[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 04:01:08 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พิจารณาให้เห็นตามเป็นจริง โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร) จ.อุบลราชธานี  (อ่าน 317 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 108.0.0.0 Chrome 108.0.0.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 12 มกราคม 2566 19:57:02 »




พิจารณาให้เห็นตามเป็นจริง
โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร)
วัดพิชโสภาราม ต.แก้งเหนือ อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี

           ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นพระอรหันต์ ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง แม้ปรินิพพานนานแล้ว พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยเศียรเกล้า ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูลผลจงบังเกิดมีแก่คณะครูบาอาจารย์ตลอดถึงญาติโยมทั้งหลายผู้มาประพฤติปฏิบัติธรรมร่วมกันทุกท่านทุกคน

            ก่อนที่จะได้กล่าวธรรมะในวันนี้ก็ขอทำความเข้าใจกับคณะครูบาอาจารย์ ขอให้คณะครูบาอาจารย์ทั้งหลายได้นั่งสมาธิฟัง ขอให้คณะครูบาอาจารย์ทั้งหลายจงยังจิตให้เกิดความเชื่อมั่นในตัวเอง คิดว่าเราทั้งหลายเกิดมาล้วนก็มีความทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น แต่โอกาสที่เราจะประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์นั้นก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ยากนักยากหนา โอกาสที่เราจะได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา หรือว่าเราเกิดมาแล้วเราทั้งหลายจะได้พบครูบาอาจารย์ผู้แนะนำพร่ำสอนหนทาง หลักการ หรือว่าวิธีการที่เราทั้งหลายจะได้บรรเทาทุกข์หรือว่าพ้นไปจากความทุกข์นั้น ถือว่าเป็นสิ่งยากนักยากหนา

            ขอให้คณะครูบาอาจารย์ทั้งหลายได้นั่งสมาธิฟัง ตั้งใจฟังแล้วก็ทำความเชื่อมั่นในตนเอง คิดว่าเราจะทำความพยายามที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ เรามีตามีหูมีจมูกมีลิ้นมีกายเท่ากัน เราควรที่จะทำสมาธิให้เกิดขึ้นมา เราควรที่จะทำวิปัสสนาญาณให้เกิดขึ้นมา เราควรที่จะทำปัญญาหรือว่าการบรรลุมรรคผลนิพพานให้เกิดขึ้นมา เมื่อเราทำจิตให้เกิดความอุตสาหะในลักษณะเช่นนี้ ความเพียรก็จะเกิดขึ้น ความอุตสาหะก็จะเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ขอให้คณะครูบาอาจารย์ทั้งหลายได้ตั้งใจฟัง ก่อนอื่นก็ขออภัยที่ได้นำคณะครูบาอาจารย์ได้ไปสักการะพระเดชพระคุณหลวงพ่อ

            แล้วก็ขออภัยที่กระผมไม่สามารถที่จะมาบรรยายธรรมให้คณะครูบาอาจารย์ได้ฟังประจำทุกวัน ก็เพราะว่าได้เป็นพระของสังคม ได้เป็นรองเจ้าอาวาส ต้องรับหน้าที่ดูแลอะไรต่าง ๆ มากมาย เมื่อเจ้าอาวาสท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์ เราผู้เป็นรองเจ้าอาวาสหรือเป็นลูกศิษย์ลูกหาก็ต้องขวนขวายสุดความสามารถเท่าที่เราจะทำได้ เพราะฉะนั้น ได้นำคณะครูบาอาจารย์ทั้งหลายไปสักการะพระเดชพระคุณหลวงพ่อก็ถือว่าเป็นบุญเป็นกุศล ครูบาอาจารย์บางรูปอาจจะคิดว่าเสียกรรมฐานหรือว่าเสียรูปแบบการปฏิบัติ ในลักษณะเช่นนี้ไม่เคยมีมาตั้งแต่เริ่มประพฤติปฏิบัติธรรม เรียกว่าตั้งแต่กระผมนำออกเผยแผ่ ไม่เคยมีว่านำคณะครูบาอาจารย์ไปสักการะรูปโน้นรูปนี้ แต่นี่ถือว่าเป็นกรณีพิเศษ

