[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 19:22:00 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คินสึงิ (Kintsugi) : ความงามของบาดแผลแห่งชีวิต  (อ่าน 255 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Linux Linux
เวบเบราเซอร์:
Chrome 90.0.4430.210 Chrome 90.0.4430.210


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2566 18:23:37 »



คินสึงิ (Kintsugi) : ความงามของบาดแผลแห่งชีวิต “แท้จริง!..”ไม่มีชีวิตใดในโลกนี้..ที่สมบูรณ์แบบหรอก...”

ปากกาขนนก / สกุล บุณยทัต

 “รอยปริแตกของสรรพสิ่ง นับเป็นสภาวะที่เป็นนัยของการเรียนรู้ที่จะเยียวยา ซ่อมแซม และแก้ไขให้คืนกลับมาสู่สภาพ

...ท่ามกลางความลึกเร้นแห่งใจอันเปราะบางและยับเยิน สำนึกรู้ในทางจิตวิญญาณอันล้ำลึกและสูงส่งผ่านธารสำนึกของตัวบุคคลย่อมคือรูปรอยทางความคิดที่มีค่า

...เป็นประจักษ์พยานอันสำคัญต่อการเรียนรู้และรับรู้ในวิถีแห่งเจตจำนงที่ต้องปรับแต่งแก้ไข

...ภาวะดังกล่าวนี้คือปรากฏการณ์ทางความคิดที่แทรกอยู่กับตัวตนของคนทุกคน

..สุดแต่ว่าใครจะหยั่งเห็นได้..เพียงนั้น....”

นี่คือนัยสำคัญที่ถอดรูปรอยความหมายออกมาจากหนังสืออันทรงคุณค่าของยุคสมัยเล่มสำคัญ “คินสึงิ”(Kintsugi):ความงามของบาดแผลแห่งชีวิต

..งานเขียนของ “โทมัส นาวาโร” (Thomas Navarrow)จิตแพทย์ชื่อดังชาวสเปนผู้มีผู้บาดเจ็บทางใจเป็นคนไข้มายาวนานหลายสิบปี/เขาเขียนหนังสือเล่มนี้ด้วยแรงบันดาลใจจากประสบการณ์ในการเยียวยารักษาด้วยมุมมองของชาวญี่ปุ่นที่มีต่อความพังพินาศในชีวิต

...การเรียนรู้จากชิ้นส่วนอันแตกหักที่ถูกเก็บกอบขึ้นมา เพื่อประจงใช้สมานรอยแผลให้งดงามและดำรงอยู่ต่อไป อาจกล่าวได้ว่าผู้คนในยุคสมัยของวันนี้ ล้วนต่างมีภาวะอาการที่เหงา เศร้าซึม และหมดไฟที่จะใฝ่หาสิ่งอันเป็นแรงใจ ทุกคนดูเหมือนว่าต่างเต็มไปด้วยอาการที่บอบช้ำและเจ็บช้ำ ความรู้สึกเช่นนี้แม้บางคนจะหายไปได้ง่ายๆในบางครั้ง..แต่กับส่วนใหญ่กลับจะดำดิ่งอยู่กับหายนะทางความรู้สึก จนไม่สามารถดึงตัวเองออกมาให้พ้นจากความทุกข์เศร้าอันแสนจะทรมานนั้นได้..

แบบแผนแห่งการใช้เทคนิค”คินสึงิ”อันหมายเทคนิคแห่งการผนึกเครื่องปั้นดินเผาที่แตกหักให้กลับมาเข้าด้วยกันในสภาพที่ดีเหมือนเก่าจากการซ่อมแซมด้วยทองคำ..ที่ถือเป็นการนำมาประยุกต์ใช้กับวิธีการที่เรียกกันว่า “Kinsukoroi” อันหมายถึง..การช่วยรักษาและปลดปล่อยคนออกจากความเศร้า และ ความเหงาเศร้า..ได้ไม่ยาก.. “คินสึงิ” จริงๆโดยปกติจะนำไปใช้ซ่อมแซมของใช้ที่แตกหักเช่น จาน ชาม ถ้วย ที่เป็นเซรามิก และเจ้าของต้องการซ่อมแซมรักษาให้ใช้งานได้เหมือนเดิม จึงได้ใช้ครั่งทองอุดรอยแตกบิ่นของภาชนะนั้นๆ

