[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 07:40:04 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “กล้วยเผา” ของกินยามเจ็บไข้แต่โบราณที่พระพุทธเจ้าหลวง-เจ้านายยังเสวย  (อ่าน 161 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 108.0.0.0 Chrome 108.0.0.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 12 ธันวาคม 2565 19:13:57 »



“กล้วยเผา” ของกินยามเจ็บไข้แต่โบราณที่พระพุทธเจ้าหลวง-เจ้านายยังเสวย

ผู้เขียน - กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ - ศิลปวัฒนธรรม วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2565


ในบรรดาของกินที่เป็นของหวานที่คนไทยสมัยโบราณนิยมกันว่า คนดีกินได้ คนไข้กินดี เห็นจะไม่มีสิ่งได้เกิน “กล้วยเผา” คำว่า ‘เผา’ นี้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525 ให้คำอธิบายไว้ว่า ทำให้ร้อนให้สุก หรือให้ไหม้ด้วยไฟ เช่น เผาเหล็ก เผากล้วย เผาป่า

ก็เป็นอันรู้กันว่า กล้วยเผา คือ กล้วยที่ทำให้สุกจนไหม้ด้วยไฟ ที่ไหม้นั้นก็คือเปลือกนอก ไม่ปล่อยให้ไหม้เกรียมจนถึงเนื้อในไปได้ หาไม่แล้วก็จะกลายเป็นส่วนผสมของยานิลไป

คุณสมบัติสําหรับกล้วยที่จะนํามาทํากล้วยเผา คือ ต้องเป็นกล้วยสุกจนเกือบจะงอมแต่ไม่ถึงกับผิวดําช้ำชอก (อย่างที่แม่ค้าเขามาทํากล้วยบวชชีขาย) แต่ถ้าสุกน้อยอย่างที่เรียกว่าเปลือกเป็นสีกระดังงานั้น ก็ต้องใช้ทํากล้วยปิ้ง กล้วยทับ หรือกล้วยแขก ซึ่งนอกประเด็นไป

กล้วยเผานี้ดูจะเป็นอาหารสําหรับคนเจ็บโดยแท้ และคงจะไม่ได้เจาะจงว่าจะต้องเป็นกล้วยน้ำว้า หรือกล้วยหักมุก

ในพระนิพนธ์เรื่อง ประวัติอาจารย์ ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ทรงเล่าถึงเมื่อเสด็จออกทรงผนวชที่วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ บางปะอิน เมื่อ พ.ศ.2426 เกี่ยวกับเครื่องขบขันในสมัยนั้นว่า

“จะเลยเล่าต่อไปถึงความลําบากที่ขึ้นไปจําพรรษาอยู่บางปะอินในสมัยนั้น ข้อใหญ่อยู่ที่ ‘อดอยาก’ จะว่า ‘อด’ ไม่ได้ เพราะข้าวปลาอาหารไม่อัตคัด แต่ข้าวปลาอาหารที่ชาวบางปะอินเขาบริโภคกัน ผิดกับอาหารที่เราชอบบริโภคในกรุงเทพฯ จึงควรเรียกว่า ‘อดอยาก’ คืออดเฉพาะของที่อยากกินเป็นต้นว่าชาวเมืองกรุงเทพฯ ชอบกินข้าวนาสวน แต่ชาวบางปะอินชอบกินข้าวนาเมือง ซึ่งรสชาติต่างกันเป็นอีกอย่างหนึ่ง

กับข้าวของชาวบางปะอินก็มีแต่ผักกับปลาเอามาประสมกัน มักปรุงรสด้วยปลาร้ากับพริกและเกลือ รสชาติแปลกไปอีกอย่างหนึ่ง หลาย ๆ วันจึงมีเรือเจ็กมาขายหมู หรือเรือชาวกรุงเทพฯ บรรทุกของสวนเช่น มะพร้าวและกล้วย อ้อย ขึ้นไปขายที่บางปะอินสักครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้าเคยอยากกินกล้วยน้ำว้าเผาครั้งหนึ่งในเวลาไม่สบาย มารดาให้เที่ยวหาซื้อตลอดถิ่นก็หาไม่ได้”