            พระเดชพระคุณหลวงพ่อถือว่าเป็นบิดาทางธรรมที่ชี้แนะหลักการต่าง ๆ ให้กระผมและคณะครูบาอาจารย์ทั้งหลายได้เข้าใจในหลักการประพฤติปฏิบัติ ฉะนั้นก็ถือว่าเป็นบุญของพวกเราทั้งหลายที่ได้ไปสักการะท่าน เพราะฉะนั้นก็ขอให้คณะครูบาอาจารย์ได้ดีอกดีใจ แล้วก็ขอประชาสัมพันธ์ให้คณะครูบาอาจารย์แล้วก็ทำความเข้าใจกับคณะครูบาอาจารย์ว่า พวกเราทั้งหลายที่มาประพฤติปฏิบัติธรรมรวมกันอยู่ในที่นี้ ทำไมเราทั้งหลายจึงมาประพฤติปฏิบัติธรรม ไหว้พระ ทำวัตร สวดมนต์ เจริญภาวนารวมกัน ก็เพราะว่าพวกเราทั้งหลายนั้นมีความทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น เป็นพระ เป็นเณร เป็นญาติเป็นโยม ก็มีความทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น แต่พวกเราทั้งหลาย บางรูปบางท่านอาจจะมีความทุกข์มาก บางท่านอาจจะมีความทุกข์น้อย บางท่านอาจจะมีความทุกข์กาย บางรูปบางท่านก็อาจจะมีความทุกข์ใจ ล้วนแต่มีความทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น เพราะฉะนั้น เมื่อเรามีความทุกข์ เราทั้งหลายก็มาประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อหาหนทางแห่งความพ้นทุกข์

            หลักการและวิธีการที่จะหาทางแห่งความพ้นทุกข์นั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสให้เรานั้นเข้าหาบัณฑิต ใครเป็นบัณฑิต ? บัณฑิตนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสว่า พระพุทธเจ้าเป็นบัณฑิต พระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นบัณฑิต พระอรหันต์และอริยสาวกทั้งหลายเป็นบัณฑิต หรือบุคคลผู้เจริญรอยตามพระพุทธเจ้า ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้านั้นถือว่าเป็นบัณฑิต

            พวกเราทั้งหลายได้มาสู่หนทางแห่งการประพฤติปฏิบัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ถือว่าเป็นหนทางแห่งความพ้นทุกข์ เพราะว่าการประพฤติปฏิบัติธรรม ถ้าเราไม่รู้หลักการที่แท้จริง เวลาประพฤติปฏิบัติธรรม การที่จะได้บรรลุมรรคผลนิพพาน การที่จะพ้นไปจากความทุกข์นั้นก็เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก ในประเทศไทยของเราก็มีมากมายหลายสำนัก เรียกว่ามีมากเหลือกว่าที่เราจะมาพรรณนา บางสำนักก็คิดว่าตนเองปฏิบัติดีที่สุด แต่ถ้าเราไปอยู่ในสำนักใด

            เมื่อเราประพฤติปฏิบัติธรรมแล้วจิตใจของเรายังไม่สงบ จิตใจของเรายังไม่สามารถที่จะพ้นไปจากความทุกข์ได้ เราก็ควรที่จะเปลี่ยนกรรมฐาน อย่างเช่นกรรมฐานที่ท่านภาวนาว่า พุทโธ แต่ว่าจิตไม่สงบก็สามารถที่จะเปลี่ยนเป็นยุบหนอ พองหนอ ได้ แต่ถ้าเราบริกรรมยุบหนอ พองหนอ ไม่สงบ เราก็อาจจะเปลี่ยนเป็น นะมะพะธะ สัมมา อรหัง อย่างนี้ก็ได้ อันนี้เรียกว่าหลักการยังไม่แน่นอน

            แต่ที่นำมาแนะนำคณะครูบาอาจารย์นี้ถือว่าเป็นหลักการที่แน่นอน เรียกว่าเป็นสติปัฏฐาน ๔ คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน การเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้นไม่เลือกจริต ไม่เลือกว่าเป็นโทสจริต ไม่เลือกว่าเป็นโมหจริต ไม่ว่าเป็นจริตอะไรก็สามารถที่จะประพฤติปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้ เพราะฉะนั้น คณะครูบาอาจารย์ที่มาประพฤติปฏิบัติธรรมนี้ก็ถือว่ามาประพฤติปฏิบัติตามหลักการที่คณะครูบาอาจารย์กลั่นกรองดีแล้ว คณะครูบาอาจารย์แนะนำมาดีแล้วได้พิสูจน์ดีแล้ว โดยเฉพาะการเดินจงกรม ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ก็ดี หรือว่าการบริกรรมในลักษณะที่คณะครูบาอาจารย์บริกรรมพองหนอ ยุบหนอ ก็ดี ถือว่าได้พิสูจน์มาแล้วเป็นเวลาตั้งหลายปี

