[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 17:53:09 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รวมธรรม คำ คม คิด จาก facebook หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี (พระครูเกษมธรรมทัต)  (อ่าน 15229 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 22 กันยายน 2554 00:10:08 »

รวมธรรมะจากเฟซบุ๊ค (facebook) ของ หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี
โพสท์โดยศิษย์ของหลวงพ่อท่านครับ



http://www.facebook.com/Mahaeyong

การที่เราจะเป็นผู้มีความสุขความเจริญ เราก็ต้องเป็นผู้ที่ประพฤติธรรม ละความชั่ว ประกอบคุณงามความดีและเป็นผู้มีกายสุจริต มีวาจาสุจริต มีมโนสุจริต
มีกายสุจริต ด้วยการเว้นการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การประพฤติ ผิดพรหมจรรย์
มีวจีสุจริต ด้วยการเว้นการพูดโกหก พูดส่อเสียด พูดหยาบคาย พูดเพ้อเจ้อ

7 กค. 54

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 กันยายน 2554 00:29:46 โดย Mckaforce » บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 22 กันยายน 2554 00:11:28 »

" คำสอน ในพระพุทธศาสนา
สอนให้เอาชนะตน ไม่ใช่สอนให้เอาชนะผู้อื่น
ชนะผู้อื่นมากสักหมื่นแสน
ก็ไม่ประเสริฐเท่ากับเอาชนะตน
การเอาชนะใจตนเองได้นี่ เรียกว่าเรามีธรรมมะ"

8 กค. 54



สมถะ คือการเจริญเมตตา ทำให้จิตสงบ
วิปัสสนา คือระลึกรู้สภาวะที่กำลังปรากฏด้วยความปล่อยวาง

8 กค. 54
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 22 กันยายน 2554 00:12:03 »

บางส่วนจากพระธรรมเทศนา เรื่อง การเจริญภาวนา

โดย พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)

สำนักปฏิบัติกรรมฐาน วัดมเหยงคณ์

ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

ต่อไปนี้จะอธิบายแนวทางปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากรรมฐานพอเป็นสังเขป

แนวทางที่ 1 คือ เจริญสมถะก่อน แล้วต่อวิปัสสนาทีหลัง วิธีปฏิบัติก็คือทำจิตให้นิ่ง โดยเพ่งลมหายใจหรือเพ่งกสิณต่างๆ ซึ่งมีถึง 10 อย่าง หรือเพ่งอสุภะ เป็นต้น เพ่งจนกระทั่งได้ฌาน เมื่อได้ฌาน ก็จะมีปิติ มีความสุข มีสมาธิ เรียกว่า องค์ฌาน และจึงยกองค์ฌานนั้นๆ มาพิจารณา โดยน้อมมากำหนดที่ปีติ ที่ความสุข ที่สมาธิ ดูจิต ดูผู้รู้ ผู้ดูจนเห็นความเปลี่ยนแปลง เกิดดับ เห็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็เข้าสู่วิปัสสนาได้

แนวทางที่ 2 คือ เจริญวิปัสสนาไปเลย แล้วสมถะก็ตามมาทีหลัง แนวทางนี้ก็คือการเจริญสติในชีวิตประจำวันนั่นแหล่ะ วิธีการปฏิบัติก็คือ เมื่อยืน เดิน นั่ง นอน คู้เหยียด เคลื่อนไหว เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส คิดนึก รู้สึกอะไรต่างๆ ก็เจริญสติระลึกรู้

แต่การระลึกนี้ต้องให้ตรงต่อสภาวะปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏ คือ ลักษณะการเห็น การได้ยิน การรู้กลิ่น การรู้รส การรู้สัมผัสเหล่านี้ เป็นสภาวะปรมัตถ์ ต้องกำหนดรู้ว่าลักษณะเห็น ลักษณะได้ยินเป็นอย่างไร ลักษณะรู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัสที่เกิดที่ตัวเรานี้เป็นอย่างไร เมื่อเห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัสเย็นบ้าง ร้อนบ้าง ตึงบ้าง หย่อนบ้าง อ่อนแข็งบ้าง ไหวบ้าง สบาย ไม่สบาย คิดนึก ใจรู้สึกระลึกไปต่างๆ ก็ให้สังเกตไปทั้งหมด ที่เกิดที่กายที่ใจนี้ หมั่นสังเกต หมั่นระลึกบ่อยๆ สติก็จะเจริญขึ้น และจะเก่งเท่าทันต่อสภาวะ นอกจากนี้ ก็ให้ฝึกปล่อยวางอยู่ในตัว คือต้องรู้ละรู้ปล่อยรู้วาง ในที่สุดสมาธิก็จะเกิดขึ้นมาเอง

แนวทางที่ 3 คือ เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป ซึ่งคนในยุคปัจจุบันส่วนใหญ่จะเหมาะกับประเภทนี้ เพราะคนในยุคปัจจุบันจะให้ไปเจริญสมถะจนได้ฌาน ให้จิผายลมับนิ่ง สามารถเข้าฌาน-ออกฌานได้คล่องแคล่วนั้น ไม่ใช่ทำได้ง่าย เพราะต้องอยู่ในสถานที่สงบวิเวกจริงๆ มีคนเป็นส่วนน้อยที่อยู่ในสถานที่ไม่สงบ แต่สามารถทำจิตให้นิ่งจนได้ฌานได้

8 กค. 54
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 22 กันยายน 2554 00:14:06 »

" ฝึกตัวเราเอง แล้วค่อยฝึกผู้อื่น เพราะตัวเราเอง ฝึกยากยิ่งนัก"


11 กค. 54
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 22 กันยายน 2554 00:15:31 »

พระธรรมเทศนา เรื่อง การเจริญภาวนา โดย พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)

สำนักปฏิบัติกรรมฐาน วัดมเหยงคณ์ ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

การเจริญภาวนานั้นมี 2 อย่าง คือ การเจริญสมถภาวนา และการเจริญวิปัสสนาภาวนา

สมถภาวนา เป็นการปฏิบัติเพื่อยังจิตให้เข้าถึงความสงบ โดยเพ่งอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง จนกระทั่งจิตนิ่งสงบเป็นสมาธิ

วิปัสสนาภาวนา เป็นการเจริญสติให้เกิดปัญญา เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงว่า

อ๋อ ! สังขารชีวิตนี้เป็นธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลง เกิดดับ บังคับไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน อย่างนี้เรียกว่าเกิดปัญญา ปัญญาก็จะชำแรกจะประหารกิเลส เมื่อกิเลสลดน้อยลง ความร้อนใจทุกข์ใจก็ลดลง ความเย็นก็ปรากฏ ความสุขก็ปรากฏ ยิ่งความร้อนมอดลงไปดับสนิทเมี่อไร ก็พบกับความเย็นสนิทมากเท่านั้น เรียกว่านิพพาน

นิพพานก็คือความเย็น หรือความที่เพลิงทุกข์เพลิงกิเลสดับสนิทนั้นแหละ นิพพานก็เป็นไปตามชั้นของอริยบุคคล พระโสดาบันก็ละกิเลสได้ระดับหนึ่ง พระสกทาคามีก็ละกิเลสได้อีกระดับหนึ่ง พระอนาคามีก็ละกิเลสได้ยิ่งขึ้นอีกระดับหนึ่ง จนกระทั่งระดับพระอรหันต์ก็ดับเพลิงทุกข์เพลิงกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง ใจก็จะเย็นสงบสนิทอย่างชนิดความเร่าร้อนความเศร้าหมองจะไม่กำเริบขึ้นมาได้ อีกเลย

