[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 08:33:15 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดหนังราชวรวิหาร เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร  (อ่าน 332 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2566 17:40:27 »




วัดหนังราชวรวิหาร
แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร

วัดหนัง” หรือ “วัดหนังราชวรวิหาร” เดิมเป็นวัดราษฎร์ มีสืบมาแต่โบราณ มีนามว่าวัดหนังมาแต่เดิม ในปัจจุบันมีอายุนับย้อนไปได้ประมาณสามร้อยปี สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๒๖๐ หรือประมาณรัชสมัยพระเจ้าท้ายสระ มีพระมหาพุทธิรักขิตกับหมื่นเพ็ชร์พิจิตรเป็นผู้สร้าง หลักฐานนี้ได้มาจากจารึกที่ระฆังใบเก่าในวัด  และได้รับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๐ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบต่อจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๗ ในสมัยของพระองค์ท่าน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการฉลองวัดหนัง ณ วันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๘๐ การเริ่มสถาปนาคงอยู่ในระหว่าง พ.ศ.๒๓๖๗ ถึง พ.ศ.๒๓๗๘

สมัยก่อนแถววัดหนังอยู่เขตอำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี เมื่อรวมธนบุรีเข้ามาเป็นกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก วัดหนังก็ย้ายเข้ามาอยู่ในเขตจอมทอง  กรุงเทพมหานคร  ยังปรากฏป้ายเก่าของวัดขณะที่ยังสังกัดจังหวัดธนบุรีใน “พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา” ที่จัดขึ้นภายในวัดโดย พระครูสมุห์ไพฑูรย์ สุภาฑโร และบรรดาลูกศิษย์ลูกหาในย่านวัดหนังช่วยกันประกอบสร้างขึ้น  ท่านพระครูเล่าเรื่องชื่อของวัดให้ฟังว่า ที่ชื่อวัดหนังนั้นสันนิษฐานได้ ๒ เรื่องคือ ๑) เมื่อก่อนมีการทำตัวหนัง  ที่วัดนี้เป็นจำนวนมาก กับ ๒) ตั้งแต่สมัยสร้างวัดนั้น มีการทำกลองกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ณ บริเวณลานวัดมีหนังตากแห้งเตรียมรอขึ้นหน้ากลองอยู่เต็มลาน ชาวบ้านร้านตลาดจึงเรียนวัดนี้ว่า “วัดหนัง”
  
วัดหนังเป็นวัดเก่าแก่ในย่านนี้ และมีวัดในแถบใกล้ๆ กันอีกหลายวัดจนมีเรื่องเล่าว่า วัดในแถบนี้มีวัดสามพี่น้อง คือ วัดหนัง  วัดนางนอน และวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร และที่ใกล้กันนั้นก็มีวัดศาลาครึนด้วย วัดนางนองราชวรวิหารและวัดราชโอรสารามราชวรวิหารนั้นบูรณะในสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งศิลปะที่ปรากฏอยู่ที่วัดนั้นส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะแบบจีน  มีประดับกระเบื้องจีนตามหน้าจั่วของโบสถ์และวิหารของวัด ส่วนวัดหนังนี้พระราชมารดาของรัชกาลที่ ๓ ทรงให้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดหนังขึ้นใหม่ แต่ให้มีความเป็นไทยผสมอยู่มากกว่าวัดนางนองและวัดราชโอรสารามฯ แต่ก็ยังมีศิลปะแบบจีนปนอยู่บ้าง





 พระพุทธปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถวัดหนัง


พระอุโบสถวัดหนัง




เสมาคู่วัดหนังราชวรวิหาร

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 กุมภาพันธ์ 2566 17:45:31 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2566 17:41:41 »







 



พระปรางค์วัดหนังฯ

สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ คราวสถาปนาวัด มีความสูง ๒๒ เมตร ๓๐ เซนติเมตร ส่วนฐานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๓ เมตร ๖๐ เซนติเมตร ชั้นประทักษิณ ๓ ชั้น เป็นรูป ๘ เหลี่ยม พนักลูกกรงโดยรอบกรุด้วยกระเบื้องปรุสีเขียว มีบันไดทางขึ้นด้านหน้า องค์ปรางค์ทาสีขาว ประดับด้วยรูปปั้นเทวดา และรูปครุฑ  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นบรรจุในองค์พระปรางค์ คราวเสด็จฯ ยกช่อฟ้าพระอุโบสถ และพระวิหารของวัดหนังฯ เมื่อวันที่ ๑๘ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๕๔

