[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 เมษายน 2567 20:21:30 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: แนวศึกษา เรื่อง ตัณหา - ฉันทะ  (อ่าน 532 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1003


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 105.0.0.0 Chrome 105.0.0.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 17 กันยายน 2565 13:58:00 »



แนวศึกษา เรื่อง ตัณหา-ฉันทะ

ในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์มีเทวดามาทูลถามพระพุทธองค์ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครบ้างที่มีความสามารถที่จะมาถากถางขยะ คือ “ตัณหา” ที่มันรกชัฏในใจของเราออกไปได้” พระพุทธองค์ตรัสว่า “บุคคลผู้ตั้งอยู่ในศีล ผู้เจริญจิตคือสมถะ และเจริญปัญญาคือวิปัสสนา มีความเพียรในการเผากิเลส มีปัญญาบริหาร ภิกษุนั้นผู้มีปัญญามีความสามารถในการถากถางรกชัฏ คือตัณหา ที่มันรกรุงรังอยู่ในสมองออกไปเสียได้” ฉะนั้น

ประมวลได้ว่ามีเทวดามาทูลถาม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครสามารถจัดขยะในสมองออกไปได้ ขยะสมองในที่นี้ก็คือตัณหา

“ขยะสมอง” มีชิ้นเดียวหรือเปล่า ไม่ใช่ ดึงตัณหามาชิ้นเดียว ได้มา ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา กามตัณหา อยากได้รูปเสียง กลิ่น รส สัมผัส ภวตัณหา อยากเกิดเป็นพรหม วิภวตัณหา อยากตายให้รู้แล้วรู้รอดไป เป็นอุจเฉททิฏฐิตั ณหาคำเดียวดึงออกมาได้๓ จาก ๓ ดึงออกมาได้อีก ๑๐๘ พอเริ่มจากตัณหาแล้ว ถ้าเราไม่ดึงออกมาแบบนี้ ไปดึงอย่างอื่นได้ไหม ได้เช่น เวทนาปัจจยา ตัณหา เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา เป็นต้น

ตามหลักของปฏิจจสมุปบาท ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่าอวิชชาปัจจยา สังขารา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขารสังขาราปัจจยา วิญญาณัง เพราะสังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณวิญญาณปัจจยา นามรูปังเพราะปฏิสนธิวิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป นามรูปปัจจยา สฬายตนัง เพราะนามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ สฬายตนปัจจยา ผัสโส เพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะผัสสปัจจยา เวทนา เพราะผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เวทนาปัจจยาตัณหา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ตัณหาปัจจยา อุปาทานัง เพราะตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน อุปาทานปัจจยา ภโว เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดภพภวปัจจยา ชาติ เพราะภพเป็นปัจจัยให้เกิดชาติชาติปัจจยา ชรามรณัง โสกปริเทวทุกขโทมนัสสุปายาสา สัมภวันติเพราะชาติเป็นปัจจัยให้เกิดชรามรณะ โสกปริเทวะ ทุกข์โทมนัส ก็เกิดขึ้นตามลำดับ

ฉะนั้น ตามหลักของปฏิจจสมุปบาท ดึงตัณหามาอันเดียวตามกันมาเป็นขบวน แต่ก่อนจะมาถึงตัณหาแกนเก่าคืออวิชชาแกนใหม่คือตัณหาแล้วต่อจากตัณหา หนักหน่วงกว่าตัณหาคืออุปาทาน ได้มาครบหมด ฉะนั้น ดึงตัณหามาอันเดียว เพื่อมาจัดการ เพราะขยะสมองก็คือตัณหา

ตัณหาคือความต้องการ มี๒ อย่าง คือต้องการในขณะแสวงหา เรียกว่า เอสนตัณหา ตัณหาที่เกิดขึ้นในขณะแสวงหา หามาแล้วก็ยินดีพอใจ เอสิตตัณหา พอเป็นของเรามากๆ มันยึดมั่นแล้ว เป็น กามุปาทาน ทิฏฐุปาทานสีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน มาตามลำดับ ทั้งหมดนี้สรุปว ่า ตัณหาอย่างอ่อนๆ เรียกว่า ตัณหา ตัณหาอย ่างแรงกล้าที่มีพลัง เรียกว่า อุปาทาน    ถ้าเราเข้าใจตัณหานี้มีเยอะแยะเลย มีการวิเคราะห์คำศัพท์วานะโต นิกขันตัง นิพพานัง นิกขันตัง ออกแล้ว วานะโต จากตัณหา ชื่อว่า วานะ นิพพานัง ชื่อว่า นิพพานออกจากตัณหาที่มีชื่อว่าวานะ ก็เรียกว่านิพพานะ คือนิพพาน นิพพานที่แปลว่า การก้าวออกจากตัณหา หรือ นิพพานะ แปลว่า ดับ คือดับกิเลสและเพลิงทุกข์ แต่ตอนนี้ต้องการชี้ให้เห็น

คำวำตัณหา มีคำไวพจน์ มีคำอธิบายขยายความเยอะแยะ วานะ ก็เรียกว่าตัณหา หรือตัณหา มาจาก ตสฺ ธาตุ ในความยินดี ณฺหา ปัจจัย ตสฺ + ณฺหา ตัณหา แปลว่า ความยินดี, ธรรมที่เป็นเครื่องเป็นเหตุให้ยินดี, สภาวะที่ยินดีตัณหานี้เป็นนามธรรม ตามอภิธรรม เรียกว่า โลภเจตสิก แล้วมาชื่อเรียกแบบชาวบ้านให้เข้าใจในทางพระสูตร ใช้คำว่าตัณหาแล้วขยายออกไปเป็น กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เรียกตัณหาออกไป ๑๐๘ เลย รูปตัณหาสัททตัณหา

