[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
27 เมษายน 2567 01:54:27 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สัพพัตถก เมตตา - ปาริหาริยกรรมฐาน  (อ่าน 995 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1017


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 105.0.0.0 Chrome 105.0.0.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 26 กันยายน 2565 17:23:07 »



สัพพัตถก เมตตา - ปาริหาริยกรรมฐาน
พระราชวัชรบัณฑิต (ประนอม ธมฺมาลงฺกาโร)
วารสารโพธิยาลัย ฉบับที่ ๖๖ ติปิฏกสิกขาลัย วัดจากแดง

จตฺตาฬสาย ปน กมฺมฏฐาเนสุ ยํ ยสฺส จริยานุกุลํ ตํ ตสฺส นิจฺจํ ปริหริตพฺพตฺตา อุปริมสฺส จ ภาวนากมฺมสฺส ปทฏฺฐานตฺตา ปาริหาริยกมฺมฏฺฐานนฺติ วุจฺจติ. (วิ. ม. ข้อ ๔๒)

ส่วนในกรรมฐาน ๔๐ ประการ กรรมฐานใดที่อนุกูลแก่จริยาของพระโยคีใด กรรมฐานนั้นเรียกว่า ปาริหาริยกรรมฐาน เพราะเป็นกรรมฐานอันพระโยคีนั้นพึงบริหาร คือพึงประกอบเนืองๆ เป็นนิตย์ ตลอดสรรพกาล ไม่มีระหว่าง ไม่ใช่ประกอบเนืองๆ ในกาลหนึ่งเท่านั้น เหมือนอย่างสัพพัตถกกรรมฐาน (สพฺพตฺถกกมฺมฏฺฐานํ วิย เอกทาว อนนุยุญฺชิตฺวา. - มหาฎีกา) และเพราะเป็นกรรมฐานที่เป็นเหตุใกล้ แก่ภาวนากรรมที่เป็นส่วนเบื้องบนด้วย


เมตตาพรหมวิหาร
วิธีเจริญเมตตาพรหมวิหารปาริหาริยกรรมฐานอันท่านผู้ปรารถนาเพื่อการพ้นไปจากความโกรธและสังสารวัฏฏ์ ด้วยเมตตาสมาธิเป็นเหตุ พึงสดับดังต่อไปนี้คือ

ความหมายของคําว่า เมตตาพรหมวิหาร
ความเป็นพรหมวิหาร เพราะอรรถว่า เป็นวิหารอันประเสริฐ (เสฏฺฐ) เพราะอรรถว่า เป็นวิหารของบุคคลผู้เสมอกับบุคคลผู้ปราศจากโทษ (นิทฺโทส)

คําว่า พรหมวิหาร มีวจนัตถะว่า พฺรหฺมาโน วิหาราติพฺรหฺมวิหารา (วิเสสปุพพปทกัมมธารยสมาส) ชื่อว่า พรหมวิหาร เพราะอรรถว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่อันประเสริฐ อธิบายว่าธรรมเป็นเครื่องอยู่อันประเสริฐ เพราะความเป็นสัมมาปฏิบัติในสัตว์ทั้งหลาย เป็นความจริงว่าพรหมวิหารทั้ง ๔ มีเมตตา เป็นต้นเหล่านี้ เป็นสัมมาปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์อื่น โดยนัยป็นต้นว่า “สพฺเพ สตฺตา สุขิตา โหนฺตุ” - สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้ถึงสุขเถิด” ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ธรรมทั้ง ๔ มีเมตตาเป็นต้นเหล่านี้ จึงชื่อว่า พรหมวิหาร ส่วนกรรมฐานอื่นนอกนี้ มีกสิณ เป็นต้น เป็นเพียงสัมมาปฏิบัติ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนเอง เพราะเหตุนั้น จึงไม่ชื่อว่า พรหมวิหาร  อีกนัยหนึ่ง พรหมวิหาร มีวจนัตถะว่า พฺรหฺมา วิยาติ พฺรหฺมา (ณ ปัจจัยในอุปมาตัทธิต) พฺรหฺมานํ วิหารา พฺรหฺมวิหารา (ฉัฏฐีตัปปุริสสมาส) ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของบุคคลผู้เสมอกับอุปปัตติพรหม หรือมหาโพธิสัตว์พรหม อธิบายว่าเหมือนอย่างอุปปัตติพรหมทั้งหลายเป็นผู้มีจิตปราศจากโทษ คือนิวรณ์ ด้วยฌานภาวนาในโลกนี้ อุบัติในพรหมโลก เป็นผู้มีจิตปราศจากนิวรณ์ทีเดียว อยู่ตลอดอายุในพรหมโลกนั้น ฉันใด พระโยคีทั้งหลายผู้ประกอบพร้อมด้วยวิหารธรรมทั้งหลายเหล่านี้ก็เป็นผู้เสมอกับอุปปัตติพรหมทีเดียว เพราะเป็นผู้มีจิตที่ปราศจากโทษ คือนิวรณ์ เสมอกับอุปปัตติพรหมนั้นอยู่ ฉันนั้น หรือมหาสัตว์ทั้งหลาย คือพระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีคุณงอกงามด้วยอํานาจการให้บริรณ์แห่งธรรมทั้งหลาย ที่สร้างความเป็นพระพุทธเจ้า มีทานบารมี เป็นต้น อันเป็นเหตุแห่งพุทธคุณทั้งสิ้น