            ตั้งแต่เจ้าคุณพระธรรมธีรราชมหามุนีจนถึงพระเดชพระคุณหลวงพ่อที่สอนมาแล้วสามสิบกว่าปี การประพฤติปฏิบัติธรรมก็ปรากฏผลอย่างที่พวกเราทั้งหลายได้รู้ได้เห็นกัน เพราะฉะนั้น การประพฤติปฏิบัติ สิ่งสำคัญที่สุดเราต้องเข้าไปหาสำนักที่มีครูบาอาจารย์ผู้รู้แจ้งเห็นจริง นี่เป็นประการที่หนึ่ง อย่างเช่นพระเดชพระคุณหลวงพ่อเราที่ได้แนะนำพร่ำสอนก็ถือว่าเป็นบุคคลผู้ที่เคยประพฤติปฏิบัติมาก่อน

            ขอให้คณะครูบาอาจารย์ได้ดีอกดีใจที่เราทั้งหลายได้มาประพฤติปฏิบัติตามหลักของพระเดชพระคุณหลวงพ่อหรือตามหลักของครูบาอาจารย์ที่ท่านเคยเจริญมาแล้ว แล้วอีกประการหนึ่ง เวลาเรามาประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นเราต้องมีหลัก หลักของการประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นท่านกล่าวไว้ ๔ ประการ คือหนึ่ง เราต้องยึดกาย ต้องมีสติเห็นกายของเราอยู่ตลอดเวลา เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

            เราจะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน เราก็ต้องมีสติกำหนดพิจารณากายอยู่ตลอดเวลา เราจะคู้จะเหยียดจะก้มจะเงย ต้องพิจารณาอาการคู้ อาการเหยียด อาการก้ม อาการเงยนั้นอยู่ตลอดเวลา เรียกว่าพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป ในลักษณะอย่างนี้ เรากำหนดอาการพองอาการยุบ เรากำหนดเพื่ออะไร เรากำหนดเพื่อที่จะทำจิตทำใจของเราให้เป็นสมาธิ เมื่อจิตใจของเราเป็นสมาธิแล้ว เราจะได้เห็นรูปนามนั้นเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันนี้เป็นจุดมุ่งหมายของการประพฤติปฏิบัติธรรม

            เพราะฉะนั้นเวลาประพฤติปฏิบัติธรรม ท่านจึงให้เรามีสติอยู่ที่กายตลอดเวลา ประการที่สอง ท่านให้เรามีสติพิจารณาเห็นเวทนาอยู่ตลอดเวลา ขณะที่จิตใจของเราเกิดความไม่ชอบใจเกิดความทุกข์ขึ้นมา เมื่อความทุกข์เกิดขึ้นมาก็ถือว่าเป็นทุกขเวทนา เช่น เกิดความโกรธขึ้นมา ก็ถือว่าเป็นทุกขเวทนาแล้ว เกิดราคะขึ้นมา ถูกไฟราคะมันแผดเผาก็เป็นทุกข์แล้ว กระวนกระวายกระสับกระส่าย

            เราต้องกำหนดที่เวทนานั้น กำหนดว่า โกรธหนอ ๆ หรือว่า ราคะหนอ ๆ พิจารณาเห็นความโกรธที่มันเกิดขึ้นมาในใจของเรา เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วมันตั้งอยู่อย่างไร เมื่อตั้งอยู่แล้วมันดับไปอย่างไร หรือเราเกิดราคะขึ้นมาเราต้องพิจารณาที่ใจของเราว่าราคะมันเกิดขึ้นมาอย่างไรแล้วมันดับลงไปอย่างไร เวลาเราเกิดมานะ ทิฏฐิ ตัณหา อะไรต่าง ๆ ก็เหมือนกัน ท่านให้พิจารณาดูที่จิตใจของเราว่า ทิฏฐิมันเกิดขึ้นมาเพราะเรานึกอย่างไร เราคิดอย่างไร เราเห็นอย่างไร เราได้ฟังอย่างไร ทิฏฐิมันเกิดขึ้นมา เมื่อทิฏฐิมันเกิดขึ้นมามันตั้งอยู่ด้วยอำนาจอย่างไร แล้วมันดับลงไปอย่างไร นี่ท่านให้พิจารณาดูที่จิตใจของเรา

