[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 10:03:13 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มกุฎราชกุมารพม่าที่พระมารดาเป็นคนไทยจากคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2  (อ่าน 262 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 106.0.0.0 Chrome 106.0.0.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 24 ตุลาคม 2565 15:03:09 »


ภาพจิตรกรรมแสดงเหตุการณ์กองทัพพม่าโจมตีกรุงศรีอยุธยา สมัยเสียกรุงครั้งที่ 2 จากอนุสรณ์สถานแห่งชาติ

มกุฎราชกุมารพม่าที่พระมารดาเป็นคนไทยจากคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2
เผยแพร่ : ศิลปวัฒนธรรม - วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2565

เหตุการณ์เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ.2310 นอกจากค้นคว้าจากเอกสารฝ่ายไทย เอกสารฝ่ายพม่าที่เป็นคู่กรณีก็ช่วยเปิดมุมมองใหม่ที่น่าสนใจ และบางเรื่องไม่เคยมีการกล่าวถึงในเอกสารฝ่ายไทย ดังเช่น “Yodayar Naing Mawgun” กวีนิพนธ์ของ เลตวี นอร์ธา (Letwe Norahta) แม่ทัพหน้าคนหนึ่งของพม่าบันทึก ที่อาจารย์นิยะดา เหล่าสุนทร ได้ค้นคว้าและเรียบเรียงไว้ในบทความชื่อ “มกุฎราชกุมารพม่าที่พระมารดาเป็นคนไทย” (ศิลปวัฒนธรรม, มกราคม 2564) ซึ่งบอกเล่าถึงบุคคลที่น่าสนใจ

บรรดาเชลยที่ถูกกวาดต้อนมาจำนวน 500,100 คน ในครั้งนั้นมีข้าราชสำนักไทยคนหนึ่งรวมอยู่ด้วย เขาผู้นั้นมีบุตรีผู้หนึ่งชื่อ นางอี่ภู่ หรือแม่อี่ภู่ (ต้นฉบับใช้ว่า Nang Ei Pu หรือ Mae Ei Pu) ชื่อ “อี่ภู่” นี้ นิยะดา เหล่าสุนทร สันนิษฐานว่า น่าจะมาจากคำว่า “ยี่ภู่” ซึ่งมีความหมายว่า ที่นอน หรือมิฉะนั้นอาจมีความหมายว่า “นางภู่ ผู้เป็นบุตรีคนแรก” ก็ได้ เพราะคำว่า “อี่” เป็นคำที่ใช้เรียกบุตรสาวคนแรกของครอบครัว คู่กับคำว่า “อ้าย” ซึ่งแปลว่าบุตรชายคนแรกของครอบครัว…

ครั้นเธอเจริญวัยขึ้น คงมีรูปโฉมงดงามไม่น้อย จึงเป็นที่ต้องตาของเจ้าชายสระวดี (Tharawadee) และเธอก็กลายมาเป็นบาทบริจาริกาในจำนวนหลายๆ คนของพระสวามี จากนั้นเธอให้กำเนิดพระโอรส ผู้มีนามว่า เจ้าชายแห่งเมืองหาง (Maung Htaung) หรือพระองค์เจ้าทอง ในภาษาไทย พระสวามีของนางอี่ภู่เป็นพระอนุชาของพระเจ้าคยีดอ (King Bagyi-daw พ.ศ.2362-2380) พระเจ้าคยีดอไม่เป็นที่นิยมของประชาชน พระองค์ตกอยู่ในอำนาจของพระมเหสีและพวกพ้อง ผู้คนจึงหวังจะให้เจ้าชายสระวดีมาเป็นผู้นำ

ขณะนางอี่ภู่ก็รู้ดีว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้น แต่ตัวเธอก็ไม่พึงใจในชีวิตราชสำนักอีกต่อไปแล้ว เธอหลงรักชาวไทยผู้หนึ่ง มีชื่อว่า หลวงหุ (Loong Hu) นางอี่ภู่ผู้ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา เธอเข้าไปวิงวอนต่อพระสวามีอยู่ครั้งแล้วครั้งเล่า ในที่สุดชัยชนะก็เป็นของเธอ เธอมีอิสระที่จะดำเนินชีวิตของเธอกับชายที่เธอรักมาแต่เยาว์วัย แต่เธอต้องไม่เกี่ยวข้องกับพระโอรสอีกต่อไป

