[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 19:22:54 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: Doppelganger แฝดปีศาจ คดีฝาแฝด การทดลองสุดเหลือเชื่อ  (อ่าน 193 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Linux Linux
เวบเบราเซอร์:
Chrome 90.0.4430.210 Chrome 90.0.4430.210


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2566 18:52:49 »




Doppelganger แฝดปีศาจ คดีฝาแฝด การทดลองสุดเหลือเชื่อ

หมอตังค์-ฟาโรห์' คดีฝาแฝด การทดลองสุดเหลือเชื่อ ทำรายการด้วยกันครั้งแรก! | ลึกลับครับผม

สวัสดีครับนี่คือ 'Mystery Club ลึกลับครับผม' รายการของสองยูทูบเบอร์ หมอตังค์ @tangmakkaporn และ ฟาโรห์ @TheCommonThread ที่มาจับคู่เป็นดูโอ้ เปิดประเด็นคุยคดีฆาตกรรมและเรื่องลึกลับปริศนา โดยใน EP.1 นี้พวกเราเตรียมคดีเด็ดๆ ในธีม 'ฝาแฝด' มาเล่าให้ทุกคนฟังคนละเรื่อง ทั้งเรื่อง 'แฝดปีศาจ' และ 'การทดลองฝาแฝด' ที่เคยเกิดขึ้นบนโลกใบนี้ ให้สองหนุ่ม หมอตังค์ - ฟาโรห์ แถลงไขให้ฟังกันเลยครับ เอนจอยครับ ติดตามตอนใหม่ๆ ได้ทาง YouTube ช่อง Netflix Thailand https://youtube.com/playlist?list=PLJDiD5yhInLLmahKifcXen6XBklvF4r4q



<a href="https://www.youtube.com/v//p3wcaC1sWGE" target="_blank">https://www.youtube.com/v//p3wcaC1sWGE</a>

เพิ่มเติม



ทำความรู้จัก Doppelganger เมื่อเราทุกคนมีฝาแฝดแห่งความตาย

หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า ‘ด็อพเพิลเกงเกอร์’ (Doppelganger) มาจากในหนังหรือเรื่องเล่าต่าง ๆ บางคนก็พอจะทราบกันดีว่ามันคือร่างซ้ำของเรา แต่เรื่องราวของด็อพเพิลเกงเกอร์ยังมีสิ่งที่น่าสนใจและบางอย่างที่เราอาจยังไม่รู้อีกมาก มาหาคำตอบกันดีกว่าว่าแท้จริงแล้วด็อพเพิลเกงเกอร์นั้นคืออะไรกันแน่ และบนโลกนี้ยังมีตัวเราอีกคนจริงหรือไม่ ?



ด็อพเพิลเกงเกอร์ เป็นเรื่องเล่าขานพื้นบ้านของเยอรมัน ในภาษาเยอรมันจะเขียนว่า ‘Doppelganger’ เดิมมาจากคำว่า doppel ซึ่งมีความหมายเดียวกับคำว่า double ในภาษาอังกฤษ ที่แปลว่าซ้ำสอง ส่วน ganger หมายถึง goer ที่มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า evil twin แปลว่าแฝดปีศาจ หรือ bilocation ที่แปลว่าการปรากฏตัวในสองสถานที่นั่นเอง


ด็อพเพิลเกงเกอร์เป็นคำใช้เรียกปรากฏการณ์ที่มนุษย์คนหนึ่งปรากฏตัวเพิ่มขึ้นมาอีกร่างหนึ่งในเวลาเดียวกันแต่ต่างสถานที่ ส่วนใหญ่จะปรากฏตัวต่อหน้าคนรู้จักให้เห็นเพื่อทำให้เกิดความสับสน ซึ่งจะมีลักษณะภายนอกที่เหมือนกันกับร่างต้นแบบทุกอย่าง ราวกับว่าเป็นฝาแฝดกัน แต่จุดสังเกตอย่างหนึ่งของด็อพเพิลเกงเกอร์ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ ด็อพเพิลเกงเกอร์จะไม่มีเงา และไม่มีภาพสะท้อนบนกระจกหรือผิวน้ำให้เห็น ถ้าหากบุคคลต้นแบบป่วย ด็อพเพิลเกงเกอร์จะปรากฏตัวในลักษณะที่ดูแข็งแรงสมบูรณ์



ด็อพเพิลเกงเกอร์เป็นสัญญาณแห่งความโชคร้าย ความเจ็บป่วย หรือภัยอันตรายต่าง ๆ จะเกิดขึ้น ในขณะที่การพบเห็นด็อพเพิลเกงเกอร์ของตนอาจจะนำมาซึ่งความตาย บางครั้งมันจะให้คำแนะนำกับบุคคลต้นแบบของมันด้วยเจตนาร้ายหรือยุแยงให้เกิดความเข้าใจผิดต่าง ๆ

