[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 13:48:31 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หลักการในการนับถือพุทธศาสนา  (อ่าน 4693 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sometime
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 15 พฤษภาคม 2553 09:53:47 »




Nirvana



การสวดมนต์ของพระพุทธศาสนาไม่ว่านิกายใดแบ่งออกเป็นได้ ๒ ประเภท คือการสวดโดยบุคคลหรือการสวดเป็นการส่วนตัวและ
การสวดเป็นหมู่คณะโดยจุดประสงค์ของการสวดนั้น เพราะว่าในอดีตนั้นคำสอนของพระพุทธศาสนาไม่มีการจดจารเป็นอักษร หากแต่ใช้การท่องจำปาก
ต่อปากหรือที่เรียกว่า มุขปาฐะ โดยพระภิกษุจะแบ่งกันเป็นคณะ ๆ โดยจะมีหน้าที่รับผิดชอบว่า คณะใดจะจดจำหมวดใดและพระภิกษุแต่ละองค์
ในแต่คณะก็จะท่องจำโดยส่วนตน เมื่อถึงคราวที่มาประชุมก็จะสาธยายพร้อมกัน เพื่อตรวจสอบว่าเนื้อหาธรรมที่ตัวเองจดจำเหมือนหรือต่างกับที่คน
อื่นจดจำหรือไม่อย่างไรมีส่วนใดที่ตนจดจำผิดพลาดหรือตกหล่นหรือไม่ ก็จะได้แก้ไขให้ถูกต้องและเพื่อการสวดสาธยายอันจะเป็นไปด้วยความ
พร้อมเพรียงและเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกัน ด้วยเหตุนี้ ทำนองในการสวดมนต์ จึงถือกำเนิดขึ้นไม่ว่านิกายใด ๆ ต่างมีทำนองในการสวดมนต์เป็น
ของตน และแต่ละนิกายต่างก็ไม่ได้ มีทำนองในการสวดมนต์เพียงทำนองเดียว
เมื่อเวลาผ่านไป คณะสงฆ์แจ้งชัดว่า สืบไปความสามารถในการจดจำของพระภิกษุจะลดลง ไม่บริบูรณ์ดังคนรุ่นก่อนด้วยเหตุนี้จึงมีการประชุมสงฆ์ขึ้นเพื่อสวดสาธยายธรรมในหมวดต่าง ๆ และเมื่อเป็นลงต้องกันเป็นที่เรียบร้อยจึงให้จดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร โดยแบ่งออกเป็น ๓ หมวดใหญ่
ซึ่งก็คือ พระไตรปิฎก นั่นเองและการประชุม สงฆ์ครั้งใหญ่เพื่อสวดสาธยายธรรมทั้ง ๓ ปิฎกเรียกว่าการสังคยนาโดยที่การสังคยนาและพระไตรปิฎกของแต่ละนิกายจะแตกต่างกันไป ทว่าในส่วนของข้อธรรมนั้น ซึ่งถ้าศึกษาจะพบว่าไม่ว่านิกายใดต่างก็มีแนวทางคำสอนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ยกเว้นนิกายที่ตั้งขึ้นใหม่ในยุคหลัง ๆ
แม้ว่าปัจจุบันการ ท่องจำไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป แต่ธรรมเนียมในการสวดมนต์ยังคงมีสืบมาจวบจนปัจจุบันโดยถือเป็นกิจที่สำคัญที่ต้องทำในพิธีกรรมของพระภิกษุในพระพุทธศาสนาทว่าบทสวดมนต์ที่ค่อนข้างยาวนั้นจะพบว่าพระที่สวดได้จะมีน้อยลง เช่น บทปาฏิโมกข์ ที่พระจะต้องสวดในวันอุโบสถอย่างไรก็ตามก็ยังมีพระภิกษุบางองค์ที่สามารถท่องจำไตรปิฎกได้ทั้งหมดอยู่ในประเทศพม่าอานิสงส์จากการสวดมนต์ที่เห็นได้ชัดเจนคือการที่พระภิกษุ
มีความจำดีไม่เลอะเลือนแม้ว่าจะมีอายุมากเท่าใด และไม่ว่าพระองค์นั้นจะเป็นพระปฏิบัติธรรมหรือไม่ยกเว้นโรคภัยใข้เจ็บอันกระทบกระเทือนถึง
สมองในทางวิทยาศาสตร์อาจอธิบายว่าการจดจำบทสวดมนต์จำนวนมาก และสวดสาธยายเสมอ ๆ อาจเป็นการบริหารเซลล์สมองให้เกิดใหม่อยู่
เรื่อย ๆ แต่ในทางความเชื่ออาจกล่าวได้ว่านี่คือ พุทธานุภาพ แห่งพระศาสดาที่คุ้มครองพระภิกษุทุกองค์ ที่ได้ชื่อว่าเป็นบุตรแห่งพระพุทธองค์

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 พฤษภาคม 2553 10:31:16 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 15 พฤษภาคม 2553 10:03:16 »