เราก็มาเดินตามรอยพระบาทของพระพุทธเจ้า คือเดินตามคำสอนของพระพุทธองค์ อย่าคิดว่าเราไม่มีหน้าที่ปฏิบัติ เพราะเราทำงาน เรายังอายุไม่มาก เราไม่ได้อยู่วัด ไม่ใช่หน้าที่ของเรา อย่าไปคิดอย่างนั้น บุคคลใดที่มีความทุกข์ บุคคลใดที่ยังมีกิเลส บุคคลนั้นก็มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ เพราะการปฏิบัติก็เพื่อที่จะดับความทุกข์ เพื่อที่จะชำระกิเลส เหมือนคนที่ไม่มีโรค ก็เห็นว่าหมอไม่จำเป็น แต่คนที่มีโรคภัยไข้เจ็บ มีความเจ็บปวด ก็จำเป็นที่จะต้องใช้ยา ต้องได้รับการรักษาจากหมอ พวกเราก็มีโรคคือกิเลส จึงจำเป็นต้องมียารักษา ซึ่งธรรมโอสถที่พระพุทธเจ้าได้ประทานไว้ให้ก็คือ สมถะและวิปัสสนากรรมฐาน

ต่อไปนี้จะอธิบายแนวทางปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากรรมฐานพอเป็นสังเขป

แนวทางที่ 1 คือ เจริญสมถะก่อน แล้วต่อวิปัสสนาทีหลัง วิธีปฏิบัติก็คือทำจิตให้นิ่ง โดยเพ่งลมหายใจหรือเพ่งกสิณต่างๆ ซึ่งมีถึง 10 อย่าง หรือเพ่งอสุภะ เป็นต้น เพ่งจนกระทั่งได้ฌาน เมื่อได้ฌาน ก็จะมีปิติ มีความสุข มีสมาธิ เรียกว่า องค์ฌาน และจึงยกองค์ฌานนั้นๆ มาพิจารณา โดยน้อมมากำหนดที่ปีติ ที่ความสุข ที่สมาธิ ดูจิต ดูผู้รู้ ผู้ดูจนเห็นความเปลี่ยนแปลง เกิดดับ เห็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็เข้าสู่วิปัสสนาได้

แนวทางที่ 2 คือ เจริญวิปัสสนาไปเลย แล้วสมถะก็ตามมาทีหลัง แนวทางนี้ก็คือการเจริญสติในชีวิตประจำวันนั่นแหล่ะ วิธีการปฏิบัติก็คือ เมื่อยืน เดิน นั่ง นอน คู้เหยียด เคลื่อนไหว เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส คิดนึก รู้สึกอะไรต่างๆ ก็เจริญสติระลึกรู้

แต่การระลึกนี้ต้องให้ตรงต่อสภาวะปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏ คือ ลักษณะการเห็น การได้ยิน การรู้กลิ่น การรู้รส การรู้สัมผัสเหล่านี้ เป็นสภาวะปรมัตถ์ ต้องกำหนดรู้ว่าลักษณะเห็น ลักษณะได้ยินเป็นอย่างไร ลักษณะรู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัสที่เกิดที่ตัวเรานี้เป็นอย่างไร เมื่อเห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัสเย็นบ้าง ร้อนบ้าง ตึงบ้าง หย่อนบ้าง อ่อนแข็งบ้าง ไหวบ้าง สบาย ไม่สบาย คิดนึก ใจรู้สึกระลึกไปต่างๆ ก็ให้สังเกตไปทั้งหมด ที่เกิดที่กายที่ใจนี้ หมั่นสังเกต หมั่นระลึกบ่อยๆ สติก็จะเจริญขึ้น และจะเก่งเท่าทันต่อสภาวะ นอกจากนี้ ก็ให้ฝึกปล่อยวางอยู่ในตัว คือต้องรู้ละรู้ปล่อยรู้วาง ในที่สุดสมาธิก็จะเกิดขึ้นมาเอง

แนวทางที่ 3 คือ เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป ซึ่งคนในยุคปัจจุบันส่วนใหญ่จะเหมาะกับประเภทนี้ เพราะคนในยุคปัจจุบันจะให้ไปเจริญสมถะจนได้ฌาน ให้จิผายลมับนิ่ง สามารถเข้าฌาน-ออกฌานได้คล่องแคล่วนั้น ไม่ใช่ทำได้ง่าย เพราะต้องอยู่ในสถานที่สงบวิเวกจริงๆ มีคนเป็นส่วนน้อยที่อยู่ในสถานที่ไม่สงบ แต่สามารถทำจิตให้นิ่งจนได้ฌานได้

ฉะนั้น เมื่อเราปฏิบัติตามแนวทางที่ 1 คือทำฌานก่อน ก็ทำไม่ได้ จะเจริญวิปัสสนาไปเลย ตามแนวทางที่ 2 ก็มีปัญญาไม่พอ ยังไม่รู้จักรูปนาม กำหนดไม่ถูก ไม่รู้ว่าสภาวะปรมัตถ์เป็นอย่างไร บัญญัติเป็นอย่างไร และบางคนถ้าไม่มีสมาธิบ้างเลย จิตก็ล่องลอย ตั้งสติไม่อยู่ บางคนจึงต้องมีสมาธิอยู่บ้าง จึงจะระลึกอยู่ได้ ถ้าเราเป็นเช่นนี้ ก็ต้องใช้แนวทางที่ 3 เรียกว่า ยุคนันทะสมถวิปัสสนา หมายถึง การเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป วิธีปฏิบัติก็คือเจริญสมถกรรมฐาน ซึ่งมีวิธีการเจริญได้หลายอย่าง จะเจริญอานาปานสติ คือ ดูลมหายใจเข้าออก คู่กับวิปัสสนาก็ได้ จะเจริญมรณานุสสติ คือระลึกถึงความตายคู่กับวิปัสสนาก็ได้ หรือจะเจริญเมตตา คือแผ่เมตตาคู่กับวิปัสสนาก็ได้ เป็นต้น

เมื่อพูดถึงแนวทางที่ 3 คือการเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป โดยเน้นที่การเจริญเมตตาคู่กับการเจริญวิปัสสนา เพราะเห็นว่าจะได้รับประโยชน์ 2 อย่าง คือ

1. ประโยชน์จากการเจริญเมตตา ซึ่งมีอานิสงส์มาก

2. ประโยชน์จากการเจริญวิปัสสนา ซึ่งยิ่งประเสริฐในการที่จะชำระกิเลสให้หมดสิ้นไป

สำหรับประโยชน์ของการเจริญเมตตานั้น พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ผู้ที่เจริญเมตตาอยู่เนืองนิตย์ จนจิตมีเมตตาได้จริงๆ จะประสบผลเป็นอานิสงส์ 11 ประการ คือ

1. หลับเป็นสุข หลับอย่างสบาย หลับสนิทดี ไม่ใช่หลับๆ ตื่นๆ อะไรอย่างนั้น

2. ตื่นเป็นสุข ตื่นมาก็เป็นสุข จิตใจแจ่มใส เบิกบาน บางทีไม่ต้องใช้เวลาหลับ

นานก็พอ เพราะว่าได้หลับสนิทนอนเต็มอิ่มเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

3. ไม่ฝันร้าย ถ้าจะฝันก็ฝันดี บางคนนอกจากนอนหลับไม่สนิทแล้ว ยังฝันมั่วไปหมด ฝันแล้วก็จำไม่ได้ เวลาฝันสมองส่วนหนึ่งไม่ได้พัก เพราะจิตส่วนหนึ่งต้องขึ้นมาคิดในวิถีจิต เมื่อหลับไม่สนิท ร่างกายก็เลยไม่สบาย เพราะพักไม่สนิท แต่ถ้าเราเจริญเมตตาอยู่เนืองนิตย์ แม้เพียงก่อนนอนเจริญเมตตาให้ดี ให้จิตใจเกลี้ยงเกลา มีความเมตตาจริงๆ หลับก็เป็นสุข ตื่นก็เป็นสุข ไม่ฝันร้าย

4. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย ถ้าเรามีเมตตา ใครเห็นเราก็จะมีความรัก มีความเมตตาต่อเรา อยากจะช่วย อยากเอื้อเฟื้อ อยากคุย อยากเห็นเรา ไม่ใช่ว่าเห็นหน้าเราแล้วก็อยากจะหนี ไม่อยากมอง ไม่อยากพูด ไม่อยากเอื้อเฟื้อช่วยเหลือ นั่นแสดงว่าเป็นคนไม่มีเมตตา เพราะฉะนั้น ให้เจริญเมตตาไว้ แล้วจะเป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย

5. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย อมนุษย์ก็คือไม่ใช่มนุษย์ เช่นพวกเทวดาก็ดี ภูติผีปีศาจอะไรก็แล้วแต่เหล่านี้ก็ดี ซึ่งบางทีก็เล่นงานเบียดเบียนมนุษย์ได้ อย่างเราไปนอนในสถานที่บางแห่งเขาก็มาเบียดเบียนเรา แต่ถ้าเราเจริญเมตตา แผ่เมตตาให้เขา เขาก็จะกลับจิตกลับใจมีเมตตาต่อเรา บางทีเขาก็จะสงเคราะห์อนุเคราะห์เราเหมือนกับแม่อนุเคราะห์บุตร

6. เทวดารักษา เทวดารักษาน่ะดีกว่ามนุษย์รักษา เช่นมีบางสิ่งบางอย่างมาอย่างลี้ลับ เราก็ต้องอาศัยเทวดาคุ้มครองรักษา ปัดเป่าให้เราปลอดภัย เดินทางปลอดภัย ทำอะไรก็ปลอดภัย หรือเมื่อมีพวกคิดร้ายคิดไม่ดีเข้ามา เทวดาก็ช่วยปัดเป่าให้ได้เหมือนกัน

7. ศาสตราอาวุธ ไฟ ยาพิษ เป็นต้น ทำอันตรายไม่ได้

8. หน้าตาผ่องใส คนมีเมตตาผิวหน้าก็ผ่องใส แววตาก็แจ่มใส ไม่เครียด ทำให้มีคนอยากพบ อยากเห็น อยากคุย อยากช่วยเหลือ เพราะว่าหน้าตาน่าดูไม่บึ้งตึง

9. สมาธิตั้งมั่นได้เร็ว ผู้ที่เจริญเมตตาจะมีจิตที่มีความสุข อันจะยังผลให้เกิดสมาธิได้ เพราะความสุขเป็นเหตุของสมาธิ

10. ไม่หลงตาย คือในขณะที่จะตายจิตไม่เศร้าหมอง อันจะเป็นประโยชน์ในภพชาติต่อไป เพราะว่าถ้าไม่หลงตายก็ไปเกิดในสุคติภูมิ ถ้าคนหลงตายก็ไปเกิดในทุคติภูมิ ถ้าคนหลงตายคือจิตเศร้าหมองก็ลงไปสู่อบายภูมิ ไปเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดียรฉานได้

11. ตายแล้วไปสู่พรหมโลก ไปเกิดเป็นพรหม แต่ผู้นั้นต้องได้ฌานด้วยนะ เพราะการเจริญเมตตาสามารถทำให้ได้ถึงมโนจิต หรือแม้ว่าเราไม่ได้มโนจิต แต่ถ้าจิตของการเจริญเมตตาส่งผลในขณะใกล้จะตาย ก็จะไปเกิดในสุคติภูมิ เป็นมนุษย์ หรือเทวดาได้

เมื่ออานิสงส์ของการเจริญเมตตามีมากมายถึง 11 ประการดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้นี้ เราจึงควรจะเจริญเมตตาอยู่เนืองนิตย์ ต่อไปก็จะอธิบายถึงวิธีการแผ่เมตตา

วิธีการแผ่เมตตาสามารถทำได้โดยอันดับแรก แผ่ให้แก่ตนเองก่อนโดยจะกล่าวในใจก็ได้ว่า

“อะหัง สุขิโต โหมิ

ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุข

อะหัง นิททุกโข โหมิ

ขอให้ข้าพเจ้าจงปราศจากทุกข์

อะหัง อะเวโร โหมิ

ขอให้ข้าพเจ้าจงปราศจากเวร

อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ

ขอให้ข้าพเจ้าจงปราศจากความลำบาก

อะหัง อะนีโฆ โหมิ

ขอให้ข้าพเจ้าจงปราศจากอุปสรรค

สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ

รักษาตนให้มีความสุขตลอดกาลนาน (เทอญ)”

แผ่ให้แก่ตนเองก่อนเพื่อเอาตนเองเป็นพยานว่า เอ้อ ! เรานี่ก็มีความรักตนเอง คนอื่นๆ เขาก็ต้องรักตัวเอง รักตัวของเขาเหมือนกัน เวลานึกถึงสัตว์อื่น เราจะได้เห็นอกเห็นใจมีเมตตาต่อเขาได้ง่าย

ต่อจากนั้นจึงแผ่ให้แก่คนอื่น การแผ่ให้คนอื่นนั้น ถ้าแผ่เดี่ยวๆ แผ่เป็นคนๆ ก็มีวิธีว่า อย่าเพิ่งแผ่ให้กับคนที่ไม่ถูกกัน ที่เป็นศัตรูกัน หรือคนที่เรารักมากก่อน เพราะว่าแผ่ให้กับคนที่ไม่ถูกกันหรือเป็นศัตรูกันนั้น แผ่ไปทีไรเดี๋ยวก็แผ่ไปแต่ความโกรธ จึงไม่ได้แผ่เมตตา นึกถึงทีไรโกรธทุกที ส่วนคนที่เรารักมาก เวลาแผ่ไปจะเป็นเมตตาเทียม กลายเป็นแผ่ตัณหาเสียมากกว่าแผ่เมตตา แล้วความเสียใจก็ตามมาอีก

ท่านจึงสอนว่า ถ้าเมตตาเดี่ยวๆ ให้แผ่แก่คนที่เป็นที่รักพอประมาณหรือคนรักนับถือพอกลางๆ ก่อน แล้วค่อยแผ่ให้คนที่เรารักมาก หรือจนสุดท้ายจึงแผ่ให้ศัตรู แผ่กลับไปกลับมาอย่างนี้ แต่ถ้าแผ่ไปให้ศัตรูแล้วใจมันไม่ไป ก็กลับมาแผ่ให้แก่คนที่เราแผ่ได้ก่อน แล้วค่อยกลับไปแผ่ให้ศัตรูใหม่ ส่วนการแผ่รวมๆ สามารถแผ่รวมไปหมดแก่ใครๆ ก็ตามได้เลย โดยกล่าวว่า

“สัพเพ สัตตา

ขอให้สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

อะเวรา

จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

อัพยาปัชฌา

จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

อะนีฆา

จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด”