 

ความเชื่อเกี่ยวกับด็อพเพิลเกงเกอร์นั้นมีหลากหลายมาก แต่ส่วนใหญ่จะยึดหลักว่ามนุษย์ทุกคนบนโลกจะมีฝาแฝดของตัวเองอยู่แล้ว โดยหากบุคคลนั้นเป็นคนดี ฝาแฝดก็จะชั่วร้าย แต่ถ้าบุคคลนั้นเป็นคนชั่วร้าย ฝาแฝดก็จะเป็นไปในทางกลับกัน และการที่ฝาแฝดทั้งสองได้มาพบกัน ก็จะส่งผลทำให้ทั้งคู่พบกับจุดจบของชีวิต บ้างก็เชื่อว่าด็อพเพิลเกงเกอร์เป็นภูติผีปีศาจในรูปแบบหนึ่งที่จะปรากฏตัวขึ้นเพื่อบ่งบอกถึงลางร้าย



นอกจากนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าปรากฏการณ์ด็อพเพิลเกงเกอร์นั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุใด แต่ก็มีหลายความเชื่อที่แตกต่างกันออกไปถึงการปรากฏตัวของด็อพเพิลเกงเกอร์ บ้างก็ว่าด็อพเพิลเกงเกอร์นั้นจะยืนอยู่หลังเจ้าของตลอดเวลา มีความว่องไวในการหลบหลีกสูง แม้กระทั่งหันหน้าไปเร็วยังไงก็ไม่ทันมัน นอกจากนี้ยังเลียนแบบทำทุกอย่างตามเจ้าของ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงสีหน้า การเลียนเสียง ซึ่งมันจะพูดออกมาพร้อมกับเจ้าของ หรือบางคนเชื่อว่าถ้าเราพบเห็นด็อพเพิลเกงเกอร์ของเราก็จะถูกมันหมายเอาชีวิต เพื่อให้ร่างของมันมีอยู่แค่ร่างเดียว 

 

แต่ชาวต่างชาติบางกลุ่มเชื่อว่าด็อพเพิลเกงเกอร์คือสิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมาเพื่อคอยช่วยเหลือมนุษย์เราไม่ให้รู้สึกโดดเดี่ยวจนเกินไป เพราะมันจะรับฟังสิ่งที่เราพูดทุกอย่าง แม้แต่สิ่งที่ผู้อื่นไม่อยากฟัง และตอบคำถามที่ใคร ๆ ไม่สนใจจะตอบ ในบางครั้งมันก็ช่วยเหลือเราด้วย เช่น เมื่อถึงคราวคับขัน เรามักจะรอดตายอย่างหวุดหวิดแบบเฉียดฉิว ทั้งที่รู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม เป็นเพราะด็อพเพิลเกงเกอร์พุ่งออกมาเร็วกว่าและหยุดยั้งเราเอาไว้ได้



แนวคิดที่ว่าด็อพเพิลเกงเกอร์คือร่างของปีศาจนั้นได้ถูกบันทึกไว้เป็นครั้งแรก ๆ ในงานเขียนของฟรานซิส กรูส จากเรื่อง A Provincial Glossary ตั้งแต่ปี 1978 แต่ในตอนนั้นใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษว่า fetch เพื่อใช้บรรยายถึงผีของคนเป็น ซึ่งเป็นแนวคิดเดียวกันกับด็อพเพิลเกงเกอร์ โดยนักวิเคราะห์กล่าวว่า อีกนัยหนึ่ง ร่างซ้ำเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงตัวตนที่สองของแต่ละคน และแนวคิดร่างเสมือนนี้ยังมีปรากฏอยู่ในความเชื่อโบราณของอียิปต์ในชื่อ ka (คา) หมายถึง วิญญาณที่มีเรือนร่างและตัวตนที่สัมผัสได้ และยังมีความทรงจำเดียวกันกับร่างต้นอีกด้วย

 

มีเรื่องเล่าของ ‘โยฮัน ว็อล์ฟกัง ฟ็อน เกอเทอ’ นักเขียนชาวเยอรมัน ว่าเขาถูกตามล่าจากแฝดปีศาจของตัวเอง ระหว่างที่เขาขี่ม้าอยู่ในแคว้นอาลซัส เขาได้เห็นตัวเองในชุดสีเทาขลิบทองขี่ม้าหายไปในทิศสวนทางกันกับเขาเอง หลังจากนั้นแปดปีต่อมา เกอเทอได้ผ่านถนนสายนั้นอีกครั้งในทิศทางตรงกันข้าม และเขาต้องรู้สึกตกใจเมื่อนึกขึ้นได้ว่าตอนนี้เขากำลังสวมชุดสีเทาขลิบทองเหมือนที่เคยปรากฏให้เห็นเมื่อนานมาแล้ว