ปรางค์ หรือ พระปรางค์ เดิมคือปราสาทที่ขอมได้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่สถิตของเทพเจ้าตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ในอินเดียครั้งโบราณ ราว ๑,๐๐๐ กว่าปีมาแล้ว โดยถือเป็นการจำลองเขาพระสุเมรุจากบนสวรรค์มาสร้างไว้บนโลกมนุษย์ ซึ่งได้เผยแพร่เข้ามาในดินแดนแถบนี้โดยเฉพาะในชวา ลาว เขมร และไทย ในยุคที่ขอมยังปกครองดินแดนในแถบนี้อยู่ และได้มีการสร้างปราสาทไว้หลายแห่ง เช่น ปรางค์สามยอดในจังหวัดลพบุรี ปราสาทเขาพนมรุ้ง ปราสาทหินพิมาย เป็นต้น รูปทรงของปรางค์ได้ถ่ายทอดมาจาก “ศิวลึงค์” ซึ่งมีความหมายถึงรูปปฏิมาของพระผู้เป็นเจ้า หรือที่ไทยเราเรียกันว่า “ปรางค์ทรงฝักข้าวโพด” เพราะดูคล้ายฝักข้าวโพดที่ตั้งขึ้น

ภายหลังจากที่ขอมหมดอำนาจทางการเมืองและอิทธิพลทางศิลปกรรมไปจากประเทศไทยแล้ว ศาสนสถานส่วนหนึ่งของขอมได้ถูกดัดแปลงให้เป็นวัดในพุทธศาสนา ตั้งแต่ก่อนตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตัวปราสาทบางครั้งก็ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแทนการตั้งรูปเคารพในศาสนาพราหมณ์ มีการแก้ไขรูปทรงเดิมจากแบบที่ขอมสร้างไว้ ให้มีลักษณะสวยงามตามความรู้สึกและความคิดของคนไทย ดังเช่น ปรางค์ในยุคสุโขทัย เป็นต้น   “ปรางค์” ถ้านับรวมถึงวัตถุประสงค์ของการก่อสร้างตัวปรางค์ก็จะหมายถึง เจดีย์รูปแบบหนึ่งหรือที่เรียกกันว่า “เจดีย์ทรงปรางค์” หรือ “พระปรางค์” นั่นเอง

พระปรางค์เมื่อแบ่งออกตามยุคสมัยแล้ว จะมีแบบต่างๆ ดังนี้คือ
๑. ปรางค์แบบลพบุรี เช่น ปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี
๒. ปรางค์แบบสุโขทัย เช่น ปรางค์ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองเชลียง จังหวัดสุโขทัย
๓. ปรางค์แบบอยุธยา เช่น ปรางค์ที่วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๔. ปรางค์แบบรัตนโกสินทร์ เช่น ปรางค์ที่วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร

เจดีย์ทรงปรางค์ หรือ พระปรางค์ ถือว่าเป็นสถูปเช่นเดียวกันกับเจดีย์  คติในการสร้างปรางค์ในยุคหลังก็คล้ายกับการสร้างเจดีย์  มีความหมายต่างๆ มากมาย เช่น มีการประดับลวดลายเป็นประติมากรรม เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ประดับรูปเทวดา รูปครุฑ หรือรูปยักษ์  ฐานรองรับองค์ปรางค์มักจะนิยมทำเป็นรูปแปดเหลี่ยม ซึ่งมีความหมายถึงมรรค ๘ อันเป็นวิถีทางที่จะทำให้บุคคลดำเนินไปสู่ที่สุดแห่งทุกข์ รวมไปถึงการประดับตกแต่งในส่วนอื่นๆ ก็มี การแฝงคติธรรมเอาไว้ที่องค์ของพระปรางค์เช่นเดียวกับเจดีย์

