[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 17:42:36 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “ฮิจรา(Hijra) กะเทยอินเดีย” ทำไมถึงมีวาจาอันศักดิ์สิทธิ์ในการสาปแช่ง?  (อ่าน 193 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Linux Linux
เวบเบราเซอร์:
Chrome 90.0.4430.210 Chrome 90.0.4430.210


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2566 18:41:51 »

“ฮิจรา – กะเทยอินเดีย” ทำไมถึงมีวาจาอันศักดิ์สิทธิ์ในการสาปแช่ง?


กะเทย หรือ ฮิจรา (Hijra) เป็นภาษาอูรดู ภาษาถิ่นของทางอินเดียเหนือ ภาษาฮินดีได้ยืมคำนี้มาใช้เรียกคนข้ามเพศหรือเพศที่สาม บุคคลเพศชายที่แสดงลักษณะและพฤติกรรมท่าทางใกล้เคียงกับลักษณะของเพศหญิง

ตำนานที่มาของฮิจรา

ตำนาน “ฮิจรา” ได้รับการพูดถึงในไทย ลงบทความในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 17 มกราคม 2566 โดย อธิพัฒน์ ไพบูลย์ กล่าวถึงตำนานฮิจราว่า “ตอนหนึ่งของรามเกียรติ์ หรือ รามายณะของฉบับอินเดียใต้ ครั้งที่พระรามถูกเนรเทศ มีกลุ่มคนออกไปส่งพระราม จนกระทั่ง 14 ปี พระรามกลับมา คนกลุ่มนั้นก็ยังยืนรออยู่ ด้วยเหตุเพราะ 14 ปีก่อน พระรามบอกเข้าเมืองแต่ด้วยคนกลุ่มนั้นไม่ใช่ทั้งชายและหญิง จึงไม่กล้ากลับเพราะไม่กล้าโกหก พระรามอวยพรให้มีสิทธิให้พรใครก็ได้ และมีสิทธิ์สาปใครก็ได้โดยคำสาปนั้นจะเป็นจริงเสมอ”
ตำนานฮิจรามีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรราว 400 ปี ถือเป็นเครื่องยืนยันถึงความหลากหลายทางเพศที่มีมานาน แต่มักถูกลืมเลือนในวัฒนธรรมอินเดีย

ต่อมาปลายศตวรรษที่ 15 มีนิทานพื้นบ้านที่เล่าเกี่ยวกับความภักดีของชาวฮิจรา ซึ่งมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์มุสลิมของอินเดีย ทำหน้าที่เป็นสุนัขเฝ้าบ้านที่ไร้เพศของฮาเร็มโมกุลของจักรพรรดิโมกุลในอินเดีย

ปัจจุบันฮิจรายังไม่เป็นที่ยอมรับมากนักในสังคม จึงเกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น การทำร้ายร่างกายภายในครอบครัว มักจะโดนไล่ออกจากบ้าน เพราะถูกมองว่าเป็นเพศที่น่ารังเกียจ ทำให้ฮิจราจำนวนมากเกาะกลุ่มและสร้างชุมชนฮิจรา ขึ้นมา เพื่อดูแลและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ประเทศที่มีฮิจรามากที่สุด  คือ อินเดีย ปากีสถาน และ บังกลาเทศ ตามลำดับ


“ฮิจรา” ในบังคลาเทศ (ภาพจาก https://wikimedia.org

ความเชื่อของคนอินเดียที่มีต่อฮิจรา

คริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 19 ฮิจรายังถือว่ามีอำนาจทางศาสนาและได้รับการขอพร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงพิธีทางศาสนา วันสำคัญต่างๆ เช่น พิธีต้อนรับเด็กเกิดใหม่ ซึ่งจะนำโชคลาภและความอุดมสมบูรณ์สู่เด็กและครอบครัว