พระโอรสของเจ้าชายสระวดี มีทั้งหมด 7 องค์ (จากต่างพระมารดากัน) เรียงตามลำดับดังนี้ 1. เจ้าชายแห่งพุกาม (Prince Pagan) 2. เจ้าชายแห่งแปร (Prince Pyay) 3. เจ้าชายแห่งพะขัน (Prince Pa-khan) 4. เจ้าชายมินดง (Prince Min don) 5.เจ้าชายแห่งคะนอง (Prince Kanaung) 6. เจ้าชายแห่งเมืองโตก (Prince Maung Toke) และ 7. เจ้าชายแห่งเมืองหาง (Prince Maung Htaung) หรือ พระองค์เจ้าทอง (Nai Thong) ที่เกิดจากนางอี่ภู่

พ.ศ.2380 เจ้าชายสระวดีได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ แต่หลังจากนั้นอีก 6 ปี ก็เกิดความวุ่นวายในราชสำนักของพระองค์ ซึ่งนำไปสู่ความผิดปกติทางจิตใจของพระองค์ (ซึ่งไม่ขอกล่าวในที่นี้) ในช่วงเวลานี้ พระองค์เจ้าทองได้รับการสถาปนาขึ้น   

เมืองหาง (Htaung) ถูกยกให้เป็นของพระองค์เจ้าทอง ผู้ซึ่งในขณะนี้ได้รับตำแหน่ง Prince Htaung และได้เฉลิมพระยศพระองค์เป็น เจ้าธดอมังราย กยอสวา (Thado Mangrai Kyaw Swa)

พ.ศ.2389 พระเจ้าสระวดีสิ้นพระชนม์ พระราชโอรสองค์แรก คือ เจ้าชายแห่งเมืองพุกาม หรือเจ้าพุกามแมง ขึ้นครองราชสมบัติ โดยมีพระอนุชาเหลืออยู่ 4 องค์ คือ เจ้าชายแห่งเมืองพะขัน, เจ้าชายมินดง, เจ้าชายแห่งเมืองคะนอง และเจ้าชายแห่งเมืองหาง

พ.ศ.2397 เกิดคดีสำคัญขึ้นคือการโจรกรรมของมีค่าที่เรือนของพระนมของพระเจ้าพุกามแมง ที่อยู่ไม่ไกลจากพระราชวัง พระเจ้าพุกามแมงไม่พอพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง โปรดให้เสนาบดีหลายคนเข้ามาตรวจสอบ มีการยืนยันว่า ผู้ลักทรัพย์เป็นคนของพระองค์เจ้ามินดงและพระองค์เจ้าคะนอง เจ้าชายทั้งสองไม่สามารถปฏิเสธข้อกล่าวหา หรือจะเป็นข้อใส่ร้ายก็ตามที จึงหลบหนีไปยังเมืองชเวโบ (Shwebo) ซึ่งเป็นเมืองที่มีภูมิสถานที่ดี ยากต่อการโจมตีจากภายนอก

ขณะที่หนังสือ A History of Burma ของ Maung Htin Aung (หม่องทินอ่อง) (ศาสตราจารย์เพ็ชรี สุมิตร แปลจากฉบับภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาไทย) ได้อธิบายถึงเหตุการณ์ในตอนนี้ว่า “กองเรือของนายพลแลมเบิดได้เมืองพะสิม ท่าเรือพม่าเมืองสุดท้าย ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1852 [พ.ศ.2395] เนื่องจากลอร์ดดาลฮูซีได้เตรียมการไว้ล่วงหน้าเป็นอย่างดี อังกฤษจึงเข้ายึดปากแม่น้ำได้ก่อนฤดูมรสุมเริ่ม ลอร์ดดาลฮูซีมาย่างกุ้งเพื่อตระเตรียมการครั้งสุดท้าย ในเดือนมิถุนายนปีต่อมา เมืองพะโคก็แตก แม้ว่าพม่าจะได้พยายามต่อสู้อย่างหนักหน่วงอยู่หลายครั้งหลายหนก็ตาม อังกฤษยกทัพต่อไปยังเมืองแปร ซึ่งเป็นที่หมายสุดท้ายในการรบ แต่ก็ยึดไม่ได้ เพราะพม่าตีโต้ตอบไว้ได้