ด้วยเหตุผลทางความเชื่อ เชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรมการเมือง ฯลฯ ทำให้ทำนองสวดมนต์ของแต่ชนชาติและแต่ละนิกายมี
หลากหลายโดย
ในส่วนของประเทศไทยนั้นอาจแบ่งได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือการสวดทำนองราษฎร์และทำนองหลวงโดยทำนองราษฎร์จะใช้ในพิธีของ
ประชาชน
ส่วนทำนองหลวงจะใช้ในการพระราชพิธี ขณะที่ทำนองบางอย่างนั้นจะใช้เป็นการเฉพาะไม่ใช้กับพิธีอื่น ๆ อาทิเช่นทำนองที่ใช้ในการสวดภาณยักษ์
เป็นต้น
ในส่วนของพระมหายาน จีน ญวนหรือเวียดนาม เกาหลีญี่ปุ่น ฯลฯและวัชระยาน ทิเบต เนปาล ภูฏาน ฯลฯนั้นเนื่องจากในประเทศไทยคนที่มีความ
เชื่อในด้านนี้อย่างจริงจัง มีค่อนข้างน้อย จึงแพร่หลายในวงจำกัดซึ่งใน ความเป็นจริงนั้นทำนองที่พุทธศาสนาในอุตรนิกายมีค่อนข้างหลากหลายแม้
จะเป็นบทสวดมนต์เดียวกันแต่เราจะพบว่าพอต่างสำนักแล้วก็สวดทำนองต่างกันและยังออกเสียงต่างกันด้วยแม้จะออกเสียงสำเนียงเดียวกันก็ตาม
เช่นจีนกลาง – จีนกลางซึ่งโดยมากการเผยแพร่ไปสู่สาธารณะจะเผยแพร่ในรูปแบบของการขับร้องโดยใช้ดนตรีประกอบซึ่งถือเป็นวิธีในการเผยแพร่
ที่เอกลักษณ์ที่สำคัญของพระพุทธศาสนาในอุตรนิกายแต่เนื่องจากวิธีดังกล่าวเน้นไปที่ความบันเทิงเราจึงมักพบว่าเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งในการนำ
เสนอในเท่านั้นหาใช่ทำนองที่ใช้จริงในการประกอบศาสนกิจไม่  
คนที่นับถือพุทธ ศาสนาวัชระยานในประเทศไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ กลุ่มใหญ่ ๆ คือ พวกแรกเป็นคนไทยเชื้อสายจีนซึ่งกลุ่มนี้แม้จะนับถือวัชรยานแต่ไม่เน้นหนักมากนักโดยมากจะเน้นที่พุทธศาสนามหายานและลัทธิเต๋ามากกว่าส่วนที่ ๒ คือผู้ที่มีความสนใจทั่วไปและพวกที่ ๓ ซึ่งอาจกล่าว
ได้ว่าเป็นพวกคนรุ่นใหม่หรือพวกปัญญาชน คนกลุ่มนี้จะนับถือพุทธศาสนาวัชรยาน โดยได้รับอิทธิพลมากจากชาวตะวันตกที่นับถือพุทธศาสนาวัชรยาน
อีกทีซึ่งคนที่มีบทบาทพลักดันที่สำคัญก็ได้แก่ พระไพศาล วิสาโล ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ส. ศิวรักษ์ ฯลฯ โดยที่คนกลุ่มนี้ค่อนข้างมีความสัมพันธ์
อันดีกับ สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัย นักวิชาการองค์กรพัฒนาเอกชน ฯลฯ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 พฤษภาคม 2553 10:31:58 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 15 พฤษภาคม 2553 10:11:00 »




หลายครั้งที่เราจะพบว่าคนกลุ่มนี้ค่อนข้างจะยกย่องชาวตะวันออกโดยจะตำหนิและต่อต้านต่อต้านชาวตะวันตกทว่าจากเอกสารและบทความตลอดจนถึงคำพูดของคนเหล่านี้จะพบว่าคนเหล่านี้มีแนวคิดแบบชาวตะวันตกค่อนข้างชัดเจนมาก  
แท้จริงแล้วสารัตถะ แห่งพระพุทธศาสนา พ้นแล้วจากการแบ่งแยกเรา – เขา ตลอดถึงชนชาติทั้งปวงซึ่งการนับถือพุทธศาสนานิกายใด ๆ ย่อมเป็นเรื่องที่ดีงามแต่นั่นต้องหมายความว่าเราต้องไม่นับถือศาสนาเพราะต้องการเป็นการยกย่องสิ่งหนึ่งและลบล้างหรือต่อต้านอีกสิ่งหนึ่งและไม่ควรนับถือศาสนาเพราะค่านิยมและยิ่งไม่ควรใช้ศาสนาเป็นเครื่องมอมเมาจิตใจเพราะนั่นเราจะไม่ได้พบและรับประโยชน์จากศาสนาที่แท้จริง  
การเผยแพร่บทสวดมนต์ ของพุทธศาสนามหายานและวัชระยานในประเทศไทยนั้น โดยมากจะพบในรูปของสื่ออิเล็กโทรนิก CD VCD DVD และ
MP3 ฯลฯ หลายครั้งที่เราจะพบว่าที่กล่าวว่าเป็นบทสวดมนต์ทิเบตวัชรยานแต่โดยมากจะเอียงไปทางมหายานมากกว่าไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาของบทสวดมนต์
และดนตรีที่ใช้ประกอบ
ทำนองบางทำนองนั้นมี ที่มาในรูปของความเชื่อผู้เขียนเคยได้ฟังพระภิกษุทิเบต ลามะ สวดทำนองทิเบตในรูปแบบหนึ่งเล่ากันว่าทำนองนี้สืบทอดกันมารุ่น
ต่อรุ่น ผู้รู้ทำนองนี้มีไม่มากโดยกล่าวกันว่าปรมาจารย์ได้รับการถ่ายทอดโดยตรงจากพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์กล่าวกันว่าผู้ที่ได้ฟังการสวดทำนองนี้
แม้จะได้ฟังเพียงครั้งเดียวเมื่อสิ้นชีวิตลงจะไม่มีทางตกลงสู่อบายภูมิแน่นอน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 พฤษภาคม 2553 10:32:24 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 15 พฤษภาคม 2553 10:18:29 »




