[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 17:27:23 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คำว่า “สาธุ” และวิธีใช้  (อ่าน 367 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 105.0.0.0 Chrome 105.0.0.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 23 กันยายน 2565 17:01:31 »



ความเป็นมาของ สาธุ

นมตฺถุ รตนตฺตยสฺส ขอความนอบน้อม จงมีแด่พระรัตนตรัย

ขอโอกาสพระเถรานุเถระเพื่อนสหธรรมมิกกล่าวธรรมวินัย เจริญธรรมน้องเณร และเจริญพร ญาติโยมสาธุชนทุกท่าน อาตมาภาพในนามตัวแทนของคณะสงฆ์วัดจากแดง ขออนุโมทนากับเจ้าภาพทุกท่าน ที่มาร่วมกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ด้วยการอุปถัมภ์ด้วยปัจจัย ๔ แก่พระภิกษุสามเณรที่่านกำลังทำหน้าที่ของท่าน คือ คันถธุระ หมายถึงการศึกษาเล่าเรียนพระพุทธพจน์ ทรงจำ แล้วกล่าวเทศน์บรรยายต่อไป เพื่อเป็นการสืบทอดอายุของพระพุทธศาสนา

โอกาสต่อจากนี้ไปพวกเราทั้งหลาย จะได้มีโอกาสทำบุญร่วมกัน โดยอาตมาในฐานะที่เป็นผู้พูดจะได้ทำบุญโดยการให้ธรรมะเป็นทาน เรียกว่า ธรรมเทศนามัย และญาติโยมทั้งหลายในฐานะที่เป็นผู้ฟังก็จะได้ทำบุญโดยการฟังธรรมที่เรียกว่า ธรรมสวนมัยต่อไป

วันนี้อาตมาจะนำเอาความหมายของคำว่า “สาธุ” และวิธีใช้มากล่าวให้ญาติโยมทั้งหลายได้ฟังกัน เพราะเราท่านทั้งหลาย เมื่อมาทำบุญถวายภัตตาหารในศาลาหอฉันแห่งนี้แล้ว พระสงฆ์ท่านก็จะกล่าวรายชื่อเจ้าภาพให้เราท่านทั้งหลายได้อนุโมทนากัน และในการอนุโมทนานั้น เราก็จะกล่าวกันว่า สาธุๆ กัน ฉะนั้นในวันนี้อาตมาจึงอยากจะอธิบายขยายความเนื้อหาของคำว่า สาธุ ให้ญาติโยมได้เข้าใจยิ่งขึ้นอีก เพื่อที่จะทำให้เมื่อเรากล่าว สาธุ แล้ว จะได้ตื้นตันใจ มีปีติสุขใจเพิ่มมากขึ้น

คำว่าสาธุนั้น เป็นภาษาบาลี มาจากสาธธาตุในอรรถสสิทฺธิย ํ  ํแปลว่ าดีงามสวยน่าชอบใจ หรือลงในอรรถว่า สาธเน ในความสำเร็จก็ได้ ลงอุปัจจัยสำเร็จรูปคำเป็นสาธุ มีรูปวิเคราะห์หรือคำจำกัดความว่าสกตฺถปรตฺถํ สาเธตีติ สาธุแปลว่า ผู้ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้สำเร็จชื่อว่า สาธุ

คำว่าสาธุนั้น ในคัมภีร์อรรถกถา ท่านกล่าวไว้ถึง ๑๑ ความหมาย อย่างไรก็ตาม ในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา ท่านได้รวบรวมสงเคราะห์เข้าด้วยกัน เหลือ ๖ ความหมาย ดังในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๗๙๐ ว่า สุนฺทเร ทฬฺหิกมฺเม จา ยาจเน สมฺปฏิจฺฉเน สชฺชเน สมฺปหํสายํ สาธุวาภิเธยฺย ลิงฺคิกํ

สาธุ ศัพท์มีอรรถ ๖ อย่าง คือ ดีงาม (สุนฺทร) ย้ำให้หนักแน่น (ทฬฺหีกมฺม) อ้อนวอน (อายาจน) ตอบรับ (สมฺปฏิจฺฉน) สัตบุรุษ (สชฺชน) เบิกบานใจ (สมฺปหํสา)

