[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 00:18:52 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกน้ำท่วมเมืองพะเยา - องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ  (อ่าน 508 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 105.0.0.0 Chrome 105.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 29 กันยายน 2565 15:50:30 »








องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ
บันทึกน้ำท่วมเมืองพะเยา

ตั้งแต่ล่วงเข้าเดือนสิงหาคมมาหลายๆ พื้นที่ได้รับผลกระทบจากภัยที่มากับธรรมชาติ ประสบกับปัญหาแผ่นดินไหว พายุ น้ำท่วม สูญเสียทรัพย์สิน สูญเสียไร่นาเกษตรกรรม หรือแม้นแต่สูญเสียสมาชิกในครอบครัว จังหวัดพะเยาเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ประสบภัยธรรมชาติเหล่านี้อย่างหลีกเลียงมิได้ โดยเฉพาะเหตุอุทกภัย ดังได้มีการบันทึกถึงเหตุการณ์น้ำท่วมในอดีตของพะเยาที่สะท้อนให้เห็นถึงความสูญเสียที่มากับภัยของธรรมชาติ

บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมเมืองพะเยา ของพระครูศรีวิราชวชิรปัญญา เจ้าคณะแขวงเมืองพะเยา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๘ ความโดยสรุปว่า วันที่ ๒๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๔๘ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ (เดือนเกี๋ยงเหนือ) เวลากลางคืน มหาเมฆตั้งขึ้นร้องคราง เสียงดังน่าอัศจรรย์มาก ฝนตกลงมาห่าใหญ่น่ากลัวมาก ตกอยู่ตลอดคืนไม่มีขาด จนทำให้เกิดน้ำท่วมเมืองพะเยา น้ำท่วมทะลุบ้านแม่นาเรือ เรือนโค่นลงสองหลัง นางติ๊บกับลูกสาวคนหนึ่งเสียชีวิต น้ำกว๊านเอ่อขึ้นท่วมถึงปลายนิ้วมือพระเจ้าตนหลวง และน้ำเอ่อขึ้นถึงชายคาพระวิหารหลวงซดหน้า (มุขหน้า) ตรงที่น้ำบ่อประตูเหล็กหยั่งลงไม่ถึง ข้าวในนาชาวบ้านตุ่น บ้านบัวน้ำท่วมคนหายไป ๗ คน ภูเขาพังลงมาปิดร่องน้ำแม่ตุ่น น้ำป่าทะลุเอาไม้ หินทรายมาทับถมบ้านคนเสียชีวิต ๑๖ คน บ้านเหล่า ๔ คน บ้านสางเหล่า ๑๒ คน

อีกหนึ่งบันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมเมืองพะเยา ที่ถูกบันทึกโดยพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๖ และอดีตเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ (พระอารามหลวง) ว่า “ระยะห่างกัน ๒๑ ปี เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ ครั้งนั้นข้าพเจ้าย้ายมาอยู่วัดศรีโคมคำแล้ว จึงมาประสบกับน้ำท่วมดังรายละเอียดต่อไปนี้

วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๑๖ ตรงกับวันพุธแรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๑ เหนือ ปีฉลู ก่อนหน้านี้ ๒ วัน เมฆฝนตั้งขึ้นปกคลุมทั้งป่าเขา ทุ่งนาและหมู่บ้าน มองไปทางไหนมืดครึ้มทั้งวันทั้งคืน จากนั้นฝนก็ตกลงมาไม่ขาดสายตลอดทั้งวันทั้งคืน ทำให้น้ำป่าไหลลงมาจากภูเขา ลงสู่หมู่บ้าน ทุ่งนาลงกว๊านพะเยาเอ่อท่วมขึ้นถนนหนทางจากห้าแยกประตูเหล็กถึงวัดศรีโคมคำ ต้องใช้เรือเป็นพาหนะ