จริงทีเดียว พระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นชื่อว่า เป็นผู้มีจิตปราศจากโทษ อยู่โดยการแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงด้วยเมตตา โดยการนําออกไปซึ่งสิ่งที่ไม่มีประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงด้วยกรุณา โดยการบันเทิงต่อสมบัติของสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงด้วยมุทิตา และโดยการเว้นการถึงอคติ และตั้งมั่นในความเป็นกลางในสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงด้วยอุเบกขา
คําว่า วิหารา มีวจนัตถะว่า วิหรนฺติ เอเตหีติ วิหารา (วิ ปุพพบท + หร หรเณ – ในการนําไป + ณ ปัจจัย ในกรณสาธนะ) บุคคลทั้งหลายย่อมอยู่ด้วยธรรมทั้งหลายเหล่านี้ เพราะเหตุนั้น ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ชื่อว่า วิหาร (ธรรมทั้งหลายที่เป็นเครื่องอยู่ของบุคคลทั้งหลาย)

คําว่า เมตตา มีวจนัตถะว่า เมชฺชตีติ เมตฺตา สินิยฺหตีติ อตฺโถ (มิท ธาตุ ในอรรถสิเนหะ + ต ปัจจัยในกัตตุสาธนะ + อา อิตถีลิงค์ปัจจัย) ชื่อว่า เมตตา เพราะอรรถว่า ย่อมกลมกลืน ความว่าย่อมติดแน่น อธิบายว่าธรรมที่เป็นความกลมกลืนกัน ความว่าเป็นสภาวะที่สิเนหะ ได้แก่ ความสืบต่อแห่งขันธ์ ที่มีอัชฌาสัยในประโยชน์เกื้อกูล ด้วยอํานาจแห่งความเป็นไปโดยอาการที่ประพฤติแต่ประโยชน์เกื้อกูล มีญาณเป็นหัวหน้าเป็นปฏิปักษ์ต่อภาวะที่เศร้าหมอง
ด้วยอํานาจแห่งพยาบาทในสัตว์ทั้งหลาย ไม่ใช่สิเนหะ ด้วยอํานาจแห่งความเป็นไปของตัณหา เป็นความจริงว่าสิเนหะด้วยอํานาจแห่งความเป็นไปของตัณหานั้น มีโมหะเป็นหัวหน้า มีโลภะเป็นสภาวะ แต่สิเนหะนี้มีอโทสะเป็นสภาวะ ประกอบกับอโลภะ

ขอแย้งว่าแม้สิเนหะคือตัณหา แต่เป็นปฏิปักษ์ต่อพยาบาท เพราะไม่มีความตั้งลงพร้อมกันกับพยาบาทนั้นมิใช่หรือ ตอบว่าตัณหาสิเนหะ ย่อมไม่เป็นไปในจิตขณะเดียวกันพร้อมกับพยาบาทนั้น แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นย่อมไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อพยาบาท เพราะไม่ใช่เป็นผู้ละซึ่งพยาบาท เพราะเหตุนั้น คําว่าเมตตาพรหมวิหาร จึงมีความหมายว่า พรหมวิหาร คือธรรมที่เป็นความกลมกลืนกัน เป็นสภาวะที่สิเนหะ โดยอาการที่ประพฤติแต่ประโยชน์เกื้อกูล อีกนัยหนึ่ง เมตตา มีวจนัตถะว่า เมชฺชตีติ มิตฺโต หิตชฺฌาสโย ขนฺธปฺปพนฺโธ ตปฺปริยาปนฺนตา ยมิตฺเต ภวา มิตฺเต วา อารมฺมณภูเต ปิเย ปุคฺคเล ภวา เมตฺตา (มิตฺต ศัพท์ + ณ ปัจจัย ในอรรถภวตัทธิต + อา อิตีถิลิงค์ปัจจัย)

