[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 01:33:42 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: โองการแช่งน้ำ  (อ่าน 249 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 108.0.0.0 Chrome 108.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 07 มกราคม 2566 13:00:48 »


ภาพ : ครูเหม เวชกร

โองการแช่งน้ำ

“โอมสิทธิสรวงศรีแกล้ว แผ้วมฤตยู เอางูเป็นแท่น แกว่นกลืนฟ้ากลืนดิน บินเอาครุฑมาขี่.......”

อีกสามปีที่กษัตริย์วงศ์สุโขทัยองค์ที่ ๓ จะสวรรคตนั้น ทางใต้พระเจ้าอู่ทองก็ได้อพยพผู้คนย้ายบ้านเมือง จากเมืองอู่ทองมาตั้งเมืองใหม่ที่ตำบลหนองโสน แล้วราชาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยา ทรงนาม สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ เหตุการณ์นี้เกิดใน พ.ศ.๑๘๙๓ และตอนนี้ไทยก็แยกอำนาจออกเป็นสองภาค คือ ภาคใต้ พระเจ้าอู่ทอง (สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑) เป็นใหญ่ ทางเหนือพญาเลอไทยเป็นใหญ่ ไม่ต้องสงสัยว่าเมื่อมีการ แบ่งแยกอำนาจเช่นนี้ จะต้องมีการปราบปรามทำลายเพื่อความเป็นใหญ่แต่เพียงแห่งเดียว ในระยะนั้นทางสุโขทัยเสื่อมอำนาจลงมาก จนกระทั่ง พ.ศ.๑๙๒๐ ในสมัยพญาไสยลือไทยก็สิ้นวงศ์พระร่วงศรีอินทราทิตย์ และกรุงสุโขทัยก็ตกเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา

ความเสื่อมโทรมของกรุงสุโขทัยนี้ เป็นเรื่องที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง แต่ว่าหลักฐานต่าง ๆ ที่ยังคงมีอยู่ในขณะนี้มีไม่เพียงพอที่เราจะศึกษาค้นคว้าหาเรื่องราวได้อย่างละเอียด พอที่เราจะให้ข้อวินิจฉัยอันมีหลักฐานได้

วรรณกรรมสมัยพระเจ้าอู่ทอง เท่าที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน คือ โองการแช่งน้ำ อันเป็นวรรณกรรมเกี่ยวกับพระราชพิธีของบ้านเมือง

โองการแช่งน้ำนี้ มีแบบฉันทลักษณ์เหมือนโคลงห้า ต้นฉบับเขียนเป็นหนังสือขอม เนื้อความเป็นภาษาไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้ทรงพระราชนิพนธ์วินิจฉัยไว้ในพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือนว่า “ถ้อยคำที่ใช้ลึกซึ้งที่ไม่เข้าใจบ้างก็มี... ถ้อยคำในโคลงนั้นไม่ต้องสงสัยเลยว่าคงจะตกหล่นแลผิดเพี้ยนเสียเป็นอันมาก ถ้อยคำนั้นก็ลึกซึ้งจนฟัง ถ้าไม่เอาใจใส่ก็เกือบจะเป็นเสกคาถาภาษาอื่นได้.....พิเคราะห์ดูในคำโคลงแช่งน้ำนี้ ไม่มีเจือปนทางพุทธศาสนาเลย เป็นของไสยศาสตร์แท้ จนน่าสงสัยว่าจะมิใช่เกิดขึ้นในครั้งพระรามาธิบดีที่ ๑ ด้วยซ้ำไปอีก”

โองการแช่งน้ำนี้ พราหมณ์อ่านในพิธีถือน้ำ หรือที่ เรียกตามทางราชการว่าพิธีศรีสัจจปานกาล อันเป็นราชพิธีประจำพระนครมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เข้าใจว่าคงจะมีตั้งแต่พระเจ้าอู่ทองตั้งกรุงศรีอยุธยา และสถาปนาพระองค์เป็นปฐมกษัตริย์ เราควรจะเข้าใจว่า แผ่นดินในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลางนั้น แต่โบราณอยู่ในอิทธิพลของขอม และโดยที่การกล่าวโองการแช่งน้ำเป็นหน้าที่ของพราหมณ์ ดังนั้น การถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเราคงจะได้รับแบบอย่างจากขอม ซึ่งได้รับมาจากพราหมณ์อีกทอดหนึ่ง