ในบริเวณวัดศรีโคมคำ ในพระวิหารลึก ๑.๒๐ เมตร ข้างนอกลึก ๑.๕๐ เมตร ขึ้นองค์พระประธานพระเจ้าตนหลวง ๘๐ เซนติเมตร ทำให้องค์พระเจ้าตนหลวงทรุดลงเอนหลังไปเกือบติดฝาผนัง เสนาสนะอื่นทรุดโทรมไปหลายแห่ง จะหาทางป้องกันก็ไม่ทัน เพราะน้ำบ่าเข้าท่วมวัด เวลา ๐๕.๐๐ น. พอสว่างพระเณรเตรียมสิ่งของเพราะเป็นวันพระ แรม ๘ ค่ำ ศรัทธาจะมาตักบาตร ดูน้ำไหลบ่าเข้าประตูศาลา เข้าไปดูพระวิหารน้ำเข้าท่วมเต็มหมด จึงย้ายการทำบุญไปยังศาลาบาตรด้านเหนือตรงมุมโค้ง พอตักบาตรเสร็จก็ต้องรีบขนเสื่อเครื่องทำบุญออกจากศาลา ทันใดน้ำก็ท่วมศาลาอีก มองในวัดเหมือนกับกว๊าน ถึงเวลาเย็นประชาชนไม่รู้มาจากไหนต่างก็มาจับปลากันถึงในวัดเต็มไปหมด

หันไปมองชาวบ้านหลายหมู่บ้าน ทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลที่อยู่ติดกับชายกว๊านถูกน้ำท่วมหมด ไร่นาทรัพย์สิน สัตว์เลี้ยงต่างๆ ล้มตายจมน้ำเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะหมู่บ้านแม่ต๋ำทั้ง ๔ หมู่บ้าน จมอยู่ใต้น้ำ ที่ลำบากที่สุดหมู่บ้านแม่ต๋ำภูมินทร์ และแม่ต๋ำเมืองชุม เพราะท่วมจนมิดหลังคาบ้านก็มี การท่วมคราวนั้นท่วมอยู่นาน เพราะทางบ้านเมืองสร้างถนนไฮเวย์ขึ้นสูงถึง ๒.๕๐ เมตร แต่ท่อระบายน้ำไม่เพียงพอ มีสะพานเพียงแห่งเดียว มีท่อระบายน้ำอีกแห่ง นอกจากนี้ก็มีประตูน้ำ-ประมง แต่ระบายไม่ทัน ทำให้น้ำขังอยู่นานเกือบ ๒ เดือน น้ำแห้งขาดจากในวัดศรีโคมคำ ถึงวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๖ น้ำท่วมครั้งนี้ข้าพเจ้าได้แต่งค่าวไว้อยู่เรื่องหนึ่งชื่อว่า ค่าวน้ำท่วมพะเยา”  

จากบันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมพะเยาทั้งสองครั้ง นอกจากจะสะท้อนความเสียหายของภัยที่มากับธรรมชาติแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น เหตุการณ์ยิ่งเก่ายิ่งสืบค้นหาข้อมูลเทียบเคียงอ้างอิงยาก บันทึกเหล่านี้มีประโยชน์ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป


ทีมา : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
ผู้เรียบเรียง :  นางสาวอรทัย ปานจันทร์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
ข้อมูลอ้างอิง :
 - วัดศรีโคมคำ. อัครดุษฎีบัณฑิตแห่งภูกามยาว พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระธรรมวิมลโมลี (ปวง ธมฺมปญฺโญ) วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา. ๒๕๕๐. หน้า  ๒๕๔-๒๕๙.
 - พระมหาโยธิน ฐานิสฺสโร. บันทึกวัดศรีโคมคำ. เชียงราย:อินเตอร์พริ้นท์, ๒๕๕๒. หน้า ๓๐, ๓๙-๔๒.
 - พระธรรมวิมลโมลี. บันทึกสถิติน้ำท่วมเมืองพะเยาและค่าวน้ำท่วม. พิมพ์แจกในงานฉลองสัญญาบัตรพัดยศ , เชียงราย: หจก.เชียงรายไพศาลการพิมพ์, ๒๕๓๘ หน้า ๑-๑๕ (เอกสารสำเนา).
 - สารานุกรมกว๊านพะเยา. บันทึกน้ำท่วมเมืองพะเยา
ภาพถ่าย :
 ๑. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. ภ พย (อ) ๖/๑๐ น้ำท่วมวัดพระเจ้าตนหลวง, ๒๕๑๖.
 ๒. ภาพชุดจัดทำนิทรรศการ “บันทึกน้ำท่วมพะเยา” มีนาคม ๒๕๕๕, วัดศรีโคมคำ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 106.0.0.0 Chrome 106.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2565 16:31:45 »



แบบโถยาคูของเก่า ซึ่งสันนิษฐานว่าลวดลายเป็นศิลปฝรั่งสมัย EARLY VICTORIAN
(ถ่ายเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐) รหัสเอกสาร (๒) ภ ๐๐๔ หวญ ๔๗/๓


