[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 13:19:55 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พุุทธศาสนสุภาษิต  (อ่าน 2278 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1012


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 24 เมษายน 2565 17:02:54 »




พุุทธศาสนสุภาษิต

๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน

๑. อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย.
     ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี.
     ขุ. ธ. ๒๕/๒๙.

๒. อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม.
    ได้ยินว่าตนแล ฝึกได้ยาก.
     ขุ. ธ. ๒๕/๓๖.

๓. อตฺตา สุทนฺโต ปุริสสฺส โชติ.
     ตนที่ฝึกดีแล้ว เป็นแสงสว่างของบุรุษ.
     สํ. ส. ๑๕/๒๔๘.

๔. อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ.
     ตนแล เป็นที่พึ่งของตน.
     ขุ. ธ. ๒๕/๓๖,๖๖.

๕. อตฺตา หิ อตฺตโน คติ.
    ตนเทียว เป็นคติของตน.
     ขุ. ธ. ๒๕/๖๖.

๖. อตฺตา หิ ปรมํ ปิโย.
     ตนแล เป็นที่รักยิ่ง.
     องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙.

๗. นตฺถิ อตฺตสมํ เปมํ.
      ความรัก (อื่น) เสมอด้วยตนไม่มี.
      สํ. ส. ๑๕/๙.

๘. อตฺตนา ว กตํ ปาปํ อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ.
     ตนทำบาปเอง ย่อมเศร้าหมองเอง.
     ขุ. ธ. ๒๕/๓๗. ขุ. มหา. ๒๙/๓๗. ขุ. จู. ๓๐/๑๑๖.

๙. อตฺตนา อกตํ ปาปํ อตฺตนา ว วิสุชฺฌติ.
     ตนไม่ทำบาปเอง ย่อมหมดจดเอง.
     ขุ. ธ. ๒๕/๓๗. ขุ. มหา. ๒๙/๓๗. ขุ. จู. ๓๐/๑๑๖.

๑๐. อตฺตตฺถปญฺญา อสุจี มนุสฺสา.
       มนุษย์ผู้เห็นแก่ประโยชน์ตน เป็นคนไม่สะอาด.
       ขุ. สุ. ๒๕๑๓๓๙.

๑๑. อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา.
       บัณฑิต ย่อมฝึกตน.
       ม. ม. ๑๓/๔๘๗. ขุ. ธ. ๒๕/๒๕. ขุ. เถร. ๒๖/๓๘๙.

๑๒. อตฺตานํ ทมยนฺติ สุพฺพตา.
     ผู้ประพฤติดี ย่อมฝึกตน.
     ขุ. ธ. ๒๕/๓๔.

๑๓. อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ.
       ผู้มีตนฝึกดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งซึ่งได้ยาก.
       ขุ. ธ. ๒๕/๓๖.

๑๔. โย รกฺขติ อตฺตานํ รกฺขิโต ตสฺส พาหิโร.
        ผู้ใดรักษาตนได้ ภายนอกของผู้นั้นก็เป็นอันรักษาด้วย.
        องฺ. ฉกฺก. ๒๒/๔๑๗.

๑๕. อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺญา รกฺเขยฺย นํ สุรกฺขิตํ.
       ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ควรรักษาตนนั้นให้ดี.
       ขุ. ธ. ๒๕/๓๖.

๑๖. ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ จิตฺตเกฺลเสหิ ปณฺฑิโต.
       บัณฑิตพึงทำตนให้ผ่องแผ้วจากเครื่องเศร้าหมองจิต.
       สํ. มหา. ๑๙/๒๙. ขุ. ธ. ๒๕/๒๖.

๑๗. อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺญมนุสาสติ.
        ถ้าพร่ำสอนผู้อื่นฉันใด ก็ควรทำตนฉันนั้น.
        ขุ. ธ. ๒๕/๓๖.

๑๘. อตฺตนา โจทยตฺตานํ.
       จงเตือนตนด้วยตนเอง.
        ขุ. ธ. ๒๕/๖๖.

๑๙. ปฏิมํเสตมตฺตนา.
        จงพิจารณาตนด้วยตนเอง.
        ขุ. ธ. ๒๕/๖๖.

๒๐. ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโร.
       จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น.
       ขุ. ธ. ๒๕/๕๘.