คันธตัณหารสตัณหาโผฏฐัพพตัณหาธัมมตัณหาเป็นต้น จะเห็นว ่า ตัณหา ขยายออกมาจำนวนนับไม่ถ้วน

ชาวพุทธจะต้องใช้ศีล จัดการกับตัณหาอย่างหยาบๆ ใช้สมาธิจัดการกับตัณหาอย่างกลางๆ ใช้วิปัสสนาปัญญา จัดการกับตัณหาอย่างละเอียด ศีล ๕ นี้ ถ้าใครรักษาได้ตัณหาที่อยากไปฆ่าสัตว์ ตัณหาที่อยากไปลักทรัพย์ ตัณหาที่อยากไปประพฤติผิดในกาม ตัณหาที่อยากจะโกหก ตัณหาที่อยากจะดื่มสุราเมรัย ตัณหาหยาบๆ จะถูกจัดการออกไปด้วยศีลตัณหาประเภทนี้เรียกว่า วีติกกมกิเลส หมายถึง กิเลสที่ไปก้าวล่วงละเมิดผู้อื่น จัดการได้ด้วยศีล

ถ้าโยมสมาทานศีลแล้วถือว่าก้าวขึ้นบันได ๒ ขั้นแล้ว โยมกำลังปฏิบัติอยู่บนบันไดขั้นที่ ๒ การปฏิบัติธรรม มีบันได ๕ ขั้น บันไดขั้นแรกคือไตรสรณคมน์ บันไดขั้นที่ ๒ คือศีล บันไดขั้นที่ ๓ คือกุศลกรรมบถ ๑๐ บันไดขั้นที่ ๔ คือสมถะ บันไดขั้นที่ ๕ คือ วิปัสนา แต่บางทีเรากระโดดไปวิปัสสนา ทั้งที่ศีลก็ยังไม่บริสุทธิ์ื แต่ฉันจะไปวิปัสสนาแล้ว ก็ยากจะได้ผล

ตอนนี้มีสำนักปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่ง ชื่อสำนักพะอ๊อกตอยะ หรือ ศูนย์ปฏิบัติธรรมนานาชาติอ่างทอง เป็นหนึ่งในศูนย์สาขาของวัดพะอ๊อกตอยะ ในประเทศเมียนมา ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.อ่างทอง ใครจะไปปฏิบัติธรรมกับเขาก็ได้พอไปถึง สิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติคือ ขอให้ชำระศีลให้บริสุทธิ์ ไตรสรณคมน์กับศีล ทำให้ได้ก่อน พอผ่านศีลก็ไปสมถะ พอผ่านสมถะก็เข้าไปวิปัสสนา ก็ไปในลักษณะอย่างนี้ นี่คือบันได ๕ ขั้น

วันนี้โยมมาฟังเทศน์ ทำไมจึงบอกว่ามาปฏิบัติธรรม ๓ ขั้น ก็คือไตรสรณคมน์ได้ปฏิบัติ ธรรมขั้นที่ ๑ รับศีลสมาทานศีลได้ปฏิบัติธรรมขั้นที่ ๒ กุศลกรรมบถ ๑๐ ปฏิบัติธรรมขั้นที่ ๓ ต่อไป นึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ได้ปฏิบัติธรรมขั้นที่ ๔ ในขณะที่ฟังเสียงที่ได้ยินเป็นรูป ผู้ได้ยินเป็นนาม พอพระท่านเทศน์ก็กำหนดได้ยินหนอๆ เสียงที่ได้ยินเป็นสัททารมณ์ เป็นรูปธรรม ผู้ได้ยินคือ โสตวิญญาณจิต จิตที่เกิดทางหูเป็นนามธรรม มีแค่รูปแค่นาม ถ้าน้อมจิตไปได้อย่างนี้ก็เข้าสู่ปัสสนา คือในขณะที่ฟังก็สามารถเจริญวิปัสสนาไปด้วยได้เพราะฉะนั้นในขณะที่ฟังอยู่ก็ถือว่ากำลังปฏิบัติธรรมไปด้วย

เหตุแห่งการบรรลุธรรม มี๕ อย่าง คือการฟังการสอน การสวดสาธยายการมนสิการ และการลงมือปฏิบัติสมัยพุทธกาล มีการบรรลุธรรมมากที่สุด คือด้วยการฟัง

รู้ได้อย ่างไรว ่าการฟังทำให้มีการบรรลุธรรมมากที่สุด ดังตัวอย่างกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกคือ “เทสนาวสาเน ติงสสหัสส ภิกขุ จตูหิ ปฏิสัมภิทาหิ อรหัตตัง ปาปุนิงสุ” เทสนาวสาเน ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนา ติงสสหัสสภิกขุ ภิกษุ ๓๐,๐๐๐ รูป ปาปุนิงสุ บรรลุแล้วอรหัตตังซึ่งความเป็นแห่งพระอรหันต์ จตูหิ ปฏิสัมภิทาหิพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ แปลว่า พอเทศน์จบ พระที่มาฟัง ๓๐,๐๐๐ รูปได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