โถยาคู
-----------------------------------

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายคำว่า ‘ยาคู’ ไว้ว่า “(๑) น. ข้าวต้ม (ป.). (2๒ น. เรียกขนมชนิดหนึ่งทำด้วยข้าวอ่อน ว่า ข้าวยาคุ หรือ ข้าวยาคู

คำว่า ยาคู มาจากภาษาบาลีว่า ยาคุ ข้าวยาคูมีลักษณะแบบเดียวกับข้าวต้ม ในสมัยพุทธกาลใช้ข้าวหรือธัญพืชชนิดอื่นแช่ในน้ำในอัตราส่วน ๑ ต่อ ๑๖ จนเปลือกธัญพืชเหล่านี้อ่อนตัว แล้วเคี่ยวให้เหลือเพียงครึ่งเดียว มักเป็นอาหารที่ทำให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่หิวกระหายดื่ม ในวินัยปิฎกและพระสูตรอังคุตตรนิกาย (อ่านว่า อัง-คุด-ตะ–ระ-นิ-กาย) กล่าวว่าข้าวยาคูมีประโยชน์ ๕ ประการ คือ ช่วยบรรเทาความหิว บรรเทาความกระหาย ทำให้ลมเดินสะดวก ช่วยชำระลำไส้ และช่วยย่อยอาหาร

ตามพุทธประวัติ กล่าวว่า พราหมณ์ผู้หนึ่งหุงข้าวยาคูและทำขนมหวานถวายพระพุทธเจ้าและพระสาวกฉัน ขนมที่พราหมณ์ทำเป็นขนมหวาน ส่วนข้าวยาคูไม่มีรสหวาน”

เอกสารจดหมายเหตุที่จะนำเสนอเป็นรายการที่ ๗ คือ เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ ๗ กระทรวงวัง รหัส ร.๗ ว ๕.๒/๒๖ เรื่อง พิธีสารท, ถวายโถยาคู [๒๗ ก.ค. – ๑๕ ก.ย.๒๔๗๐] [๙๓ แผ่น] ใจความกล่าวถึงการพระราชพิธีสารท ใน พ.ศ.๒๔๗๐ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการให้จัดขึ้น เนื่องจากเป็นราชประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่ภายหลังได้งดและว่างเว้นไปนาน และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาทฝ่ายหน้าฝ่ายใน รับรวงข้าวอ่อนไปทำเป็นยาคูบรรจุโถ เรียกว่า “โถยาคู” ทำด้วยฟักเหลือง ประดับประดาให้วิจิตรสวยงาม ถวายโดยเสด็จพระราชกุศล
ทั้งนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายภาพถ่ายแบบโถยาคูของเก่าซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นแบบโถยาคูในสมัยรัชกาลที่ ๒ เนื่องจากสมัยนั้นนิยมเลียนแบบลายเส้นหรือลวดลายฝรั่ง เพื่อทอดพระเนตร พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสตอบกลับ ความว่า “ทราบแล้ว รูปโถยาคูเปนลายฝรั่งสมัย Early Victorian หรือก่อนนั้นนิดหน่อย คือ พวก Yearage Ⅲ หรือ แปลกดี แต่ไม่เห็นงาม”

พระราชพิธีสารท ใน พ.ศ.๒๔๗๐ จัดขึ้น ๒ วัน คือ วันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๐ ตรงกับวันอาทิตย์แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีเถาะ ตอนเย็นอาลักษณ์อ่านประกาศพระราชพิธีสารท พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เวลาค่ำสาวพรหมจารีที่เป็นราชอนุวงศ์ จำนวน ๑๖ พระองค์ เช่น หม่อมเจ้าไตรทิพย์สุดา พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ หม่อมเจ้าเกษมเสาวภา พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ หม่อมเจ้าฤดีวรวรรณ พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ หม่อมเจ้าดวงจิตร พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ฯลฯ ทรงผ้าเยียรบับขาวจีบ สะพักตาดเครื่องขาว สวมมงคล กวนข้าวทิพย์ปายาส ณ สวนศิวาลัยในพระบรมมหาราชวัง

วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๐ ตรงกับวันจันทร์ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีเถาะ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรโถยาคู ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยในพระบรมหาราชวัง ทรงเลือกปักธงชื่อพระสงฆ์ตามพระราชประสงค์ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายโถยาคูและข้าวทิพย์ปายาสแด่พระสงฆ์ หลังเสร็จการพระราชพิธีเจ้าพนักงานจึงแจกข้าวทิพย์ปายาสพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทโดยทั่วกัน