แผ่อย่างนี้ นึกซ้ำๆ บ่อยๆ เข้าเพื่อจะดึงจิตเราให้คล้อยตาม คือให้จิตมีเมตตาจริงๆ แต่ถ้าหากว่าภาษาบาลีเราไม่ถนัด นั่งนึกแต่บาลีจำไม่ได้ก็เลยเครียด แผ่แล้วอย่าให้สมองเครียดเพราะเป้าหมายจริงๆ ของการแผ่เมตตา คือให้เข้าถึงความโปร่งเบาทางจิต เมื่อจิตมีความสุขก็มีสมาธิ เพราะความสุขเป็นเหตุของสมาธิ เพราะฉะนั้นเราต้องปรับสมอง ปรับใจของเราให้สบายๆ ถ้าแผ่เป็นภาษาบาลีไม่ได้ ก็แผ่เป็นภาษาไทยง่ายๆ ว่า

“ขอให้สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตาย ทั้งหมดทั้งสิ้น จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้ทุกข์กายทุกข์ใจเลย จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด”

แผ่เป็นภาษาไทยอย่างนี้ วนๆ ซ้ำๆ อยู่อย่างนั้น ให้จิตคล้อยตาม หรือถ้ายังยาวไปมันหลายบท จำยาก จำไม่ได้ ก็ใช้บทเดียวก็ได้ว่า “ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขๆ เถิด ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขๆ เถิด” ว่าอย่างนี้ซ้ำไปซ้ำมา “ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขๆ เถิด” แล้วก็พยายามน้อมให้จิตคล้อยตาม คือเราอาจจะไม่ต้องไปนึกเห็นหน้าตาของคนที่เราแผ่เมตตาให้ชัดเจน แต่ให้นึกแบบรวมๆ

เหมือนเราแผ่เมตตาให้เป็นวงกว้างออกจากตัวออกจากใจของเรา แผ่ขยายออกไป แผ่ออกไปกว้างๆ เหมือนแสงที่กระจายออกไปจากรอบตัวเรา กว้างออกไป...กว้างออกไป...นึกแผ่ออกไปให้รวมๆ ไปทั้งหมดทุกชีวิต ทั้งมนุษย์ ทั้งเทวดา ทั้งสัตว์ในอบายภูมิ ซึ่งเรารวมเรียกว่าสัตว์ทั้งหลาย นอกจากนี้ก็ต้องแผ่อยู่บ่อยๆ รู้สึกตัวตื่นขึ้นมาก็แผ่ว่า สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขๆ เถิด สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขๆ เถิด

เดินทางไปไหนมาไหน นั่งอยู่ในรถเราก็แผ่ไปในรถ แผ่ไปนึกไปทั่วไปหมด ขอให้มีความสุข มีความสุขทั้งมนุษย์ ทั้งที่ไม่ใช่มนุษย์ก็ตาม อยู่ที่ทำงานก็แผ่ให้คนที่ทำงานทุกคนว่า ขอให้มีความสุขๆ อยู่ตรงไหนก็นึกแผ่อยู่เรื่อยๆ แผ่ให้จิตมีความสุข

ถ้าจิตมีเมตตาจริงๆ ก็จะเกิดความสุขความอิ่มเอิบขึ้นในใจ แล้วก็จะแผ่ขยายฉายออกไปทางใบหน้าและแววตา หน้าตาและแววตาก็จะแจ่มใสมีความสุขขึ้น ผิวหน้าจะสดใส มันจะฉายออกมา เมตตาเป็นจิตที่เป็นกุศล เมื่อจิตมีเมตตา กุศลก็เกิดขึ้น บุญเกิดขึ้นก็จะคุ้มครองรักษาตัวเราให้มีความสุข ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องของการเจริญเมตตา ซึ่งเป็นสมถกรรมฐาน

ต่อไปจะอธิบายวิธีการเจริญสมถะ โดยเฉพาะการเจริญเมตตาควบคู่กับการเจริญวิปัสสนาว่าจะทำได้อย่างไร

การเจริญวิปัสสนามีหลักอยู่ว่า ผู้ปฏิบัติจะต้องมีสติระลึกรู้สภาวธรรมที่ปรากฏ ในที่นี้เมื่อเราเจริญเมตตา ก็ให้ระลึกรู้เข้ามาที่หน้าตาและที่ใจ ในขณะที่เราแผ่เมตตาออกไป แผ่ไป...แผ่ไป...ก็ให้มีสติระลึกสังเกผายลมูสภาพของใจ สังเกตว่าใจรู้สึกอิ่มเอิบ มีความสุขมั้ย ส่วนความรู้สึกของแก้ม ของหน้า ของตา เราสามารถสังเกตความรู้สึกด้วยตัวเองได้ว่าหน้าตาเราบึ้งหรือหน้าตาเราแจ่ม ใสคลี่คลาย ปากเราเป็นอย่างไร ยิ้มมั้ย

ถ้าเรารู้สึกได้ว่าใจอิ่มเอิบ มีความสุข ปากยิ้มได้ แสดงว่าจิตมีเมตตาจริงและก็เป็นวิปัสสนาด้วย เพราะสติได้มาระลึกรู้ที่ใจหรือที่จิตซึ่งเป็นสภาวะ ส่วนความรู้สึกที่หน้าตาและที่ปากนั้นเป็นจิตตชรูป เพราะปากจะยิ้มได้ต้องมาจากจิต ถ้าจิตอิ่ม จิตมีความสุข ปากจะยิ้ม ปากที่ยิ้มเกิดจากจิตเรียกว่าจิตตชรูป คือ จิตที่ทำให้เกิดการยิ้มได้

และผู้มีเมตตานั้นนอกจากจิตจะรู้สึกแจ่มใสแล้ว ดวงตายังแจ่มใสเหมือนยิ้มได้นะ คนที่มีนิสัยมีจิตใจเมตตา เวลาพูดไปก็เหมือนกับเขายิ้มไปในตัว ตายิ้ม ปากยิ้ม ใจยิ้ม มันมาจากใจ เพราะฉะนั้น ถ้าใจขุ่น ตาก็ขุ่น ปากก็ไม่ยิ้ม หน้าก็เครียด ดวงตาเป็นหน้าต่างของใจ ถ้าดูที่ตาก็จะรู้ไปถึงใจ ถ้าใจดีใจอิ่มเอิบ แววตาก็ดี ปากก็ยิ้ม จึงให้สังเกตความรู้สึกที่อิ่มเอิบ สังเกตใจที่มีปิติ มีความสุข สังเกตความผ่องใสในใจ ใจที่มีเมตตาจะผ่องใส เพราะกิเลสในใจขณะนั้นได้ถูกชำระออกไป ใจจึงอิ่มเอิบ หน้าตาแจ่มใส เมื่อมีสติมาระลึกถึงสภาพธรรมเหล่านี้ก็เป็นวิปัสสนา

แต่ถ้าเราเจริญเมตตาเสียจังหวะ บางทีก็ทำให้เคร่งตึงได้ ถ้าเราแผ่เมตตาแล้วรู้สึกว่าสมองเครียด แผ่แล้วรู้สึกเคร่งตึง ก็ต้องลดการแผ่เมตตาลง แล้วให้มาเจริญวิปัสสนาด้วยความปล่อยวางมากขึ้น คือ เปลี่ยนจากการเจริญเมตตาที่นึกให้สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขเป็นสุข เปลี่ยนมาเป็นคำว่า “ปล่อยวาง” แทน ดังนั้น เมื่อเราจับความรู้สึกในสมอง ในสรีระได้ว่า มันตึงๆ สติระลึกรู้ความรู้สึกที่เคร่งตึงนั้น ก็สอนใจตนเองว่า ปล่อยวางนะ...ปล่อยวาง...ปล่อยวาง...ซึ่งเป็นวิปัสสนา เป็นวิปัสสนาที่รวบยอด คือจะระลึกรู้อย่างปล่อยวาง พอรู้อย่างปล่อยวาง ความรู้สึกตึงๆ ในสมองจะคลาย สรีระจะคลาย

