[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
30 เมษายน 2567 02:40:51 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตำนานโยไค “ขบวนร้อยอสูร” แห่งรัตติกาล พาเหรดภูติผีแห่งความตาย  (อ่าน 221 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5075


ระบบปฏิบัติการ:
Linux Linux
เวบเบราเซอร์:
Chrome 90.0.4430.210 Chrome 90.0.4430.210


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 19 มกราคม 2566 14:32:45 »

มารู้จักตำนาน “ขบวนร้อยอสูร” พาเหรดภูติผีแห่งความตาย



ตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับภูติผีปีศาจ ไม่ว่าจะหยิบมาเล่ากี่ครั้งก็ทำให้รู้สึกตื่นเต้นได้เสมอ ใกล้เข้าฤดูร้อนของญี่ปุ่นแล้ว วันนี้เราก็มีตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับภูติผีปีศาจของญี่ปุ่นมานำเสนอให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ นั่นก็คือเรื่องราวของ “百鬼夜行 (hyakki yagyou)” หรือ “ขบวนร้อยอสูร”

百鬼夜行 (hyakki yagyou) หรือ ขบวนร้อยอสูรในยามค่ำคืน เป็นเรื่องเล่าที่กล่าวถึงการเดินขบวนขนาดใหญ่ของเหล่าภูติผีปีศาจจำนวนมากที่ปรากฏในเรื่องเล่าและตำนานต่าง ๆ ของญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยเฮอันจนถึงสมัยมุโรมาจิ บางตำนานก็ว่ามี 100 ตัว บางตำนานก็ว่ามีมากกว่า 100 ตัว แต่รวม ๆ มี 100 ชนิด

ขบวนของเหล่าภูติผีนี้มักปรากฏตัวกลางดึกในช่วงเวลาที่เรียกว่า 丑三つ時 (ushimitsudoki) ซึ่งตามความเชื่อญี่ปุ่นถือเป็นเวลาที่ผีออกง่ายที่สุด (ราว ๆ 02.00 น. ถึง 03.00 น.) และจะปรากฏที่จุดเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับโลกวิญญาณ อย่างสะพาน, 4 แยก หรือประตู ในบริเวณเขตชานเมืองและหมู่บ้าน ว่ากันว่าหากมนุษย์ผู้ใดไปเผชิญหน้ากับขบวนผีนี้จะต้องมีอันเป็นไปหรือประสบพบเจอกับภัยร้าย



หนังสือเด็ก 口遊 (kuchizusami) ในสมัยเฮอัน และหนังสือ 拾芥抄 (shuugaishou) ที่เขียนในยุคกลางของญี่ปุ่น มีการทำสรุปกำหนดการที่ขบวนร้อยอสูรจะออกมาปรากฏตัว ซึ่งอิงตามปฏิทินโบราณ ผู้คนก็จะงดเว้นจากการออกจากบ้านในคืนนั้น โดยหลัก ๆ แล้ววันที่ขบวนร้อยอสูรจะปรากฏตัวคือ

• วันชวด เดือน 1 – เดือน 2

• วันมะเมีย เดือน 3 – เดือน 4

• วันมะเส็ง เดือน 5 – เดือน 6

• วันจอ เดือน 7 – เดือน 8

• วันมะแม เดือน 9 – เดือน 10

• วันมะโรง เดือน 11 – เดือน 12

ถึงแม้ผู้คนจะพากันหวาดกลัวและพยายามหลีกเลี่ยงการพบเจอขบวนร้อยอสูร แต่ในหลาย ๆ เรื่องเล่าก็มีเหล่าผู้มีวิชาหลายคนที่สามารถต่อกรกับขบวนร้อยอสูรได้ ต่อให้เผชิญหน้าโดยตรงก็สามารถรอดชีวิตกลับมาได้ แต่หากคนธรรมดาบังเอิญไปเผชิญหน้ากับพวกมัน ว่ากันว่ามีคาถาที่สามารถช่วยได้คือ “カタシハ ヤ、エカセニクリニ、タメルサケ、テエヒ、アシエヒ、ワレシコニケリ” (katashihaya, ekasenikurini, tamerusake, teehi, ashiehi, wareshikonikeri) โดยคาถานี้จะมีความหมายว่าตนเองกำลังเมา เป็นการแสร้งว่าตนเองเป็นคนไม่มีสติ