หมายเหตุ : การสะกดคำยึดตามอักขรวิธีปัจจุบัน ยกเว้นชื่อเรื่องรายการ คำศัพท์เฉพาะ หรือการคัดลอกข้อความ จะคงสะกดตามที่ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุรายการนั้นๆ



รูปแบบโถยาคู ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นแบบที่จัดทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๒
(ถ่ายเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐) รหัสเอกสาร (๒) ภ ๐๐๔ หวญ ๔๗/๒



รูปแบบโถยาคู ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นแบบที่จัดทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๒
(ถ่ายเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐) รหัสเอกสาร (๒) ภ ๐๐๔ หวญ ๔๗/๒



ปแบบโถยาคู ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นแบบที่จัดทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๒
(ถ่ายเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐) รหัสเอกสาร (๒) ภ ๐๐๔ หวญ ๔๗/๒





รูปแบบโถยาคู ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นแบบที่จัดทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๒
รหัสเอกสาร (๒) ภ ๐๐๔ หวญ ๔๗/๒



การตกแต่งโถยาคูในพิธีสารท พ.ศ.๒๔๗๐ ของเจ้านายและขุนนาง
รหัสเอกสาร (๒) ภ ๐๐๔ หวญ ๔๗/๑



การตกแต่งโถยาคูในพิธีสารท พ.ศ.๒๔๗๐ ของเจ้านายและขุนนาง
รหัสเอกสาร (๒) ภ ๐๐๔ หวญ ๔๗/๑



การตกแต่งโถยาคูในพิธีสารท พ.ศ.๒๔๗๐ ของเจ้านายและขุนนาง
รหัสเอกสาร (๒) ภ ๐๐๔ หวญ ๔๗/๑



การตกแต่งโถยาคูในพิธีสารท พ.ศ.๒๔๗๐ ของเจ้านายและขุนนาง
รหัสเอกสาร (๒) ภ ๐๐๔ หวญ ๔๗/๑



การตกแต่งโถยาคูในพิธีสารท พ.ศ.๒๔๗๐ ของเจ้านายและขุนนาง
รหัสเอกสาร (๒) ภ ๐๐๔ หวญ ๔๗/๑



การตกแต่งโถยาคูในพิธีสารท พ.ศ.๒๔๗๐ ของเจ้านายและขุนนาง
รหัสเอกสาร (๒) ภ ๐๐๔ หวญ ๔๗/๑



การตกแต่งโถยาคูในพิธีสารท พ.ศ.๒๔๗๐ ของเจ้านายและขุนนาง
รหัสเอกสาร (๒) ภ ๐๐๔ หวญ ๔๗/๑



การตกแต่งโถยาคูในพิธีสารท พ.ศ.๒๔๗๐ ของเจ้านายและขุนนาง
รหัสเอกสาร (๒) ภ ๐๐๔ หวญ ๔๗/๑



การตกแต่งโถยาคูในพิธีสารท พ.ศ.๒๔๗๐ ของเจ้านายและขุนนาง
รหัสเอกสาร (๒) ภ ๐๐๔ หวญ ๔๗/๑



การตกแต่งโถยาคูในพิธีสารท พ.ศ.๒๔๗๐ ของเจ้านายและขุนนาง
รหัสเอกสาร (๒) ภ ๐๐๔ หวญ ๔๗/๑



การตกแต่งโถยาคูในพิธีสารท พ.ศ.๒๔๗๐ ของเจ้านายและขุนนาง
รหัสเอกสาร (๒) ภ ๐๐๔ หวญ ๔๗/๑



การตกแต่งโถยาคูในพิธีสารท พ.ศ.๒๔๗๐ ของเจ้านายและขุนนาง
รหัสเอกสาร (๒) ภ ๐๐๔ หวญ ๔๗/๑



พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา
พระอรรคชายาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระราชธิดา (ซ้าย-ขวา)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี,
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา,
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี
ในพิธีกวนข้าวทิพย์ พ.ศ.๒๔๕๑
รหัสเอกสาร 29M00057



สาวพรหมจารีกวนข้าวทิพย์ พ.ศ.๒๔๗๓
รหัสเอกสาร ภ ๐๐๔ หวญ ๘/๑ (๓)


ที่มา (ข้อมูล/ภาพ) : สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
สืบค้นและเรียบเรียง : นางสาวดุษฎี ชัยเพชร นักจดหมายเหตุชำนาญการ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 ตุลาคม 2565 16:46:52 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.496 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 9 ชั่วโมงที่แล้ว