เจดีย์ทรงปรางค์ได้รับความนิยมอย่างมากในงานสถาปัตยกรรม สมัยอยุธยาตอนต้น  และได้รับความนิยมอีกครั้งหนึ่งในสมัยอยุธยาตอนปลาย สืบต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ยุคต้นตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓ และก็สันนิษฐานว่า ความนิยมในการสร้างได้หมดไปในรัชกาลที่ ๓ นี้ เพราะในสมัยรัชกาลที่ ๔ ไม่ปรากฏว่ามีการสร้างเจดีย์ทรงปรางค์อีกเลย เนื่องจากพระองค์ทรงโปรดเจดีย์ทรงระฆังมากกว่า ที่พบอยู่ก็เป็นเพียงการต่อยอดปราสาทพระเทพบิดรในวัดพระแก้วให้เป็นรูปเจดีย์ทรงปรางค์เท่านั้น  เจดีย์ทรงปรางค์จึงถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของงานสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ ๓ และเป็นการสร้างปรางค์ในยุคสุดท้ายของสถาปัตยกรรมไทยอย่างแท้จริง

อ้างอิงจากหนังสือ งานช่างสมัยพระนั่งเกล้าฯ ของ อ.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร






พระวิหาร

ภายนอก มีลักษณะคล้ายคลึงกับพระอุโบสถ แต่จะต่างกันตรงที่พระวิหารนี้มีประตูทางเข้าด้านหน้าเพียง ๑ ประตู และด้านหลัง ๑ ประตู พระวิหารจะไม่มีใบเสมารอบ แต่จะมีเฉพาะพระอุโบสถหรือโบสถ์เท่านั้น พระวิหารหลังนี้สันนิษฐานว่าแต่เดิมคงจะเป็นพระอุโบสถ  ในมัยที่ยังเป็นวัดราษฎร์หรือในสมัยอยุธยา ภายในพระวิหารมีผนังกระเบื้องปรุแบบจีนกั้นกลาง แบ่งภายในออกเป็น ๒ ตอน ซึ่งในอดีตไม่สามารถเดินผ่านไปยังตอนที่สองได้ ต่อมาได้เจาะเป็นช่องประตู ให้เดินถึงกันได้ในสมัยพระธรรมศีลาจารย์อดีตเจ้าอาวาส ตอนหน้ามีพระพุทธรูปปางมารวิชัยทำด้วยปูนปั้นลงรักปิดทองขนาดย่อม ตั้งประดิษฐานอยู่ ๑ องค์  ส่วนตอนในมีพระประธานทำด้วยหินศิลาพอกแต่งด้วยปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยา ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีอยู่ ๑ องค์ ที่ด้านหน้าของพระประธานนี้ประดิษฐานพระพุทธรูปโลหะลงรักปิดทอง ขนาดย่อมปางมารวิชัยเรียงเป็นแถวอยู่ ๕ องค์  ผนังภายในของพระวิหารทาสีขาว ไม่มีภาพจิตรกรรม  พระวิหารหลังนี้ เรียกกันว่า พระวิหารพระเจ้า ๕ พระองค์

คติการสร้าง พระวิหาร คือ กุฏิหรือที่ประทับของพระพุทธเจ้า



วิหารพระภาวนาโกศลเถร (หลวงปู่เอี่ยม )


850
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 กุมภาพันธ์ 2566 17:49:37 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 13 กุมภาพันธ์ 2566 20:15:52 »





พระภาวนาโกศลเถระ หรือ หลวงปู่เอี่ยม สุวณฺณสโร
อดีตเจ้าอาวาสวัดหนังราชวรวิหาร

ประวัติ
หลวงปู่เอี่ยม สุวณฺณสโร เป็นชาวอำเภอบางขุนเทียน บ้านอยู่ที่ริมคลองบางหว้า เกิดเมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๑ ขึ้น ๘ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๙ ปีมะโรง จัตวาศก ตรงกับวันที่ ๒ตุลาคม พ.ศ.๒๓๗๕ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบุตรของนายทอง และนางอู่ ครอบครัวประกอบอาชีพทำสวน อยู่ย่านบางขุนเทียน ริมคลองบางหว้า ครอบครัวของท่านเดิมใช้นามสกุล "ทองอู่" เป็นชื่อสกุลเริ่มแรก ในสมัยรัชกาลที่ ๖ เมื่อพระราชบัญญัติ ให้มีนามสกุลบังคับใช้ ต่อมาไม่นาน มีเจ้านายพระองค์หนึ่ง ทรงทักท้วงว่า ชื่อสกุล "ทองอู่" ไปพ้องกับพระนามของเจ้าต่างกรมพระองค์หนึ่งเข้า จึงต้องเปลี่ยนมาเป็น "ทองอู๋" สืบต่อมาถึงปัจจุบันนี้ ชาวบ้านเรียกท่านว่า หลวงพ่อวัดหนัง