เรื่องราวของขบวนร้อยอสูรมีปรากฏอยู่ในหนังสือโบราณของญี่ปุ่นมากมาย เช่น

• 今昔物語集 (konjaku monogatarishuu) หนังสือรวบรวมเรื่องเล่ามุขปาฐะที่น่าสนใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ประเทศญี่ปุ่นมากกว่าพันเรื่องที่เขียนในยุคเฮอัน

• 江談抄 (goudanshou) บันทึกการสนทนาในความรู้สาขาต่าง ๆ เช่น โคลงกลอนจีน กิจกรรมสาธารณะ และดนตรี เรียกอีกอย่างว่า suigenshou เขียนในสมัยเฮอันเช่นกัน

ขบวนร้อยอสูรได้รับการเขียนเป็นภาพม้วนหลายต่อหลายครั้งมาตั้งแต่อดีต แต่ภาพม้วนที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่คือ 百鬼夜行絵巻 (hyakki yagyou emaki) หรือที่นิยมเรียกกันว่า 真珠庵本 ผลงานของ 土佐光信 (Tosa Mitsunobu) จากสมัยมุโรมาจิ ปัจจุบันเป็นสมบัติของวัดไดโทคุจิ ชินจูอันในเกียวโต




ในขบวนร้อยอสูร นอกจากจะมีวิญญาณ อสูร และปีศาจหน้าตาน่ากลัวแล้วยังภูติผีประเภท 付喪神 (tsukumogami) ที่ถือว่าเป็น 1 ในประเภทผีญี่ปุ่นที่มีเอกลักษณ์มาก เป็นวิญญาณที่เข้าไปสิงอยู่ในสิ่งของเก่า ๆ เช่น ร่ม เครื่องครัว ขาตั้งหม้อ ฆ้องที่แขวนในวัด เครื่องดนตรี ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีโยไคที่เป็นสัตว์อย่างสุนัขจิ้งจอก งูยักษ์ และอื่น ๆ อีกมากมาย

คำว่า 百鬼夜行 ยังมีความหมายโดยนัยที่ใช้เพื่อหมายถึง คนที่ตั้งกลุ่มแก๊งกันทำสิ่งที่น่าสงสัย หรือกลุ่มคนไม่ดีที่ทำทุกอย่างที่ต้องการ



นอกจากจะเป็นตำนานเรื่องเล่าที่น่าสนใจแล้ว ยังทำให้เราได้ศึกษาเรียนรู้ความคิดความเชื่อที่มีต่อภูติผีที่มีมาตั้งแต่อดีต ทั้งยังเป็นการเก็บรักษางานศิลป์ที่มีคุณค่า ที่แม้ว่าจะนำมาวาดใหม่อีกกี่ครั้งก็ยังไม่ขลังเท่าออริจินอล สุดยอดมาก ๆ ^^



จาก https://th.anngle.org/j-culture/hyakki-yagyou.html


<a href="https://www.youtube.com/v/I4Ll1xQmdwQ" target="_blank">https://www.youtube.com/v/I4Ll1xQmdwQ</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/q58-ct6XjaM" target="_blank">https://www.youtube.com/v/q58-ct6XjaM</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/DiX8rqGCyXU" target="_blank">https://www.youtube.com/v/DiX8rqGCyXU</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/7wUhN_o3T-E" target="_blank">https://www.youtube.com/v/7wUhN_o3T-E</a>

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.242 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้