แล้วท่านปฏิบัติธรรมตอนไหน ก็ตอนที่ฟังนั่นแหละ ฟังไป ท่านน้อมจิตตามไป โยนิโสมนสิการตามไป ฟังแล้วก็ได้บรรลุดังนั้น เหตุที่ทำให้บรรลุธรรมมากที่สุดในสมัยพุทธกาลก็ด้วยการฟังแต่ต้องเป็นการฟังแบบทะลุทะลวง ฟังแบบทะลุทะลวงคืออะไร สุสสูสํ ถ้าเงี่ยโสตลงตั้งใจฟัง เนื้อหาเป็นอย่างนี้แล้วน้อมเข้ามาหาตัวเราเอง น้อมขันธ์ ๕ เข้ามาในขันธ์ ๕ ของตัวเราเองสุดท้าย ฟังแล้วเกิดสุตะ ฟังแล้วเกิดจินตา ฟังแล้วเกิดภาวนา ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระอริยะในที่สุด

เพราะฉะนั้น การมาฟังเทศน์ฟังธรรม คือการมาปฏิบัติธรรม แต่ปฏิบัติธรรมโดยการนั่งฟังต้องฟังเหมือนสมัยพุทธกาล คือฟังแล้วได้บรรลุธรรม วิธีการปฏิบัติไม่ใช่อยู่ในรูปแบบเสมอไป รูปแบบการปฏิบัติกับของจริง บางทีมันก็ไม่เหมือนกัน ฟังไปน้อมจิตไป สิ่งที่เราไม่รู้ พอรู้แล้วก็เริ่มลด เริ่มละ เริ่มเข้าใจ เริ่มโยนิโสมนสิการเป็น คิดเป็น ตอนนั้นแหละกระบวนการของการฟังเกิดขึ้นแล้ว

วันนี้ถือว่าทุกท่านเข้าสู่กระบวนการของการปฏิบัติธรรมโดยการฟัง แล้วแต่ท่านจะโยนิโสมนสิการ ตอนนี้ส่งให้ผ่าน ๒ ขั้นแล้ว ๑) ไตรสรณคมน์มาแล้ว ๒) ศีลมาแล้ว ต่อไป ๓) กุศลกรรมบถ ๑๐ ผ่านแล้ว ก็เหลือขั้นที่ ๔) สมถะคือน้อมจิตในพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ แล้วไปสู่ขั้นที่ ๕) วิปัสสนา เสียงที่ได้ยินเป็นรูป ผู้ได้ยินเป็นนาม ได้ยินหนอๆ เสียงที่ได้ยินไม่เที่ยง ทั้งรูปทั้งนาม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นั่นคือกระบวนการของการฟัง แล้วก็โยนิโสมนสิการตาม

รู้จักตัณหาพอสมควรแล้ว องค์ธรรมของตัณหา ได้แก่ โลภเจตสิก อาตมาไปค้นคว้ามาไปดูมาจากหลายเล่ม ความหมายของ“ตัณหา” คำศัพท์คำแปลมีมากมายส่วนคำว่าตัณหังกร พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระตัณหังกรด้วย

ตัณหังกรคืออะไรตัณหังคือตัณหาหรือ? (กรคือผู้กระทำ) ความจริงไม่ใช่อย่่างนั้น ตัณหังกร เป็นชื่อขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตัณหังกโร เมธังกโร สวณังกโร พระตัณหังกร สรณังกร ทีปังกร เมธังกร เรื่องของการตั้งชื่อ นำเอาคำศัพท์มาต่อกัน แล้วก็นำมาทำเป็นชื่อ ก็มีเหตุมีผลของแต่ละที่แต่ละแห่ง ไม่ใช่ตัณหา ตัณหา โดยมาก ๙๙ เปอร์เซ็นต์คือ อกุศล ไปในทางไม่ดีในอริยสัจ ๔ ในข้อที่ ๒ คือ สมุทยสัจจะ ได้แก่ ตัณหา นอกจากนี้ตัณหาที่อยู่ในธรรมจักรก็คือสมุทยสัจจะอยู่ในปฏิจจสมุปบาท ก็คือตัณหาโดยตรง หรืออยู่ในหลายๆ ที่ก็ใช้คำว่าตัณหาโดยตรงแต่พอมาถึงอภิธรรม เรียกชื่อตามสภาวธรรมว่า โลภเจตสิก

ตัณหานี้ โดยมากแล้วก็คือความประสงค์ในการที่จะใช้สอย หรือความอยาก หรือธรรมะที่เป็นเหตุให้อยาก ธรรมะที่เป็นเหตุให้ไม่พอ แปลเป็นอย่างอื่นอีกได้ไหม ตัณหา ความต้องการดื่ม หรือความกระหายน้ำ กระหายน้ำก็ใช้คำว่าตัณหาได้อันนี้คือเรื่องของคำศัพท์ สำวนการวิเคราะห์เป็นภาษาบาลีนี้อาตมาก็รู้คนเดียวก็แล้วกัน ถ้าให้อธิบายการวิเคราะห์เป็นภาษาบาลีแล้วแปลให้ฟังด้วย คงต้องชวนไปเรียนบาลีที่วัดจากแดงเลยเพราะฉะนั้น เอาคำแปลภาษาไทยมาสรุปสั้นๆ ตัณหา มาจากคำว่า ตสฺ ธาตุ ณฺหา ปัจจัย ตัณหาคือขยะแน่นอน แต่ ฉันทะ บางครั้งไม่ใช่ขยะ บางครั้ง เป็นขยะ เพราะฉะนั้นระหว่างตัณหา กับฉันทะนี้บางทีเราไม่ข้าใจ  ตัณหา คืออะไร ฉันทะคืออะไร แบบไหนเรียกว่าตัณหา แบบไหนเรียกว่าฉันทะ ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจเรื่องฉันทะกันต่อ  