นายถม ทองอู๋ เป็นหลานชายแท้ๆ ของหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง เกิดราวปี พ.ศ.๒๔๕๑ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ นายถม ได้เข้ามาเป็นศิษย์คอยดูแลรับใช้หลวงปู่เอี่ยมตั้งแต่เด็กๆ อายุ ราว ๘ ขวบ (ราวปี พ.ศ.๒๔๕๙) และอยู่รับใช้ใกล้ชิดกับเจ้าคุณเฒ่าวัดหนังมาโดยตลอดจนท่านมรณภาพ เรื่องราวเล่าขานจากปากนายถม ทองอู๋ เกี่ยวกับอภินิหาร, ประสบการณ์ต่างๆ ตลอดจนการสร้างวัตถุมงคลของเจ้าคุณเฒ่า ก็มาจากนายถมผู้นี้ เพราะนายถมเป็นผู้ช่วยในการหล่อพระหลายคราว รวมทั้งนายถมผู้นี้เองที่เจ้าคุณเฒ่า (หลวงปู่เอี่ยม) ได้สอนวิทยาคมการเก็บหมากทุยให้กับนายถม ไปเป็นผู้เก็บทลายของลูกหมากตายพรายยืนต้นในยุคนั้น เพื่อมาสร้างเป็น "หมากทุย" ซึ่งเครื่องรางของขลังที่มีความโดดเด่นมากในเรื่องคงกระพันชาตรี และ นายถมยังเป็นผู้ที่ช่วยเจ้าคุณเฒ่าในการจารตะกรุดให้หลวงปู่ ก่อนที่หลวงปู่เอี่ยมจะปลุกเสกอีกครั้ง

ในวัยเด็ก โยมพ่อโยมแม่ของท่านได้นำท่านมาฝากมาเรียนหนังสือที่สำนักหลวงปู่รอด อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหนัง ต่อมาเมื่ออายุ ๑๑ ปี ท่านได้เริ่มศึกษาพระปริยัติธรรม และต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่วัดเลียบ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๘๗ เมื่อท่านมีอายุครบ ๒๒ ปี ได้เข้าอุปสมบทสืบต่อพระบวรพุทธศาสนาและเป็นโอกาสที่จะได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อโยมบิดามารดาของท่าน ณ พัทธสีมาวัดราชโอรสาราม (วัดจอมทอง) อ.บางขุนเทียน จ.ธนบุรี (เขตจอมทอง กรุงเทพฯในปัจจุบัน) พระอุปัชฌาย์ได้ขนานนามว่า “สุวณฺณสโร” โดยมีพระสุธรรมเทพเถระ (เกิด) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมเจดีย์ (จีน) กับพระภาวนาโกศลเถร (รอด) เป็นคู่กรรมวาจาจารย์ หลังอุปสมบทท่านได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดนางนอง และได้เข้าสอบแปลพระปริยัติธรรมแต่คงสอบไม่ได้อีกเช่นเคย ท่านจึงต้องนั่งคุกเข่าประนมมือที่ท่านได้แปลอยู่ต่อหน้าพระคณาจารย์ผู้ใหญ่ จนพระเถระสมาคมคนหนึ่งชวนท่านไปอยู่ในสำนักเดียวกัน แต่ท่านปฏิเสธ ต่อมาท่านก็ได้เจริญรอยตามหลวงปู่รอด วัดโคนอน มาตลอดเวลา และได้ศึกษาวิปัสสนากรรมธุระกับพระภาวนาโกศลเถระ (รอด) เจ้าอาวาสวัดนางนอง ซึ่งเป็นพระกรรมวาจาจารย์ของท่านเอง และในช่วงที่ท่านบวช ๑๖ พรรษา หลวงปู่รอด (พระอาจารย์ของท่าน) เสด็จพระราชทานผ้าพระกฐินวัดนางนอง เล่ากันว่า ท่านไม่ถวายอดิเรกนับเป็นความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ถูกถอดสมณศักดิ์และต้องย้ายไปอยู่ที่วัดโคนอน ท่านจึงติดตามพระอาจารย์ของท่านไปอยู่ที่วัดโคนอนและปรนนิบัติรับใช้ต่อจนกระทั่งมรณภาพ แล้วดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโคนอนสืบแทน

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๑ ประชาชนได้อาราธนาท่านให้มาครองวัดหนัง เนื่องจากไม่มีเจ้าอาวาส วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ท่านจึงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นพระครูศีลคุณธราจารย์ ไปอยู่วัดหนัง มีนิตยภัตราคาเดือนละ ๒ ตำลึง ต่อมาวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๔๒ จึงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนเป็นพระภาวนาโกศลเถร ที่พระราชาคณะ มีนิตยภัตราคาเดือนละ ๓ ตำลึง






ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป หลวงปู่เอี่ยมท่านก็ได้ทำนายไว้ว่าพระองค์ท่านจะบรรลุผลสำเร็จพระบรมราโชบายทุกประการ แต่จะต้องประสบกับสัตว์ที่ดุร้ายในยุโรป และท่านจะต้องทรงขี่มัน หลวงปู่ท่านได้มอบพระคาถาเสกหญ้าให้ม้ากิน และมอบยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้าให้กับพระพุทธเจ้าหลวง และจะปกป้องคุ้มครองพระองค์ท่านให้ทรงปลอดภัย และสุดท้ายฝ่ายฝรั่งก็ยอมศิโรราบในที่สุด คำสอนของท่านคือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว  หลวงปู่ปฏิบัติพระกรณียกิจเป็นประจำเช่น การลงอุโบสถ แม้ฝนจะตกบ้างเล็กน้อยท่านก็เดินกางร่มไปซึ่งกุฏิของท่านอยู่ห่างประมาณ ๕๐ เมตร ขณะนี้ได้ปลูกรื้อใหม่เป็นหอภาวนาโกศลไว้ที่เดิม เวลามีพระราชพิธีต่างๆ ท่านจะได้รับนิมนต์ไปร่วมด้วยเช่น พิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ฉัตรมงคล เป็นต้น ในการเดินทางไปสมัยนั้น ต้องไปด้วยเรือแจวของหลวงประจำวัด ถ้าไม่ค้างแรมก็จอดเรือขึ้นที่ตลาดท่าเตียน วัดโพธิ์ แล้วเดินไปพระบรมมหาราชวัง และจอดเรือไว้ที่ท่าราชวรดิษฐ์ ฝากทหารเรือช่วยดูแล


ปฐมเหตุแห่งพระบรมรูปทรงม้า

ร้อยเรื่องราว ไปกับ เจ้าประคุณปราบสุราพินาศ เรื่องของ"เจ้าคุณเฒ่าถวายพยากรณ์แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเมื่อคราวเสด็จประพาสยุโรป ๒๔๔๐" เจ้าคุณเฒ่าวัดหนัง หรือหลวงปู่เอี่ยม วัดโคนอน"นี้ มีพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงนเรศวรฤทธิ์"เป็นศิษย์ และท่านผู้นี้ทูลรัชกาลที่ ๕ ให้เสด็จไปหาหลวงปู่เอี่ยม ซึ่งการเสด็จในครั้งนั้นเป็นการเสด็จส่วนพระองค์จนชาวบ้านไม่ได้เอะใจแต่อย่างใด เพราะเห็นเป็นขบวนเรือธรรมดา พอไปถึงก็เสด็จเข้าโบสถ์เลย ซึ่งมีพระปลัดเอี่ยม(ขณะนั้น)รออยู่ด้านใน " แล้วทรงตรัสถามขอคำพยากรณ์จากพระปลัดเอี่ยม พระปลัดเอี่ยมจึงทูลว่า "มหาบพิตร การเสด็จพระราชดำเนินสู่ยุโรปครั้งนี้ จะต้องประสบภัย ๒ ครั้ง ครั้งที่ ๑ ในทะเลที่วังวน อาตมาจะถวายผ้ายันต์พิเศษและคาถากำกับ เมื่อเข้าที่คับขันขอให้ทรงเสด็จไปยืนที่หัวเรือแล้วภาวนาคาถากำกับผ้ายันต์แล้วโบกผ้านั้น จะเกิดลมมหาวาตะพัดให้เรือหลุดจากการเข้าสู่วังวนได้  ครั้งที่ ๒ เกิดจากสัตวสี่เท้า คืออัศดรอันดุร้ายที่ฝ่ายตรงข้ามจะทดสอบพระองค์อาตมาจะถวายคาถาพิเศษสำหรับภาวนาเวลาถอนหญ้าให้อัศดรอันดุร้ายนั้นกิน จะคลายพยศและสามารถประทับบังคับให้ทำตามพระราชหฤทัยได้เหมือนม้าเชื่อง....."