นอกจากนี้ การเจริญเมตตายังช่วยทำให้จิตตื่น และช่วยให้มีสติได้ด้วย สมมติว่าเราเป็นคนที่ระลึกไม่ค่อยจะได้ เป็นคนไม่ค่อยมีสติ ชอบเผลอ ตามหลักแล้ว การเจริญสติสามารถระลึกรู้ได้ทุกหนทุกแห่ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ แต่เราไม่ยอมมีสติ จะทำอย่างไร บังคับก็ไม่ได้ ก็ให้ลองเจริญเมตาควบคู่กับวิปัสสนา จะพบว่า เจริญเมตตาก็มีสติได้ พอเจริญเมตตาทีไร ก็จะกลับมามีสติระลึกได้ทุกที เลยกลายเป็นว่า เราอาศัยการเจริญเมตตาแล้วทำให้มีวิปัสสนาตามมา

อีกประการหนึ่งที่เป็นผลพลอยได้ คือทำให้จิตไม่เบลอ คนที่จิตเลื่อนลอย คือจิตไม่ทำงาน นั่งแล้วเบลอ ง่วงๆ ไม่มีสติสัมปชัญญะ ถ้าเจริญเมตตา จิตก็จะทำงานขึ้นมา เพียงแค่นึกว่า ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงมีความสุขนะ...ขอให้สัตว์ทั้งหลายมีความสุขนะ...จิตจะ ทำงาน จิตจะตื่น มีสติมาดูจิตได้อีก อย่างนี้เรียกว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป

สมถะ คือการเจริญเมตตา ทำให้จิตสงบ

วิปัสสนา คือระลึกรู้สภาวะที่กำลังปรากฏด้วยความปล่อยวาง

ฉะนั้น การเจริญเมตตากับการเจริญวิปัสสนาควบคู่กันไป เจริญเมตตาเป็นสมถกรรมฐาน ระลึกรู้สภาวะเป็นวิปัสสนากรรมฐาน เรียกว่า ยุคนันทะสมถะวิปัสสนา และก็แถมให้อีกว่า ที่ว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันนี้ สามารถไปคู่กับสมถะบทอื่นได้หลายๆ อย่าง เช่น คู่กับอาณาปานสติ คือ การกำหนดระลึกรู้ลมหายใจเข้าออก แล้วก็เจริญวิปัสสนาควบคู่กัน การเจริญอาณาปานสตินี้เป็นสมถะกรรมฐาน เพราะเป็นการระลึกอารมณ์บัญญัติ

การเจริญอาณาปานสติทำอย่างไร ตามแนวมหาสติปัฏฐาน พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า ให้มีสติรู้ลมหายใจเข้า มีสติรู้ลมหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น สำเหนียกว่า จะกำหนดรู้กองลมหายใจทั้งหมดหายใจเข้า สำเหนียกว่า จะกำหนดรู้กองลมหายใจทั้งหมดหายใจออก สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร (ลมหายใจ) หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขารหายใจออก นี้เป็นวิธีการเจริญอาณาปานสติ ซึ่งทำให้เกิดสมาธิ

แผ่อย่างนี้ นึกซ้ำๆ บ่อยๆ เข้าเพื่อจะดึงจิตเราให้คล้อยตาม คือให้จิตมีเมตตาจริงๆ แต่ถ้าหากว่าภาษาบาลีเราไม่ถนัด นั่งนึกแต่บาลีจำไม่ได้ก็เลยเครียด แผ่แล้วอย่าให้สมองเครียดเพราะเป้าหมายจริงๆ ของการแผ่เมตตา คือให้เข้าถึงความโปร่งเบาทางจิต เมื่อจิตมีความสุขก็มีสมาธิ เพราะความสุขเป็นเหตุของสมาธิ เพราะฉะนั้นเราต้องปรับสมอง ปรับใจของเราให้สบายๆ ถ้าแผ่เป็นภาษาบาลีไม่ได้ ก็แผ่เป็นภาษาไทยง่ายๆ ว่า

“ขอให้สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตาย ทั้งหมดทั้งสิ้น จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้ทุกข์กายทุกข์ใจเลย จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด”

แผ่เป็นภาษาไทยอย่างนี้ วนๆ ซ้ำๆ อยู่อย่างนั้น ให้จิตคล้อยตาม หรือถ้ายังยาวไปมันหลายบท จำยาก จำไม่ได้ ก็ใช้บทเดียวก็ได้ว่า “ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขๆ เถิด ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขๆ เถิด” ว่าอย่างนี้ซ้ำไปซ้ำมา “ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขๆ เถิด” แล้วก็พยายามน้อมให้จิตคล้อยตาม คือเราอาจจะไม่ต้องไปนึกเห็นหน้าตาของคนที่เราแผ่เมตตาให้ชัดเจน แต่ให้นึกแบบรวมๆ

เหมือนเราแผ่เมตตาให้เป็นวงกว้างออกจากตัวออกจากใจของเรา แผ่ขยายออกไป แผ่ออกไปกว้างๆ เหมือนแสงที่กระจายออกไปจากรอบตัวเรา กว้างออกไป...กว้างออกไป...นึกแผ่ออกไปให้รวมๆ ไปทั้งหมดทุกชีวิต ทั้งมนุษย์ ทั้งเทวดา ทั้งสัตว์ในอบายภูมิ ซึ่งเรารวมเรียกว่าสัตว์ทั้งหลาย นอกจากนี้ก็ต้องแผ่อยู่บ่อยๆ รู้สึกตัวตื่นขึ้นมาก็แผ่ว่า สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขๆ เถิด สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขๆ เถิด

เดินทางไปไหนมาไหน นั่งอยู่ในรถเราก็แผ่ไปในรถ แผ่ไปนึกไปทั่วไปหมด ขอให้มีความสุข มีความสุขทั้งมนุษย์ ทั้งที่ไม่ใช่มนุษย์ก็ตาม อยู่ที่ทำงานก็แผ่ให้คนที่ทำงานทุกคนว่า ขอให้มีความสุขๆ อยู่ตรงไหนก็นึกแผ่อยู่เรื่อยๆ แผ่ให้จิตมีความสุข

ถ้าจิตมีเมตตาจริงๆ ก็จะเกิดความสุขความอิ่มเอิบขึ้นในใจ แล้วก็จะแผ่ขยายฉายออกไปทางใบหน้าและแววตา หน้าตาและแววตาก็จะแจ่มใสมีความสุขขึ้น ผิวหน้าจะสดใส มันจะฉายออกมา เมตตาเป็นจิตที่เป็นกุศล เมื่อจิตมีเมตตา กุศลก็เกิดขึ้น บุญเกิดขึ้นก็จะคุ้มครองรักษาตัวเราให้มีความสุข ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องของการเจริญเมตตา ซึ่งเป็นสมถกรรมฐาน

ต่อไปจะอธิบายวิธีการเจริญสมถะ โดยเฉพาะการเจริญเมตตาควบคู่กับการเจริญวิปัสสนาว่าจะทำได้อย่างไร

การเจริญวิปัสสนามีหลักอยู่ว่า ผู้ปฏิบัติจะต้องมีสติระลึกรู้สภาวธรรมที่ปรากฏ ในที่นี้เมื่อเราเจริญเมตตา ก็ให้ระลึกรู้เข้ามาที่หน้าตาและที่ใจ ในขณะที่เราแผ่เมตตาออกไป แผ่ไป...แผ่ไป...ก็ให้มีสติระลึกสังเกผายลมูสภาพของใจ สังเกตว่าใจรู้สึกอิ่มเอิบ มีความสุขมั้ย ส่วนความรู้สึกของแก้ม ของหน้า ของตา เราสามารถสังเกตความรู้สึกด้วยตัวเองได้ว่าหน้าตาเราบึ้งหรือหน้าตาเราแจ่ม ใสคลี่คลาย ปากเราเป็นอย่างไร ยิ้มมั้ย