ความหมายที่ ๑ ใช้ในอรรถว่า สุนฺทร (ดีงาม) พระองค์ได้ตรัสไว้ใน ขุททกนิกายธรรมบทว่า
       สาธุ ธมฺมรุจิ ราชา สาธุ ปญฺญาณวา นโร
       สาธุ มิตฺตานมทฺทุพฺโภ ปาปสฺสากรณํ สุขํ


พระราชาผู้ยินดีในธรรม เป็นผู้ดีงาม นรชนผู้มีปัญญา เป็นผู้ดีงาม การไม่ประทุษร้ายมิตร เป็นสิ่งดีงาม การไม่ทำบาป เป็นความสุข คำว ่าสิ่งดีงามนั้น พระองค์ใช้ศัพท์ว่า สาธุแทนทั้ง ๓ คำ

ความหมายที่ ๒ ใช้แสดงการย้ำให้หนักแน่น (ทฬฺหีกมฺม) เช่น เตน หิ โทณ สุโณหิ สาธุกํ มนสิกโรหิ, ภาสิสฺสามิ  ดูก่อนโทณะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงตั้งใจอย่างดี เราจักกล่าว คำว่า สาธุกํ ในที่นี้แสดงการย้ำว่า ควรตั้งใจให้แน่วแน่จริงๆ

ความหมายที่ ๓ ใช้ในการแสดงการอ้อนวอน (อายาจน) เช่น สาธุ เม ภนฺเต ภควา สํขิตฺเตน ธมฺมํ เทเสตุ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาค โปรดแสดงธรรมแก่ ข้าพระองค์โดยสังเขปเถิด ในที่นี้สาธุ แสดงการอ้อนวอน จึงแปลว่า “ขอประทานวโรกาส”

ความหมายที่ ๔ ใช้เป็นคำตอบรับ (สมฺปฏิจฺฉน) เช่น สาธุ ภนฺเตติ โข โส ภิกฺขุ ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทิตฺวา อนุโมทิตฺวา ภิกษุนั้น กล่าวชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า “ชอบแล้วพระเจ้าข้า” พระภิกษุรับคำของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคำว่า สาธุ ในที่นี้จึงแปลว่า ชอบแล้ว

ความหมายที่ ๕ ใช้ในอรรถ สัตบุรุษ (สชฺชน) เช่น อตฺตโน ปเรสญฺจ หิตํ สาเธตีติ สาธุ, สมฺมาปฏิปนฺโน บุคคลใดยังประโยชน์ตน และประโยชน์ผู้อื่นให้สำเร็จ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่าสัตบุรุษ คือ ผู้ปฏิบัติชอบ

ความหมายที่ ๖ ใช้ในอรรถเบิกบานใจ (สมฺปหํสน) เช่น สาธุ สาธุ สารีปุตฺต, สาธุ โข ตฺวํ สารีปุตฺต ภิกฺขูนํ สงฺคีติปริยายํ อภาสิ ดีแล้ว ดีแล้ว สารีบุตร เธอได้กล่าวสังคีติเทศนาแก่ภิกษุทั้งหลาย เป็นการดีแล้ว
 
สารีบุตร ในที่นี้สาธุ ศัพท์แสดงความเบิกบานพระทัยของพระพุทธเจ้า จึงแปลว ่า “ดีแล้ว ดีแล้ว”

การใช้สาธุ ศัพท์ทั้ง ๖ ความหมายนั้น ๕ อย่างแรกมักจะกล่าวเพียงครั้งเดียว ส่วนอย่างที่ ๖ มักกล่าว ๒ ถึง ๓ ครั้งติดต่อกัน ดังที่ได้ยกตัวอย่างสมัยพุทธกาลมา


ตัวอย่างในสมัยพุทธกาล  ต่อไปจะนำเอาเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้ภิกษุทั้งหลายกล่าวคำสาธุ มาให้ญาติโยมฟังเพิ่มเติมอีก

สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา แล้วกล่าวสอนว่า ถ้าหากมีใครที่พูดว ่าตนได้บรรลุพระอรหันต์แล้ว ก็อย่าเพิ่งเชื่อหรืออย่าพึ่งคัดค้าน ให้สอบถามสภาวะอย่างนี้ๆ ถ้าหากพระรูปนั้นตอบถูกตามสภาวะ ให้เธอทั้งหลายกล่าวคำว่า สาธุนี่คือตัวอย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุให้กล่าวสาธุกัน และอีกครั้งหนึ่งที่พระองค์ทรงกล่าวสาธุการเอง เมื่อครั้งมีพระรูปหนึ่งท่านกลับมาจากป่า หลังจากได้บำเพ็ญเพียรจนบรรลุอรหันต์ แต่พระภิกษุผู้ที่เป็นเพื่อนไม่เชื่อเพราะคิดว่าไม่ได้เรียนอะไร บวชแล้วก็เข้าป่าเลยจะสำเร็จอรหันต์ได้อย่างไรจึงคิดจะถามปัญหาพระรูปนั้น แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเกรงว ่า ถ้าหากพระรูปนี้เบียดเบียนพระอรหันต์ ด้วยการถามปัญหาจะทำให้เป็นบาปหนัก พระองค์จึงเสด็จมาถามปัญหาเอง พระองค์ทรงถามปัญหาตั้งแต่ในวิสัยพระโสดาบัน ไล่ไปจนถึงพระอรหันต์ พระรูปนั้นก็ตอบได้ทุกข้อ และทุกๆ ข้อที่พระอรหันต์รูปนั้นตอบ พระองค์จะกล่าวคำว่าสาธุทุกครั้ง  นี่แสดงให้เห็นว่า แม้แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขณะที่พระองค์ทรงพระชนม์ชีพอยู่นั้นก็ได้ตรัสคำว่า สาธุ อยู่บ่อยๆ อย่างตอนทำสังคายนาครั้งที่ ๑ พระมหากัสสปะเห็นพระอานนท์ซึ่งบรรลุพระอรหันต์แล้วเดินมา ท่านคิดว ่า พระอานนท์ผู้บรรลุอรหันต์แล้ว งดงามจริงหนอ ถ้าพระศาสดายังดำรงพระชนม์อยู่จะต้องกล่าว สาธุการ แก่พระอานนท์แน่แท้  เอาเถิด ในเวลานี้เราจะกล่าวสาธุการให้พระอานนท์แทนพระศาสดาเอง แล้วท่านก็กล่าวสาธุการ ๓ ครั้ง นี่เป็นเพราะพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้กล่าว และทำให้ดูบ่อยๆ พระอัครสาวกทั้งหลายก็ได้ทำตาม

อานิสงส์ของการกล่าวสาธุ
เมื่อเรารู้ความเป็นมาของการสาธุแล้ว ทีนี้เรามาฟังอานิสงส์ของการกล่าวสาธุกัน เมื่อพระพุทธเจ้าประทับที่เมืองสาวัตถีแคว้นโกศล มีชายคนหนึ่งได้ฟังเทศน์ของพระพุทธเจ้าแล้วเห็นโทษในการอยู่ครองเรือน จึงขออนุญาตภรรยาออกบวช  ภรรยาถึงแม้ยังรักอยู่ ก็ไม่สามารถที่จะห้ามความต้องการของสามีได้ จึงให้สามีออกบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ท่านก็ตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรม ต่อมาพระเจ้าปเสนทิโกศลมาเห็นภรรยาของภิกษุนั้นจึงเกิดความสงสาร และได้รับสั่งให้นำหญิงนั้นเข้ามาเลี้ยงในพระราชวัง ให้เป็นนางสนมกำนัล

วันหนึ่งมีราชบุรุษนำดอกบัวนิลุบลมาถวายกำมือหนึ่ง จึงได้รับไว้แล้วให้นางกำนัลคนละดอก หญิงที่สามีไปบวชนั้น เมื่อได้ดอกบัวก็ยิ้มด้วยความดีใจ แต่พอดมแล้ว นางก็กลั้นน้ำตาไว้ไม่ได้ต้องร้องไห้ออกมา ฝ่ายพระราชาเห็นจึงถามว่า ทำไมจึงยิ้มแล้วร้องไห้ นางตอบว่าทีแรกดีใจที่ได้ดอกไม้แต่พอดมแล้ว มีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นปากของสามีที่หนีไปบวช จึงร้องไห้เพราะคิดถึง