ชื่อว่า มิตร เพราะอรรถว่า ผู้เสน่หา ได้แก่ ความสืบต่่อแห่งขันธ์ที่มีอัชฌาสัยในประโยชน์เกื้อกูล สภาวะที่มีหรือที่เป็นอยู่ในมิตร ชื่อว่า เมตตา อธิบายว่า สภาวะที่มี หรือที่เป็นอยู่ในมิตร เพราะความที่นับเนื่องในความสืบต่อแห่งขันธ์ ที่มีอัชฌาสัยในประโยชน์เกื้อกูลนั้น หรือสภาวะที่มีหรือที่เป็นอยู่ในมิตร คือในปิยบุคคลอันเป็นอารมณ์ อีกนัยหนึ่ง เมตตา มีวจนัตถะว่า มิตฺตสฺส เอสา ปวตฺตีติ เมตฺตา (มิตฺต ศัพท์ + ณ ปัจจัย ในเอสาตัทธิต + อา อิตีถิลิงค์ปัจจัย) สภาวะนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อมิตร เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า เมตตา อธิบายว่าได้แก่ สภาวะนี้ที่เป็นไปเพื่อมิตร ด้วยอํานาจแห่งสภาวะที่กลมกลืนกัน

ความหมายคําว่า เมตตาเจโตวิมุตติ
ปจฺจนีกธมฺเมหิ มุตฺตตฺตา อารมฺมเณ จ อธิมุตฺตตฺตา วิมุตฺติ เจตโส วิมุตฺติ เจโตวิมุตฺติ เมตฺตาทเอว เจโตวิมุตฺติ เมตฺตาเจโตวิมุตฺติ (อ. ปฏิสมฺภิทาปฐมภาค หน้า ๙๗)

ความหลุดพ้นจากปัจจนีกธรรมทั้งหลาย และความน้อมไปในอารมณ์ ชื่อว่า วิมุตติ ความหลุดพ้นแห่งจิต ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เมตตานั่นเอง เป็นเจโตวิมุตติ ชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุตติ ว่าโดยสภาวะ เมตตา ได้แก่ อโทสะ คือสภาพที่เป็นปฏิปักษ์ต่อโทสะ เป็นไปด้วยอํานาจแห่งการน้อมเข้าไปซึ่งประโยน์เกื้อกูลต่อสัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่น โดยภาวะที่มีสัตว์ที่น่ารักน่าเจริญใจเป็นอารมณ์ (ปิยมนาปสัตวบัญญัติ)