พิธีการถือน้ำที่ทำกันครั้งกรุงเก่านั้น ไม่ปรากฎรายละเอียด แต่ในครั้งกรุงรัตนโกสินทร์นั้น ได้ทำกันที่วัด พระศรีรัตนศาสดาราม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้ทรงพระราชนิพนธ์พรรณนาพิธีไว้อย่างละเอียดชัดเจน จะขอเก็บความมาโดยย่อดังต่อไปนี้

การชุบ (แทง) พระแสงศรนั้นเป็นหน้าที่ของพระมหาราชครูในพิธี ซึ่งเป็นผู้อ่านโองการแช่งน้ำ เมื่อเวลาจะอ่านเชิญพระขันหยก มีรูปนารายณ์ทรงธนูตั้งอยู่ในกลางขัน เชิญพระแสงศรประนมมือว่าคำสรรเสริญพระนารายณ์ จบแล้วชุบ (แทง) พระแสงศรสามครั้ง แล้วจึงรับพระแสงองค์อื่นมาทำต่อไปจนครบสามองค์

พระแสงสามองค์นี้คือ พระแสงศรพรหมาสตร์ พระแสงศรประลัยวาต พระแสงศรอัคนิวาต ศรทั้งสามองค์นี้ เป็นของสร้างขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ ๔ คำที่พราหมณ์อ่านโองการมีดังนี้

โอมสิทธิสรวงศรีแกล้ว แผ้วมฤตยู เอางูเป็นแท่น แกว่นกลืนฟ้ากลืนดิน บินเอาครุฑมาขี่ สี่มือถือสังข์จักรคทาธรณี ภีรุอวตาร อสุรแลงลาญทัก ททัคนี้จรนาย แทงพระแสงศรประลัยวาต
(ตอนนี้สรรเสริญพระนารายณ์ มีคำที่เราไม่เข้าใจคือ ทัก ททัคนี จรนาย)

โอมปรเมศวราย ผายผาหลวงอะคร้าว ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก เอาเงือกเกี่ยวข้าง อ้างทัดจันทร์เป็นปืน ทรงอินทรชฎา สามตาพระแพร่งแกว่งเพชรกล้า ฆ่าภิฆจัญไร แทงพระแสงศรอัคนิวาต
(ตอนนี้สรรเสริญพระอิศวร เงือก คืองู )

โอมไชยะไชย ไชโสฬสพรหมญาณ บานเศียรเกล้า เจ้าคลี่บัวทอง ผยองเหนือขุนห่าน ท่านรังก่อดินฟ้า หน้าจตุรทิศ ไทมิตรดา มหากฤตราไตย อมไตยโลเกษ จงตรีศักดิ์ท่าน พิญาณปรมาธิเบศ ไทธเรศสุรสิทธิพ่อ เสวยพรหมานใช่น้อย ประถมบุญภารดิเรก บูรพภพบ่รู้กี่ร้อย ก่อมา แทงพระแสงศรพรหมาสตร์
(ตอนนี้สรรเสริญพระพรหม)

ครั้นแล้วก็ประนมมืออ่านแช่งน้ำต่อไปจนจบ แล้วอาลักษณ์อ่านประกาศคำสาบาน จบแล้วจึงเอาพระแสงศรองค์อื่น ๆ อีกหลายองค์ชุบลงในหม้อและขันสาคร จากนั้นแจกน้ำให้ข้าราชการกิน แต่ก่อนพระเจ้าแผ่นดินไม่ได้เสวยด้วย แต่มาในรัชกาลสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้เสวยด้วย เป็นการแสดงพระราชหฤทัยเมตตากรุณาโดยเที่ยงธรรม การถือน้ำนี้ ในหัวเมืองก็ต้องถืออย่างในพระนคร

การถือน้ำที่เคยมีในกรุงรัตนโกสินทร์ มี ๕ อย่าง คือ ถือน้ำเมื่อพระเจ้าแผ่นดินได้รับราชสมบัติอย่างหนึ่ง ทหารถือน้ำทุกเดือนอย่างหนึ่ง ผู้ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารถือน้ำแสดงความจงรักภักดีอย่างหนึ่ง ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินถือน้ำเมื่อแรกได้รับตำแหน่งอย่างหนึ่ง ข้าราชการทั่วไปถือน้ำปีละสองครั้งอย่างหนึ่ง