พระเจ้าปเสนทิโกศลอยากจะพิสูจน์ความจริง จึงให้ประดับดอกไม้ของหอมไว้ทั่วพระราชวัง เว้นไว้แต่ดอกบัวนิลุบล แล้วนิมนต์พระพุทธเจ้า พร้อมทั้งหมู่สงฆ์มาฉันภัตตาหารในพระราชวัง ช่วงที่พระกำลังฉันภัตตาหารอยู่ พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ถามหญิงที่สามีไปบวชว่าภิกษุรูปไหนคืออดีตสามีของเธอ เธอจึงชี้มือไปที่ภิกษุรูปหนึ่ง หลังเสร็จสิ้นภัตตกิจแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงได้กราบทูลขอพระพุทธเจ้าให้พระรูปนั้นทำการอนุโมทนากถา เมื่อพระรูปนั้นทำการกล่าวอนุโมทนากถา กลิ่นหอมคล้ายกลิ่นดอกบัวนิลุบลจากปากของพระภิกษุนั้นได้ฟุ้งกลบกลิ่นของหอมและดอกไม้ไปทั่วพระราชวัง ทำให้คนทั้งหลายในวังและพระเจ้าปเสนทิโกศลโสมนัสยิ่งนัก หลังสิ้นการกล่าวอนุโมทนา ท่านก็กลับวัดไป

พอวันรุ่งเช้า พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปสู่วิหารแล้วกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เหตุใดปากของพระเถระจึงหอมนักหนา ท่านได้สร้างกุศลใดมา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่าเพราะชาติปางก่อน ภิกษุรูปนี้เคยฟังพระสัทธรรม อันไพเราะจับใจ จึงตื้นตันด้วยปีติยินดีกล่าววาจาว่า สาธุ เท่านั้น

นี้เป็น อานิสงส์ของการกล่าวคำสาธุ การกล่าวคำว่าสาธุนั้น จะเห็นได้ว่า ไม่ใช่กล่าวขึ้นมาลอยๆ เฉยๆ อย่างตัวอย่างที่ได้นำมาเล่าให้ญาติโยมทั้งหลายฟังนี้อดีตของภิกษุรูปนั้นท่านได้ฟังธรรมจนเกิดความปีติตื้นตันใจ แล้วกล่าวสาธุ ทำให้ได้อานิสงส์มาก

หรือการกล่าวอนุโมทนาก็ดีการกล่าวอนุโมทนานี้ก็จัดเป็นปัตตานุโมทนามัยคือบุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนา ฉะนั้น เราต้องยินดีกับบุคคลคนนั้นจริงๆ แล้วกล่าวอนุโมทนากับเขา ก็จะทำให้การกล่าวสาธุนั้น มีอานิสงส์เพิ่มมากขึ้น เพราะการกล่าวนั้น ไม่ได้ออกมาแค่ปาก แต่การกล่าวสาธุนั้น ต้องออกมาจากใจ

การที่อาตมาได้ชี้แจงแสดงธรรมมาแล้วนั้นก็สมควรแก่เวลาแล้ว ท้ายสุดแห่งการกล่าวสัมโมทนียกถานี้ขออานุภาพแห่งคุณของพระศรีรัตนตรัย กล่าวคือ คุณของพระพุทธ คุณของพระธรรม คุณของพระสงฆ์จงปกปักรักษาคุ้มครองให้ญาติโยมคณะศรัทธาสาธุชนทุกท่านจงปราศจากอุปัทวันตราย ประสบแต่จตุรพิธพรชัยทั้ง ๔ ประการคืออายุ วัณณ ะสุขะ พละ ปรารถนาสิ่งหนึ่งประการใด อันเป็นไปในทางที่ชอบ ประกอบด้วยธรรม นำตนให้พ้นทุกข์ประสบสันติสุขแล้วไซร้ขอความปรารถนานั้นๆ จงพลันสำเร็จ จงพลันสำเร็จ จงพลันสำเร็จด้วยกันทุกท่าน เทอญ...เจริญพร


ที่มา : วารสารโพธิยาลัย ฉบับที่ ๔๒ ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๑

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.367 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 26 กุมภาพันธ์ 2567 05:29:51