ภายใต้วัฒนธรรมฮินดูดั้งเดิม ฮิจราได้รับความเคารพในระดับหนึ่ง แต่โดนรัฐบาลอังกฤษเข้ามาเปลี่ยนวัฒนธรรม ครั้งที่อินเดียตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 อังกฤษได้ใช้ความรู้สึกส่วนตัวในการตัดสินเรื่องศีลธรรมทางเพศ โดยตัดสินว่าเพศสภาพของฮิจรานั้นขัดต่อธรรมชาติ ทำให้ผู้คนเริ่มลดการเคารพและให้เกียรติฮิจรา

ฮิจราจะนับถือพระแม่พหุชรา เป็นเทพธิดาท้องถิ่นในศาสนาฮินดู ซึ่งมีที่มาและนิยมสักการะบูชาในรัฐคุชราต และรัฐราชสถานของประเทศอินเดีย พระนางได้รับการนับถือในศาสนาฮินดูว่าเป็นเทพีผู้อุปถัมภ์คุ้มครองรักษาเหล่าฮิจรา (กะเทย) และเป็นเทพีผู้อุปถัมภ์คุ้มครองรักษากลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศของศาสนาฮินดูและศาสนาท้องถิ่นของเอเชียใต้


พระแม่พหุชราถือตรีศูล ดาบ และคัมภีร์เป็นอาวุธ มีไก่เป็นพาหนะ (ภาพจาก :wikipedia.org)

ทุกวันนี้ ฮิจรา รวมถึงคนข้ามเพศพบเจอได้ง่ายบนท้องถนน พวกเธอจะสวมชุดส่าหรีระยิบระยับ ใบหน้าเคลือบหนาด้วยเครื่องสำอางราคาถูก เดินโซเซตามถนนสี่แยกที่มีผู้คนพลุกพล่าน เคาะกระจกรถขอเงินจากผู้คนที่จอดรถตามไฟจราจร โดยมีความเชื่อที่อ้างมาจาก ตำนาน “รามายณะ” หรือ “รามเกียรติ์” หากผู้ใดที่ได้คำอวยพรจากฮิจรา จะมีความโชคดี ได้สิ่งที่ต้องการตามปรารถนา ทว่ามีฮิจราส่วนน้อยมากที่จะอวยพรหรือให้พรกลับ ถึงแม้จะไม่ได้รับพรจากฮิจรา ผู้คนก็ยังคงให้เงินแก่ฮิจราทุกครั้ง เพราะหากไม่ให้เงิน พวกเธอก็จะสาปแช่ง ซึ่งถือเป็นความโชคร้ายและเคราะห์แก่ผู้ที่โดนสาปแช่ง

สังคมอินเดียยังไม่เปิดกว้างต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศ และระบบวรรณะยังคงฝังราก กลายเป็นข้อจำกัดที่ทำให้ฮิจราไม่สามารถขยับสถานะทางสังคมหรือประกอบอาชีพอื่นได้มากนัก ประกอบกับความเชื่อการให้โชคของฮิจรายังมีผู้คนสนับสนุนและพร้อมที่จะให้เงิน จึงยังคงพบเห็นฮิจราขอเงินอยู่ทั่วไป  

จาก https://www.silpa-mag.com/culture/article_100489

<a href="https://www.youtube.com/v/u9Swm2Ectz0" target="_blank">https://www.youtube.com/v/u9Swm2Ectz0</a>  

<a href="https://www.youtube.com/v/Qr1kUhvE3ms" target="_blank">https://www.youtube.com/v/Qr1kUhvE3ms</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/u-i2mMLaOGk" target="_blank">https://www.youtube.com/v/u-i2mMLaOGk</a>  

<a href="https://www.youtube.com/v/lRY8DnLaJgs" target="_blank">https://www.youtube.com/v/lRY8DnLaJgs</a>  

<a href="https://www.youtube.com/v/rlHaZe0N9Rs" target="_blank">https://www.youtube.com/v/rlHaZe0N9Rs</a>  

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
อย่ามาเล่นกับแม่ “ฮิจรา” (Hijra) กะเทยในอินเดีย ผู้มีอำนาจพิเศษทางศาสนา
ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม
มดเอ๊ก 0 44 กระทู้ล่าสุด 06 มีนาคม 2567 03:43:08
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.286 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 17 เมษายน 2567 01:01:04