๒๑. อตฺตานุรกฺขี ภว มา อฑยฺหิ.
       จงเป็นผู้ตามรักษาตน อย่าได้เดือดร้อน.
       ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ๒๗/๓๗๒.

๒๒. อตฺตานญฺจ น ฆาเตสิ.
       อย่าฆ่าตนเสียเลย.
       ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๒๗๙.

๒๓. อตฺตานํ น ทเท โปโส.
        บุรุษไม่พึงให้ซึ่งตน.
        สํ. ส. ๑๕/๖๐.

๒๔. อตฺตานํ น ปริจฺจเช.
        บุรุษไม่พึงสละเสียซึ่งตน.
        สํ. ส. ๑๕/๖๐.

๒๕. อตฺตานํ นาติวตฺเตยฺย.
       บุคคลไม่ควรลืมตน.
       ขุ. ชา. ตึส. ๒๗/๕๐๓.
 
๒๖. อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน พหุนาปิ น หาปเย.
       ไม่ควรพร่าประโยชน์ตน เพราะประโยชน์ผู้อื่นแม้มาก.
       ขุ. ธ. ๒๕/๓๗.

๒๗. อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺญา น นํ ปาเปน สํยุเช.
        ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ไม่ควรประกอบตนนั้นด้วยความชั่ว.
        สํ. ส. ๑๕/๑๐๔.

๒๘. ยทตฺตครหึ ตทกุพฺพมาโน.
       ติตนเองเพราะเหตุใด ไม่ควรทำเหตุนั้น.
       ขุ. ส. ๒๕/๔๘๖.

ที่มา วัดป่าดอยแสงธรรม

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1012


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 103.0.0.0 Chrome 103.0.0.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2565 19:03:14 »



พุุทธศาสนสุภาษิต

๒. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท

๒๙. อปฺปมาโท อมตํปทํ.
      ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย.
      ขุ. ธ. ๒๕/๑๘. ขุ. ชา. ตึส. ๒๗/๕๒๔.

๓๐. อปฺปมาทญฺจ เมธาวี ธนํ เสฏฐํว รกฺขติ.
      ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์ประเสริฐสุด.
      ม. ม. ๑๓/๔๘๘. สํ. ส. ๑๕/๓๖. ขุ. ธ. ๒๕/๑๘. ขุ. เถร. ๒๖/๓๙๐.

๓๑. อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ.
      บัณฑิตย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท.
      สํ. ส. ๑๕/๑๒๖. องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๕๓. ขุ. ธ. ๒๕/๑๙. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๔๒.

๓๒. อปฺปมาเท ปโมทนฺติ.
       บัณฑิตย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท.
       ขุ. ธ. ๒๕/๑๘.

๓๓. อปฺปมตฺตา น มียนฺติ.
       ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย.
       ขุ. ธ. ๒๕/๑๘. ขุ. ชา. ตึส. ๒๗/๕๒๔.

๓๔. อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต ปปฺโปติ วิปุลํ สุขํ.
       ผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์.
       ม. ม. ๑๓/๔๘๘. สํ. ส. ๑๕/๓๖. ขุ. ธ. ๒๕/๑๘. ขุ. เถร. ๒๖/๓๙๐.

๓๕. อปฺปมตฺโต อุโภ อตฺเถ อธิคฺคณฺหาติ ปณฺฑิโต.
       บัณฑิตผู้ไม่ประมาท ย่อมได้รับประโยชน์ทั้งสอง.
       สํ. ส. ๑๕/๑๒๖. องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๕๓. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๔๒.

๓๖. อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ.
       ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม.
       ที. มหา. ๑๐/๑๘๐. สํ. ส. ๑๕/๒๓๑.

๓๗. อปฺปมาทรตา โหถ.
       ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท.
       ขุ. ธ. ๒๕/๕๘.


๓. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม

๓๘. กมฺมํ สตฺเต วิภชติ ยทิทํ หีนปฺปณีตตาย.
        กรรมย่อมจำแนกสัตว์ คือให้ทรามและประณีต.
        ม. อุป. ๑๔/๓๘๕.

๓๙. ยงฺกิญฺจิ สิถิลํ กมฺมํ น ตํ โหติ มหปฺผลํ.
        การงานอะไร ๆ ที่ย่อหย่อน ย่อมไม่มีผลมาก.
        นัย-สํ. ส. ๑๕/๖๘.

