[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
27 เมษายน 2567 07:15:07 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วะบิ-ซะบิ รอยตำหนิแห่งสุนทรียะ : “วะบิ” (侘) ความเรียบง่ายจาก ‘ซ่ง’ ถึง ‘เซน’  (อ่าน 221 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Linux Linux
เวบเบราเซอร์:
Chrome 90.0.4430.210 Chrome 90.0.4430.210


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2566 10:37:36 »



วะบิ-ซะบิ รอยตำหนิแห่งสุนทรียะ ตอนที่ 1 : “วะบิ” (侘) ความเรียบง่ายจาก ‘ซ่ง’ ถึง ‘เซน’

“วะบิ ซะบิ” เป็นคำที่สร้างความสับสนที่สุดคำหนึ่งในหมู่ผู้สนใจสุนทรียศาสตร์แบบญี่ปุ่น

อย่างแรก สับสนกันว่ามันควรแปลเป็นภาษาอื่น (อังกฤษ หรือ ไทย) ว่าอย่างไร?

อย่างที่สอง มักเข้าใจไขว้เขวกันว่า วะบิ-ซะบิ คือความเป็น “เซน” อย่างหนึ่ง

ประเด็นแรก คำว่า วะบิ (侘) มีความหมายที่กว้างขวาง โดยความหมายตรงออกจะให้ความรู้สึกผสมผสานระหว่างความพึงพอใจในความพร่อง ความสับสนในใจ ความผิดหวังที่เปล่าเปลี่ยว ฯลฯ ราวกับเป็นคำที่สะท้อนอารมณ์ที่ประเดประดังของศิลปินที่สร้างผลงานอันยิ่งใหญ่จากความคลุมเครือของจิตใจ

วะบิ ในความหมายนี้ไม่ได้สะท้อน “เซน” ออกมา แต่เป็นสภาวะของผู้ที่อยู่ในอบายภูมิ จมจ่อมกับอารมณ์ที่พาใจดิ่งสู่ความลึกไร้ที่สิ้นสุด เป็นความลึกซึ้งที่ “เซอร์เรียล” ที่ต่างจากเซนที่เป็นความลึกซึ้งที่ “เรียล”



อย่างไรก็ตาม คำนี้ยังมีความหมายนัยประหวัด (หรือความหมายเชิงเปรียบเทียบ) ที่พัฒนาขึ้นในช่วงยุคกลางของญี่ปุ่นเพื่อสะท้อนความงามที่ขาดพร่อง สะท้อนโลกที่เรียลแบบเซนคือไม่สมบูรณ์แบบ แต่การตระหนักในความพร่องนี้ กลับทำให้จิตใจเต็มอิ่ม และอารมณ์ยกสูงขึ้น ไม่จ่อมจมเหมือนความหมายเดิมของคำนี้

ยุคกลางของญี่ปุ่นตรงกับยุคคะมะกูระถึงยุคมูโรมะจิ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ชนชั้นนักรบก้าวขึ้นมากุมความเป็นไปของบ้านเมือง มีทั้งศึกนอก (กับมองโกล) และศึกใน (ระหว่างแว่นแคว้นนักรบ) ชนชั้นนำจึงต้องการปรัชญาที่แตกต่างจากเดิม เป็นอภิปรัชญาที่มีความปฏิบัตินิยม ช่วยให้จิตใจเข้มแข็งในการเผชิญกับความตายในสนามรบ และไม่หรูหราอลังการจนรุ่มร่าม


ยุคคะมะกูระเป็นยุคที่วัฒนธรรมของชนชั้นนักรบได้ก่อกำเนิดขึ้นโดยมีวัฒนธรรมของชนชั้นปกครองเป็นรากฐาน (Photo: ukiyo-e.org)

ในยุคโบราณของญี่ปุ่นปรัชญาที่ชี้นำชนชั้นสูงมาจากพุทธศาสนาหกนิกายหรือ นันโตโรกุชู (南都六宗) เป็นพุทธปรัชญามีความซับซ้อนเพราะอิงกับอภิธรรม สุนทรียศาสตร์ก็มุ่งเน้นความงามอันสมบูรณ์แบบ มัณฑศิลป์ต้องประกาศความอลังการ ฉันทศาสตร์ต้องมีนัยอันลึกซึ้งโยงใยกับวรรณกรรมและไวยากรณ์คลาสสิก นี่คือลักษณะของปรัชญาและสุนรียศาสตร์ที่ญี่ปุ่นยุคโบราณรับมาจากจีนสมัยราชวงศ์ถัง