ความหมายของฉันทะและองค์ธรรม
ฉนฺท มาจาก ฉนฺท ธาตุ + อ ปัจจัย, ฉนฺทอิจฺฉายํ ฉนฺทนํ ฉนฺโท. อารมฺมเณน อตฺถิกตา,อารมฺมณปริเยสนํ, กตฺตุกมฺยตาฉนฺโท.
๑. มีความต้องการด้วยอารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้น มีความประสงค์ต้องการและการแสวงหาองค์ธรรม ได้แก่ ฉันทเจตสิก
๒. มีความยินดีพอใจซึ่งอารมณ์องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก
๓. มีความปรารถนาจะทำ ต้องการทำองค์ธรรม ได้แก่ วิริยเจตสิก
๔. ความต้องการถือเอาโดยผิด องค์ธรรม ได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก
๕. ความเห็นพ้องกัน, เห็นด้วย, มอบฉันทะ, เอาด้วย ได้แก่ตัณหาฉันทะ, ทิฏฐิฉันทะ, วิริยฉันทะ, ธรรมฉันทะ (กุศลฉันทะ),กัตตุกัมยตาฉันทะ เป็นต้น

ลักขณาทิจตุกกะของกัตตุกัมยตาฉันทะ  มีสภาวะต้องการทำอารมณ์เป็นลักษณะ มีการแสวงหาอารมณ์เป็นหน้าที่ (กิจจรส) มีความเป็นผู้ต้องการซึ่งอารมณ์ เป็นอาการปรากฏ (ปัจจุปัฏฐาน) มีอารมณ์นั่นแหละเป็นเหตุใกล้(ปทัฏฐาน) ความปรารถนาอารมณ์ของกัตตุกัมยตาฉันทะนี้ เปรียบเสมือนการยื่นมือเข้าไปหาอารมณ์ของจิต

กัตตุกัมยตาฉันทะ ในขณะที่ประกอบกับโลภะเรียกว่าตัณหาฉันทะ,กามฉันทะในขณะที่ประกอบกับโทสะ ถูกเรียกว่า ปฏิฆฉันทะ, ในขณะประกอบกับโกสัชชะ(ความขี้เกียจ) เรียกว่า อติลีนฉันทะ, ในขณะที่ประกอบกับอุทธัจจะ
(ความฟุ้งซ่าน) เรียกว่า อติปัคคหิตฉันทะ, ในขณะที่ประกอบกับถีนมิทธะ(ความง่วงเซื่องซึม) เรียกว่า, ในขณะที่ประกอบกับกามวิตก(ตรึกเรื่องกาม) เรียกว่า วิกขิตตฉันทะ, ในขณะที่ประกอบกับอโลภะ (ความไม่โลภ) เรียกวา เนกขัมมฉันทะ, ในขณะที่ประกอบกับอโทสะ (ไม่โกรธ) เรียกว่าอัพยาปาทฉันทะ, ในขณะที่ประกอบกับอโมหะ (ไม่หลง) เรียกว่าอวิหิงสาฉันทะ

- มีความประสงค์มีความต้องการ มีความปรารถนาแสวงหาซึ่งอารมณ์เป็น ฉันทเจตสิก
- มีความยินดีพอใจซึ่งอารมณ์ที่ได้มาแล้วเป็น โลภเจตสิก

นี้คือข้อแตกต่าง  ฉันทะ เป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล  ตัณหา เป็นอกุศลอย่างเดียว ฉันทะ มีเนื้อความกว้างกว่า ตัณหา มีเนื้อความแคบกว่า

เพราะฉะนั้น เรื่องของฉันทะนี้ส่วนหนึ่งเหมือนกับตัณหา ส่วนหนึ่งไม่เหมือน เมื่อไม่เหมือนแล้ว ลักษณะของฉันทะ คือ มีความประสงค์ในการที่จะกระทำอารมณ์ เรียกว่ากัตตุกัมมยตาฉันทะอันนี้คือลักษณะ หน้าที่ของฉันทะ คือแสวงหาอารมณ์อาการปรากฏของฉันทะคือเป็นสิ่งที่ต้องการอารมณ์เหตุใกล้ของฉันทะ คืออารมณ์นั้นแหละ อันนี้ก็คือลักษณะเป็นต้นของฉันทะ

เพราะฉะนั้น เรื่องของฉันทะนี้มีทั้งดีไม่ดี ฉันทะในทางที่ดีฉันทะในทางที่ไม่ดีฉันทะจึงจะมีมากมายหลายประการ เราต้องเข้าใจว่าเราจะใช้ฉันทะของเราไปในทางไหน แล้วฉันทะที่เป็นประโยชน์เป็นสิ่งที่ดีเช่น กัตตุกัมมยตา กุสโลธัมมฉันโท ฉันทะใดที่มีความประสงค์ในารกระทำคุณงามความดีในการสร้างสรรค์สิ่งดีฉันทะนั้นก็จะเป็น กุศลฉันทะ หรือธรรมฉันทะ   

เพราะฉะนั้น เรื่องของฉันทะ เรื่องของตัณหา บางทีถ้าดูองค์ธรรม ดูตัวประกอบจากหลายๆ คัมภีร์จากหลายๆ ที่แล้ว เราก็จะแยกองค์ธรรมได้ พอแยกองค์ธรรมได้ก็จะแยกประเภทได้ พอแยกประเภทได้ก็รู้ว่าตัณหาเป็นอย่างนี้ฉันทะเป็นอย่างนี้