ถ้าเรารู้สึกได้ว่าใจอิ่มเอิบ มีความสุข ปากยิ้มได้ แสดงว่าจิตมีเมตตาจริงและก็เป็นวิปัสสนาด้วย เพราะสติได้มาระลึกรู้ที่ใจหรือที่จิตซึ่งเป็นสภาวะ ส่วนความรู้สึกที่หน้าตาและที่ปากนั้นเป็นจิตตชรูป เพราะปากจะยิ้มได้ต้องมาจากจิต ถ้าจิตอิ่ม จิตมีความสุข ปากจะยิ้ม ปากที่ยิ้มเกิดจากจิตเรียกว่าจิตตชรูป คือ จิตที่ทำให้เกิดการยิ้มได้

และผู้มีเมตตานั้นนอกจากจิตจะรู้สึกแจ่มใสแล้ว ดวงตายังแจ่มใสเหมือนยิ้มได้นะ คนที่มีนิสัยมีจิตใจเมตตา เวลาพูดไปก็เหมือนกับเขายิ้มไปในตัว ตายิ้ม ปากยิ้ม ใจยิ้ม มันมาจากใจ เพราะฉะนั้น ถ้าใจขุ่น ตาก็ขุ่น ปากก็ไม่ยิ้ม หน้าก็เครียด ดวงตาเป็นหน้าต่างของใจ ถ้าดูที่ตาก็จะรู้ไปถึงใจ ถ้าใจดีใจอิ่มเอิบ แววตาก็ดี ปากก็ยิ้ม จึงให้สังเกตความรู้สึกที่อิ่มเอิบ สังเกตใจที่มีปิติ มีความสุข สังเกตความผ่องใสในใจ ใจที่มีเมตตาจะผ่องใส เพราะกิเลสในใจขณะนั้นได้ถูกชำระออกไป ใจจึงอิ่มเอิบ หน้าตาแจ่มใส เมื่อมีสติมาระลึกถึงสภาพธรรมเหล่านี้ก็เป็นวิปัสสนา

แต่ถ้าเราเจริญเมตตาเสียจังหวะ บางทีก็ทำให้เคร่งตึงได้ ถ้าเราแผ่เมตตาแล้วรู้สึกว่าสมองเครียด แผ่แล้วรู้สึกเคร่งตึง ก็ต้องลดการแผ่เมตตาลง แล้วให้มาเจริญวิปัสสนาด้วยความปล่อยวางมากขึ้น คือ เปลี่ยนจากการเจริญเมตตาที่นึกให้สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขเป็นสุข เปลี่ยนมาเป็นคำว่า “ปล่อยวาง” แทน ดังนั้น เมื่อเราจับความรู้สึกในสมอง ในสรีระได้ว่า มันตึงๆ สติระลึกรู้ความรู้สึกที่เคร่งตึงนั้น ก็สอนใจตนเองว่า ปล่อยวางนะ...ปล่อยวาง...ปล่อยวาง...ซึ่งเป็นวิปัสสนา เป็นวิปัสสนาที่รวบยอด คือจะระลึกรู้อย่างปล่อยวาง พอรู้อย่างปล่อยวาง ความรู้สึกตึงๆ ในสมองจะคลาย สรีระจะคลาย

นอกจากนี้ การเจริญเมตตายังช่วยทำให้จิตตื่น และช่วยให้มีสติได้ด้วย สมมติว่าเราเป็นคนที่ระลึกไม่ค่อยจะได้ เป็นคนไม่ค่อยมีสติ ชอบเผลอ ตามหลักแล้ว การเจริญสติสามารถระลึกรู้ได้ทุกหนทุกแห่ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ แต่เราไม่ยอมมีสติ จะทำอย่างไร บังคับก็ไม่ได้ ก็ให้ลองเจริญเมตาควบคู่กับวิปัสสนา จะพบว่า เจริญเมตตาก็มีสติได้ พอเจริญเมตตาทีไร ก็จะกลับมามีสติระลึกได้ทุกที เลยกลายเป็นว่า เราอาศัยการเจริญเมตตาแล้วทำให้มีวิปัสสนาตามมา

อีกประการหนึ่งที่เป็นผลพลอยได้ คือทำให้จิตไม่เบลอ คนที่จิตเลื่อนลอย คือจิตไม่ทำงาน นั่งแล้วเบลอ ง่วงๆ ไม่มีสติสัมปชัญญะ ถ้าเจริญเมตตา จิตก็จะทำงานขึ้นมา เพียงแค่นึกว่า ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงมีความสุขนะ...ขอให้สัตว์ทั้งหลายมีความสุขนะ...จิตจะ ทำงาน จิตจะตื่น มีสติมาดูจิตได้อีก อย่างนี้เรียกว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป

สมถะ คือการเจริญเมตตา ทำให้จิตสงบ

วิปัสสนา คือระลึกรู้สภาวะที่กำลังปรากฏด้วยความปล่อยวาง

ฉะนั้น การเจริญเมตตากับการเจริญวิปัสสนาควบคู่กันไป เจริญเมตตาเป็นสมถกรรมฐาน ระลึกรู้สภาวะเป็นวิปัสสนากรรมฐาน เรียกว่า ยุคนันทะสมถะวิปัสสนา และก็แถมให้อีกว่า ที่ว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันนี้ สามารถไปคู่กับสมถะบทอื่นได้หลายๆ อย่าง เช่น คู่กับอาณาปานสติ คือ การกำหนดระลึกรู้ลมหายใจเข้าออก แล้วก็เจริญวิปัสสนาควบคู่กัน การเจริญอาณาปานสตินี้เป็นสมถะกรรมฐาน เพราะเป็นการระลึกอารมณ์บัญญัติ

การเจริญอาณาปานสติทำอย่างไร ตามแนวมหาสติปัฏฐาน พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า ให้มีสติรู้ลมหายใจเข้า มีสติรู้ลมหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น สำเหนียกว่า จะกำหนดรู้กองลมหายใจทั้งหมดหายใจเข้า สำเหนียกว่า จะกำหนดรู้กองลมหายใจทั้งหมดหายใจออก สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร (ลมหายใจ) หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขารหายใจออก นี้เป็นวิธีการเจริญอาณาปานสติ ซึ่งทำให้เกิดสมาธิ

ที่มา การเจริญภาวนา (สุรศักดิ์ เขมรํสี)

11 กค. 54
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 22 กันยายน 2554 00:16:54 »

ยํ กิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งใดสิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา
พระอัญญาโกณฑัญญะเห็นแจ้งเมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรม "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" ในวันอาสาฬหบูชา

11 กค. 54
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 22 กันยายน 2554 00:18:03 »

ประวัติความเป็นมา วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘  ดวงจันทร์ เสวยมาฆฤกษ์  วันอาสาฬหบูชาเป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก โดยการแสดงปฐมเทศนา โปรดปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ จนพระอัญญาโกณฑัญญะได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้เป็นวันแรกที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นครบองค์พระรัตนตรัย

                อาสาฬห เป็นชื่อเดือน ๘ อาสาฬหบูชา ย่อมาจากคำว่า อาสาฬหบูรณมีบูชา แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๘ ถ้าปีใดมีเดือน ๘ สองครั้ง ก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘  ในปี ๒๕๕๔ ตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๕ มิถุนายนนี้

