[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 10:04:47 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทวาราวดี อาณาจักรที่สาบสูญ! ความรุ่งเรืองที่มาพร้อมพระพุทธศาสนา วันนี้ยังมีชีวิต  (อ่าน 362 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2325


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 106.0.0.0 Chrome 106.0.0.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 11 ตุลาคม 2565 16:20:13 »


พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อู่ทอง


นักดนตรีสาวของทวารวดี พบที่คูบัว

ทวาราวดี อาณาจักรที่สาบสูญ! ความรุ่งเรืองที่มาพร้อมพระพุทธศาสนา วันนี้ยังมีชีวิตให้ท่องเที่ยวชม!!


โดย: โรม บุนนาค
เผยแพร่ : ผู้จัดการออนไลน์ 10 ต.ค.2565


แผ่นดินประเทศไทยในวันนี้ ก่อนที่จะมีกรุงรัตนโกสินทร์ไม่ได้มีแค่กรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น ทวารวดีก็เป็นอาณาจักรหนึ่งที่กำเนิดขึ้นตั้งแต่ราว ๑,๕๐๐ ปีก่อน เป็นอาณาจักรแรกของย่านนี้ก็ว่าได้ และเป็นแหล่งแรกที่รับพระพุทธศาสนาจนยั่งยืนมาถึงวันนี้

การพบว่ามีอาณาจักรทวารวดีนั้น เกิดขึ้นเมื่อพบเหรียญเงิน ๒ เหรียญที่จังหวัดนครปฐม มีอักษรจารึกเป็นภาษาสันสกฤตไว้ว่า “ศรีทวาราวดีศวรปุณยะ” แปลความไว้ว่า “บุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวาราวดี” จึงมีการค้นคว้ากันต่อ และจากการศึกษาภาพถ่ายทางอากาศพบเมืองโบราณที่มีอารยธรรมเดียวกันถึง ๓๖ เมืองจึงมีการสำรวจขุดค้น นอกจากจะพบโบราณสถานและโบราณวัตถุที่เป็นสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่แสดงถึงความเจริญก้าวหน้าในยุคทวารวดีแล้ว ยังพบเทคโนโลยีการจัดระบบชลประทาน มีการขุดคลองบังคับน้ำ ทำนบ สระกักเก็บน้ำ ตลอดจนคันดินที่สันนิษฐานว่าเป็นถนน มีอยู่ในรูปแบบเดียวกันกระจายอยู่ทุกภาคของประเทศไทย

ภาคเหนือพบที่อำเภอสวรรคโลก อำเภอทุ่งเสลี่ยง จังหวัดสุโขทัย อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ และในจังหวัดลำพูนกับเชียงใหม่

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบทุกจังหวัด แต่ละจังหวัดพบมากกว่า ๑ แห่ง บางจังหวัดพบถึง ๗ แห่ง และยังขุดค้นพบอยู่เรื่อยๆ

ภาคตะวันออก พบที่ดงละคร จังหวัดนครนายก และที่ ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี

ภาคใต้ พบที่จังหวัดปัตตานี

ภาคกลาง กระจายอยู่ตามลุ่มแม่น้ำ ทั้งแม่น้ำเพชรบุรี แม่กลอง ท่าจีน ลพบุรี ป่าสัก และเจ้าพระยา

หลวงจีนอี้จิง ซึ่งเดินทางตามรอยพุทธธรรมไปอินเดียหลังพระถังซำจั๋งไม่นาน และแวะพักที่อาณาจักรศรีวิชัยถึง ๖ เดือน ได้บันทึกไว้ว่า มีอาณาจักรใหญ่อาณาจักรหนึ่ง อยู่ระหว่างเมืองศรีเกษตร (พม่า) กับอิสานปุระ (เขมร) มีชื่อว่า โดโลปอตี้ (ทวารวดี) เป็นอาณาจักรที่พบโบราณสถานและพระพุทธรูปที่สร้างตามแบบฝีมือช่างในสมัยราชวงศ์คุปตะของอินเดียเป็นจำนวนมาก ซึ่งราชวงศ์คุปตะอยู่ใน พ.ศ.๘๖๐-๑๑๕