เรายืมภาษาบาลีมาใช้ในภาษาไทย แต่ยืมมาแล้วเราไม่เอาความหมายเดิมมาใช้ก็เลยเพี้ยน พอเราไม่เอาความหมายเดิมมาด้วยทำให้ฟังเทศน์ฟังธรรมไม่รู้เรื่อง พระท่านเทศน์ความหมายหนึ่ง เราก็แปลอีกความหมายหนึ่ง อย่างเช่น คนนั้นเขามีบารมีโดยทั่วไปก็เข้าใจว่าเขาเป็นนักการเมือง มีอำนาจ มียศ มีบริวาร มีคนเกรงกลัว เขามีบารมีสูงแล้วยังมีคำศัพท์คนอยู่เหนือบารมีอีกอ้าวก็เลยกลายเป็นว่าแสดงว่าบารมีไม่ดีซิ... ไม่ใช่

บารมีแปลว่า การบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น บารมีแปลว่า การกระทำอันประเสริฐ บารมีแปลว่าการกระทำของผู้ประเสริฐ บารมีแปลว่า การตักตวงเอาคุณงามความดีใส่ในตน บารมีแปลว่า การกระทำที่ส่งให้ผู้กระทำลุถึงพระนิพพาน แต่เราเข้าใจความหมายว่า บารมี คือคนที่มีอำนาจวาสนาบารมีใช้อำนาจในทางดีก็ได้ไม่ดีก็ได้คนนี้มีบารมี อย่าเข้าใกล้นั่นคือเราเข้าใจความหมายคำศัพท์ไม่ตรงแล้ว  หรืออีกคำหนึ่ง มีสัตว์มาจุติ  จุติ แปลว่า ตาย แต่ภาษาไทย จุติแปลว่า เกิด  เพราะฉะนั้น คำศัพท์ที่ใช้ในภาษาไทยกับบาลีไม่เหมือนกัน เมื่อไม่เหมือนกัน จะเอาความรู้สึกไทยๆ ไปจับ เหมือนตัณหากับฉันทะ จะทำอะไรๆ ก็มีตัณหาเป็นตัวนำนั่นแหละ แต่จริงๆ แล้ว ฉันทะกับตัณหาต่างกัน ถ้าทำด้วยตัณหา หากไม่สมหวังจะเกิดโทสะ ไม่พอใจ แต่ถ้าทำด้วยฉันทะ ถ้ายังไม่สมหวังก็ทำใจได้  อ้อ เราเพียรพยายามมาแค่นี้เอง ความเพียรพยายามของเรายังไม่พอ เราต้องพยายามต่อ คิดอย่างนี้จะไม่เกิดโทสะ

เพราะฉะนั้น มาวัดญาณเวศกวันแล้ว โยมจะได้ฟังเทศน์ไหม องค์เทศน์จะมาหรือไม่มา ฉันไม่สนใจหรอกได้มาถึงวัดก็พอใจแล้วแต่ถ้าอยากฟังแบบมาวัดด้วยตัณหาล่ะอุตส่าห์ขับรถมาตั้งนาน องค์เทศน์ไม่มาสักทีเกิดอะไรขึ้น เกิดโทสะกลับบ้าน จะไปฟังเทศน์ แต่ขากลับเกิดโทสะ องค์เทศน์มาสาย หรือเทศน์ไม่ถูกใจ เกิดโทสะกลับไป แต่ถ้ามาด้วยฉันทะ โอ้มาถึงวัดแล้ว เราก็ได้ไหว้พระ ได้สวดมนต์ได้ทำบุญได้กุศลฉันทะของเราเต็มเปี่ยมแล้ว มีความสุขแล้ว ถ้ามาฟังเทศน์ด้วยฉันทะ จะได้ฟังหรือไม่ ได้ฟังก็ดีทั้งนั้น ได้ฟังก็ดีแต่ไม่ได้ฟังก็ไม่เป็นไรได้บุญได้กุศลแล้ว แต่ถ้ามาด้วยความอยากฟัง แบบมาด้วยตัณหา ถ้าผู้เทศน์ก็มาสาย แถมเทศน์ก็ไม่รู้เรื่องอีกเกิดโทสะกลับบ้านไป อันนั้นคือมาด้วยตัณหาแล้ว

ท่านสอนว่า อย่าเอาตัณหามาละกิเลสคนละเรื่องกัน จริงอยู่ หนามยอกเอาหนามบ่ง ไฟตัดไฟ แต่เอาตัณหามาตัดตัณหาไม่ได้เอาตัณหามาละตัณหาไม่ได้ มันคนละประเด็นกัน

ตามธรรมชาติทำได้แต่นี่มันไม่ใช่ธรรมชาติเป็นเรื่องของนามธรรม เพชรตัดเพชรก็แค่รูปธรรม หนามยอกเอาหนามบ่ง ก็แค่เป็นรูปธรรม แต่จะเอาตัณหามาละตัณหา ในส่วนของนามธรรมทำไม่ได้

