15 ธันวาคม 2567 02:15:57
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
เวบบอร์ด
ช่วยเหลือ
ห้องเกม
ปฏิทิน
Tags
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ห้องสนทนา
[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
นั่งเล่นหลังสวน
สุขใจ ห้องสมุด
.:::
“ซุ้มช้าง” สูงเท่าตึก 7 ชั้น สร้างรับเสด็จรัชกาลที่ 5 ทำจากอะไร?
:::.
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน
หัวข้อ: “ซุ้มช้าง” สูงเท่าตึก 7 ชั้น สร้างรับเสด็จรัชกาลที่ 5 ทำจากอะไร? (อ่าน 737 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2490
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 100.0.4896.75
“ซุ้มช้าง” สูงเท่าตึก 7 ชั้น สร้างรับเสด็จรัชกาลที่ 5 ทำจากอะไร?
«
เมื่อ:
18 เมษายน 2565 14:43:23 »
Tweet
ภาพซุ้มช้างของกรมยุทธนาธิการ ในงานรับเสด็จรัชกาลที่ 5
กลับจากประพาสยุโรปครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2450
(ภาพจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
“ซุ้มช้าง” สูงเท่าตึก 7 ชั้น สร้างรับเสด็จรัชกาลที่ 5 ทำจากอะไร?
เ
ผยแพร่ - ศิลปวัฒนธรรม
วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ.2565
เมื่อ พ.ศ.2450 พสกนิกรชาวไทยได้ร่วมมือร่วมใจกันสร้างซุ้มขนาดมหึมาขนาดสูงเท่าตึก 7 ชั้น จำนวนกว่า 10 ซุ้ม ที่บริเวณถนนราชดำเนิน เพื่อถวายการต้อนรับแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องในโอกาสที่เสด็จนิวัติพระนครจากการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2
งานต้อนรับการเสด็จครั้งนี้ เรียกได้ว่าสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับประชาชนเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะที่ “ซุ้มกรมยุทธนาธิการ” หรือ “ซุ้มช้าง” ซึ่งหนังสือพิมพ์บางกอกไทม์ได้กล่าวถึงไว้ว่า “เป็นซุ้มที่คนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นซุ้มที่สวยงามที่สุด” นอกจากนี้ก็ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า “เข้าใจว่าซุ้มนี้ได้รับการออกแบบโดยสมเด็จเจ้าฟ้ากรมทหาร (สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงษ์วรเดช)”
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงษ์วรเดช นายกองในการจัดการรับเสด็จในคราวนี้
(ภาพจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
ซุ้มช้างในงานต้อนรับกลายเป็นภาพประวัติศาสตร์ ความสูงใหญ่ที่คนไทยเมื่อราว 100 ปีที่แล้วช่วยกันสร้างขึ้นจนแล้วเสร็จภายในเวลาแค่ 2 เดือน ยังคงสร้างความแปลกใจให้คนในยุคปัจจุบันว่า ซุ้มนี้สร้างด้วยวัสดุอะไร? คนไทยสมัยก่อนทำได้อย่างไรกัน?
คำตอบของคำถามนี้อยู่ในตอนหนึ่งของหนังสือ ซุ้มรับเสด็จพระพุทธเจ้าหลวง ซึ่ง ยุวดี ศิริ ผู้เขียนเล่มนี้ได้รวบรวมข้อมูลมาให้อ่านแก้สงสัยเอาไว้ ดังที่ได้คัดลอกมาส่วนหนึ่งดังนี้
จากภาพถ่ายซุ้มรับเสด็จตามที่ปรากฏนั้น ครั้งหนึ่งคณะผู้วิจัยใน “โครงการวิจัยภาพถ่ายโบราณชุดพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จนิวัตพระนครจากการประพาสยุโรป ร.ศ.126” ซึ่งได้รับ เงินทุนสนับสนุนการวิจัยจากกองทุนรัชดาสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เรียนเชิญผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขา มาร่วมให้ความคิดเห็น อันประกอบด้วย ม.ร.ว. ศุภวัฒย์ เกษมศรี ม.ร.ว. แน่งน้อย ศักดิ์ศรี อาจารย์ทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา อาจารย์อาวุธ เงินชูกลิ่น และอาจารย์ ดร.ประเวศ ลิมปรังษี โดยท่านผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ได้ให้ข้อ สังเกตว่า