เมื่อสมเด็จพระปิยมหาราชทรงพระประชวรหนักจากเหตุการณ์ใน พ.ศ.2436 ซึ่งคนไทยเรียกติดปากว่า เหตุการณ์ ร.ศ.112 นั้น พระอาการประชวรเรียกได้ว่าเป็นทั้งพระวรกายและพระราชหฤทัย ถึงกับทรงพระราชนิพนธ์โคลงลาพระราชวงศ์ฝ่ายในและฉันท์ลาพระราชวงศ์ฝ่ายหน้า และในโคลงพระราชนิพนธ์ 7 บทนั้น มีอยู่บทหนึ่ง ทรงมีพระราชปรารภถึงเครื่องหวานซึ่งต้องเสวยจําเจอยู่ทุกวัน แต่ก็ต้องฝืนพระทัยเสวยจนสิ้นองค์ โคลงนั้นมีดังนี้

กล้วยเผาเหลืองแก่ก้ำ     เกินพระ ลักษมณ์นา
แรกก็ออกอร่อยจะ         ใครกล้ำ
นานวันยิ่งเครอะคระ       กลืนยาก
ทนจ่อส้อมจิ้มจ้ำ           แดกสิ้นสุดใบ

กล้วยเผาที่เสวยนั้นคงจะต้องเป็นกล้วยหักมุกแน่นอน เพราะทรงบรรยายไว้ว่า สีของกล้วยนั้นเหลืองแก่กว่าสีกายพระลักษมณ์ซึ่งในรามเกียรติ์บรรยายไว้ว่าเป็นสีเหลืองทอง

พระราชวงศ์ฝ่ายในองค์หนึ่ง ซึ่งทรงเชี่ยวชาญการประกอบอาหารทั้งอย่างไทยและต่างชาติ เป็นที่เลื่องลือทั้งในเมืองไทยและเมืองนอก ขนาดเมื่อสมเด็จพระปิยมหาราชทรงพระประชวร เสวยสิ่งใดไม่ได้ ยังทรงมีพระราชดํารัสแก่พระราชวงศ์องค์นั้นว่า

“ข้ารอดตายเพราะได้กินน้ำพริกของเจ้า”

พระราชวงศ์องค์นั้น คือหม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล พระธิดาองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ

ในปลาย พ.ศ.2478 หม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล หรือ “ท่านหญิงใหญ่” ทรงประชวร ด้วยโรคปอดและลําไส้จนต้องเสด็จเข้ารับการรักษาพระองค์ที่โรงพยาบาลเซ็นต์หลุยส์ แพทย์ที่โรงพยาบาล ซึ่งเป็นฝรั่งต่างชาติ กลับทูลแนะนําให้เสวยกล้วยหักมุกเผา ก็กลับฟื้นจากอาการประชวร และโปรดเสวยเรื่อยมาเป็นเวลานาน บางครั้งกล้วยหักมุก แม้ไม่เผาก็เสวยได้ การโปรดเสวยกล้วยหักมุกนี้ ได้เลยไปถึงพระบิดาที่เสด็จประทับที่ปีนังนั้นด้วย

และในพระนิพนธ์ “สาส์นสมเด็จ” อันเป็นลายพระหัตถ์โต้ตอบกันระหว่างสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ กับ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีอยู่หลายองค์ (ฉบับ) ที่เล่าถึงเรื่องเกี่ยวกับกล้วยหักมุกเผา เช่น องค์วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2478 กรมพระยาดํารงฯ ทรงเขียนตอนหนึ่งว่า