เพราะฉะนั้น ต้องเปลี่ยนจากตัณหาเป็นฉันทะ เพราะตัณหานี้ มันเป็นตัวการใหญ่ของแกนนำใหม่ เวทนาปัจจยาตัณหา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยทำให้เกิดตัณหา ตัณหาก็ยินดีแบบโลภโสมนัสแต่ถ้าฉันทะยินดีแบบมหากุศลโสมนัส, โลภโสมนัส ยินดีพอใจแบบตัณหา ถ้าผิดหวังหน่อย ก็เกิดโทสะแล้ว แต่ถ้ามีมหากุศลโสมนัสแบบฉันทะถ้าผิดหวังก็เกิดแค่อุเบกขา  อ๋อ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย มันจะเป็นอุเบกขา จะไม่เกิดโทสะ แต่ถ้าโลภโสมนัสแล้วจิตใจเกิดโทสะได้เลยไม่เหมือนมหากุศลโสมนัส ในกุศลฉันทะพอไม่ถูกใจ หรืออะไรไม่เป็นไปตามประสงค์ มันก็จะเป็นอุเบกขา ไม่ไปต่อให้เกิดโทสะ

เพราะฉะนั้น จะดูผลพวงที่ตามมา ว่าอะไรเกิดต่อ คือความอยาก ความต้องการของเราเป็นตัณหา หรือเป็นฉันทะฉันทะกับตัณหาจะได้แยกออกจากกัน จริงอยู่ ฉันทะที่เป็นอกุศลก็มีเช่น ฉันทราคะ ถ้าเรานำฉันทะไปใส่กับราคะ  ฉันทะนั้น คือความกำหนัดยินดีเป็นฉันทราคะ กามฉันทะ ใช้กามะเข้าไป ใช้ฉันทราคะเข้าไป ใช้ไปเชื่อมกับฉันทะ แต่ถ้าปล่อยให้เขาอยู่โดดๆ ฉันทะจะใช้ในความหมายทางที่ดีแต่ถ้าอยากใช้ในทางไม่ดี เอาคำอื่นไปต่อเช่น ฉันทราคะ กามฉันทะ หรือ ฉันทานุมัติก็คือตามความพอใจของทุกคน อันนี้คือฉันทะ ขอฉันทะในที่ประชุม ขอมติในที่ประชุม ขอความพอใจในที่ประชุม ก็คือขอฉันทะเหมือนกัน เพราะคือฉันทะตัวนี้ถ้าเราเข้าใจ ฉันทะนี้เป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล

ในส่วนตัณหาล่ะ เขามาในฝ่ายอกุศลอย่างเดียว เพราะฉะนั้น เราจะไปยืมคำศัพท์ว่าเอาตัณหาละตัณหาก็ใช่ที่ เพราะถ้ายืมไปยืมมาเดี๋ยวยืมไม่คืนอีก เห็นไหมนั่น มีคนเขาใช้กันแล้วเอาตัณหามาละตัณหาได้ เราก็ใช้ต่อ ใช้ไปใช้มาเพี้ยน เขาเรียกว่า apply (ประยุกต์) ก็ apply ไปอีก แต่แอปมากๆ ก็เป็น แอปแบ๊วกันไปหมด

กามตัณหา อยากมีนั่นอยากมีนี่ มีความต้องการในกามคุณอารมณ์ ภวตัณหา อยากเป็นนั่นอยากเป็นนี่ วิภวตัณหา ไม่อยากเป็นนั่นไม่อยากเป็นนี่ คำว่าอยากเป็นนั่นอยากเป็นนี่ ไม่อยากเป็นนั่นไม่อยากเป็นนี่ เป็น apply  แปลตรงๆ ภวตัณหา แปลว่า ความต้องการในภพที่เป็นพรหมโลกเพราะโลกมนุษย์ถูกทำลาย

เทวโลกถูกทำลาย แต่พรหมโลกไม่ถูกทำลาย พรหมจึงคิดว่า โลกของฉันนี้เที่ยง (สัสสตะ) โลกมนุษย์ของคุณ เดี๋ยวก็ถูกทำลาย เดี๋ยวก็แตกสลายเทวโลกก็แตกสลายแต่พรหมโลกของฉันไม่แตกสลาย เพราะฉะนั้น โลกของฉันเที่ยงเป็นความยินดีพอใจในภพนั้น เรียกว่าสัสสตทิฏฐิ ส่วน อุจเฉททิฏฐิไม่ใช่แปลว่าไม่อยากเป็นนั่นไม่อยากเป็นนี่ แต่แปลว่าตายแล้วจะได้จบ ตายแล้วสูญ ไม่ได้กลับมาเกิดอีก เข้าใจแล้วว่าตายแล้วสูญ เป็นอุจเฉททิฏฐิจัดเป็นมิจฉาทิฏฐิ ประเภทตายแล้วสูญ

ฉะนั้น การ apply ต้องรู้ว่านี่คือ apply หรืออีกคำหนึ่ง อกาลิโก ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา เราก็นึกถึงอะไร ธรรมะของพระพุทธเจ้า ฟังเมื่อไหร่ก็ได้ ปฏิบัติเมื่อไหร่ก็ได้เป็นอกาลิโก นั้นคือความหมายที่ประยุกต์ไปแล้ว แต่ความหมายแท้จริงอกาลิโกองค์ธรรมได้แก่ มรรคจิต ๔ ดวง หลังจากมรรคไม่มีอย่างอื่นมาคั่นกลาง  ผลจิตเกิดต่อเนื่องทันทีนั่นคือ อกาลิโก ไม่มีกาลอื่นมาคั่นตรงกลาง หมายเอามรรคจิต ๔ ดวง ไม่ได้หมายเอาอย่างที่เราเข้าใจว่า ธรรมะของพระพุทธเจ้า ปฏิบัติเมื่อไหร่ก็ได้ ลงมือเมื่อไหร่ก็ได้เป็นอกาลิโก อันนั้นก็ต้องรู้ว่านี่คือการ apply