นิกายสุขาวดีเป็นนิกายที่สำคัญของพุทธศาสนามหายานนิกายหนึ่ง นิกายนี้เน้นที่การสวดรำลึกถึงพระนามพระอมิตาภพุทธเจ้าความ
จริงแล้วนิกายนี้มีเนื้อหาธรรมลึกซึ้งมาก แต่คนจำนวนไม่น้อยศึกษาเพียงผิวเผิน แล้วมักสำคัญผิดว่านิกายไม่มีเนื้อหาธรรมอันใดจึงมักดูแคลนว่า
มีแต่เพียงการสวดรำลึกถึงพระ นามพระอมิตาภพุทธเจ้าเท่านั้น อันมีแต่ศรัทธาแต่ไม่ประกอบด้วยปัญญาจึงทำให้ทำลายประโยชน์แห่งตนไปอย่าง
น่าเสียดายมีเรื่องเล่ากันว่า
มีปรมาจารย์ของนิกายมหายานรูปหนึ่งจาริกไปที่ ภูเขาอู่ไถ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นธรรมสถานแห่งพระมัญชุศรีมหาโพธิสัตว์ เมื่อไปสักการะจึงอธิษฐาน
ขอให้ได้
พบพระองค์ ครานั้นด้วยพระมหากรุณาแห่งพระมัญชุศรีมหาโพธิสัตว์ จึงทรงสำแดงนิรมานกายเบื้องบนนภากาศ พระเถระถวายบังคมแล้วถามว่า
สืบไป
อนาคตเพื่อประโยชน์แห่งสรรพชีวิต ของพระองค์ได้โปรดแสดงว่า ดำเนินธรรมสายใดจึงจะต้องอัธยาศัยแห่งสรรพชีวิตมากที่สุดพระมัญชุศรีมหาโพธิสัตว์
ตรัสตอบว่า รำลึกถึงพระนามพระอมิตาภตถาคตเป็นเอกไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า พระเถระได้ฟังดังนั้นจึงได้ทูลถามอีกว่า ถ้าเช่นนั้นจักสวดอย่างไรพระมัญชุศรีจึงได้ถ่ายทอดการสวดรำลึกพระนามพระอมิตาภแบบเสียง ๕ ระดับ หรือที่เรียกว่า ปัญจสัททะซึ่งได้สืบทอดมาจนปัจจุบันนี้อย่างไรก็ตามบางแห่งเชื่อว่าการ
สวดรำลึกถึงพระนามแห่งพระอมิตาภแบบปัญจสัททะปัจจุบันได้สาบสูญไปแล้วที่พบเห็นในปัจจุบันนั้นเป็นการแต่งขึ้นมาใหม่ในภายหลัง
สิ่งที่จะต้อง ตระหนักอย่างยิ่งยวดในการนับถือศาสนาคือ อะไรคือเนื้อหาหรือสารัตถะที่แท้ของศาสนาหาไม่แล้วศาสนาจะเป็นเพียงรูปแบบหรือ
เป็นสิ่ง ๆ หนึ่งที่ใช้ในการยึดเหนี่ยวเพื่อหลอกตัวเองซึ่งนั่นไม่ใช่หนทางแห่ง ปัญญา





เขียนโดย จุลปัทมะ วันพุธที่ 07 ตุลาคม 2009 เวลา 12:22 น.



credit by ............................http://www.q1133.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 พฤษภาคม 2553 10:32:48 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 15 พฤษภาคม 2553 12:15:48 »


http://i198.photobucket.com/albums/aa105/free-at-spirit/84e9f17f.jpg
หลักการในการนับถือพุทธศาสนา

สาธุค่ะ
บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: 15 พฤษภาคม 2553 13:09:48 »

ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.32 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 05 มีนาคม 2567 01:50:29