วัสดุที่ใช้ประดิษฐ์เป็นตัวช้างและพระเกี้ยวยอดนั้น น่าจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ วัสดุด้านนอก (เปลือก) และวัสดุด้านใน (โครงสร้าง)
วัสดุด้านนอก
ในส่วนที่เป็นตัวช้าง น่าจะประกอบจากกระดาษว่าวจีน หรือกระดาษประเภทอื่น ในขณะเดียวกันก็มีผู้เชี่ยวชาญบางท่านที่ตั้งข้อสังเกตว่า วัสดุบางส่วนก็อาจจะประดิษฐ์ขึ้นจากปูนปลาสเตอร์ก็เป็นได้เช่นเดียวกัน อันน่าจะสอดคล้องกับรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์บางกอกไทม์ที่รายงานข่าวว่าในวันรับเสด็จนั้น“ทุกคนคาดหวังว่า จะไม่มีฝนตกลงมาทําความเสียหายแก่ปะรําพิธีและซุ้มต่างๆ ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะได้ทอดพระเนตรเห็น” ซึ่งไม่ว่าวัสดุด้านนอกจะประดิษฐ์จากกระดาษก็ดี หรือปูนปลาสเตอร์ก็ดี ก็อาจจะเป็นเหตุให้ฝนสามารถทําความเสียหายได้ทั้งสิ้น
และน่าจะสอดคล้องกับความคิดเห็นของคุณสุพจน์ แจ้งเร็ว บรรณาธิการหนังสือศิลปวัฒนธรรม ที่ได้ให้ข้อสังเกตว่า
“การประดิษฐ์รูปตุ๊กตาหรือหุ่นใดๆ จากกระดาษนั้น เป็นสิ่งที่คนไทยคุ้นเคยอยู่ก่อนแล้ว โดยดูได้จากการประดิษฐ์หัวโขนของคนไทย”
และน่าจะมีความเป็นไปได้เป็นอย่างยิ่ง หากได้มีการพิจารณาลึกลงไปถึงรายละเอียดของช้างและคนที่นั่งอยู่บนคอช้าง ที่ได้มีการลงสีและตกแต่งหน้าตาให้เหมือนคนจริงๆ เพราะหากเป็นวัสดุประเภทอื่น ก็คงยากที่จะวาดลายละเอียดลงไปได้ ในขณะเดียวกันก่อนวันเสด็จพระราชดําเนินเข้าพระนครเพียงหนึ่งวัน (16 พฤศจิกายน) รายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์บางกอกไทม์ รายงานว่า ได้มีฝนตกลงมาบางส่วน แต่ไม่รุนแรงนัก ซึ่งด้วยเหตุนี้เอง จึงทําให้ตัวช้างที่ได้เห็นจากรูปถ่ายในวันรับเสด็จมีลักษณะเหมือนกระดาษที่พองจากการโดนน้ำฝนในบางส่วน แต่กลับเป็นผลดีที่ทําให้เห็นช้างคล้ายความเป็นจริงมากขึ้น คือ มีลักษณะของการยับย่น จนเหมือนเป็นรอยผิวหยาบๆ ของช้าง
ส่วนที่เป็นพระเกี้ยวยอดนั้น ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ความคิดเห็นว่า เนื่องจากมีลักษณะของการสะท้อนแสง หากมิได้ประดิษฐ์ขึ้นจากกระดาษที่ติดประดับกระจก ก็อาจจะเป็นไปได้ว่า ประดิษฐ์ขึ้นจากสังกะสีแบบบาง เพราะในสมัยนั้นประเทศไทยได้มีการนําเข้าแผ่นสังกะสีเข้ามาใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือนบ้างแล้ว อันปรากฎเห็นสังกะสีลักษณะดังกล่าวนํามาประดิษฐ์เป็นธงฉัตรที่ปักอยู่ระหว่างทางเสด็จพระราชดําเนิน แต่ไม่ว่าจะเป็นวัสดุใดก็ตาม สิ่งที่สันนิษฐานได้ก็คือต้องเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบา เพื่อให้งาช้างและงวงช้างสามารถเป็นพระเกี้ยวยอดที่อยู่ด้านบนเอาไว้ได้
ส่วนวัสดุด้านในที่เป็นโครงสร้างนั้น ผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานว่า อาจจะเป็นได้ทั้งไม้ไผ่ ไม้จริงและโครงสร้างเหล็ก เพราะในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ได้มีการนําเข้าเหล็กมาใช้บ้างแล้ว แต่เมื่อพิจารณาร่วมกับวัสดุด้านนอกว่าหากประดิษฐ์จากกระดาษ วัสดุโครงสร้างด้านในน่าจะทําจากไม้ไผ่มากกว่า เพราะช่างจีนซึ่งเข้ามารับงานก่อสร้างในยุคสมัยนั้น น่าจะมีความชํานาญในการใช้ ไม้ไผ่เป็นส่วนประกอบมากกว่าการใช้เหล็ก อีกทั้งไม้ไผ่มีความอ่อนตัว และยืดหยุ่นสามารถดัดเป็นรูปทรงได้ง่าย แต่ถึงกระนั้นก็เชื่อว่าตัวเสาซึ่งเป็นแกนหลักนั้นก็น่าจะยังใช้วัสดุที่แข็งแรง ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งไม้จริง หรือเหล็ก โดยปักแกนหลักลึกลงไปในพื้นดินโดยสังเกตได้จากเชือกที่ มีการยึดโยงตัวช้างกับแกนนี้ไว้ซึ่งค่อนข้างจะแน่นหนาและแข็งแรงพอสมควร
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