ตอนนี้มหายานแตกออกเป็น ๒๐๐ กว่านิกาย ตอนแรกแตกใหม่ๆ ก็ยังดีอยู่ ต่อมาพระไตรปิฎกก็แตกออกไป พระสูตรมีเพิ่มขึ้น วินัยลดลง อภิธรรมหายหมด มหายานจึงมีพระไตรปิฎก ๒๐๐ กว่าเล่ม อภิธรรมปิฎกไม่เหลือเลยแม้แต่เล่มเดียว วินัยเหลือครึ่งหนึ่ง  พระสูตรเพิ่มขึ้นมากลายเป็นปรัชญาเพราะการ apply ก็แอปไปแอปมา เป็นแอปแบ๊ว เพราะเข้าไม่ถึงสัจธรรม กลายเป็นทองเหลืองแล้ว ไม่ใช่ทองคำ

เถรวาทของเรายังเป็นทองคำอยู่ แต่มหายานก็เป็นทอง แต่เป็นทองเหลืองเพราะไม่มีธรรมะเพื่อพ้นทุกข์แล้ว เป็นธรรมะเพื่อมนุษย์สมบัติสวรรค์สมบัติสูงสุดแค่พรหมโลก อันนี้คือลักษณะธรรมะของมหายาน

ทำไมจึงรู้ เพราะอาตมาได้ไปสนทนากับพระนิกายมหายานโดยตรง (ตอนนี้ที่กำลังสัมมนาอยู่ที่พุทธคยาก็เป็นกลุ่มของมหายาน) ซึ่งมีท่านดาไลลามะเป็นองค์ประธานเมื่อ ๒-๓ปีก่อนโน้น อาตมาก็ได้ไปร่วมสัมมนาด้วย องค์ดาไลลามะและลูกศิษย์ของท่าน ที่สอนพระไตรปิฎกของมหายาน ก็ได้แลกเปลี่ยนสนทนา อาตมาถามเขาว่า พระไตรปิฎกของมหายานมีกี่เล่ม เขาตอบว่าของมหายานมีพระไตรปิฎก ๒๐๐ เล่ม แล้ว ๒๐๐ เล่มนี้พระอภิธรรมปิฎกมีไหม ไม่มีแล้วเหลืออะไร เหลือพระสูตรกับพระวินัย พระสูตรมีเยอะ พระวินัยมีเหลืออยู่

ครึ่งหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ตัดออกไปเหลืออีกครึ่งหนึ่ง แต่พระสูตรเพิ่มมา ส่วนพระอภิธรรมปิฎกหายหมด แต่มีอยู่ ๒๐๐ กว่าเล่ม

ส่วนพระไตรปิฎกของเถรวาท ถ้าของไทยมี ๔๕ เล่ม ตามจำนวนพรรษาที่พระพุทธองค์ทรงเผยแผ่พระศาสนา ของพม่า มี ๔๐ เล่ม ตามจำนวนวัด แต่เนื้อหาเหมือนกันนั่นแหละ ๔๕ กับ ๔๐ เนื้อหาเท่ากัน มีอยู่แค่นี้แล้วฝ่ายมหายานก็ถามอาตมาว่า พระไตรปิฎกเถรวาทมีเกินไหม มีขาดไหม มีเกินที่จะตัดทิ้งไหม มีขาดที่จะต้องเพิ่มเติมไหม อาตมาบอกไม่มีขาดไม่มีเกิน  สมบูรณ์ ของเถรวาทไม่มีเติมไม่มีเพิ่มพระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างไรก็อย่างนั้น

เมื่อได้สนทนากับฝ่ายมหายาน จึงทราบที่มาที่ไปของมหายานชอบประยุกต์ พอประยุกต์สุดท้ายก็ไปดึงพราหมณ์เข้ามา ไปดึงไสยศาสตร์เข้ามาดึงโน้นดึงนี้สุดท้ายของจริงก็เลยหายไป เรียกว่าเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา


ธรรมกถา : แนวศึกษา เรื่อง ตัณหา - ฉันทะ
พระอาจารย์.มหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร
วารสารโพธิยาลัย ฉบับที่ ๔๒ ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๑



Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 กันยายน 2565 14:07:43 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1003


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 105.0.0.0 Chrome 105.0.0.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 23 กันยายน 2565 16:17:37 »



ปุจฉา - วิสัชนา

คำถาม กราบนมัสการเรียนถามพระอาจารย์เพื่อความเข้าใจเพิ่มเติม เรื่องตัณหากับฉันทะ ตัณหานี้เป็นตัวมารร้ายแน่ๆ แต่คำว่า ฉันทะนี้โยมไม่แน่ใจว่าเป็นคำกลางหรือเปล่า ถ้าในความหมายทางกุศล จำเป็นต้องมีคำมาเพิ่มอธิบายให้ชัดขึ้นไหมเจ้าคะ

คำตอบ ฉันทะนั้น เป็นอัญญสมนาเจตสิก คือประกอบในกุศลก็ได้ประกอบในอกุศลก็ได้ จะโดดเป็นกลางๆ ก็ได้ถ้าจะดูว่าเป็นกุศลหรืออกุศลคือ อย่างที่ ๑ ถ้าฉันทะเฉยๆ เดี่ยวๆมาโดดๆ โดยมากจะเป็นกุศล เป็นกุศลฉันทะ  อย่างที่ ๒ ถ้าอยากเอาไปใช้ในทางไม่ดีเป็นอกุศล จะมีคำเพิ่มเติมให้อีกคำสองคำ เช่น กามฉันทะ ฉันทราคะ กามฉันทนิวรณ์ เป็นต้น