..อันหมายถึง การใช้ครั่ง ผสมกับผงทองคำ ผงเงิน หรือผงทองคำขาว มาผสานกับรอยแตกร้าวของภาชนะนั้นๆ คำว่า “คินสึงิ” (Kintsuki)มาจากคำว่า “Kin” ที่แปลว่าทองคำ..และคำว่า “Tsugi” อันหมายถึง “การผนึกหรือผนึก” เมื่อรวมคำและรวมความกันแล้วจึงได้ความหมายว่า..การซ่อมเครื่องปั้นดินเผาด้วยครั่ง เรซิน และผงทอง รวมทั้งกาวที่ทำจากยางรัก ประวัติความเป็นมาดั้งเดิมของ “คินสึงิ” นั้น เริ่มมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 15 “โชกุนAshikaga Yoshimasha” ได้ส่งถ้วยชาที่แตกแล้วไปซ่อมที่จีน จากนั้นจีนก็ส่งถ้วยชากลับมาญี่ปุ่นอีกครั้ง มันถูกซ่อม แต่กลับทำให้ดูน่าเกลียดกว่าเดิม ด้วยการใช้ลวดเย็บแปะตามรอยแตกของถ้วยชานั้น เหตุนี้ช่างซ่อมถ้วยชาวญี่ปุ่นจึงนำมันมาซ่อมใหม่อีกครั้งให้ดูดีขึ้นเสมือนเป็นถ้วยชาใหม่ ด้วยเทคนิค “คินสึงิ” นี้ หากเปรียบกับภาวะชีวิต..ก็แน่นอนว่าชีวิตของเราทุกคนล้วนต่างจมอยู่และเผชิญหน้ากับความผิดพลาดทุกผู้ทุกคน

...เราต่างประสบกับความผิดพลาดและเผชิญหน้ากับความล้มเหลวและล้มเหลวมาแทบทั้งสิ้น.แต่ตามหลักการของคินสึงิ

..ถือกันว่า ไม่มีประสบการณ์ใดที่นับว่าสูญเปล่า

..ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราได้ทำไปแล้วมีทั้งดีและร้าย ทั้งแย่มากและเลวร้ายมาก ครั้นเมื่อมันได้เกิดขึ้นกับชีวิตแล้วมันกลับคือบทเรียนที่ทำให้ผู้คนได้เรียนรู้มากกว่า

...มากกว่าการจะนำชีวิตให้ไปสู่ความผิดพลาดอีกหลายต่อหลายครั้ง

..ไม่มีชีวิตใดในโลกนี้ที่สมบูรณ์แบบหรอก..เหตุนี้ “คินสึงิ” จึงเปรียบเป็นตัวช่วยให้คนเราได้มีโอกาสมองเห็นความงดงามของชีวิตที่ไม่เต็มส่วนและไม่สมบูรณ์นั้น

...ดั่งนี้ “คินสึงิ” จึงคือหลักคิดที่ทำให้คนที่ตกอยู่ในสภาพที่เลวร้าย ที่เมื่อมีโอกาสได้เข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้แล้ว ก็สามรถคืนกลับสู่ชีวิตที่ดีกว่าเดิมได้

...ความล้มเหลวจักกลายเป็นบทเรียนสำคํญที่จะทำให้คนเราได้เรียนรู้ กระทั่งเกิดความตระหนักและรู้สึกขอบคุณสิ่งที่เคยทำให้เจ็บปวด อันถือเป็นการหยั่งรู้ และสอนชีวิตให้เติบโตในวันที่ชีวิตมีรอยปริแตกและบุบสลาย

...แม้จะต้องใช้เวลาที่ยาวนาน แม้จะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะกระทำ

..แต่มันก็ไม่ยากจนเกินกว่าชีวิตหนึ่งจะกระทำได้

.. พัฒนาการของ “คินสึงิ” ล่วงเลยมาร่วม 400 ปี

...จุดเด่นของมันคือร่องรอยแตกหัก บาดแผลของเครื่องถ้วย

...นั่นได้กลมกลืนและกลายเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบ และบางครั้งกระบวนการสร้างสรรค์ในการซ่อมแซมสิ่งที่แตกหักผุพัง ก็สามารถกลายเป็นสิ่งใหม่ที่สวยงามไม่เหมือนใคร และยืดหยุ่นกว่าทุกสิ่งที่เคยเป็น

...หลักการเช่นนี้สามารถนำมาใช้ได้ในช่วงตอนที่ชีวิตต้องเผชิญหน้ากับภาวะวิกฤต

... “คินสึงิ” ยังจะช่วยเผยให้เห็นว่า ผู้คนจะเยียวยาตนเอง และเผยให้โลกได้มองเห็นรอยบิ่นที่แตกหักสีทองหลังการเยียวยา โดยสามารถเทียบเคียงกับชีวิตได้ว่า ภายหลังการซ่อมแซมเยียวยาแล้ว ชีวิตมีคุณค่าขึ้นมามากเพียงไหน

..แท้จริงแล้ว

...มนุษย์มักไม่ตระหนักถึงศักยภาพที่ตัวเองมี จวบจนจะสามารถก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาที่แสนสาหัสของชีวิตมาได้.. เหตุนี้มันจึงจะสอนให้ผู้คน ได้เรียนรู้ที่จะโอบกอด ทั้งส่วนที่ดี และส่วนที่เลวร้ายที่เกิดขึ้นกับชีวิต

...ความไม่สมบูรณ์แบบทั้งหลายเหล่านี้ จะทำให้ชีวิตของคนเราแข็งแกร่งขึ้น

...มันคือความสามารถที่จะอดทน อดทนที่จะสงบจิตใจลงได้ นั่นเป็นสิ่งที่ผู้คนควรที่จะต้องฝึกการเรียนรู้ในทุกๆวัน เหมือนดั่งการทำสมาธิ

..คือถ้ารู้จักอดทนให้มาก ก็จะเกิดความแข็งแกร่งภายในจิตใจได้มาก

...การแคร์และการฟังเสียงภายในใจของตนเองอย่างถี่ถ้วน เป็นอีกส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้น การใส่ใจที่จะดูแลภายในจิตใจของตัวเราเอง ถือเป็นมิติของการเรียนรู้ที่จะดูแลและรักตนเอง กระทั่งสามารถมองเห็นว่าตัวเองนั่นแหละคือเพื่อนที่ดีที่สุดของตัวเอง นอกจากนี้การดูแลตนเองให้ดี การทำให้ตัวเองมีสุขภาพที่ดี การทำอาหารกินเอง การนั่งสมาธิ การมองโลกในแง่บวก

..ทั้งหมดล้วนส่งผลต่อการมีชีวิตอยู่ที่เป็นสุข

..โดยนัยแห่งความเป็นเนื้อแท้

...ชีวิตหาได้ต้องการที่จะที่เสพสุขผ่านการบำรุงบำเรอชีวิตอย่างท่วมท้น มากมาย แต่เพียงแค่

..ร่างกายกับจิตใจของเราได้มีส่วนสัมผัส สัมพันธ์กันผ่านอาหารที่เรากิน

...การได้รับพลังงานที่ดีผ่านกายเช่นนี้ จึงมีส่วนทำให้จิตใจก็จะได้รับพลังงานที่ดีด้วยเช่นกัน

..ที่สุดแล้วการเรียนรู้ที่จะรู้จักขอบคุณอย่างจริงใจ ถือเป็นแนวคิดที่สำคัญที่สุดของ”คินสึงิ”

..ที่คนเราต้องตระหนักรู้ที่จะแสดงความขอบคุณต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต

..ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ดีหรือร้าย

..หรือไม่ว่าจะเป็นในแง่ดีหรือร้ายก็ตาม เป็นการปล่อยให้ แรงขับแห่งอัตตา(Ego)ของตน

..ได้มีโอกาสจัดการกับประสบการณ์ที่เกิดขึ้น

.. “เทคนิค “คินสึงิ” เป็นเทคนิคที่มีการเหลือรอยต่อสีทองอันงดงามที่ถูกพูดถึงกันมากในประวัติศาสตร์ นับแต่ศตวรรษที่15 เทคนิคนี้ จึงเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว นักสะสมจำนวนมาก รู้สึกชื่นชมเทคนิคนี้มาก จนถึงขั้นตั้งใจทุบเครื่องปั้นดินเผาอันมีค่า เพื่อจะได้ซ่อมแซมมัน โดยใช้เทคนิคคินสึงิ โดยเครื่องปั้นดินเผานั้นๆ จะมีความงดงามยิ่งขึ้น หลังการซ่อมแซมทุกครั้ง

..” ว่ากันว่าการทำงานแบบ “คินสึงิ” ทำให้เราสามารถมองย้อนกลับมาถึงโลกทัศน์ที่เราเลือกมาใช้กับตัวเราได้เสมอ

..ที่สุดเราจะเชื่อว่ารอยแตกนั้นๆ ไม่จำเป็นต้องปิดบัง เพราะรอยแตกเองก็นับว่ามีชีวิต มีอายุ มีเรื่องที่ตัวมันเองก็น่าจะภาคภูมิใจ “หากเรามีข้อบกพร่องอะไรบางอย่าง

...ก็ไม่ต้องหาวิธีที่จะปกปิดมัน

...แต่ควรที่จะยอมให้มันเป็นไปต่างหาก

...” เหตุนี้ “คินสึงิ”

...จึงไม่ต่างอะไรกับการชุบชีวิตใหม่อีกครั้ง

...ชุบทั้งคนในอดีตและคนในปัจจุบันให้สามารถเชื่อมต่อกันได้ตลอดไป แม้จะไม่ได้อยู่ในสภาวะชีวิตที่สมบูรณ์แท้จริง เหมือนดั่งเดิมที่เคยเป็นก็ตาม ให้ถือเสียว่า จุดที่แตกหักและเสียหายไปนั้นไม่ใช่จุดจบ

...แต่มันคือร่องรอยของสิ่งที่เคยเกิดขึ้น แล้วดำเนินต่อไป

...และนี่คือปรัชญาของตัว “คินสึงิ” เอง ที่สุดแล้ว

...ในข้อสรุปที่สำคัญ เราต่างไม่เคยสร้างรอยแตกให้เกิดขึ้นด้วยจงใจ

...การแตกจะต้องมีเหตุผลและเป็นปตามธรรมชาติ

...มันคือศิลปะที่เกิดขึ้นจากจังหวะและเวลา

... “สังเกตได้ว่า จังหวะแตกของแต่ละใบ จะทำให้เกิดรอยแตกที่ไม่เหมือนกัน รอยทองบนถ้วยที่แตกก็เช่นกัน แต่ละใบย่อมไม่มีทางที่จะเหมือนกัน นั่นคือรากฐานของความคิดที่ทำให้คิดได้ว่า

.. คนเรานั้นไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน แม้จะเรียนมาจากที่เดียวกัน

...ทั้งนี้ก็เพราะว่า

...เราแต่ละคนต่างผ่านเรื่องราวมาไม่เหมือนกัน.ร่องรอยชีวิตก็ไม่เหมือนกัน

...หากแม้นใครก็ตามไม่เคยเจออุปสรรคอะไรในชีวิต

...มีชีวิตที่สมบูรณ์ก็ต้องถือว่าพวกเขาโชคดีจริงๆ

...ด้วยเหตุนี้ คนโดยทั่วไปจึงอย่าไปหวังถึงชีวิตที่สมบูรณ์อะไรกันให้มาก แต่ขอให้ตั้งมั่นและรับรู้เพียงว่า