                หลังจากที่สมเด็จพระพุทธองค์ ได้ตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือน ๖ แล้ว ได้ทรงใช้เวลาทบทวนสัจธรรมและทรงคำนึงว่าพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นี้ลึกซึ้งมาก ยากที่ผู้อื่นจะรู้ตาม แต่อาศัยพระกรุณานี้เป็นที่ตั้ง จึงทรงพิจารณาแบ่งบุคคลออกเป็น ๔ ประเภท (บัว ๔ เหล่า) คือ

๑.     อุคฆฎิตัญญู  ดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ

๒.     วิปัจจิตัญญู  ดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำ

๓.     เนยยะ  ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ

๔.     ปทปรมะ  ดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม

จึงทรงมีพระกรุณาธิคุณ ระลึกถึงอาฬารดาบสและอุททกดาบส ว่ามีกิเลสเบาบางสามารถตรัสรู้ได้ทันที แต่ท่านทั้ง ๒ ได้ตายแล้ว จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ ได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ คือ ท่านโกณฑัญญะ ท่านวัปปะ ท่านภัททิยะ ท่านมหานามะ และท่านอัสชิ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้อุปฐากพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งยังทรงบำเพ็ญทุกข์กิริยาอยู่  โดยแสดงพระธรรม ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันคือสารนาถ เมืองพาราณสี พระธรรมที่แสดงคือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เมื่อเทศนาจบ ท่านโกณฑัญญะ  หนึ่งในปัญจวัคคีย์ เกิดความเสื่อมใสในพระธรรมของพระพุทธเจ้า จนได้ดวงตาเห็นธรรม  มีความเห็นแจ้งชัดว่า

                ยํ กิญฺจิ สมุทยธมฺมํ      สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ

            สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา    สิ่งใดสิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา

เมื่อได้ดวงตาเห็นธรรมท่านโกณฑัญญะจึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ประทานอุปสมบทให้ ด้วยวิธีที่เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา โดยกล่าวคำว่า เธอจงมาเป็นภิกษุเกิด พระอัญญาโกณฑัญญะจึงเป็น พระอริยสงฆ์องค์แรก

            คำว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แปลว่าสูตรของการหมุนวงล้อแห่งพระธรรมให้เป็นไปมีความโดยย่อว่า

            ที่สุด ๒ อย่างที่บรรพชิตไม่ควรประพฤติปฏิบัติคือ การประกอบตนให้อยู่ในความสุขด้วยกาม ซึ่งเป็นธรรมอันเลวเป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ที่สุดอีกทางหนึ่งคือ การประกอบการทรมานตนให้เกิดความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

            การดำเนินตามทางสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้งสองอย่างนั้น เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้  ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาและญาณให้เกิด เป็นไปเพื่อความสงบระงับ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ และนิพพาน ทางสายกลาง ได้แก่ อริยมรรค มีองค์แปด คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ  และตั้งใจชอบ  อริยสัจสี่ คือความจริงอันประเสริฐที่พระองค์ค้นพบ มี ๔ ประการได้แก่ 

               ความทุกข์ ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความได้พบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น ว่าโดยย่อ  อุปาทานในขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

               สาเหตุแห่งทุกข์  ได้แก่ ตัณหาความทะยานอยาก อันทำให้เกิดอีกความกำหนัด เพลิดเพลินในอารมณ์ คือกามตัณหา ความทะยานอยากในกาม ภวตัณหา ความทะยานในภพ วิภวตัณหา ความทะยานอยากในความไม่มีภพ

               ความดับทุกข์  โดยการดับตัณหาด้วยอริยมรรค คือ วิราคะ สละ ดับ ปล่อยไป ไม่พัวพัน

               หนทางปฏิบัติเพื่อดับทุกข์  ได้แก่ อริยมรรคมีองค์  ๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การเจรจาชอบ การกระทำชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ความพยายามชอบ การระลึกชอบ และการตั้งจิตมั่นชอบ

                    ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่พระองค์ว่า

                    นี้เป็นทุกข์ อันควรกำหนดรู้  และพระองค์ ได้กำหนดรู้แล้ว

                    นี้เป็นสาเหตุแห่งทุกข์ อันควรละ และพระองค์ ได้ละแล้ว

                    นี้เป็นความดับทุกข์ อันควรทำให้แจ้ง  และพระองค์ ได้ทำให้แจ้งแล้ว

                    นี้เป็นหนทางดับทุกข์ อันควรเจริญ  และพระองค์ ได้เจริญแล้ว

            สรุปได้ว่า ปัญญาอันรู้เห็นแจ้งชัดตามความเป็นจริงในอริยสัจ ๔  มีรอบ ๓   มีอาการ ๑๒   คือ   ขั้นแรก รู้ว่า อริยสัจแต่ละอย่างนั้นเป็นอย่างไร ขั้นที่สองรู้ว่าควรจะทำอย่างไรในอริยสัจแต่ละประการนั้น และขั้นที่ 3 พระองค์ได้ กระทำตามนั้นสำเร็จเสร็จแล้ว

            พระองค์ทรงเน้นว่า จากการที่พระองค์ทรงค้นพบ คือตรัสรู้อริยสัจ ๔ ประการนี้ การที่พระองค์ทรงกล้าปฏิญญา   ว่าเป็นผู้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะพระองค์ได้รู้เห็นแจ้งชัดตามความเป็นจริง ในอริยสัจ ๔ มี รอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างหมดจดดีแล้ว

            เมื่อพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  ทรงประกาศพระธรรมจักร ให้เป็นไปแล้ว ได้มีการบันลือต่อ ๆ กันไปให้ทราบทั่วกันว่า พระธรรมอันยอดเยี่ยมที่พระองค์ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตเมืองพาราณสี อันใคร ๆ ในโลกจะปฏิวัติไม่ได้

วันอาสาฬหบูชามีเหตุการณ์สำคัญในทางพระพุทธศาสนาอยู่ ๓ ประการคือ

๑.       เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนา โดยทางแสดงพระปฐมเทศนา คือ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร   ประกาศสัจธรรมอันเป็นองค์แห่งพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่พระองค์ตรัสรู้ ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ สรรพสัตว์ทั้งหลาย

๒.      เป็นวันแรกที่บังเกิดพระอริยสงฆ์สาวกขึ้นในโลก คือ พระโกณฑัญญะ เมื่อได้ฟังพระปฐมเทศนาจบ ได้ดวงตาเห็นธรรม ได้ทูลขออุปสมบท และพระพุทธเจ้าได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีเอหิภิกษุอุปสัมปทา ในวันนั้น

๓.      เป็นวันแรกที่บังเกิดพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตน และพระสังฆรัตนะ ขึ้นในโลกอย่างสมบูรณ์บริบูรณ์

11 กค. 54
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 22 กันยายน 2554 00:19:01 »

" ความแก่และความตาย ไล่ต้อนอายุสัตว์ทั้งหลายไป เหมือนเด็กเลี้ยงโคถือท่อนไม้ คอยไล่ต้อนฝูงโคสู่ที่หากิน"

11 กค. 54
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 22 กันยายน 2554 00:20:10 »

การปฏิบัติธรรม คือการเอาชนะกิเลส ถ้าเราเอาชนะจิตใจที่ไหลไปตามกิเลส ไม่ปล่อยใจให้เป็นไปตามกิเลสได้ ก็เรียกว่าเราเอาชนะใจตนเอง"

" สนิมเกิดแต่เหล็ก กัดกินเหล็กฉันใด กรรมที่ตนทำไว้ ย่อมนำเขาไปทุคติฉันนั้น"

12 กค. 2554
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 22 กันยายน 2554 00:20:39 »