จากใจถึงใจ
-----------------------------
=> หน้าบ้าน สุขใจ
===> สุขใจ ป่าวประกาศ (ข้อความจากทีมงาน)
===> สุขใจ เสนอแนะ (ข้อความจากสมาชิก)
===> สุขใจ ให้ละเลง (มุมทดสอบบอร์ด)
-----------------------------
สุขใจในธรรม
-----------------------------
=> พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
===> พุทธประวัติ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
===> ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
===> ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
===> นิทาน - ชาดก
=====> ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
=> ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
===> ธรรมะจากพระอาจารย์
===> เกร็ดครูบาอาจารย์
=> ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
=> สมถภาวนา - อภิญญาจิต
=> จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
=> เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
===> เอกสารธรรม
===> เสียงธรรมเทศนา
=====> ธรรมะจาก สมเด็จโต
=====> ธรรมะจาก หลวงปู่มั่น
=====> เสียงบทสวดมนต์
=====> เพลงสวดมนต์
=====> เพลงเพื่อจิตสำนึก แด่บุพการี
=====> ธรรมะ มิวสิค (เพลงธรรมทั่วไป)
===> ห้อง วีดีโอ
=> เกร็ดศาสนา
=> กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
=> ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
=> บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม
=> พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม
===> พุทธวัจนะ ในธรรมบท
===> พุทธศาสนสุภาษิต
===> คำทำนายภัยพิบัติที่จะเกิด
===> รวมข่าวภัยพิบัติ ทั้งในอดีต และปัจจุบัน
===> รู้ เพื่อ รอด (การเตรียมการ)
=> ห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม
===> ฐานข้อมูล มูลนิธิต่าง ๆ ในประเทศไทย (Donation Exchange Center)
-----------------------------
วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ
-----------------------------
=> วิทยาศาสตร์ - จักรวาล - การค้นพบ
===> เรื่องราว จากนอกโลก
=====> ประสบการณ์เกี่ยวกับ UFO
=====> หลักฐาน และ การพิสูจน์ยูเอฟโอ
=====> คลิปวีดีโอ ยูเอฟโอ
=> ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม
=> เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ
===> ร้อยภูติ พันวิญญาณ
=====> ประสบการณ์ ผี ๆ
=======> เรื่องเล่าในรั้วมหาลัย
=====> ประวัติ ต้นกำเนิด ตำนานผี
===> ดูดวง ทำนายทายทัก
===> ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
===> กระบวนการ NEW AGE
=> เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
-----------------------------
นั่งเล่นหลังสวน
-----------------------------
=> สุขใจ จิบกาแฟ
=> สุขใจ ร้านน้ำชา
=> สุขใจ ห้องสมุด
===> สุขใจ หนังสือแนะนำ
===> สุขใจ คลังความรู้ลวงโลก
===> สยาม ในอดีต
=> สุขใจ ใต้เงาไม้
=> สุขใจ ตลาดสด
=> สุขใจ อนามัย
=> สุขใจ ไปเที่ยว
=> สุขใจ ในครัว
===> เกร็ดความรู้ งานบ้าน งานครัว
=> สุขใจ ไปรษณีย์
=> สุขใจ สวนสนุก
===> ลานกว้าง (มุมดูคลิป)
===> เวที จำอวด (จำอวดหน้าม่าน)
===> หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง)
===> หน้าเวที (มุมฟังเพลง)
=====> เพลงไทยเดิม
===> แผงลอยริมทาง (รวมคลิปโฆษณาโดน ๆ)
คุณ
ไม่สามารถ
ตั้งกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
ตอบกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความได้
BBCode
เปิดใช้งาน
Smilies
เปิดใช้งาน
[img]
เปิดใช้งาน
HTML
เปิดใช้งาน
กำลังโหลด...