..คนเรานั้นถ้ามีบาดแผลเกิดแก่ชีวิตบ้างก็จะดี” นี่คือหนังสือแห่งการสร้างคุณค่าให้แก่ชีวิตอย่างมีความหมายต่อการดำรงอยู่และดำเนินไปของตัวตนอันสัตย์ซื่อ

...ผ่านรอยบาดเจ็บของชีวิตอันสาหัส การสื่อสารความคิดออกมาเพื่อการทำความเข้าใจต่อการเยียวยาชีวิตที่แตกหัก ผ่านหลักการของ “คินสึงิ” มันคือภาวะเปรียบเทียบอันสูงส่ง

...ต่อความใฝ่รู้ และตีความหมายของโลกและชีวิตเข้าด้วยกันในนัยของการหยั่งรู้อันถาวรล้ำลึก “ง่ายงาม และดูเหมือนจะแสนธรรมดา”

..หากแต่ผลลัพธ์ที่ปรากฏกลับมีค่าเสมอจิตใจ และหลักคิดทางปัญญาญาณเสมอ

.. “โทมัส นาวาโร”สร้างสรรค์ทิศทางในการเขียนหนังสือเล่มนี้ผ่านศาสตร์ของการเรียนรู้ในหลายๆส่วนที่นำมาประกอบสร้างกันเป็นใจความทางความคิดอันเอกอุ

..นับแต่คุณค่าของความฝัน

...ศิลปะแห่งแก่นแท้

...การมีชีวิตอยู่กับเรื่องอันเลวร้าย

...กระทั่งมาถึงการกอบเก็บซาก การซ่อมแซมการงาน ศิลปะแห่งความอุตสาหะ

...สู่การหลอมรวมในศิลปะแห่งการซ่อมแซมชีวิต รายละเอียดที่ผูกโยงและร้อยเรียงให้เห็นถึงความงามของบาดแผล

..ช่วยทำให้หนังสือจากการสรรค์สร้างของ “โทมัส นาวาโร” เล่มนี้

...มีชีวิตที่ยึดโยงกับชีวิตได้อย่างแน่นหนักโดยทันที

...สำนวนแปลและนัยแห่งการถอดความโดย “วุฒิชัย กฤษณปกรณ์กิจ”

...ถือเป็นคุณค่าหนึ่งต่อการนบน้อมในการแพร่ขยายความคิดและความหมายแห่ง “คินสึงิ” ให้เป็นภาวะที่งดงาม

...และแทรกลึกลงไปต่อความมั่นใจในการฟื้นตัวใหม่ของคนทั้งโลก

...ดั่งนั้น “ก็เป็นเช่นเดียวกับแผลบนร่างกาย

...เมื่อเราถูกทำร้ายร่างกายจนเป็นแผลบาดลึก เราก็ควรรักษามันให้หายดี ไม่ควรทำเป็นลืมๆมันไปหรือปล่อยให้กัดหนอง เพราะเส้นทางชีวิตนั้นยาวไกล และหากเราจะเดินทางไปพร้อมรอยแผลบาดเจ็บตลอดเวลา เราอาจอ่อนล้าจนไม่เห็นความงามรายทาง หรือที่จะแย่ไปกว่านั้นก็คืออาจจะหลงทิศหลงทางไปเลย เหตุนี้ การเยียวยาแผลใจจากการโดนทำร้ายจึงเป็นเรื่องสำคัญ และหนังสือ “คินสึงิ” เล่มนี้ก็อาจจะเป็นดั่งรักทอง ที่สามารถ นำไปใช้สมานแผลในใจที่เจ็บปวดมายาวนาน

..ให้หายขาดได้”

จาก https://siamrath.co.th/n/215734

อ่านไปก้อน เด๋ว จัดอักษรและเอาภาพมาแปะคั่นสายตา จะได้พักตา อ่านสบายตา สักครู่

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 กุมภาพันธ์ 2566 18:55:18 โดย มดเอ๊ก » บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.399 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 14 พฤศจิกายน 2566 08:11:18