            เราจะเห็นว่าสิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เมื่อเราเห็นสิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เราจะเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงแต่เวทนา เป็นเพียงแต่ความนึกคิด เป็นเพียงแต่จิตของเราปรากฏขึ้นตั้งอยู่ดับไป นี่ในลักษณะของการประพฤติปฏิบัติธรรม เมื่อเวทนาปรากฏชัดเราก็กำหนดเวทนา แต่เมื่อจิตของเราปรากฏชัดเราก็กำหนดจิตของเรา เรียกว่าเห็นความเกิดขึ้นของเวทนา เห็นความตั้งอยู่ของเวทนา เห็นความดับไปของเวทนา เห็นความเกิดขึ้นของจิต เห็นความตั้งอยู่ของจิต แล้วก็เห็นความดับไปของจิต นี่ในลักษณะอย่างนี้ก็ถือว่าเป็นการเจริญวิปัสสนาตามหลักของการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

            หรือว่าเราพิจารณาธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เราพิจารณาขันธ์ ๕ พิจารณารูป พิจารณาเวทนา พิจารณาสัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าสิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนกับพยับแดด ปรากฏขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่มีอะไรเป็นสิ่งที่จีรังยั่งยืน นี่ถ้าเราพิจารณาเท่านี้ก็เพียงพอต่อการที่จะเบื่อหน่าย ต่อการที่จะคลายกำหนัด ว่าไม่มีอะไรเป็นของจีรังยั่งยืน นี่ถ้าเราพิจารณาเพียงเท่านี้จิตใจของเราก็จะสลดสังเวช

            แต่ถ้าเราไม่ตั้งใจพิจารณา ปล่อยจิตปล่อยใจไปตามอารมณ์ตามธรรมชาติ ความรู้แจ้งเห็นจริง ความเข้าใจในสัจจธรรมมันก็ไม่ปรากฏขึ้นมา เพราะว่าสิ่งเหล่านี้มันถูกปกปิดถูกซ่อนเร้นด้วยความชอบใจด้วยความพอใจ ถ้าเราชอบใจสิ่งใดพอใจสิ่งใด เราจะหลงไหลหมกมุ่นกับสิ่งนั้น แล้วเราจะไม่เห็นสิ่งนั้นตามความเป็นจริง

            เพราะฉะนั้นท่านจึงให้เราพิจารณาเพิกความพอใจเพิกความเสียใจนั้นออก เราจึงจะเห็นตามความเป็นจริง แล้วก็การประพฤติปฏิบัติธรรม นอกจากเราจะพิจารณาเห็นกายก็ดี เห็นเวทนาก็ดี เห็นจิตก็ดี เห็นธรรมก็ดี เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปแล้ว ท่านให้เรานั้นพิจารณาอายตนะ เรียกว่าพิจารณาอายตนะคือตา คือหู คือจมูก คือลิ้น คือกาย ของเรานั้นว่าเป็นที่เกิดของบุญและบาป แล้วก็เป็นที่เชื่อมโยงของบุญและบาป บุญบาปมันก็เกิดขึ้นที่ตรงนี้ ศีล สมาธิ ปัญญา ก็เกิดที่ตรงนี้

            ศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี จะว่าอยู่ใกล้ก็ใกล้ จะว่าอยู่ไกลก็ไกล แต่ว่าไม่เกินเอื้อม ไม่เกินความไขว่คว้าของเรา เพราะว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสธรรมคือมรรคมีองค์ ๘ อริยสัจ ๔ นั้น ตรัสไว้ในโลกมนุษย์ของเรา ให้พวกเราทั้งหลายนี่แหละเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติตามให้รู้แจ้งเห็นจริง

            หลักที่พระองค์ทรงตรัสไว้นั้นเหมาะพอดี สมควรพอดีแก่อุปนิสัยที่พวกเราทั้งหลายจะทำการรู้แจ้ง เพราะฉะนั้น ตาก็ดี หูก็ดี จมูกก็ดี ลิ้นก็ดี กายก็ดี ใจก็ดี อันนี้แหละถือว่าเป็นก้อนอริยสัจ เรียกว่าอริยสัจ ๔ เกิดที่ตรงนี้ มรรคมีองค์ ๘ เกิดอยู่ที่ตรงนี้ การบรรลุมรรคผลนิพพานต่าง ๆ ก็เกิดอยู่ที่ตรงนี้