ดังนั้น ความเป็น ‘ถัง’ คือความอลังการทั้งจิตวิญญาณและศิลปะ


ภาพวาดพระโพธิสัตว์ สมัยราชวงศ์ถัง ค.ศ.618 – 907 (Photo: chineseculturalstudiescenter.org)



พระพุทธรูปโลหะหุ้มทองคำ สมัยราชวงศ์ถัง ค.ศ.618 – 907 (Photo: metmuseum.org)

ครั้นถึงยุคกลาง แผ่นดินใหญ่ผ่านยุคสงครามและการกวาดล้างศาสนาพุทธ นิกายอภิธรรมถูกกำจัดจนหมดสิ้น มีเพียงนิกายฉาน (เซน) ที่อยู่รอดได้เพราะสลัดทิ้งความหรูหรา ปฏิบัติธรรมอย่างติดดินและพึ่งพาตนเองได้ด้วยการทำงานหนัก

ในยุคราชวงศ์ซ่ง คือยุคทองของนิกายฉาน และเมื่อเมืองหลวงของจีนย้ายจากภาคเหนืออันกว้างใหญ่ไพศาล ไปยังกังนั้มหรือ เจียงหนาน (江南) ในภาษาจีนกลาง (ดินแดนตอนใต้ของแยงซีเกียง) อันกระจิดริดแต่เรียบง่าย สุนทรียะของจีนก็เปลี่ยนไป

ความเป็น ‘ซ่ง’ คือเรียบง่าย ใช้เส้นสายที่มัธยัสถ์ ดูเหมือนพร่อง แต่เป็นการเว้นวรรคเพื่อให้นามธรรมในใจเติมเต็มความพร่องนั้น มิได้ให้รูปธรรมเติมให้แบบสมัยถัง




ภาพวาด สมัยราชวงศ์ซ่ง ค.ศ. 960 – 1279 (Photo: china-underground.com)


ภาพวาด สมัยราชวงศ์ซ่ง ค.ศ. 960 – 1279 (Photo: inkston.com)

ในยุคนี้ คณาจารย์ในญี่ปุ่นเริ่มได้ยินกิตติศัพท์ของสำนักฉาน จึงเดินทางไปศึกษาพระธรรมที่อาณาจักรซ่ง บุคคลแรกที่เดินทางไปยังจีนและนำนิกายฉานมาเผยแพร่คือ ท่านเอไซ นี่คือจุดเริ่มต้นของนิกายฉานในญี่ปุ่น ซึ่งเรียกว่า “เซน”  นอกจากนิกายเซนแล้วท่านเอไซยังนำการดื่มชามาเผยแพร่ที่ญี่ปุ่นด้วย


“ท่านเอไซ” หรือ เมียวอัง เอไซ

ช่วงแรกนั้น การดื่มชาในวัดนิกายเซน เป็นเพียงการดื่มเพิ่มให้เกิดกำลังวังชา ผ่อนคลาย และให้กายตื่น แต่เพราะต่อมาญี่ปุ่นติดต่อกับอาณาจักรซ่งมากขึ้น (โดยมีศาสนจักรเป็นตัวกลางติดต่อ) และรับรสนิยมการดื่มชาอย่างมีกระบวนพิธีมาด้วย พิธีชงชาจึงเริ่มแพร่หลายในหมู่ผู้สนใจนิกายเซนทั้งพระและโยม ในแผ่นดินใหญ่กระบวนการดื่มชาอย่างมีแบบแผนเริ่มมาตั้งแต่สมัยถัง แต่กระบวนพิธีและอุปกรณ์ที่สะท้อน “ความงามอันพร่อง” และจิตวิญญาณอันเรียบง่าย เริ่มต้นขึ้นสมัยซ่ง



ในญี่ปุ่น เรียกอุปกรณ์ชงชาว่า คาระโมโนะ (唐物) แปลว่า “เครื่องเคราอย่างจีน” คำว่า คาระ (唐) เป็นการออกเสียงแบบญี่ปุ่น ถ้าออกเสียงอย่างจีนจะเป็น โท หรือ ถัง คำว่า โท/คาระ เป็นคำที่ญี่ปุ่นใช้เรียกแทนประเทศจีนตั้งแต่โบราณจนถึงศตวรรษที่ 20 แม้ว่าจีนจะเปลี่ยนราชวงศ์เป็นซ่งแล้ว ก็ยังเรียกจีนว่า “ถัง” เช่นเดียวกับคนจีนบางท้องถิ่นที่ยังเรียกตัวเองเป็นคนถัง หรือ ตึ่งนั้ง (唐人)