ดังนั้น ถ้ามี ๒ อย่างคู่กัน ดูอย่างไรดี ฉันทะในทางที่ดีในลักษณะต้องการเป็นกุศลชัดๆ ก็เช่น ธรรมฉันทะ กุศลฉันทะ หรือฉันทะในอิทธิบาท ๔ (ฉันทิทธิบาท) ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสาอันนี้เป็นกุศลอย่างเดียวแน่นอน แต่ถ้าต้องการให้เป็นอกุศล ให้ใส่คำหน้า เช่น ฉันทราคะกามฉันทนิวรณ์เป็นต้น (ฉันทะในนิวรณ์ ๕ นั้น เป็นอกุศลอย่างเดียว) แต่ถ้าเป็นตันหานั้น เป็นตัวหลักของฝ่ายอกุศลเลยและอยู่ในฝ่ายอกุศลอย่างเดียวขณะที่ฉันทะเป็นกุศลก็ได้และอกุศลก็ได้ขยับไปทางไหนก็ขยับได้เหมือนนักฟุตบอลไปอยู่แถวหน้า ยิงประตูได้อยู่ข้างหลังก็คอยปิดได้ตรงกลางก็คอยเล่นลูกได้ขยับไปทางไหนก็เล่นตรงนั้นได้ทันทีตัวฉันทะนี้ เขาก็พร้อมเล่นได้

ทุกบทบาท อยู่ที่ว่าให้เขายืนตรงไหน ไปยืนในฝ่ายไม่ดีเขาก็ทำหน้าที่ฝ่ายไม่ดีอันนั้นได้อยู่ฝ่ายดีเขาก็ทำหน้าที่ฝ่ายดีได้อยู่ตรงกลาง เขาก็เป็นกลางๆ ได้ขึ้นอยู่กับว่า จะให้เขายืนอยู่ตรงตำแหน่งไหน ต้องดูบริบทด้วย

คำถาม พระอาจารย์ครับ พระอาจารย์บอกว่า ตัณหาเป็นตัวที่เกิดจากการแสวงหา แต่การดำเนินชีวิตเรา เราก็แสวงหาโน่นนี่นั่นเข้ามาในชีวิตจะทำแค่ไหนจึงจะไม่หลุดมาเป็นตัณหา ล่ะครับพระอาจารย์

คำตอบ หลังจากปฏิสนธิจิต เรามาเกิด เกิดมาตั้งอยู่บนน้ำใสๆ พอปฏิสนธิจิตดับลงไป จิตที่เกิดดวงแรกของทุกคนคือ ภวนิกันติโลภชวนะ คือตัวตัณหาเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในชีวิตของทุกคน เริ่มมาจากโลภมูลจิต คือ ตัณหา ต่อจากนั้นคือ โทสมูลจิต โมหมูลจิต  ฉะนั้น ชีวิตของเรา เป็นปุถุชน ก็มีตัณหาอยู่ตลอดเวลานั่นแหละ แต่ถ้าเรายกขึ้นเมื่อไหร่จะเป็นฉันทะ พอมีสติจะเป็นฉันทะถ้าไม่มีสติก็มีตัณหาเต็มร้อย อยากจะหาเงินมาใช้ อยากจะหาโน่นหานี่มาใช้ก็เป็นตัณหาแต่ตัณหาแบบนี้ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น แต่เป็นตัณหาที่ต้องการหาวัตถุมาดูแลขันธ์๕ ของตนเอง

เพราะฉะนั้น ตัณหานี้มีอยู่แน่นอนในฐานะที่เราละมันไม่ได้เราลืมตาปุ๊บ เห็นปุ๊บ ตัณหามาแล้ว เห็น ถูกใจ เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา เห็นแล้วสุขเวทนาเกิด ตัณหาเกิดแล้ว เห็นแล้ว ไม่อยากดูต่อ ตัณหาก็เกิดแล้ว เพราะฉะนั้น ตัณหานี้พื้นเพเดิม มันมากับอวิชชา พออวิชชาส่งมาแล้ว ตัณหาก็จะทำงานต่อ จะหยุดตัณหาได้อย่างไร หยุดด้วยวิปัสสนา เห็นสักแต่ว่าเห็น ในขณะที่ตาเห็นรูป เห็นหนอ สิ่งที่เห็นเป็นรูป ผู้เห็นเป็นนาม ในขณะที่ได้ยินเสียง ได้ยินหนอ เสียงที่ได้ยินเป็นรูป ผู้ได้ยินเป็นนาม ในขณะที่รับกลิ่น รู้กลิ่น กลิ่นเป็นรูป ผู้รู้กลิ่นเป็นนาม ถ้าหยุดตรงนี้ได้ตัณหาไม่เกิด หยุดได้ด้วยวิปัสสนา แต่ถ้ายังไม่ถึงขั้นนี้ชีวิตประจำวันของเรา มันเต็มไปด้วยตัณหา ๑๐๘ ขอให้สังเกตและรู้ทัน เจริญพร

ที่มา : แสดงธรรมในโครงการ “ธรรมะตามอำเภอใจ”
ณ อุโบสถ วัดญาณเวศกวัน อ.สามพราน จ.นครปฐม
วันอาทิตย์ที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๑
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.62 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 05 เมษายน 2567 19:54:28