นักวิชาการบางกลุ่มเชื่อว่า ทวาราวดีไม่น่าจะเป็นชื่อเมือง เพราะครอบคลุมอาณาบริเวณกว้างขวางมาก น่าจะเป็นชื่ออารยธรรมที่รับมาจากอินเดีย และมีหลายเมืองซึ่งต่างก็มีกษัตริย์ปกครองของตน รับอารยธรรมนี้ต่อๆกันไป โดยคำว่าทวารวดี ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก และถือว่าเป็นนามมงคล เพราะเป็นชื่อเมืองของพระกฤษณะ เทพเจ้าองค์หนึ่งในความเชื่อของชาวอินเดีย

เมืองโบราณสมัยทวาราวดีมีลักษณะคล้ายๆกัน คือตั้งอยู่บนที่ดอนใกล้ทางน้ำ มีคูคันดินล้อมรอบหนึ่งหรือสองชั้นเพื่อป้องกันน้ำท่วม และมีเทวสถานหรือศาสนสถานตั้งอยู่ที่จุดศูนย์กลางของเมือง เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกป้องคุ้มครองเมือง เช่นที่นครปฐมมีพระประโทน เมืองคูบัวราชบุรีมีอยู่ที่บริเวณวัดโขลงสุวรรณคีรีในปัจจุบัน หรือเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีโบราณสถานที่เขาคลัง

แต่แล้วทวาราวดีมีอายุอยู่ราว ๔๐๐ ปีก็หายไป การกลายเป็นอาณาจักรที่สาบสูญไปของทวารวดีสันนิษฐานกันว่า เป็นเพราะในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ แห่งกัมพูชา ได้แพร่อิทธิพลเข้ามาทำลายเมืองลวปุระ หรือลพบุรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทวาราวดีจนย่อยยับ และแพร่วัฒนธรรมของกัมพูชาซึ่งมีความเชื่อทางศาสนาและรูปแบบศิลปกรรมที่แตกต่างกัน จนวัฒนธรรมแบบทวารวดีอ่อนลง ในราว พ.ศ.๑๖๐๐ พระเจ้าอนุรุทร มหาราชแห่งพุกาม ก็แผ่อำนาจเข้ามถึงล้านนา ล้านช้าง ละโว้ และทวาราวดี ทำให้ทวาราวดีอ่อนแอลงไปอีก ซึ่งอาจเกิดจากการกวาดต้อนผู้คนไปจำนวนมาก ต่อมาก็ตกอยู่ในความครอบครองของกษัตริย์กัมพูชา จนถึง พ.ศ.๑๗๓๒ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ผู้เรืองอำนาจที่สุดสวรรคต บรรดาเมืองประเทศราชที่อยู่ในอิทธิพลของขอมต่างพากันตั้งตัวเป็นอิสระ พ่อขุนบางกลางหาวกับพ่อขุนผาเมืองซึ่งเป็นพระราชบุตรเขยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้เข้ายึดอำนาจเมืองสุโขทัยจากขอม สถาปนาพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของราชอาณาจักรสุโขทัย

อาณาจักรทวาราวดีได้สาบสูญไปประมาณ ๑,๕๐๐ ปีแล้ว แต่วันนี้คนไทยได้เห็นความสำคัญของทรัพยากรวัฒนธรรมประเภทโบราณสถานและโบราณวัตถุ ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ซึ่งได้พระราชทานในวันเปิดพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ไว้ว่า

“โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และโบราณสถานทั้งหลายนั้น เป็นของมีค่า และจำเป็นแก่การศึกษาค้นคว้าในทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ และโบราณคดี เป็นเครื่องแสดงความรุ่งเรืองของชาติไทยที่มีมาแต่อดีตกาล สมควรจะสงวนรักษาให้คงทนถาวร เป็นสมบัติส่วนรวมของชาติไว้ตลอดกาล”