ขณะนั้นมรสุมกำลังเริ่มมา อาจทำให้แผนการเสียได้ และอังกฤษก็รอจนกว่าสิ้นฤดูมรสุม ในเดือนตุลาคมต่อมา อังกฤษยึดได้เมืองแปร และในเดือนธันวาคม พม่าก็ต่อสู้เป็นครั้งสุดท้ายที่เมืองอมรปุระ เจ้าชายมินดงทรงวิงวอนว่าชาวพม่าต้องสูญเสียชีวิตไปในการรบต่อต้านนี้เป็นจำนวนมาก ทูลเสนอให้กษัตริย์เปิดการเจรจาสงบศึก แม่ทัพของพระเจ้าพุกามแมงสั่งจับเจ้าชายมินดงและเจ้าชายคะนอง แต่เจ้าชายทั้งสองเสด็จหนีไปยังเมืองชเวโบได้ และไปรวบรวมกำลังพลมารบกับกษัตริย์”

พระเจ้าพุกามแมงส่งกองทัพจากเมืองอมรปุระไปยังเมืองชเวโบ เพื่อปราบพระอนุชา แต่ไม่สำเร็จ พระเจ้าพุกามแมงตัดสินพระราชหฤทัยเปลี่ยนแผนการ พระองค์ไม่มีพระราชโอรสและรัชทายาท พระเจ้าพุกามแมงทรงสถาปนาพระองค์เจ้าทองขึ้นเป็นรัชทายาทในทันที การสถาปนาเป็นไปอย่างรวดเร็ว ในพระราชพงศาวดาร Kon-baung Let Maha Yarawin Daw Gyi ได้บันทึกนามของพระราชมารดาของพระองค์เจ้าทอง และบทบาทของพระองค์อยู่บ้าง แต่ไม่มีการกล่าวถึงตำแหน่งมกุฎราชกุมาร

แต่ในบันทึกซึ่งมีความยาว 1 หน้ากระดาษของเจ้าชายนกาโบ (Naga-bo) ผู้สืบเชื้อสายของพระองค์เจ้าคะนอง ได้พรรณนาถึงเรื่องราวของพระองค์ไว้ พม่าในช่วงเวลาดังกล่าว มีพระมหากษัตริย์ 2 พระองค์ พระองค์หนึ่งอยู่ที่เมืองอมรปุระ มีรัชทายาทที่เรียกว่า the Inner Crown Prince และพระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่ง ประทับอยู่ที่เมืองชเวโบ และมีรัชทายาทที่เรียกว่า The Outer Crown Prince

พระองค์เจ้าทอง มกุฎราชกุมาร สู้รบอย่างเข้มแข็ง พระองค์ทรงมีทหารอยู่ใต้บังคับบัญชาไม่น้อย ที่มั่นสุดท้ายของพระองค์อยู่ที่บริเวณประตูเมือง ที่เรียกว่า นันทามุ (Nan damu) พระองค์สิ้นพระชนม์ในการสู้รบจากอาวุธปืน ในหนังสือประวัติศาสตร์พม่า โดยหม่องทินอ่อง ได้บันทึกเหตุการณ์ครั้งนี้อย่างสั้นๆ ว่า มาถึงจุดนี้ สภาลุดดอจึงเข้ามาแทรกแซงด้วยการเรียกทัพจากพม่าถอนกลับเมืองหลวงหมด และแต่งตั้งพระองค์เจ้ามินดงเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ ใน พ.ศ.2396

ภายหลัง Dr. Tin Maung Kyi ได้นำเรื่องราวของพระองค์เจ้าทองมาเขียนลงในบทความเรื่อง “A Crown Prince of Thai Origin” โดยระบุว่า เชื้อสายที่สืบทอดลงมาจากพระองค์ เป็นเจ้าหญิง 2 องค์ ชื่อ Hteihtin Ma Lay และ Hteihtin Saw ยังอาศัยอยู่ในเมืองย่างกุ้ง

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.339 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 16 มีนาคม 2567 01:53:07