๔๐. สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคตึ.
        กรรมชั่วของตนเอง ย่อมนำไปสู่ทุคติ.
        ขุ. ธ. ๒๕/๔๗.

 ๔๑. สุกรํ สาธุนา สาธุ.
        ความดี อันคนดีทำง่าย.
        วิ. จุล. ๗/๑๙๕. ขุ. อุ. ๒๕/๑๖๗.

๔๒. สาธุ ปาเปน ทุกฺกรํ.
        ความดี อันคนชั่วทำยาก.
        วิ. จุล. ๗/๑๙๕. ขุ. อุ. ๒๕/๑๖๗.

๔๓. อกตํ ทุกฺกฏํ เสยฺโย.
       ความชั่ว ไม่ทำเสียเลยดีกว่า.
       สํ. ส. ๑๕/๖๘. ขุ. ธ. ๒๕/๕๖.

๔๔. ปจฺฉา ตปฺปติ ทุกฺกฏํ.
        ความชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง.
        สํ. ส. ๑๕/๖๘. ขุ. ธ. ๒๕/๕๖.

๔๕. กตญฺจ สุกตํ เสยฺโย.
        ความดี ทำนั่นแล ดีกว่า.
        สํ. ส. ๑๕/๖๘. ขุ. ธ. ๒๕/๕๖.

 ๔๖. น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ.
         ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี.
         สํ. ส. ๑๕/๘๑. ขุ. ธ. ๒๕/๒๓.

๔๗. ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ.
        ทำกรรมใดแล้วไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นแลเป็นดี.
        สํ. ส. ๑๕/๘๑. ขุ. ธ. ๒๕/๒๓.

๔๘. สุกรานิ อสาธูนิ อตฺตโน อหิตานิ จ.
       การที่ไม่ดีและไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ทำได้ง่าย.
       ขุ. ธ. ๒๕/๓๗.

 ๔๙. ยํ เว หิตญฺจ สาธุญฺจ ตํ เว ปรมทุกฺกรํ.
        การใดแลเป็นประโยชน์ด้วย ดีด้วย การนั้นแลทำได้ยากยิ่ง.
        ขุ. ธ. ๒๕/๓๗.

๕๐. น หิ ตํ สุลภํ โหติ สุขํ ทุกฺกฏการินา.
        สุขไม่เป็นผลอันคนทำชั่วจะได้ง่ายเลย.
        สํ. ส. ๑๕/๑๐๔.

๕๑. กลฺยาณการี กลฺยาณํ. ปาปการี จ ปาปกํ.
       ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว.
       สํ. ส. ๑๕/๓๓๓. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๘๔.

๕๒. กมฺมุนา วตฺตตี โลโก.
       สัตวโลกย่อมเป็นไปตามกรรม.
       ม. ม. ๑๓/๖๔๘. ขุ. สุ. ๒๕/๔๕๗.

๕๓. นิสมฺม กรณํ เสยฺโย.
       ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ ดีกว่า.
        ว. ว.

๕๔. กตสฺส นตฺถิ ปฏิการํ.
       สิ่งที่ทำแล้ว ทำคืนไม่ได้.
       ส. ส.

๕๕. ปฏิกจฺเจว ตํ กยิรา ยํ ชญฺญา หิตมตฺตโน.
       รู้ว่าการใดเป็นประโยชน์แก่ตน พึงรีบทำการนั้นเทียว.
       สํ. ส. ๑๕/๘๑.
 
๕๖. กยิรา เจ กยิราเถนํ.
       ถ้าจะทำ ก็พึงทำการนั้น (จริง ๆ).
       สํ. ส. ๑๕/๖๗. ขุ. ธ. ๒๕๑๕๖.

๕๗. กเรยฺย วากฺยํ อนุกมฺปกานํ.
       ควรทำตามถ้อยคำของผู้เอ็นดู.
       ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๗๒.

๕๘. กาลานุรูปํว ธุรํ นิยุญฺเช.
       พึงประกอบธุระให้เหมาะแก่กาลเทียว.
       ว. ว.

๕๙. รกฺเขยฺย อตฺตโน สาธุํ ลวณํ โลณตํ ยถา.
       พึงรักษาความดีของตนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็ม.
       ส. ส.

