัตถ์ซ้ายถือธนู สุกรเป็นพาหนะ

๔. วันพุธ นางมณฑา ทัดดอกจำปา เครื่องประดับไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย หัตถ์ขวาถือเข็ม หัตถ์ซ้ายถือไม้เท้า ลาเป็นพาหนะ

๕. วันพฤหัสบดี นางกริณี ทัดดอกมณฑา เครื่องประดับมรกต ภักษาหารถั่วงา หัตถ์ขวาถือขอช้าง หัตถ์ซ้ายถือปืน ช้างเป็นพาหนะ

๖. วันศุกร์ นางกิมิทา ทัดดอกจงกลนี เครื่องประดับบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำว้า หัตถ์ขวาถือพระขรรค์ หัตถ์ซ้ายถือพิณ กระบือเป็นพาหนะ

๗. วันเสาร์ นางมโหทร ทัดดอกสามหาว เครื่องประดับนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย หัตถ์ขวาถือจักร หัตถ์ซ้ายถือตรีศูล นกยูงเป็นพาหนะ

อนึ่ง ยังมีคติกำหนดอิริยาบถของนางสงกรานต์ที่จะสถิตมาบนหลังพาหนะในแต่ละปีต่างๆ กัน โดยอาศัยเกณฑ์ดังต่อไปนี้

๑. ถ้าพระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ ระหว่างเวลาย่ำรุ่งถึงเวลาเที่ยงวัน นางสงกรานต์ยืนบนหลังพาหนะ

๒. ถ้าพระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ ระหว่างเวลาหลังเที่ยงวันถึงเวลาพลบค่ำ นางสงกรานต์นั่งบนหลังพาหนะ

๓. ถ้าพระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ ระหว่างเวลาย่ำค่ำถึงเวลาเที่ยงคืน นางสงกรานต์นอนลืมตาบนหลังพาหนะ

๔. ถ้าพระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ ระหว่างเวลาหลังเที่ยงคืนถึงรุ่งเช้า  นางสงกรานต์นอนหลับตาบนหลังพาหนะ

กฎเกณฑ์ดังกล่าวจะทราบว่าปีไหนจะเป็นนางสงกรานต์นางใด ขี่พาหนะท่าใด อาจรู้ได้ด้วยการคำนวณทางโคจรพระอาทิตย์ว่าจะยกขึ้นสู่ราศีเมษวันอะไรและเวลาไหนเท่านั้น  ทั้งนี้ นางสงกรานต์จะมีอิริยาบถต่างๆ บนพาหนะที่ทรงมา ได้แก่ ยืน นั่ง นอนลืมตา และนอนหลับตา อิริยาบถของนางสงกรานต์เหล่านี้สัมพันธ์กับการคำนวณเวลาในการเข้าสู่วันมหาสงกรานต์ตามโหราศาสตร์ อีกทั้งยังมีความเชื่อมาแต่โบราณอีกด้วย ถ้าหากนางสงกรานต์ยืนมา จะเกิดความเดือดร้อนเจ็บไข้ ถ้านางสงกรานต์นั่งมา จะเกิดความเจ็บไข้ ผู้คนล้มตาย และเกิดเหตุเภทภัยต่างๆ ถ้านางสงกรานต์นอนลืมตา ประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุข ถ้านางสงกรานต์นอนหลับตา พระมหากษัตริย์จะเจริญรุ่งเรืองดี

เรื่องนางสงกรานต์ยังมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการพยากรณ์เหตุการณ์ต่างๆ ที่เป็นไปทั้งในทางดีและทางร้ายซึ่งจะเกิดมีในระหว่างปี ในตำรามหาสงกรานต์อธิบายไว้ดังนี้

“สิทธิการิยะ จะแจ้งเหตุขาน คติโบราณ นับเนื่องสืบมา วันมหาสงกรานต์ ต้องการใดมา จะเกิดผลนา แบบสถานใด จงทราบความชี้ ตามที่เล่าไว้ จงได้ทราบนัย ตามถ้อยบอกความ เพราะผลเกิดมี ปฐพีเขตคาม จักดีเด่นงาม หรือแค่สถานกลาง