การถือน้ำเป็นพิธีสำคัญอย่างยิ่ง ข้าราชการที่ไปราชการหัวเมือง เมื่อถึงกำหนดถือน้ำที่เมืองใด ก็ต้องไปถือน้ำพร้อมเจ้าเมืองกรมการที่เมืองนั้น ผู้ใดขาดถือน้ำโทษถึงตาย เว้นไว้แต่ป่วยไข้ ถ้าเป็นพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการผู้ใหญ่เจ็บป่วย ไปถือน้ำไม่ได้ เจ้าพนักงานต้องนำน้ำไปให้ที่บ้าน นอกจากนั้นแต่เดิมมีข้อห้ามจุกจิกอีกหลายอย่างเช่น ผู้ที่ไปถือน้ำจะสวมแหวนนาก แหวนทอง กินอาหารไปก่อนไม่ได้ และถ้ากินน้ำแล้วเททิ้ง ถือว่าเป็นขบถ ข้อห้ามนี้มาภายหลังยกเลิก และในที่สุดเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว การถือน้ำก็เลิกไป

ต่อไปนี้ขอให้เราพิจารณาข้อความในโองการแช่งน้ำในแง่วรรณคดี

แช่งน้ำโคลงห้านี้เป็นบทกวีสั้น ๆ เป็นบทกวีเก่าแก่ที่สุดเท่าที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน แบบคำประพันธ์ตอนสรรเสริญพระนารายณ์ พระอิศวร พระพรหมนั้น เป็นร่ายดั้น ต่อมากล่าวถึงการสร้างโลก และการบังเกิดราชาสืบวงศ์ต่อเนื่องกันมา แล้วก็เริ่มคำสาปแช่งผู้ที่คิดคดต่อราชา แต่งเป็นร่ายดั้นและแบบโคลงห้าสลับกันไป ที่เรียกว่าแบบโคลงห้านั้น ที่จริงก็ไม่ถูกต้องตามระเบียบโคลงห้าอย่างบริบูรณ์ แต่ว่ามีลักษณะคล้ายๆ กัน และจบลงโดยการกล่าวคำถวายพระพรว่า

“ขจายขจรอเนกบุญ สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิศรราชเรื่อยหล้า สุขผ่านฟ้าเบิก สมบูรณ์พ่อสมบูรณ์”

บทสุดท้ายนี้ ทำให้เข้าใจว่าโคลงแช่งน้ำนี้จะแต่งขึ้นในสมัยพระรามาธิบดีที่ ๑ (อู่ทอง)

คำที่ใช้มีคำเป็นภาษาทางเหนือหลายคำ เช่น เงือก (งู) ขุนห่าน (หงส์) ผาหลวง (เขาไกรลาศ) ผาเผือก (เขาไกรลาศ) ขุนหงส์ทองเกล้าสี่ (พระพรหม)

เรื่องนี้นับว่ามีคุณค่าทางภาษา ให้เราได้เห็นถ้อยคำภาษาเก่า ๆ บ้าง และคุณค่าทางวัฒนธรรม ให้เราแลเห็นความนับถือและความเชื่อถือของคนไทยสมัยนั้น และถ้าเราจะถือการที่เริ่มสรรเสริญพระนารายณ์ผู้เป็นเจ้าก่อนองค์อื่น เป็นเครื่องแสดงความนับถือของพราหมณ์ ซึ่งน่าจะเป็นผู้แต่งเรื่องนี้ ก็พอจะสันนิษฐานต่อไปได้อีกว่าต้องเป็นพราหมณ์ที่นับถือพระนารายณ์ คือพวกนิกายวิษณุ




ที่มา มูลนิธิเหม เวชกร - วิจิตรวรรณคดีไทย พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๑๑ สนพ.ไทยวัฒนาพานิช ตอน ๔ หน้า ๑๐ - ๑๒
ภาพวาด - ครูเหม เวชกร
เรียบเรียง... Niramol Niramol

700

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
โองการแช่งน้ำ ในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
สุขใจ ห้องสมุด
Kimleng 0 3540 กระทู้ล่าสุด 13 มีนาคม 2560 12:27:03
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.3 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 13 เมษายน 2567 10:06:59