[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
27 เมษายน 2567 04:28:00 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: โรคงวงช้าง  (อ่าน 522 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 104.0.0.0 Chrome 104.0.0.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 01 กันยายน 2565 11:06:29 »


โรคงวงช้าง

          โรคงวงช้าง (Frontoethmoidal Encephalomeningocele) เป็นความพิการแต่กำเนิด โดยมีก้อนงอกออกมาตรงบริเวณดั้งจมูก ระหว่างตาทั้งสองข้าง พบได้ทั้งขนาดเล็กเท่าเมล็ดถั่วเขียว จนถึงขนาดใหญ่เท่าศีรษะ มีลักษณะคล้ายงวงของช้าง จึงเป็นที่มาของคำว่า “โรคงวงช้าง” ที่เรียกกันในชุมชน

          โรคงวงช้าง สามารถพบได้ในอัตราส่วน 1 ต่อ 6,000 ถึง 36,000 คนของเด็กแรกเกิด พบมากในประเทศแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย พม่า อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ โดยในประเทศไทยพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางตอนบน  มักพบในครอบครัวไทยแท้ มีฐานะยากจน และในการตั้งครรภ์หลังๆ ของมารดา โดยเป็นการตั้งครรภ์ที่ห่างจากครั้งก่อนประมาณ 7 ปี



สาเหตุ

            ความผิดปกติที่ทำให้เกิดโรคงวงช้าง มีขึ้นตั้งแต่ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ โดยเกิดจากรูรั่วที่ฐานกะโหลกศีรษะด้านหน้าทำให้เนื้อสมองและเยื่อหุ้มสมองยื่นออกไปกลายเป็นก้อนบริเวณจมูก  นอกจากความผิดปกติที่มีก้อนบนใบหน้าแล้ว ผนังกระบอกตาด้านในจะถูกเบียดให้ห่างจากกันมากกว่าปกติ มีจมูกยาวกว่าปกติ ฯลฯ และมักมีความผิดปกติในสมองร่วมสูงถึง 68%

การตรวจวินิจฉัยและแนวทางการรักษา

          การวินิจฉัยโรคนี้ยืนยันได้ด้วย เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CAT scan)  และควรได้รับการผ่าตัดอย่างถูกต้องเหมาะสมตามความรุนแรงของโรค เพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจตามมา เช่น ปัญหาการทำงานของสมอง การมีแผลที่ก้อนและมีน้ำหล่อสมองไขสันหลังรั่ว ปัญหาสายตาเสื่อมเพราะถูกบดบังโดยก้อน รวมถึงปัญหาความสวยงามและการเข้าสังคม เป็นต้น


         การรักษาโรคงวงช้าง สามารถทำได้ด้วยวิธี “จุฬาเทคนิค” ซึ่งเป็นการผ่าตัดกระดูกตรงโคนดั้งจมูกเป็นรูปตัว T เล็ก ๆ  เพื่อตัดก้อนเนื้อออก และเย็บปิดรูรั่ว จากนั้นตกแต่งกระบอกตาด้านในและเสริมจมูก ซึ่งเป็นวิธีผ่าตัดที่ทำได้ง่ายและได้ผลดี เพราะสมองของผู้ป่วยจะได้รับความกระทบกระเทือนน้อย ใช้เวลาในการผ่าตัดน้อย ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น


สามารถติดต่อขอรับการรักษาและคำปรึกษาได้ที่
ศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
อาคาร สก ชั้น 14 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ในเวลาทำการ จันทร์ถึงศุกร์ เว้นวันหยุดราชการ เวลา 8.00-16.00 น.
โทรศัพท์ 0-2256-4330
www.craniofacial.or.th
Line : @Thaicraniofacial

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.236 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 01 เมษายน 2567 17:50:07