"อย่ามัวเสียใจกับเรื่องที่ผ่านมา
อย่าปล่อยให้แก่ชราแล้วตายไปเปล่า
อย่ามัวตำหนิตนเองหรือผู้อื่นอยู่
คิดอยู่เสมอว่าจะพัฒนาตนเอง
และทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นอย่างไร
แล้วเร่งกระทำทันที อย่ามัวรีรอ"

13 กค. 54
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 22 กันยายน 2554 00:21:37 »

"บัณฑิตแม้ประสบปัญหาชีวิต
ทุกข์ยากสักปานใดก็ไม่ทิ้งธรรรม"

13 กค. 54


"สัพพะระติง ธัมมะระตี ชินาติ
ความยินดีในธรรมชนะความยินดีทั้งปวง"

14 กค. 54
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 22 กันยายน 2554 00:23:01 »

" ความดีทำยาก ทำลำบากแล้วสบาย
ความชั่วทำง่าย ทำสบายแล้วลำบาก"

" ความเปลี่ยนแปลงเน่าเปื่อย ไม่เที่ยงเป็นทุกข์
ไม่มีตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่เขา ไม่ใช่เรา
ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของเขา
ไม่ใช่ตัวตนของเรา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่ของเขา
ไม่ใช่ตัวตนของเขา"

18 กค. 54
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 เมษายน 2555 19:55:34 โดย Mckaforce » บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 22 กันยายน 2554 00:24:32 »

" อย่าทำบาปเพราะเห็นแก่ตัว อย่าทำชั่วเพราะเห็นแก่คนอื่น"

19 กค. 54

" ชีวิตนี้ จะสุข หรือจะทุกข์ ก็อยุ่ที่การกระทำ
หลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนานี้ สอนให้เชื่อ
เรื่องกรรม เชื่อธรรม เชื่อการกระทำ"

"เขาทำไม่ดีมาอย่างหนึ่ง
เราได้ทำดีตั้งสองอย่าง
คืออดทนและให้อภัย"

20 กค. 54
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 22 กันยายน 2554 00:26:07 »

การเจริญวิปัสสนา คือ การเข้าไปรู้เห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริง
ซึ่งเราต้องอาศัยการอบรมเจริญสติอยู่เสมอ
ตามดูรู้ทัน กาย เวทนา จิต ธรรม
(บางส่วนจากพระธรรมเทศนา เรื่องการพัฒนาพุทธิสภาวะ)

" จงพอใจในสิ่งที่ถูกต้อง
ด้วยเป็นของดีงามควรตามหา
เลิกพอใจในสิ่งที่ถูกตา
เลิกนำหาหวลหาสิ่งถูกใจ"

"ไม่ยินดีในสิ่งที่ตนเองได้
ไม่พอใจใสิ่งที่ตนเองมี
เป็นคนอาภัพอับโชคที่สุดในโลก"


21 กค. 54
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 18.0.1025.142 Chrome 18.0.1025.142


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 04 เมษายน 2555 19:54:37 »

"ถามตัวเองให้น้อยลงว่า
ฉันจะได้อะไร
และเตือนตัวเองบ่อยๆว่า
ฉันจะทำอะไรเพื่อผู้อื่นได้บ้าง"

" อย่าคำนึง ถึงอดีต ผ่านไปหมด
อนาคต เรายัง มองไม่เห็น
ปัจจุบัน เป็นสิ่ง ที่จำเป็น
จงกะเกณท์ รีบทำ ประจำวัน"

25 สค. 54 , 29 สค. 54
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 18.0.1025.142 Chrome 18.0.1025.142


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 04 เมษายน 2555 19:58:20 »

" งามผิวพรรณนอกนั้น ผ่านวัย
งามอยู่ไม่เท่าไร เปลี่ยนได้
งามในเพราะมีใจ ยึดสัตย์ศีลแฮ
งามอยุ่ด้วยธรรมไซร้ แก่แล้วก็งาม"

8 กย. 54



อาจาริโยวาท
พระครูเกษมธรรมทัต (พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรํสี)
วัดมเหยงคณ์ จ.พระนครศรีอยุธยา


“ยอดแห่งมรรคา คือ อัฏฐังคิกมรรค
ยอดแห่งสัจจะ คือ อริยสัจสี่ประการ
ยอดแห่งธรรม คือ ความปราศจากราคะ
ยอดแห่งมนุษย์ คือ พระผู้รู้แจ้ง”

“พึงเอาชนะความโกรธ ด้วย ความไม่โกรธ
พึงเอาชนะความร้าย ด้วย ความดี
พึงเอาชนะความตระหนี่ ด้วย การให้
พึงเอาชนะความพูดพล่อย ด้วย คำสัตย์”

“ธรรมทาน ชนะ ทานทุกอย่าง
รสพระธรรม ชนะ รสทุกอย่าง
ความยินดีในธรรม ชนะ ความยินดีทุกอย่าง
ความสิ้นตัณหา ชนะ ทุกข์ทุกอย่าง”

ที่มา : ปกหลัง “รวมบทธรรมบรรยาย เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติกรรมฐาน”
โดย พระครูเกษมธรรมทัต (พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรํสี)
วัดมเหยงคณ์ จ.พระนครศรีอยุธยา  พิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๔

10 ตค. 54
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 18.0.1025.142 Chrome 18.0.1025.142


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 04 เมษายน 2555 20:01:14 »

ฟ้าสัก แสนฟ้า จะฝ่าฟ้า ฝนสัก แสนห่า จะฝ่าฝน
ชลกว้าง นักหนา จะฝ่าชล ไฟพลุ่ง โพรงล้น จะฝ่าไฟ
เขาข้าม เขตคาม จะข้ามเขา ความดี นี่เรา จะฝันใฝ่
ใจที่ บิดเบือน จะเตือนใจ ลมแรง เท่าไร จะต้านลม

12 ตค. 54
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: ธรรมะ คำ คำคม ธรรม เฟซบุ๊ค facebook พระครูเกษมธรรมทัต สุรศักดิ์ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
" ขอแค่เอื้อม " พระธรรมเทศนาโดย พระครูเกษมธรรมทัต (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี)
เสียงธรรมเทศนา
หมีงงในพงหญ้า 0 2049 กระทู้ล่าสุด 26 สิงหาคม 2555 14:26:37
โดย หมีงงในพงหญ้า
พระครูเกษมธรรมทัต หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรํสี - ตรงทางตรงธรรม
ธรรมะจากพระอาจารย์
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ 4 3313 กระทู้ล่าสุด 16 มกราคม 2556 14:31:15
โดย เงาฝัน
ดูใจผู้รู้ - พระครูเกษมธรรมทัต ( หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี วัดมเหยงคณ์ )
ห้อง วีดีโอ
หมีงงในพงหญ้า 0 2396 กระทู้ล่าสุด 08 มิถุนายน 2556 18:39:23
โดย หมีงงในพงหญ้า
เคล็ดลับดับทุกข์ - พระครูเกษมธรรมทัต ( หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี วัดมเหยงคณ์ )
ห้อง วีดีโอ
หมีงงในพงหญ้า 0 2257 กระทู้ล่าสุด 08 มิถุนายน 2556 18:45:12
โดย หมีงงในพงหญ้า
อวิชชา - พระครูเกษมธรรมทัต ( หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี วัดมเหยงคณ์ )
ห้อง วีดีโอ
หมีงงในพงหญ้า 1 11363 กระทู้ล่าสุด 12 กุมภาพันธ์ 2557 08:20:12
โดย เรือใบ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.28 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 08 กุมภาพันธ์ 2567 00:56:31