สงกรานต์วันอาทิตย์ ผลผลิตทุกอย่าง ได้แสนโสภางค์ ออกผมากมาย ของมิสู้แพง มิแล้งรู้หมาย ตามคำทำนาย บ่งไว้เช่นนี้

สงกรานต์วันจันทร์ รู้มั่นเชิงมี ข้าลาภมากชี้ ช่องแพ้ท้าวพระยา อีกเสนาบดี เด่นดีนักหนา จงทราบกิจจา ข้อเค้ากล่าวไว้

สงกรานต์วันอังคาร ผ่านเข้าเสาร์นัย ระวังเจ็บไข้ ขโมยมากมี แถมพระเพลิงร้อน ห่อนได้หลีกหนี เข้าบุกคลุกคลี แก่เหล่าอาณา

สงกรานต์วันพุธ สุดแสนเปรมปรา ลาภยุคท้าวพระยา มาจากต่างเมือง ลูกอ่อนก่อเหตุ อาเพศขุ่นเคือง มักจะเกิดเรื่อง ให้เร่งระวัง

สงกรานต์วันพฤหัสบดี เรื่องขัดข้อตั้ง แพ้ท้าวพระยาหวัง ล้วนไม่สู้ดี พระสงฆ์ทรงศีล ถูกปีนป่ายชี้ เดือดร้อนเหลือที่ ให้ตั้งทางธรรม

สงกรานต์วันศุกร์  ทุกข์หมดปลดช้ำ ข้าวปลาเหลือล้ำ อุดมสมบูรณ์ ระวังเจ็บตา ฝนพายุพูน เด็กล้วนประมูล มากโทษให้แล”

เรื่องนางสงกรานต์โดยความที่ได้อธิบายมานี้ เป็นตำนานอย่างปรัมปราคติ ที่คนไทยในภาคกลางรับคติความเชื่อผ่านชาวรามัญที่อยู่ร่วมในสังคมไทย แล้วประสมประสานเข้ากับประเพณีการขึ้นปีใหม่ทางสุริยคติที่เรียกว่า “มหาสงกรานต์” อย่างกลมกลืน และเป็นที่ยอมรับนับถือว่าเป็นวัฒนธรรมในส่วนประเพณีนิยมสืบต่อกันมาจนกระทั่งปัจจุบัน



ขอขอบคุณที่มา :
- "สงกรานต์ : ตำนาน" สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง เล่ม ๑๓ มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ จัดพิมพ์
- "ตำนานสงกรานต์ ก่อนการเคลื่อนผ่านของเวลา"  วารสารวัฒนธรรม
- "ประวัติความเป็นมา และความสำคัญของวันสงกรานต์" ไทยรัฐออนไลน์

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ตำนาน “โรงหนังวังเจ้าปรีดา” โรงหนังยุคเฟื่องฟูสมัย ร.5
สุขใจ ห้องสมุด
ใบบุญ 0 378 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2565 11:28:49
โดย ใบบุญ
ตำนาน องค์พระอินทร์ วัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่
ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม
Maintenence 0 319 กระทู้ล่าสุด 02 กันยายน 2565 18:24:54
โดย Maintenence
ตำนาน “วัดพระยาไกร” กับ “พระพุทธรูปทองคํา” หนักกว่า 5 ตัน ก่อนถูกย้ายสู่วัดไตรมิ
ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม
ใบบุญ 0 224 กระทู้ล่าสุด 12 ธันวาคม 2565 19:41:51
โดย ใบบุญ
ขนมไข่เหี้ย : ตำนาน
สุขใจ ในครัว
Kimleng 0 239 กระทู้ล่าสุด 02 พฤษภาคม 2566 17:11:52
โดย Kimleng
[ข่าวเด่น] - ตำนาน นศ.หล่อที่สุดในเมือง ปฏิเสธทุกแมวมอง ไม่เข้าวงการบันเทิง แต่เลือกทำงานที
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 49 กระทู้ล่าสุด 28 ธันวาคม 2566 23:26:26
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.508 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 09 มีนาคม 2567 10:05:52