ธรรม ๑๒ ประการที่ควรรู้ในเมตตา
   ๑.เมตตา มีความเป็นไปโดยอาการที่เที่ยวไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นลักษณะที่พิเศษ
   ๒.เมตตา ความน้อมเข้าไปซึ่งประโยชน์เกื้อกูลในสัตว์ทั้งหลาย เป็นหน้าที่
   ๓. เมตตา ภาวะที่เยือกเย็น เป็นอาการที่ปรากฏในปัญญาของบัณฑิตทั้งหลาย หรือมีการกําจัดซึ่งความอาฆาต ๙ อย่าง  อาการที่ปรากฏ คือที่ถึงซึ่งความเป็นอารมณ์ของญาณ โดยอาการที่กําจัดซึ่งความอาฆาต อันเป็นไปโดยนัยว่า “เขาได้ประพฤติแล้ว ซึ่งความเสียหายแก่เรา” เป็นต้น
   ๔. เมตตา มีโยนิโสมนสิการ ได้แก่ ปัญญา (เหมือนอย่างอุเบกขามีโยนิโสมนสิการ คือกัมมัสสกตาญาณ เป็นเหตุใกล้) ที่เป็นไปโดยอาการที่ที่เล็งเห็นถึงภาวะที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้น่าเจริญใจ  อธิบายว่า การเห็นภาวะที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้น่าเจริญใจ แม้เป็นผู้ที่ไม่่น่าเจริญใจ เพราะภาวะแห่งผู้มีสัญญาว่าไม่เป็นปฏิกูล ในสิ่งที่เป็นปฏิกูล เป็นสภาพ จะป่วยการกล่าวไปไย ถึงสัตว์ทั้งหลายผู้น่าเจริญใจ เพราะประกอบด้วยคุณ มีทาน ปิยวาจาเป็นต้น และคุณ มีศีล สุตะ เป็นต้น เป็นปทัฏฐาน
   ๕. เมตตา ความเข้าไปสงบต่อพยาบาท ด้วยอํานาจการข่มไว้เป็นสมบัติ คือเป็นความบังเกิดขึ้นโดยชอบนั่นเอง
   ๖. เมตตา ความบังเกิดขึ้นแห่งสิเนหะคือตัณหา เป็นวิบัติ คือเป็นเหตุแห่งความพินาศไปของเมตตา
   ๗. เมตตา วิปัสนาสุข ภพสมบัติ ทิฏฐธัมมสุขวิหาร (ธรรมเป็นเครื่องอยู่อันเป็นสุขในชาตินี้)  อานิสงส์ ๑๑ อย่าง มีหลับก็เป็นสุข เป็นต้น และการกําจัดความพยาบาทได้ เป็นประโยชน์
   ๘. เมตตา ราคะ เป็นข้าศึกใกล้ โดยทําเมตตาให้เสียหาย เพราะความที่เมตตากับราคะมีส่วนที่เหมือนกัน ด้วยการเล็งเห็นแต่คุณ มีทาน ปิยวาจา เป็นต้น และคุณ มีศีล สุตะ เป็นต้น ในสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นเหมือนกัน เหมือนอย่างว่าบุรุษมีบุคคลผู้เที่ยวอยู่ใกล้ตนเป็นศัตรู คือมีศัตรูผู้มีหน้าเหมือนมิตร ฉะนั้น ราคะนั้นย่อมได้ช่อง เพื่อจะพรากเมตตาไปโดยง่าย แม้เพราะเหตุเพียงความหลงลืมสติที่เกิดขึ้นในอารมณ์ของเมตตานั้น
   ๙. เมตตา มีพยาบาทเป็นข้าศึกไกล เพราะความที่พยาบาทมีส่วนตรงกันข้ามกับสภาวะของเมตตา อันมีปกติถือเอาแต่อาการที่น่าเจริญใจเท่านั้นในสัตว์ทั้งหลาย เหมือนอย่างบุรุษมีบุคคลผู้อาศัยอยู่ในที่ไกลมีภูเขา เป็นต้น เป็นศัตรู เพราะเหตุคือ เป็นข้าศึกที่ไกลนั้น เธอพึงเจริญเมตตาโดยไม่ต้องหวาดกลัวแต่พยาบาทนั้น เพราะเมตตาที่ได้ ตั้งมั่นแล้ว ถูกพยาบาทยํ่ายีโดยยาก
   ๑๐. เมตตา มีฉันทะ คือความปรารถนาเพื่อจะกระทํา เป็นเหตุเบื้องต้น เพราะมีวจนะว่า “กุศลธรรมทั้งหลาย มีฉันะเป็นมูลเหตุ” ดังนี้ มีการข่มได้ึ่ซึ่งนิวรณ์ และกิเลสทั้งหลายอันตั้งอยู่ในจิตตุปบาทเดียวกันกับนิวรณ์นั้น เป็นท่ามกลางในขณะแห่งอุปจารฌาน และมีอัปปนาฌาน เป็นที่สุด
   ๑๑. เมตตา มีสัตว์ผู้เดียว หรือมีสัตว์ทั้งหลายมากมายเป็นอารมณ์ ด้วยอํานาจแห่งบัญญัติธรรมโดยนัยว่า “สพฺเพ สตฺตา อเวรา อพฺยาปชฺชา อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ” ดังนี้
ความว่า ในบางที่แม้ศัพท์ว่า สัตว์ย่อมเป็นศัพท์ว่าสังขารนั่นเอง โดยเทศนาอันเป็นปุคคลาธิฏษฐาน เหมือนอย่างพระวจนะในทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่มที่ ๑๑ ข้อ ๓๐๓ หน้า ๑๙๑ ว่า “สพฺเพ สตฺตา อาหารฏฺฐิติกา - สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง มีความตั้งอยู่เพราะอาหาร” ดังนี้ ในพรหมวิหารนี้ไม่เป็นอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวว่า “มีสัตว์ผู้เดียว หรือมีสัตว์ทั้งหลายมากมายเป็นอารมณ์ ด้วยอํานาจแห่งบัญญัติธรรม” ดังนี้  บทว่า ด้วยอํานาจแห่งบัญญัติธรรม ได้แก่ ด้วยอํานาจแห่งธรรม กล่าวคือบัญญัติในพรหมวิหารทั้งหลายเหล่านี้ แม้การถือเอาซึ่งสุข เป็นต้น(อันเป็นปรมัตถ์) ย่อมได้ในภาวนา โดยนัยมีอาทิว่า “สุขิตา โหนฺตุ - ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้มีความสุขเถิด” ดังนี้ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น การถือเอาซึ่งสุข เป็นต้นนั้น มิได้เป็นประธาน เหมือนอย่างการถือเอาซึ่งอนิจจลักขณะ ด้วยวิปัสสนาที่เป็นไปว่า“สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา - สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง” พึงทราบว่า สัตวบัญญัติ ย่อมถูกถือเอาโดยภาวะที่เป็นประธานเท่านั้น
   ๑๒. พรหมวิหารทั้ง ๔ เหล่านี้ทั้งปวง เป็นธรรมที่กระทํากัลยาณธรรมทั้งปวง มีบารมี ๑๐ พระทศพลญาณ ๑๐ พระเวสารัชชญาณ ๔ อสาธารณญาณ ๖ และพุทธธรรม ๑๘ ประเภท ให้บริบูรณ์