จึงมีการสะสมจัดสถานที่เก็บโบราณวัตถุและศิลปวัตถุไว้จัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์ ทั้งบางแห่งยังใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อธิบายโบราณวัตถุและวิถีชีวิตของคนโบราณอันเป็นต้นกำเนิดของคนในวันนี้ ให้ดูเหมือนมีชีวิตกลับมาเล่าให้คนรุ่นใหม่ได้ฟัง อย่างพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อู่ทอง สุพรรณบุรี จัดแสดงตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนมาถึงยุคทวาราวดี เริ่มตั้งแต่เมื่อ ๓,๐๐๐ ปีก่อน จัดแสดงสังคมเกษตรกรรมของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จนราว ๒,๐๐๐ ปีก่อนจึงเจริญขึ้นเป็นเมืองท่าศูนย์กลางของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะยังอยู่ติดทะเล มีการค้าขายกับจีนและอินเดีย มีหลักฐานจัดแสดงคือลูกปัดต่างๆที่มาจากต่างประเทศ รวมทั้งลูกปัดทองคำทำที่อู่ทอง ทั้งยังมีเหรียณกษาปณ์โรมันที่ใช้ในการค้าขายยุคนั้น และพระพุทธรูปศิลาเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย กงจักรศิลา สัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาที่สมบูรณ์ที่สุด รวมทั้งพระพุทธรูปศิลาที่ยังสลักไม่เสร็จ แสดงให้เห็นว่าคนทวารวดีเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาถึงกับสลักพระพระพุทธรูปขึ้นเองด้วยศิลา ไม่ได้มาจากต่างประเทศ

จังหวัดกาญจนบุรีก็มีร่องรอยของทวารวดีอยู่หลายแห่ง แต่เป็นของยุคที่ขอมเข้ามาครอบครอง จึงปรากฏเป็นปราสาทหิน อย่างที่ปราสาทเมืองสิงห์ ศาสนสถานที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เป็นสถานที่หนึ่งที่มีนักท่องเที่ยวไปชมกันมาก ส่วนที่โบราณสถานพงตึก อำเภอท่ามะกา เป็นซากปราสาทหินที่สลักหักพัง ขุดพบตะเกียงโรมันสำริดที่นี่ มีความเชื่อมโยงไปถึงอาณาจักรโรมัน

สันนิษฐานว่าเป็นจุดพักของนักเดินทางจากฝั่งอันดามันไปลงเรือที่ปากแม่น้ำแม่กลอง

ส่วนเมืองคูบัว ราชบุรี ก็เป็นแหล่งอารยธรรมทวารวดีในภาคกลางอีกแห่ง คูบัวเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเมืองราชบุรี อยู่ใต้ตัวเมืองลงไปตามถนนเพชรเกษมประมาณ ๑๒ กม. ในสมัยทวารวดียังอยู่ติดทะเล เป็นเมืองท่าสำคัญอีกแห่งของย่านนี้ และเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ขุดพบโบราณวัตถุเกี่ยวกับศาสนาและชีวิตประจำวันของคนยุคนั้นมาก เช่น ประติมากรรมประดับศาสนสถาน พระพุทธรูปทั้งดินเผาและปูนปั้น พระพิมพ์ที่ทำจากดินเผาและหินชนวน ชิ้นส่วนธรรมจักรศิลา ประติมากรรมรูปบุคคลที่ทำจากดินเผาและปูนปั้น แสดงให้เห็นว่าผู้ชายในยุคนั้นไว้เครา มีผ้าโผกศีรษะแหลม สวมรองเท้าบู๊ท สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นคนอาหรับที่เข้ามาค้าขายมากกว่าจะเป็นคนท้องถิ่น โบราณวัตถุที่ค้นพบส่วนใหญ่ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี และบางส่วนเก็บรักษาไว้ที่วัดโขลงสุวรรณคีรีที่คูบัว

เมื่อขอมเข้ามามีอำนาจในย่านนี้ได้ย้ายศูนย์กลางการปกครองไปอยู่ที่ราชบุรีในปัจจุบัน ต่อมาเมื่อราว ๒๐๐ ปีที่ผ่านมา ชาวไทยวนจากอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายได้อพยพมาอยู่คูบัว ชาวไทเหล่านี้มีฝีมือในเรื่องทอผ้าซึ่งทอใช้กันเอง ชาวราชบุรีเห็นผ้าตีนจกที่ชาวไทยวนใส่ก็ทึ่งในความงาม ปัจจุบันผ้าตีนจกจึงเป็นจุดเด่นของคูบัว มีการสอนให้ผลิตกันอย่างจริงจัง และเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน มีชื่อว่า “จิปาถะภัณฑสถานบ้านคูบัว” อยู่ในวัดโขลงสุวรรณคีรี รวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นและผ้าซิ่นตีนจกโบราณ เปิดให้ชมทุกวัน