            ขอให้คณะครูบาอาจารย์คิดว่าเรานั้นมีตา มีหู มีจมูก มีลิ้น มีกาย อันเป็นหลักแห่งการบรรลุมรรคผลนิพพานด้วยกันทั้งนั้น ก็ขอให้เราทั้งหลายอย่าได้ประมาท อย่าประมาทในการดู อย่าประมาทในการฟัง อย่าประมาทในการลิ้มรส อย่าประมาทในการสัมผัสทางกาย อย่าประมาทในการสัมผัสทางใจ นี้แหละเป็นหนทางแห่งนรก เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน หรือว่าเป็นหนทางแห่งมนุษย์ แห่งสวรรค์ แห่งพรหมโลก แล้วก็พระนิพพาน อยู่ตรงนี้เอง

            พวกเราทั้งหลายที่มาประพฤติปฏิบัติธรรม ถ้าพวกเราทั้งหลายไม่ประมาทในอายตนะดังกล่าวแล้ว ก็สามารถที่จะทำที่พึ่งของตนเองได้ ธรรมะทั้งแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์เกิดขึ้นมาที่อายตนะทั้งหกนี้ ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของกิเลส ก็เกิดขึ้นที่อายตนะทั้งหกนี้ ความดับไปของกิเลสก็เกิดขึ้นที่อายตนะทั้งหกนี้ เรียกว่าธรรมะทั้งแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ก็เกิดขึ้นที่อายตนะทั้งหกนี้

            สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่พวกเราทั้งหลายควรคิดควรพิจารณา ว่าพระพุทธเจ้าพระองค์ทรงบรรลุธรรมที่ไหน ก็ที่อายตนะนี้ พระปัจเจกพุทธเจ้าบรรลุธรรมที่ไหน ก็บรรลุที่อายตนะนี้ หรือพระอริยสาวกทั้งหลายก็บรรลุที่อายตนะนี้ จะเป็นเด็ก เป็นหญิง เป็นชาย เป็นพระ เป็นเณร ก็บรรลุที่อายตนะนี้ สิ่งที่พวกเราทั้งหลายมีถ้วนหน้ากัน มีพื้นฐานของวิปัสสนากรรมฐาน มีพื้นฐานของกรรมฐานด้วยกันทั้งนั้น แต่ว่าเราจะสามารถทำอายตนะของเรานั้นให้เป็นอายตนะที่เป็นสะพานเชื่อมโยงไปสู่สวรรค์ มรรคผลพระนิพพานได้หรือไม่ เราสามารถที่จะทำอายตนะที่เป็นโลกิยะให้เป็นอายตนะที่เป็นโลกุตตระได้หรือไม่ พระพุทธเจ้าพระองค์ก็ทรงมีอายตนะเหมือนกัน

            พระอรหันต์ก็มีอายตนะเหมือนกัน แต่เป็นโลกุตตระอายตนะ คืออายตนะที่เหนือโลกแล้ว เป็นอายตนะที่ถอนอุปาทาน เป็นอายตนะที่ถอนกิเลสพันห้าตัณหาร้อยแปดแล้ว เรียกว่าเห็นสักแต่ว่าเห็น ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน เป็นอายตนะเย็น ไม่ใช่เป็นอายตนะร้อน เป็นอายตนะที่ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ใช่เป็นอายตนะที่ยึดมั่นถือมั่น เพราะฉะนั้น อายตนะของท่านผู้ที่ประพฤติปฏิบัติธรรมคือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือเหล่าสาวกทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น จึงเป็นอายตนะเพื่อที่จะทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่สังคม เป็นอายตนะเพื่อเกื้อกูลสรรพสัตว์ทั้งหลายให้เกิดความสุขเกิดความร่มเย็น เกิดความเจริญก้าวหน้าในทางศีลในทางธรรม ไม่ใช่เป็นอายตนะเพื่อเบียดเบียนบุคคลอื่น ไม่ใช่เป็นอายตนะเพื่อยังสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงให้เร่าร้อนด้วยอายตนะการกระทำของตนเอง เพราะฉะนั้น อายตนะของผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมนั้น ท่านให้เป็นอายตนะเย็น คือดับเสียซึ่งความร้อนทั้งหลายทั้งปวง