ทสพลญาณ ๑๐
(อภิธัมมวิภังค์ เล่มที่ ๓๕ ญาณวิภังค์) กําลังญาณ มี ๑๐
   ๑. ฐานาฐานญาณ ย่อมรู้ซึ่งธรรมอันเป็นเหตุและไม่ใช่เหตุเท่านั้น
   ๒. กัมมวิปากญาณ ย่อมรู้ซึ่งความแตกต่างแห่งกรรมและความแตกต่างแห่งวิบากเท่านั้น
   ๓. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ ย่อมรู้ซึ่งการกําหนดแห่งกรรม อันเป็นทางไปสู่ภูมิทั้งปวงเท่านั้น
   ๔. อเนกธาตุนานาธาตุญาณ ย่อมรู้ซึ่งเหตุแห่งความเป็นต่างๆ กันของธาตุ คือรู้ขันธโลกอันเป็นอเนกธาตุ และนานาธาตุเท่านั้น
   ๕. นานาธิมุตติกญาณ ย่อมรู้ซึ่งอธิมุตติคือ อัชฌาสัยต่างๆ กัน ของสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น
   ๖. อินทริยปโรปริยัตตญาณ ย่อมรู้ซึ่งภาวะที่แก่กล้าและอ่อนของอินทรีย์ทั้งหลายเท่านั้น
   ๗. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ย่อมรู้ซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น มีสังกิเลส เป็นต้น ของฌานทั้งหลายเป็นต้นเท่านั้น
   ๘. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ย่อมรู้ซึ่งความสืบต่อแห่งขันธ์อันเคยอาศัยมาแล้วในกาลก่อนเท่านั้น
   ๙. จุตูปปาตญาณ ย่อมรู้ซึ่งจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น
   ๑๐. อาสวักขยญาณ ย่อมรู้ซึ่งการกําหนดสัจจะเท่านั้น เป็นเหตุทําอาสวะให้สิ้นไป

ญาณทั้ง ๗ ตามลําดับ คือตั้งแต่ ฐานาฐานญาณ เป็นต้น ตามลําดับ มีวิตกและมีวิจาร ต่อจากนั้นย่อมกล่าวว่า ญาณทั้ง ๒ ข้างหน้า คือ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ และจุตูปปาตญาณ ไม่มีวิตกและวิจารต่อจากนั้น ย่อมกล่าวว่า อาสวักขยญาณ พึงมีวิตกและวิจารก็มี ไม่มีวิตก มีแต่เพียงวิจารก็มี ไม่มีวิตกและไม่มีวิจารณ์ก็มี 

ญาณที่ ๑ - ๗ เป็นกามาวจร ญาณที่ ๘ และ ๙ เป็นรูปาวจร ญาณสุดท้ายเป็นโลกุตระ

จตุเวสารัชชญาณ ๔
(อัง. จตุกก. เล่มที่ ๒๑ เวสารัชชสูตร)  โสมนัสญาณที่เป็นปฏิปิกษ์ต่อความขลาดกลัว มี ๔  วิคโต สารโท เอตสฺสาติ วิสารโท ตสฺส ภาโว เวสารชฺชํ (ฏีกา หน้า ๒๘๓)

ความไม่แกล้วกล้าของญาณนี้ ปราศไปแล้ว เพราะเหตุนั้น ญาณนี้ ชื่อว่า วิสารท (ญาณที่มีความไม่แกล้วกล้าปราศไปแล้ว) ความเป็นแห่งวิสารทะนั้น ชื่อว่า เวสารัชชะ (วิสาร + ณฺย ปัจจัย ในภาวตัทธิต)

เวสารัชชะนั้น เป็นชื่อของโสมนัสสมยญาณที่เกิดขึ้นแก่พระตถาคต ผู้ปัจจเวกข์ถึงความไม่มีแห่งความขลาดกลัวในฐานะ ๔ เป็นญาณที่เป็นไป อาศัย ซึ่งญาณสัมปทา ปหานสัมปทา เทสนาวิเสสสัมปทาและเขมธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวสารัชชญาณทั้งหลายเหล่านี้ของตถาคต มี ๔ ประการ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้ประกอบด้วยเวสารัชชญาณทั้งหลายเหล่าใด ย่อมปฏิญาณ ซึ่งฐานะที่ประเสริฐสูงสุด (หรือฐานะที่องอาจ) ย่อมบันลือเสียงคํารามเหมือนเสียงคํารามของราชสีห์ ในบริษัททั้ง ๘ ย่อมยังพรหมจักร(คือธรรมจักรมีปฏิเวธมัคคญาณและเทสนาญาณ) ให้เป็นไป (ณ โพธิบัลลังก์ และอิสิปตนะ) ๔ ประการ เป็นไฉน ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นซึ่งนิมิตนี้ (คือบุคคล หรือธรรม) ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จักทักท้วงเรา โดยคําพร้อมด้วยเหตุ ในธรรมทั้งหลายที่แสดงแล้วเหล่านั้นว่า ท่านปฏิญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นสัมมาสัมพุทธะ ธรรมทั้งหลายทั้งปวง อันเราตรัสรู้แล้ว “ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ อันท่านยังไม่ตรัสรู้แล้ว”