“แต่เดี๋ยวนี้หม่อมฉันกําลังชอบกล้วยหักมุก ซึ่งเมื่อก่อนจะกินก็เพราะถูกบังคับให้กินเมื่อเวลาเจ็บไข้เมื่อยังเด็ก เลยเห็นเป็นแต่อาหารสําหรับคนไข้ ไม่ชอบกินมาช้านาน เหตุที่มากลับชอบ เพราะหญิงจงรอดตายได้ด้วยหมอเขาให้กินแต่กล้วยหักมุกกับเนื้อปลาช่อนแทนอาหารอื่น ก็ขอบคุณของสองสิ่งนั้นกลับชอบขึ้น ครั้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ มีใครฝากกล้วยหักมุก ออกมาให้ลูกจากกรุงเทพฯ เห็นเขาเผาใส่มาในของหวาน หม่อมฉันนึกถึงของหวานแบบฝรั่งอย่างหนึ่งซึ่งหญิงจงเคยทําให้กิน เป็นกล้วยนึ่งจิ้มครีมข้น จึงให้ไปซื้อครีมข้นมา แล้วลองเอากล้วยหักมุกเผาจิ้มกิน อร่อยพิลึก หม่อมฉันกินกล้วยหักมุก หมดใบมาหลายครั้งแล้ว…”

กรมพระยานริศรฯ ได้ทรงมีลายพระหัตถ์ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2478 นอกจากทรงวิสัชนาเรื่องต่าง ๆ ที่ กรมพระยาดํารงฯ ทรงมีปุจฉาแล้วทรงเล่าถึงเรื่อง ม.จ. จงจิตรถนอม กับกล้วยหักมุกด้วยว่า

“เมื่อวานนี้หญิงจงมาลาว่าจะออกมาเฝ้าฝ่าพระบาท ถวายตัวให้ทอดพระเนตรเห็นว่าหายเจ็บอ้วนท้วนขึ้นแล้ว เกล้ากระหม่อมถามว่าจะมามีกําหนดกี่วัน เธอแสดงความประสงค์เป็นว่าจะมาอยู่สนองพระเดชพระคุณแม้ว่าอยู่ได้ หากเห็นว่าอยู่ไม่ได้เพราะเจ็บอีกก็จะกลับเป็นทางที่เกล้ากระหม่อมไม่เห็นด้วยเลย จึงเทศนาแก่เธอว่า ถ้าไม่มีใครสนองพระเดชพระคุณ เธอคิดเช่นนั้นก็ควรแล้ว

แต่เมื่อมีคนอื่นสนองพระเดชพระคุณแทนเธอได้อยู่แล้ว ก็ไม่ควรคิดเช่นนั้น เพราะว่าที่เธอเจ็บมาแล้วไม่ใช่น้อย มีคนเป็นอันมากเห็นว่าไม่ฟื้น ที่ฟื้นขึ้นได้นั้นเป็นบุญหนักหนา แล้วจะกลับไปลองอีกว่าจะทนได้หรือไม่ ในที่ซึ่งอากาศผิดกันมาก ไกลจากหมอที่ประจําคอยดูและรักษา ทั้งกล้วยหักมุกก็ไม่มีกิน ถ้ากลับเจ็บลงอีกเป็นครั้งที่สอง จะเอาเป็นแน่ได้หรือว่าจะรักษาให้กลับฟื้นได้อีก”

ลายพระหัตถ์ของสมเด็จกรมพระยาดํารงฯ ลงวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2478 ได้กล่าวถึงกล้วยหักมุกที่เป็นเครื่องเสวย สําคัญของท่านหญิงใหญ่ว่า

“ในเรื่องกล้วยหักมุกที่เธอต้องกินเป็นอาหาร หม่อมฉันเข้าใจว่าเธอคงวางการที่จะให้ส่งมาทุกคราวเมล์ แม้จะบกพร่อง ที่นี่ก็มีกล้วยแขกอย่างหนึ่งเหมือนกับกล้วยหักมุก เป็นแต่ลูกเล็กกว่าและรสหวานสู้กล้วยหักมุกไทยไม่ได้”

กล้วยเผาของกินพื้นบ้านแต่โบราณที่ดีนักหนายามเจ็บไข้ และเป็นที่นิยมของคนทั่วไปจนถึงเจ้านาย

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.32 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 18 มกราคม 2567 20:36:30