ร่องรอยอารยธรรมทวารวดียังปรากฏอยู่ที่ราชบุรี นอกจากวัดมหาธาตุในตัวเมือง ซึ่งดัดแปลงจากเทวสถานของขอมที่สร้างในสมัยทวาราวดีมาเป็นวัดพุทธ โดยรักษาพระปรางค์ของขอมที่สวยงามไว้ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ราชบุรี ซึ่งรวบรวมหลักฐานโบราณวัตถุจากคูบัวมาเก็บรักษาไว้แล้ว อารยธรรมทวาราวดีที่ปรากฏอยู่ที่ราชบุรี ก็คือ ถ้ำฤาษีเขางู ซึ่งมีพระพุทธรูปสมัยทวารวดีจำหลักอยู่ในผนังถ้ำ เป็นปางปฐมเทศนาที่แปลกตา คือประทับห้อยพระบาท มีอักษรจารึกระหว่างพระบาทไว้ว่า “ปุญกรมชุระ ศรีสมาธิคุปต” แปลว่า “พระศรีสมาธิคุปตะผู้มีบุญอันประเสริฐ” ซึ่งเป็นปางที่นิยมสร้างในสมัยทวารวดี และมีปรากฏอยู่หลายแห่ง

นอกจากนี้ยังมีถ้ำจีน ถ้ำจาม ถ้ำฝาโถ ซึ่งมีร่องรอยของอารยธรรมทวารวดีที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มีพระพุทธรูปและภาพสลักบนผนังถ้ำใกล้เคียงกับภาพสลักผนังถ้ำอชันตาในอินเดีย

ส่วนที่นครปฐม ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรทวารวดี นอกจากเจดีย์จุลประโทน ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของอาณาจักรทวารวดี มีรูปปูนปั้นยุคทวารวดีเป็นรูปเรือสำเภาและคนอินเดีย แสดงว่าเป็นเมืองท่าที่สำคัญ ซึ่งภาพนี้ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์

สิ่งที่โดดเด่นของเมืองนี้ก็คือพระปฐมเจดีย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพบพระเจดีย์นี้ถูกทิ้งรกร้างอยู่ในป่าขณะที่พระองค์จาริกธุดงค์ ทรงเชื่อว่าเป็นเจดีย์แรกที่สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี เมื่อขึ้นครองราชย์จึงทรงบูรณะสร้างเจดีย์ใหม่ให้ใหญ่ขึ้นอีก ครอบเจดีย์เก่าไว้ พระราชทานนามว่า “พระปฐมเจดีย์” เป็นที่ดึงดูดศรัทธาของพุทธศาสนิกชนไปนมัสการบูชา จนทำให้ป่ารกตรงนั้นกลายเป็นจังหวัดนครปฐมในปัจจุบัน

มีคำถามว่า ทำไมเราไม่นับทวารวดีเป็นอาณาจักรแรกของประเทศไทย ไปนับเริ่มต้นที่สุโขทัย ทั้งนี้ก็เพราะแผ่นดินและคนนั้นมีความหมายกับการเป็นประเทศต่างกัน แผ่นดินนี้อาจจะมีคนอยู่มาก่อนทวารวดีก็เป็นได้ มาพบเป็นบ้านเป็นเมืองในยุคทวารวดี แต่คนทวาวารวดีเป็นคนมอญ ใช้ภาษามอญ ส่วนคนสุโขทัยเป็นคนเผ่าไทย พูดภาษาไทย และเกิดอักษรไทยขึ้นที่นั่น จึงถือว่าสุโขทัยเป็นอาณาจักรแรกที่คนไทยลงหลักปักฐาน


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.341 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 01 กันยายน 2566 00:40:29