            ความร้อนในโลกของเรานั้น พระองค์ทรงตรัสว่าความร้อนด้วยอำนาจของไฟคือราคัคคิ เรียกว่าไฟคือราคะนั้นร้อน ไม่ปรากฏเถ้า ไม่ปรากฏถ่าน ไม่ปรากฏควัน แต่เผาบุคคลผู้ถูกราคะเผานั้น เผาทั้งกลางวัน เผาทั้งกลางคืน เผาทั้งขณะที่ยืน ทั้งขณะที่เดิน ทั้งขณะที่นั่ง เผาทั้งในขณะที่นอน เรียกว่าโอกาสที่จะว่างเว้นจากการเผาของราคะนั้นหายาก เพราะฉะนั้นไฟคือดวงอาทิตย์ ร้อนเฉพาะกลางวัน กลางคืนก็ดับ เปลวเพลิงที่เกิดขึ้นมาจากถ่านจากเชื้อ ก็ร้อนเฉพาะในเวลาที่มีถ่านมีเชื้อ

            แต่ราคะนั้นเผาอยู่ตลอดเวลา ไฟคือโทสะเผาจิตเผาใจของบุคคลนั้นอยู่ตลอดเวลาไม่เหมือนกับไฟที่อยู่ข้างนอก เพราะฉะนั้นไฟคือกิเลสนี่แหละองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์จึงทรงตรัสว่าเป็นไฟที่น่ากลัว เรียกว่าเป็นภัยร้ายในวัฏฏสงสาร เพราะฉะนั้น พวกเราทั้งหลายที่มาประพฤติปฏิบัติธรรม

            ก็ขอให้พวกเราทั้งหลายจงพยายามเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้ มีความทุกข์เป็นต้นที่เกิดขึ้นมากับเรา ไม่ใช่เกิดขึ้นมาจากอย่างอื่น เกิดขึ้นมาจากจิตใจภายในของเรานี้เอง เพราะฉะนั้นขอให้เราทั้งหลายได้ตื่นตัว ถ้าเราอยากจะพ้นไปจากความทุกข์จริง ๆ ก็ต้องตื่นตัว หนทางแห่งความพ้นทุกข์นั้นมีจริง แต่พวกเราทั้งหลายจะประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นได้มากน้อยขนาดไหน อันนี้เป็นเรื่องที่คณะครูบาอาจารย์จะต้องพินิจพิจารณาต่อสู้ไป เรียกว่า วิริเยน ทุกขมจฺเจติ คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร ไม่มีอะไรที่เราทั้งหลายจะไม่สามารถที่จะทำได้ถ้าเรามีความเพียร

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 108.0.0.0 Chrome 108.0.0.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 12 มกราคม 2566 19:57:56 »




พิจารณาให้เห็นตามเป็นจริง
โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร)
วัดพิชโสภาราม ต.แก้งเหนือ อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี

            ดังที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสว่า ถ้าบุคคลใดมีความเพียร บุคคลนั้นก็ต้องประสบกับความสำเร็จ เหมือนกับบุรุษคนหนึ่ง ในสมัยนั้น พระโพธิสัตว์นั้นเป็นพ่อค้าเกวียน เป็นหัวหน้านำเกวียน ๕๐๐ เล่มเดินผ่านทะเลทราย ขี่เกวียนผ่านทะเลทราย แต่ในขณะเวลากลางวันนั้นไม่สามารถที่จะผ่านทะเลทรายได้ เพราะทะเลทรายนั้นร้อนเหลือเกิน ต้องจอดเกวียนแล้วก็พักผ่อนในเวลากลางวัน ถึงเวลากลางคืนก็เดินทาง แต่เมื่อพิจารณาว่าทะเลทรายนั้นมันเดินยากเหลือเกิน

            พระโพธิสัตว์คำนวณว่าเดินตลอดทั้งกลางคืนนี้ก็สามารถที่จะผ่านพ้นทะเลทรายได้ จึงได้เอาเสบียงมีน้ำมีอาหารเป็นต้นทิ้ง เพราะว่าเกวียนนั้นจะสามารถผ่านพ้นไปได้ จะไม่หนักจนเกินไป เมื่อทิ้งเสบียงทั้งหลายทั้งปวงแล้วก็ปล่อยโคเดินไป ขณะที่โคเดินไปนั้นพระโพธิสัตว์เกิดม่อยหลับไป เกวียนนั้นก็หมุนมาทางเดิม หลงทาง ก็ไม่สามารถที่จะผ่านพ้นไปได้ ในที่สุดก็อยู่ที่ทะเลทราย ไม่มีน้ำที่จะกิน