อีกกรณีหนึ่งเป็นเรื่องราวของ ‘เอมิลี่ ซาเก็ต’ (Emilie Sagee) เธอเป็นที่รู้จักในฐานะ ‘หญิงสาวที่ไม่มีอยู่จริง’ เพราะเธอไม่เคยเห็นร่างซ้ำของตัวเองเลย แต่คนรอบตัวของเธอหลาย ๆ คน กลับพบเห็นอยู่บ่อยครั้ง เอมิลี่ทำงานเป็นครูอยู่ในโรงเรียน ในปี 1845 มีนักเรียน 13 คนระบุว่าเห็นเอมิลี่อีกคนหนึ่งยืนอยู่ข้าง ๆ ร่างต้นแบบของเธอ และลอกเลียนพฤติกรรมของเธอ เอมิลี่บอกว่าระหว่างที่ร่างซ้ำของเธอปรากฏตัวขึ้นนั้น เธอจะมีอาการเวียนหัวและทำอะไรแทบไม่ได้เลย ไม่เพียงเท่านี้ เพราะยังมีอีกหลายครั้งที่มีนักเรียนเห็นคุณครูเอมิลี่นั่งอยู่บนเก้าอี้ในห้องพักครู ขณะที่อีกร่างนั้นอยู่ที่สนามหญ้านอกอาคาร เรื่องราวของเธอถูกพูดถึงกันอย่างมาก และเธอก็ไม่สามารถจัดการกับร่างซ้ำของตัวเองได้ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เอมิลี่ต้องย้ายโรงเรียนบ่อย ๆ นั่นเอง



นอกจากนี้อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่าง ‘อับราฮัม ลินคอล์น’ (Abraham Lincoln) เองก็เคยเล่าถึงเหตุการณ์ที่เขาได้เคยเผชิญหน้ากับร่างซ้ำของตัวเองไว้ในหนังสือ Washington in Lincoln’s Time ที่ถูกตีพิมพ์ขึ้นเมื่อปี 1894 โดยเขาเล่าว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นหลังจากการเลือกตั้งของเขาในปี 1860 วันนั้นเขาเหนื่อยมากและรีบกลับบ้านเพื่อพักผ่อน เขาทิ้งตัวลงบนโซฟาในห้อง ตรงข้ามเขาเป็นโต๊ะทำงานที่มีกระจกอยู่ด้านบน เมื่อเขามองเข้าไปในกระจกนั้น เขาเห็นเงาสะท้อนของตัวเองเกือบเต็มร่าง แต่ใบหน้าของเขานั้นกลับมีสองเงาสะท้อนแยกออกจากกัน และมีระยะห่างปลายจมูกห่างกันราวสามนิ้ว เขาตกใจมากจึงลุกขึ้นและตั้งใจมองไปที่กระจก แต่ภาพนั้นกลับหายไป และเมื่อเขากลับมานอนอีกครั้ง เขาก็เห็นภาพแบบเดิมอย่างชัดเจน และชัดกว่าก่อนหน้านี้ที่เขาเห็น เขาจึงสังเกตเห็นว่าอีกใบหน้าหนึ่งที่แยกออกมานั้นเป็นใบหน้าที่ซีดมาก และเมื่อเขาลุกขึ้นอีกครั้งภาพในกระจกนั้นก็หายไปอีกเหมือนเดิม

 

สรุปแล้วด็อพเพิลเกงเกอร์คือความเชื่อที่ว่า คนเรามีเงาหรือตัวตนของเราในอีกรูปแบบหนึ่งที่หน้าตาเหมือนกัน แต่อาจมีนิสัยที่ตรงข้ามกัน บ้างเชื่อว่าคอยช่วยเหลือเจ้าของร่าง บ้างเชื่อว่าเป็นลางบอกเหตุร้าย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในทางวิทยาศาสตร์ถือว่าด็อพเพิลเกงเกอร์เป็นอาการทางจิตชนิดหนึ่งที่เห็นภาพหลอนของตัวเอง แต่สุดท้ายแล้วไม่ว่าด็อพเพิลเกงเกอร์จะมีอยู่จริง ๆ หรือเป็นเพียงแค่ภาพหลอนที่เราเห็นไปเอง การมีสติอยู่ตลอดเวลานั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะมันอาจช่วยให้เราสามารถผ่านเหตุการณ์ร้ายต่าง ๆ ไปได้
 
จาก http://www.plookfriends.com/blog/content/detail/90505/---


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.388 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 21 เมษายน 2567 02:24:35