๖๐. กิจฺจานุกุพฺพสฺส กเรยฺย กิจฺจํ.
      พึงทำกิจแก่ผู้ช่วยทำกิจ.
      ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๘๔.

๖๑. นานตฺถกามสฺส กเรยฺย อตฺถํ.
      ไม่พึงทำประโยชน์แก่ผู้มุ่งความพินาศ.
       ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๘๔.

๖๒. มา จ สาวชฺชมาคมา.
       อย่ามาถึงกรรมอันมีโทษเลย.
       ส. ฉ.


๔. กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส

 ๖๓. สงฺกปฺปราโค ปุริสสฺส กาโม.
        ความกำหนัดเพราะดำริ เป็นกามของคน.
        สํ. ส. ๑๕/๓๒. อง. ฉกฺก. ๒๒/๔๖๐.

๖๔. น สนฺติ กามา มนุเชสุ นิจฺจา.
       กามทั้งหลายที่เที่ยง ไม่มีในมนุษย์.
       สํ. ส. ๑๕/๓๑.

๖๕. กาเมหิ โลกมฺหิ น อตฺถิ ติตฺติ.
       ความอิ่มด้วยกามทั้งหลาย ไม่มีในโลก.
       ม. ม. ๑๓/๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๗.

๖๖. น กหาปณวสฺเสน ติตฺติ กาเมสุ วิชฺชติ.
       ความอิ่มในกามทั้งหลาย ย่อมไม่มีเพราะฝนคือกหาปณะ.
       ขุ. ธ. ๒๕/๔๐. ขุ. ชา. ติก. ๒๗/๑๐๒.

๖๗. นตฺถิ กามา ปรํ ทุกฺขํ.
       ทุกข์ (อื่น) ยิ่งกว่ากาม ย่อมไม่มี.
       ขุ. ชา. เอกาทสก. ๒๗/๓๑๕.

๖๘. นตฺถิ ตณฺหาสมา นที.
       แม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ไม่มี.
       ขุ. ธ. ๒๕/๔๘.

๖๙. อิจฉา โลกสฺมิ ทุชฺชหา.
       ความอยากละได้ยากในโลก.
       ส. ส. ๑๕/๖๑.

๗๐. อิจฺฉา หิ อนนฺตโคจรา.
       ความอยากมีอารมณ์หาที่สุดมิได้เลย.
       ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๙๔.

๗๑. อิจฺฉา นรํ ปริกสฺสติ.
       ความอยากย่อมเสือไสซึ่งนรชน.
       สํ. ส. ๑๕/๖๑.

๗๒. นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ.
       ไฟเสมอด้วยราคะ ไม่มี.
        ขุ. ธ. ๒๕-๔๒,๔๘.

๗๓. โลโภ ธมฺมานํ ปริปนฺโถ.
       ความโลภเป็นอันตรายแห่งธรรมทั้งหลาย.
       สํ. ส. ๑๕/๕๙.

๗๔. อติโลโภ หิ ปาปโก.
       ความละโมบเป็นบาปแท้.
       วิ. ภิ. ๓/๙๖. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๔๔.

๗๕. นตฺถิ โมหสมํ ชาลํ.
       ข่ายเสมอด้วยโมหะ ไม่มี.
       ขุ. ธ. ๒๕/๔๘.

๗๖. ภิยฺโย จ กาเม อภิปตฺถยนฺติ.
       ผู้บริโภคกาม ย่อมปรารถนากามยิ่งขึ้นไป.
       ม. ม. ๑๓/๔๑๑. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๗.

๗๗. อูนา ว หุตฺวาน ชหนฺติ เทหํ.
       ผู้บริโภคกามเป็นผู้พร่อง ละร่างกายไป.
       ม. ม. ๑๓/๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๗.

๗๘. โภคตณฺหาย ทุมฺเมโธ หนฺติ อญฺเญว อตฺตนํ.
       ผู้มีปัญญาทราม ย่อมฆ่าตนเองเหมือนฆ่าผู้อื่น เพราะอยากได้โภคทรัพย์.
       ขุ. ธ. ๒๕/๖๓.

๗๙. อวิชฺชานิวุตา โปสา.
       คนทั้งหลายอันอวิชชาหุ้มห่อไว้.
       วิ. จุล. ๗/๔๐๐. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๙๓.


ที่มา วัดป่าดอยแสงธรรม
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.377 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 02 มีนาคม 2567 11:40:19