            พระโพธิสัตว์ก็สำรวจตรวจตราดู เห็นหย่อมหญ้าขึ้นมาหย่อมหนึ่ง คิดว่าที่นี่คงจะมีความชื้น เมื่อมีความชื้นข้างล่างน่าจะมีกระแสของน้ำ ลำธารของน้ำ ก็ขุดทะเลทรายลงไป โดยมีลูกจ้างคนหนึ่งอาสาขุด ขุดลงไปก็ไปเจอแผ่นหิน เมื่อเจอแผ่นหินคนทั้งหลายทั้งปวงก็ทอดอาลัย คิดว่าเราทั้งหลายทั้งปวงคงจะต้องตายอยู่ที่ทะเลทรายแล้ว แต่ทาสคนนั้นก็หาย่อท้อไม่ ก็เอาหูแนบลงที่แผ่นหิน รู้ว่ามีเสียงของน้ำ ก็ทำลายแผ่นหินนั้นด้วยกำลังของตน ทำให้น้ำนั้นพุ่งขึ้นมา ทำให้พ่อค้าทั้ง ๕๐๐ นั้นรอดพ้นจากความตายเพราะความเพียร

            ถ้าบุคคลใดมีความเพียร บางครั้งเรายังมองไม่เห็นความสำเร็จ ขณะที่เรายังประพฤติปฏิบัติธรรม เหมือนว่าสมาธินั้นมันไกลเหลือเกิน เหมือนว่าการบรรลุมรรคผลมันไกลเหลือเกิน แต่เมื่อเราทำสมาธิได้ เราสามารถเข้าสมาธิได้ สมาธินั้นมันก็ถือว่าใกล้ ก่อนที่เรายังไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ก็เหมือนกับว่าโลกิยะกับโลกุตตระนั้นมันไกลกันเหลือเกิน มันไม่สามารถที่จะไปถึงกันได้ แต่ถ้าบุคคลใดมีความเพียรเจริญวิปัสสนากรรมฐานแล้ว ได้บรรลุมรรคผลนิพพานแล้วมันก็เหมือนกับใกล้ เพราะฉะนั้นก็ขอให้คณะครูบาอาจารย์ตลอดถึงญาติโยมทั้งหลายได้ตั้งอกตั้งใจในการประพฤติปฏิบัติธรรม วันนี้ก็ถือว่าเป็นราตรีที่ ๘ แล้ว ก็ขอให้ตั้งอกตั้งใจ พรุ่งนี้ก็จะได้ฟังการบรรยายแว่นธรรม ก็ถือว่าเป็นวันสรุปวันสุดท้าย ก็ขอให้คณะครูบาอาจารย์ได้ตั้งใจประพฤติปฏิบัติ
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
อุปาทาน โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร) วัดพิชโสภาราม จ.อุบลราชธานี
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
Maintenence 0 1138 กระทู้ล่าสุด 17 กุมภาพันธ์ 2563 15:52:49
โดย Maintenence
ปกิณณกธรรม โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร) วัดพิชโสภาราม จ.อุบลราชธานี
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
Maintenence 1 924 กระทู้ล่าสุด 10 พฤศจิกายน 2563 13:55:19
โดย Maintenence
นรก ๑๐ ขุม โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร) วัดพิชโสภาราม จ.อุบลราชธานี
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
Maintenence 1 807 กระทู้ล่าสุด 22 กรกฎาคม 2565 16:04:06
โดย Maintenence
พระสัทธรรมกำลังจะเลือนหาย โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร) จ.อุบลราชธานี[
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
Maintenence 1 330 กระทู้ล่าสุด 07 มกราคม 2566 15:30:37
โดย Maintenence
พิจารณาให้เห็นตามเป็นจริง โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร)
ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
Maintenence 1 77 กระทู้ล่าสุด 21 กุมภาพันธ์ 2567 12:20:44
โดย Maintenence
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.543 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 23 มกราคม 2567 09:05:34