หลังจากได้ทรงมีพระราชดำรัสกับพระปลัดเอี่ยมพอสมควรแก่เวลาแล้ว ก็ทรงถวายจตุปัจจัยไทยทานแด่พระปลัดเอี่ยม จากนั้นได้เสด็จกลับ ซึ่งการเสด็จประพาสยุโรปในครั้งนั้น พระองค์ต้องรอนแรมอยู่ในท้องทะเลถึงครึ่งเดือน คำพยากรณ์ของพระปลัดเอี่ยมก็ปรากฎขึ้น เป็นครั้งที่ ๑ เมื่อเรือพระที่นั่งจักรีได้แล่นเข้าไปในบริเวณ"ซากัสโซ ซี"ซึ่งบริเวณนั้นมักจะเกิดน้ำวนเป็นประจำ และถ้าเรือลำใดหลงเข้าไปก็จะถูกดูดลงไปใต้ท้องทะเล กัปตันเรือชาวอังกฤษชื่อว่า Commander Cumming ก็ได้ใช้ความพยายามบังคับเรือพระที่นั่งให้สู้กับแรงหมุนและดูดอย่างเต็มที่ เพราะว่าเรือพระที่นั่งนั้นได้หลงเข้าปากของวังวนแล้ว "การรอดออกมานั้นหมดหนทาง" แต่ในขณะที่วิกฤตินั้นได้มีผู้เข้าไปกราบทูลให้ทรงทราบ พระองค์ฉลองพระองค์ให้รัดกุม อาราธนาผ้ายันต์ของพระปลัดเอี่ยมติดมาด้วย เมื่อเสด็จมาถึงตอนหัวเรือแล้วก็ทรงอธิษฐาน จากนั้นจึงทรงโบกผ้ายันต์ แล้วปาฎิหาริย์ก็ปรากฎขึ้น
เมื่อเหตุการณ์ได้แปรเปลี่ยนจู่ๆ ก็เกิดลมมหาวาตะพัด เกิดในทิศทางที่อยู่ในแนวเดียวกับวังวน แรงลมทำให้เกิดกระแสคลื่นสะกัดกระแสวนของวังน้ำ ดันเรือพระที่นั่งให้พ้นจากแรงดูดสามารถตั้งเข็มเข้าสู่เส้นทางได้ ท่ามกลางเสียงร้องตะโกนว่า "ฮูเรย์" ของกัปตันและลูกเรือส่วนผู้ติดตามเสด็จนั้นอ้าปากค้างทำอะไรไม่ถูก จนทรงพับผ้ายันต์เก็บแล้วนั่นแหละ จึงค่อยๆ ร้องว่า สาธุ สาธุ คำพยากรณ์ข้อแรกเป็นที่ประจักษ์แก่พระเนตรพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงแล้ว ก็คงเหลือแต่คำพยากรณ์ข้อต่อไป

เมื่อพระองค์เสด็จถึงประเทศฝรั่งเศส ประธานาธิบดี เฟลิกซ์ ฟอร์ ได้ถวายการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ (แม้จะไม่เต็มใจ แต่ก็เกรงใจพระเจ้าชารส์) ซึ่งในช่วงที่ทรงพำนักในกรุงปารีส ฝรั่งเศสนั้น คำพยากรณ์พระปลัดเอี่ยมก็ได้ปรากฎขึ้นเป็นครั้งที่ ๒ เหตุเกิดในสนามแข่งม้ากรุงปารีสนั่นเอง เมื่อพระองค์ได้รับคำทูลเชิญให้เสด็จทอดพระเนตรการแข่งม้านัดสำคัญที่มีขุนนาง ข้าราชการ พระบรมวงศานุวงศ์ฝรั่งเศสมาชมกันมาก พวกเขาได้นำเอาม้าดุร้ายและพยศ มาถวายให้พระองค์ทรงประทับ โดยถือเอาโอกาสขณะที่พระองค์อยู่ท่ามกลางมหาสมาคม หวังจะให้"ขายหน้า"  ม้าตัวที่พระองค์จะเสด็จไปประทับนั้นเล่ากันว่า มันเคยโขกและกัดผู้เลี้ยงจนตายมาแล้วหลายคนจะเอาไปมาไหนต้องมีคนจูงด้วยเชือกล่ามเท้าทั้งสี่ไว้ เพื่อป้องกันการพยศและขบกัดผู้คนนัยว่าเป็นม้าของเจ้าชายแห่งฝรั่งเศสพระองค์หนึ่ง