ญี่ปุ่นเรียกอุปกรณ์ชงชาว่า คาระโมโนะ (唐物) แปลว่า “เครื่องเคราอย่างจีน” (Photo: jianglichi.pixnet.net)

เครื่องเคราในพิธีชงชาที่อยู่ในตำราญี่ปุ่น เป็นของนำเข้าจากอาณาจักรซ่ง สมัยซ่งเป็นจุดสูงสุดของเครื่องเคลือบ มีเครื่องเคลือบที่มีราคาแพงและหาได้ยากมากมาย เพียงแต่ในพิธีชงชาของญี่ปุ่นยุคต้น มันหาใช่เครื่องเคลือบมีราคาแพงอย่างที่นิยมในจีน

ในสำนักฉานที่จีน พระสงฆ์จะดื่มชาในถ้วยกระเบื้อง เจี้ยนเย่า (建窯) ที่ผลิตในภาคใต้ของจีน เป็นเครื่องเคลือบผิวเนียนแต่เคลือบสีคล้ายผิวกร้าน มิได้เรียบร้อยหมดจน แต่ละลานตาด้วยคุณลักษณะเฉพาะตัวของลวดลายธรรมชาติ ญี่ปุ่นเรียกถ้วยแบบนี้ว่า เทนโมกุ (天目) ตามชื่อภูเขาเทียนมู่




ลวดลายธรรมชาติอันงดงามของถ้วยกระเบื้อง เจี้ยนเย่า (建窯) หรือเทนโมกุ (天目) ในภาษาญี่ปุ่น (Photo: twitter | @freshtaiwan_tpe)

ในกังนั้ม ยังมีถ้วยอีกแบบเรียกว่า จี๋โจวเย่า (吉州窯) เคลือบหยาบๆ เพื่อเล็งผลอันวิเศษต่อผิวเคลือบเช่นกัน เครื่องเคลือบทั้ง 2 ชนิดนี้นิยมกันมากทั้งในกังนั้มและในญี่ปุ่น


ถ้วยจี๋โจวเย่า (吉州窯) (Photo: yu-jen.tw)

ซึ่งความหยาบของเครื่องเคลือบนี่เอง ต่อมาเมื่อผสมกับความเป็นเซนที่ต้องถ่อมตนในคุณค่าแบบ “ซะบิ” (寂) ของชาวญี่ปุ่น จนเกิดเป็นปรัชญาที่เรียกว่า  วะบิ-ซะบิ (侘寂) ในเวลาต่อมา

_____

*ทำความรู้จักคุณค่าแบบ “ซะบิ” (寂) ต่อได้ที่ วะบิ-ซะบิ รอยตำหนิแห่งสุนทรียะ ตอนที่ 2 : ซะบิ (寂) ความหยาบกร้านที่งดงาม

https://becommon.co/culture/wabi-sabi-sabi-esthetic/

ตอนแรก จาก https://becommon.co/culture/wabi-sabi-wabi-simply/

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
วะบิ ซะบิ : สุนทรียภาพในงานศิลปะเซน
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 5 7030 กระทู้ล่าสุด 29 กรกฎาคม 2559 17:14:16
โดย มดเอ๊ก
วิถีแห่ง ‘วะบิ-ซะบิ’ ความงามที่มีรอยตำหนิและกาลเวลาเป็นกัลยาณมิตร
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 206 กระทู้ล่าสุด 06 กุมภาพันธ์ 2566 17:43:02
โดย มดเอ๊ก
วะบิ-ซะบิ รอยตำหนิแห่งสุนทรียะ : “ซะบิ” (寂) ความหยาบกร้านที่งดงาม
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 255 กระทู้ล่าสุด 06 กุมภาพันธ์ 2566 18:08:49
โดย มดเอ๊ก
"วะบิ ซะบิ" ความงดงามในความไม่สมบูรณ์แบบ ( พื้นที่ชีวิต )
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 78 กระทู้ล่าสุด 21 ธันวาคม 2566 05:25:19
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.373 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 16 เมษายน 2567 07:10:30