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อไม่เห็นซึ่งนิมิตแม้นี้ย่อมอยู่ เป็นผู้ถึงความเกษม ๑ ถึงความไม่มีภัย ๑ ถึงความไม่ขลาดกลัว ๑ ทั้ง ๓ คํานี้ หมายถึงเวสารัชชญาณ (อาศัยญาณสัมปทา)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นซึ่งนิมิตนี้ (คือบุคคล หรือธรรม) ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จักทักท้วงเรา โดยคําพร้อมด้วยเหตุ ในธรรมทั้งหลายที่แสดงแล้วเหล่านั้นว่า ท่านปฏิญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระขีณาสพ “อาสวะทั้งหลายเหล่านี้ของท่าน ยังไม่สิ้นไปแล้ว”

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อไม่เห็นซึ่งนิมิตแม้นี้ ย่อมอยู่ เป็นผู้ถึงความเกษม ๑ ถึงความไม่มีภัย ๑ ถึงความไม่ขลาดกลัว ๑ (อาศัยปหานสัมปทา)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นซึ่งนิมิตนี้ (คือ บุคคล หรือธรรม) ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จักทักท้วงเรา โดยคําพร้อมด้วยเหตุ ในธรรมทั้งหลายที่แสดงแล้วเหล่านั้นว่า “ก็ ธรรมทั้งหลาย ที่กระทําซึ่งอันตรายเหล่านั้นอันใดแล อันท่านกล่าวแล้ว (ได้แก่ อาบัติ ๗ แต่ในสูตรนี้ ทรงประสงค์เอาเมถุนธรรมเป็นอันตรายแก่มรรคและผล) อันตรายิกธรรมทั้งหลายเห่านั้น ไม่อาจเป็นอันตราย แก่ผู้ซ่องเสพ” ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อไม่เห็นซึ่งนิมิตแม้นี้ ย่อมอยู่ เป็นผู้ถึงความเกษม ๑ ถึงความไม่มีภัย ๑ ถึงความไม่ขลาดกลัว ๑ (อาศัยเทสนาวิเสสสัมปทา)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นซึ่งนิมิตนี้ (คือบุคคล หรือธรรม) ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จักทักท้วงเรา โดยคําพร้อมด้วยเหตุ ในธรรมที่ไม่เป็นเครื่องนําสัตว์ออกไปนั้นว่า “ก็แล ธรรม (มีอสุภภาวนา เป็นต้น) อันท่านแสดงแล้วเพื่อประโยชน์แก่ธรรมใด ธรรมนั้น (มีราคักขยธรรมเป็นต้น) ย่อมไม่นําออกไป เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ แก่บุคคลผู้ทําตามนั้น” ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราเมื่อไม่เห็นซึ่งนิมิตแม้นี้ ย่อมอยู่ เป็นผู้ถึงความเกษม ๑ ถึงความไม่มีภัย ๑ ถึงความไม่ขลาดกลัว ๑ (อาศัยเขมธรรม)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวสารัชชญาณทั้งหลายเหล่านี้แลของตถาคต มี ๔ ประการ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้ประกอบด้วยเวสารัชชญาณทั้งหลายเหล่าใด ย่อมปฏิญาณซึ่งฐานะที่ประเสริฐสูงสุด ย่อมบันลือเสียงคํารามเหมือนเสียงคํารามของราชสีห์ ในบริษัททั้ง ๘ ย่อมยังพรหมจักรให้เป็นไป

(บริษัท ๘ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหปติบริษัท สมณบริษัท จาตุมมหาราชิกบริษัท ตาวติงสบริษัท มารบริษัท พรหมบริษัท อนึ่ง บริษัททั้งปวงเหล่านี้ ถูกถือเอาด้วยสามารถแห่งการแสดงฐานะที่มีอํานาจคือที่พึงครั่นคร้าม (ม. มูล. เล่มที่ ๑๒ มหาสีหนาทสูตร)


อสาธารณญาณ ๖
(จูฬนิทเทส โปสาลมาณวกปัญหานิทเทส เล่มที่ ๓๐) ญาณที่ไม่ทั่วไปแก่บุคคลเหล่าอื่น คือ เป็นญาณของพระพุทธเจ้าเท่านั้น มี ๖
   ๑. อินทริยปโรปริยัตติญาณ ญาณรู้ความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งปวง เป็นกําลังของตถาคต
   ๒. อาสยานุสยญาณ ญาณรู้ที่มาอาศัยอยู่และอนุสัยกิเลสของสัตว์ทั้งหลาย เป็นกําลังของตถาคต
   ๓. ยมกปาฏิหาริยญาณ ญาณเป็นเครื่องแสดงปาฏิหาริย์เป็นคู่ เป็นกําลังของตถาคต
   ๔. มหากรุณาสมาปัตติญาณ ญาณในมหากรุณาสมาบัติ เป็นกําลังของตถาคต
   ๕. สัพพัญัตญาณ ญาณรู้เญยยธรรมทั้งปวง เป็นกําลังของตถาคต
   ๖. อนาวรณญาณ ญาณที่ไม่มีเครื่องขวางกั้น เป็นกําลังของตถาคต