เมื่อถูกนำเข้ามาในสนาม ทุกคนก็ส่งเสียงร้องด้วยความตกใจและหวาดกลัว ตัวแทนรัฐบาลฝรั่งเศสเริ่มวางหลุมพรางโดยกราบบังคมทูลว่า "ไม่ทราบเกล้าว่าเมื่ออยู่ในสยามประเทศเคยทรงม้าหรือไม่ พระเจ้าข้า"

"แน่นอน ข้าพเจ้าเคยทรงอยู่เป็นประจำ เพราะในสยามประเทศก็มีม้าพันธุ์ดีอยู่มาก"

"โอ วิเศษ งั้นก็ขอทูลเชิญพระองค์ทรงเสด็จขึ้นทรงม้า ตัวที่กำลังถูกจูงเข้ามานี้ให้ประจักษ์ชัดแก่สายตาของผู้คนในสนามม้านี้ด้วยเถิดพระเจ้าข้า" ตัวแทนรัฐบาลฝรั่งเศสกราบทูลว่าอย่างนั้น พระองค์จึงมีดำรัสตอบไปว่า "แน่นอน ข้าพเจ้าจะแสดงให้ท่านทั้งหลายได้ดูว่า กษัตริย์แห่งสยามประเทศนั้นไม่เคยหวาดหวั่นกลัวแม้แต่อัสดรที่พยศดุร้ายหรือผู้คุกคามที่มีอาวุธพร้อมสรรพ" จบพระราชดำรัสก็ทรงลุกขึ้นเปิดพระมาลาขึ้น แล้วเสด็จพระราชดำเนินลงจากอัฒจันทร์มาหาม้าที่ยืนส่งเสียงร้องและเอากีบเท้าตะกุยจนหญ้าขาดกระจุยกระจาย พระองค์จึงก้มพระวรกายลงใช้พระหัตถ์ขวารวบยอดหญ้าแล้วดึงขึ้นมากำมือหนึ่ง ทรงตั้งจิตอธิษฐานถึงพระรัตนตรัย พระสยามเทวาธิราชและพระปลัดเอี่ยม เจริญภาวนาพระคาถาที่พระปลัดเอี่ยมถวายมา

จากนั้นทรงเป่าลงไปบนกำหญ้า แล้วแผ่เมตตาซ้ำ จากนั้นจึงยื่นไปที่ปากม้ามันได้สะบัดแผงคอส่งเสียงดังลั่นก่อนจะอ้าปากงับเอาหญ้าในพระหัตถ์ไปเคี้ยวกินแล้วก็กลืนลงไป ผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศสโบกผ้าเช็ดหน้า เป็นสัญญาณให้แก้เชือกที่ตรึงเท้าม้าออก ปล่อยให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ยืนจ้องตาของม้าอยู่เพียงพระองค์เดียว จากนั้นก็ทรงเอื้อมพระหัตถ์ไปตบที่ขาหน้าของมัน ๓ ที ก็ปรากฎว่าม้าตัวนั้นได้ก็ก้มหัวลงมาดมที่พระกรไม่แสดงอาการตื่นตกใจอีกต่อไป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเห็นดังนั้นจึงขึ้นเหยียบโกลนข้างหนึ่งแล้วหยัดพระวรกายขึ้นประทับบนอานม้า  แค่นั้นเสียงคนบนอัฒจันทร์ส่งเสียงตะโกนขึ้นเป็นเสียงเดียวกันว่า "บราโวส บราโวส" (วิเศษที่สุด เก่งที่สุด ยอดที่สุด) จากนั้นก็ทรงกระตุ้นม้าให้ออกเดินเหยาะย่างไปโดยรอบสนาม แล้วทรงเปิดพระมาลารับเสียงตะโกนเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งบางคนก็โยนหมวก บางคนก็โยนดอกกุหลาบลงมาเกลื่อนสนามตลอดระยะทางที่ทรงเหยาะย่างม้าผ่านไปจนครบรอบ จึงเสด็จลงจากหลังม้ากลับขึ้นไปประทับบนพระที่นั่งตามเดิม บรรดาพี่เลี้ยงม้าก็เข้ามาจูงม้านั้นออกไปจากสนาม คำพยากรณ์ข้อที่สองและคาถาที่พระปลัดเอี่ยมแห่งวัดโคนอนถวาย ได้สัมฤทธิ์ผลประจักษ์แก่พระราชหฤทัย ทรงระลึกถึงพระปลัดเอี่ยมว่า เป็นผู้ที่จงรักภักดีโดยแท้จริง และได้ช่วยให้ทรงผ่านสถานการณ์อันเลวร้ายมาถึงสองครั้งสองครา จึงได้พระราชทานสมณศักดิ์ให้หลวงปู่เอี่ยมว่า "พระภาวนาโกศล" และทั้งหมดนี้คือจุดเล็กๆ ในเกร็ดพระราชประวัติ เป็นปฐมเหตุแห่งพระบรมรูปทรงม้า...(ย้อนรอยประวัติศาสตร์ยุคใหม่ในสยาม - ที่มาข้อมูล)