อัฏฐารสพุทธธรรม ๑๘
(ทีฆนิกายอัฏฺฐกถา สังคีติสูตร บาลีหน้า ๑๘๘ – ๙) ธรรมคือคุณของพระพุทธเจ้าเท่านั้น มี ๑๘ ประการ
ความไม่มีทุจริตของพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ด้วยอํานาจแห่งพุทธธรรม มี ๑๘ ประการ
   ๑. พระตถาคต ไม่ทรงมีกายทุจริต (เพราะความที่กายกรรมเป็นต้นเป็นไปตามพระญาณ)
   ๒. ไม่ทรงมีวจีทุจริต (เพราะความที่วจีกรรมเป็นต้น เป็นไปตามพระญาณ)
   ๓. ไม่ทรงมีมโนทุจริต (เพราะความที่มโนกรรม เป็นต้นเป็นไปตามพระญาณ)
   ๔. พุทธญาณไม่ทรงมีอะไรติดขัดในอดีต (ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ)
   ๕. พุทธญาณไม่ทรงมีอะไรติดขัดในอนาคต (ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ)
   ๖. พุทธญาณไม่ทรงมีอะไรติดขัดในปัจจุบัน (ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ)
   ๗. กายกรรมทั้งปวงของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เป็นไปตามพระญาณ
   ๘. วจีกรรมทั้งปวงของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เป็นไปตามพระญาณ
   ๙. มโนกรรมทั้งปวงของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เป็นไปตามพระญาณ
   ๑๐. ไม่ทรงมีความเสื่อมแห่งหิตฉันทะในสัตว์ทั้งหลาย
   ๑๑. ไม่ทรงมีความเสื่อมแห่งวิริยะ (ที่เป็นไปเนืองๆ ในความเกษม ในปวิเวก และในวิตก)
   ๑๒. ไม่ทรงมีความเสื่อมแห่งสติ
   ๑๓. ไม่ทรงมีกิริยาโดยประสงค์เพื่อเล่น
   ๑๔. ไม่ทรงมีการพูดที่พลาดพลั้ง
   ๑๕. ไม่ทรงมีการทําที่ผิดพลาด
   ๑๖. ไม่ทรงมีกิริยาที่ผลุนผลัน
   ๑๗. ไม่ทรงมีพระทัยที่ไม่ขวนขวายประโยชน์
   ๑๘. ไม่ทรงมีอกุศลจิต (คือ อัญญานุเปกขา) ข้อปฏิบัติเบื้องต้นในเมตตาภาวนา ๗ ประการ


บุคคลผู้ปรารถนาทําเมตตาฌานให้เกิดขึ้น
พึงทําข้อปฏิบัติเบื้องต้น ๗ ประการให้เป็นไปดังต่อไปนี้ ก่อน
   ๑. พึงเป็นผู้ตั้งตนอยู่ในศีล ได้แก่ ศีล ๕ และศีล ๘ เป็นต้น ตามสมควรแก่ตน เพราะศีลเป็นเครื่องรองรับกุศลธรรมที่ยิ่งๆ ขึ้นไปมีสมาธิกุศล เป็นต้น
   ๒. พึงเป็นผู้ตัดปลิโพธใหญ่ๆ ๑๐ ประการ ได้แก่ ที่อยู่ที่อาศัย และลาภสักการะ เป็นต้น เพราะเป็นสิ่งที่ขัดขวาง คือ ให้กัมมัฏฐานภาวนา เป็นไป
   ๓. พึงแสวงหาอาจารย์ผู้เป็นกัลฺยาณมิตร ที่ประกอบพร้อมด้วยองค์คุณ ๗ ประการ ได้แก่

ปิโย - เป็นผู้น่ารัก เพราะมีศีลสมบัติ มีความเพียร เป็นผู้ศรัทธาความตรัสรู้ของพระตถาคตและเชื่อกรรมกับผลของกรรม เหตุเพราะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา เป็นต้น ครุ - เป็นผู้หนักแน้น เพราะมีศีลสมบัติ มีวัตรปฏิบัติที่สมบูรณ์พร้อม มีความมักน้ิอย ความสันโดษ ยินดีในความสงัด และไม่คลุกคลี เหตุเพราะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ เป็นต้น  ภาวนีโย - เป็นผู้น่ายกย่อง เพราะมีศีลสมบัติ เป็นผู้เว้นจากอคติ ๔ มีฉันทาคติ เป็นต้น และความเป็นผู้มีอินทรีย์ทั้งหลายมีจักขุนทรีย์ เป็นต้น สงบดี วัตตา - เป็นผู้ว่ากล่าวตักเตือน เพราะความที่ตนติเตียนบาปเป็นปกติ วจนักขโม - เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคําของชนอื่น กถัง กัตตา - เป็นผู้สามารถอธิบายธรรมที่ลึกซึ้ง มีอริยสัจจ์ และปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น

เหตุเพราะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสุตะ อัฏฐาเน โน จ นิโยชเย - เป็นผู้ชักชวนให้กระทําในสิ่งที่ไม่ควรอันเป็นปฏิปักษ์ต่อสิ่งที่ควรด้วยกรุณา แต่มีปกติชักชวนให้กระทําในสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ตามสมควรต่ออัธยาศัยของศิษย์ทั้งหลายด้วยปัญญา อนึ่ง เพราะความที่กัลฺยาณมิตรนั้น เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสติ อันเป็นธรรมแสวงหาโดยชอบซึ่งคติแห่งกุศลและอกุศลทั้งหลายแก่เหล่าสัตว์ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรมรู้ตามความเป็นจริง ซึ่งประโยชน์และมิใช่ประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิมีอารมณ์เป็นหนึ่งในสิ่งที่รู้ด้วยปัญญานั้น เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิริยะในการปฏิเสธสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ และให้ประกอบในสิ่งที่เป็นประโยชน์  ก็ความสําคัญของกัลยาณมิตรนี้ สมดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินและแสงทอง ฉันใด สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งโพชฌงค์ ๗ แก่ภิกษุทั้งหลาย่คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี ฉันนั้นเหมือนกัน
   ๔. พึงเรียนปริยัติในเมตตาภาวนาจากอาจารย์ผู้มีศีลบริสุทธิ์นั้น เพราะการปฏิบัติที่ถูกต้อง มีปริยัติ กล่าวคือพุทธจน์เป็นเหตุอย่างยิ่ง เพราะเหตุว่า ปริยัติมีอยู่ตราบใด ปฏิบัติและปฏิเวธก็มีอยู่ตราบนั้นทีเดียว
   ๕. พึงเว้นจากสถานที่อันเป็นโทษต่อการปฏิบัติ ได้แก่ สถานที่ใหญ่โต และสถานที่อยู่ของบุคคลผู้ไม่ถูกกันกับตน  เป็นต้น เพราะเสนาสนะที่เป็น อสัปปายะ ย่อมเป็นปัจจัยแก่ความเสื่อม คือ อกุศลทั้งหลายทั้งปวงทีเดียว
   ๖. พึงอยู่อาศัยในสถานที่อันเป็นคุณต่อการปฏิบัติ ได้แก่ สถานที่ในเวลากลางวันไม่จอแจด้วยผู้คน กลางคืนก็เงียบสงัด และสถานที่บริบูรณ์ด้วยปัจจัย ๔ เป็นต้น เพราะเสนาสนะที่สัปปายะ ย่อมเป็นปัจจัยแก่ความรุ่งเรืองของกุศลทั้งหลายทั้งปวงทีเดียว
   ๗. พึงตัดปลิโพธเล็กๆ น้อยๆ คือสิ่งขัดขวางทั้งหลาย ได้แก่ การตัดผม ตัดเล็บให้เรียบร้อยและปัดกวาดเสนาสนะให้สะอาด เป็นต้น เพราะสุขกายและสุขใจ ย่อมเป็นเหตุใกล้ของสมาธิ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
เมตตา ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต(ธมฺมวิตกฺโก)
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
เงาฝัน 1 3203 กระทู้ล่าสุด 10 มีนาคม 2553 19:08:25
โดย หมีงงในพงหญ้า
ของขลังเรียกทรัพย์ เมตตา มหานิยม
เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
ใบบุญ 6 30091 กระทู้ล่าสุด 21 มกราคม 2557 18:52:54
โดย ใบบุญ
เมตตา และ กรุณา (ผศ.พญ.รพีพร โรจน์แสงเรือง)
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 3428 กระทู้ล่าสุด 06 กรกฎาคม 2559 14:51:53
โดย มดเอ๊ก
เมตตา… วิถีความสุขแห่งทิเบต
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1098 กระทู้ล่าสุด 06 กรกฎาคม 2559 14:59:07
โดย มดเอ๊ก
ไซอิ๋ว (ฉบับเดินทางสู่พุทธภาวะ) : เมตตา ของ อวิชชา
เอกสารธรรม
มดเอ๊ก 0 1948 กระทู้ล่าสุด 23 พฤศจิกายน 2559 06:11:22
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.589 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 22 มีนาคม 2567 09:18:38