หลวงปู่เอี่ยมถึงแก่มรณภาพด้วยโรคชราเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๙ สิริอายุ ๙๓ ปี ๗๑ พรรษา ครองวัดหนังนานถึง ๒๗ ปี





เจดีย์หลวงปู่เอี่ยม สุวณฺณสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดหนังราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร

850
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2566 16:42:26 »






พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา

“พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา” เมื่อมาถึงพิพิธภัณฑ์ฯ จึงทราบวัตถุประสงค์ว่า ให้ผู้เข้าชมได้มาศึกษามาเรียนรู้ ไม่ได้กล่าวถึงระบบการศึกษาโดยเฉพาะอย่างเดียว  สิ่งของจัดแสดงส่วนใหญ่กว่า ๙๕%  เป็นสิ่งของที่ทางวัดมีอยู่แล้ว เก่าแก่ไปตามเวลา เห็นว่าเก็บไว้ก็เสียเปล่า  น่าจะทำให้เกิดประโยชน์แก่คนทั่วไป
  
เป็นที่น่าสังเกตว่า ตัวพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ท่ามกลางหมู่กุฏิสงฆ์  ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการช่วยกันดูแลทรัพย์สิน การมีกุฏิอยู่รายรอบถือว่าเป็นการรักษาความปลอดภัยของพิพิธภัณฑ์ไปด้วย ส่วนจัดแสดงต่างๆ ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงวิถีชีวิตในอดีตของชาวบ้านในย่านวัดหนังส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก เช่น ทำสวนผลไม้ สวนผัก รวมถึงจัดแสดงสิ่งของโบราณที่พบภายในวัด ทั้งระฆังโบราณที่มีอายุเกือบ ๓๐๐ ปี ที่อยู่คู่วัดมาตั้งแต่เริ่มแรก อิฐเก่าที่ขุดพบในบริเวณวัดลึกลงไปกว่า ๑ เมตร ฯลฯ




บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
โลกุตรธรรมกับพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร
สุขใจ ห้องสมุด
Kimleng 1 8159 กระทู้ล่าสุด 01 มีนาคม 2560 12:42:59
โดย Kimleng
หลวงปู่ผล คุตตจิตโต วัดหนังราชวรวิหาร บางขุนเทียน กรุงเทพฯ
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1147 กระทู้ล่าสุด 30 พฤษภาคม 2560 18:52:28
โดย ใบบุญ
พระพิมลธรรม (ชอบ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ กรุงเทพมหานคร
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 671 กระทู้ล่าสุด 05 ตุลาคม 2561 13:12:08
โดย ใบบุญ
หลวงพ่อมนัส จันทูปโม (พระครูโสภิตบุญญาทร) วัดยายร่ม แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 859 กระทู้ล่าสุด 11 ธันวาคม 2561 15:37:12
โดย ใบบุญ
พระเทพสิทธิเวที (สำราญ รตนธัมโม) วัดนางนองวรวิหาร เขตจอมทอง กรุงเทพฯ
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 668 กระทู้ล่าสุด 14 กุมภาพันธ์ 2562 13:01:52
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.369 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 11 ชั่วโมงที่แล้ว