[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 20:43:00 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ไขปริศนา น้ำยาทำมัมมี่  (อ่าน 164 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2321


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2566 19:16:17 »



มัมมี่อียิปต์ ยุคราชวงศ์ปโตเลมี, ราว 332–30 B.C.
(ภาพจาก Metropolitan Museum of Art)


ตะลึง! คราบก้นหม้อในภาชนะอายุหลายพันปี เผยส่วนผสมน้ำยาดอง “มัมมี่”

ผู้เขียน - ธนกฤต ก้องเวหา
เผยแพร่ - ศิลปวัฒนธรรม วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566


นักประวัติศาสตร์ โบราณคดี และไอยคุปต์วิทยา พากันหลงใหลศาสตร์แห่งการทำมัมมี่ของชาวอียิปต์โบราณมานานร่วมศตวรรษแล้ว แม้มีความเห็นที่แตกต่างเรื่องจุดประสงค์หลักในการจัดการศพแบบดังกล่าวว่าเพื่อรักษาสภาพศพ หรือเพื่อสร้างเทวรูปกันแน่ ประเด็นนี้ยังต้องถกเถียงและค้นคว้ากันต่อไป ขณะเดียวกัน ผลการศึกษาใหม่โดยทีมนักวิจัยชาวเยอรมันและอียิปต์ถูกเผยแพร่สู่สาธารณชนเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2023 เผยถึงข้อมูลและข้อเท็จจริงที่น่าสนใจอย่างยิ่งเกี่ยวกับวิธีการทำมัมมี่ของชาวอียิปต์โบราณ

การค้นพบนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นการ “ไขปริศนา” เกี่ยวกับองค์ประกอบของน้ำยาดองศพหรือน้ำยาอาบศพ ระหว่างกระบวนการทำมัมมี่ แม้เคยมีการพบเอกสารโบราณเกี่ยวกับวัตถุดิบผสมน้ำยาอาบศพมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ยังไม่ละเอียดพอจะชี้ชัดได้ว่า ส่วนประกอบเหล่านั้นคืออะไรกันแน่ หรือปัจจุบันเรารู้จักสารเหล่านั้นในชื่อใด? ดังที่ ซาลิมา อิคราม (Salima Ikram) นักโบราณคดีและผู้เชี่ยวชาญด้านมัมมี่ แห่งมหาวิทยาลัยอเมริกันในกรุงไคโร (ไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานวิจัยข้างต้น) เคยเปิดเผยว่า “คุณอาจได้ชื่อ (สาร) อะไรบางอย่าง แต่คุณไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันคืออะไร ยกเว้นอักษรเฮียโรกลิฟิกที่ระบุว่ามันคือ ‘น้ำมัน’ หรือไม่ก็ ‘ยางไม้’”

ในที่สุด คำตอบของปริศนานี้ ค่อยๆ ถูกปะติดปะต่อให้ชัดเจนขึ้น ความลึกลับของน้ำยาดองศพหรือน้ำยาทำมัมมี่ ถูกเปิดเผยจากคราบสารอินทรีย์ติด “ก้นหม้อ” ที่ค้นพบตั้งแต่ปี 2016 บริเวณเมืองซักคารา (Saqqara) ใกล้กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ คราบเหล่านี้ติดอยู่ในภาชนะเซรามิกอายุราว 2,900-3,000 ปี จากแหล่งขุดค้นบริเวณ “สุสานหลวง” ของราชวงศ์ที่ 26 หรือ ราชวงศ์เซไอต์ (Saite dynasty) ที่ปกครองอียิปต์ช่วง 700-500 ปีก่อนคริสตกาล




ภาพถ่ายบริเวณพื้นที่ขุดค้นพบหลุมศพ 5 แห่ง เมื่อ 19 มีนาคม 2022
ในบริเวณพื้นที่ทางโบราณคดีในสุสานที่ซัคคารา ประเทศอียิปต์
ภาพจาก KHALED DESOUKI / AFP

หม้อบางใบยังมีคำแนะนำกำกับไว้ด้วย ซึ่งไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด เพราะกระบวนการทำมัมมี่นั้นทั้งใช้เวลานาน ยุ่งยาก ซับซ้อน และมีสารต่างๆ เป็นส่วนประกอบมากมาย แต่นี่คือการค้นพบหม้อน้ำยาดองศพที่มี “ฉลาก” ติดอยู่กับภาชนะเป็นครั้งแรก เป็นข้อความกำกับว่าต้องใช้น้ำยาในภาชนะอย่างเจาะจงกับอวัยวะส่วนใด เช่น ยางไม้พิสตาชิโอและน้ำมันละหุ่ง จะใช้กับส่วนที่เป็นศีรษะของศพเท่านั้น

ทีมวิจัยชาวเยอรมันจากสองมหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยลุดวิก-แม็กซิมิเลียน (LMU) และมหาวิทยาลัยทือบิงเง่น (University of Tübingen) รายงานผลวิเคราะห์สารอินทรีย์ก้นหม้อจากหม้อโบราณจำนวน 31 ใบ หลังการวิเคราะห์คราบดังกล่าวด้วยเทคนิคที่เรียกว่า “Gas chromatography–mass spectrometry” ในห้องปฏิบัติการของศูนย์วิจัยแห่งชาติเมืองกิซ่า ประเทศอียิปต์ พวกเขาพบว่า สารอินทรีย์เหล่านี้มีคุณสมบัติในการลดกลิ่นเหม็นเน่าและการย่อยสลายจากเชื้อรากับแบคทีเรีย 

สารอินทรีย์เหล่านี้ประกอบด้วย น้ำมันพืช จากต้นไม้หลากหลายสายพันธุ์ เช่น สนจูนิเปอร์, สนไซเปรส, สนซีดาร์ รวมถึงยางไม้ (เรซิน) จากต้นพิสตาชิโอ เหล่านี้พบได้ในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก รวมถึงน้ำมันดิน จากทะเลเดดซี และไขมันสัตว์กับขี้ผึ้ง ซึ่งหาได้ทั่วไปในดินแดนอียิปต์

พวกเขายังพบส่วนผสมที่ชวนประหลาดใจบางอย่าง เพราะวัตถุดิบของน้ำยาดองศพหลายชนิดมาจากดินแดนห่างไกลออกไปอีก ได้แก่ เรซินชนิดหนึ่ง เรียกว่า “Elemi” จากต้นไม้วงศ์สมอ ซึ่งเติบโตในป่าฝนเขตร้อนของเอเชียและแอฟริกา และ “Dammar” จากต้นไม้วงศ์เต็ง-รัง หรือต้นจิก ที่พบได้ในป่าเขตร้อนทางตอนใต้ของอินเดีย ศรีลังกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นตัวบ่งชี้ว่า อาณาจักรอียิปต์โบราณมีเครือข่ายการค้าที่สัมพันธ์กับดินแดนเหล่านี้ด้วย



นักโบราณคดีตรวจสอบมัมมี่ ที่ถูกพันอย่างดีในผ้าห่อศพ ตกแต่งด้วยภาพ-อักษรอียิปต์โบราณที่เต็มไปด้วยสีสัน
ขณะแถลงข่าว เมื่อ 14 พฤศจิกายน 2020 เปิดเผยถึงการค้นพบโลงศพนับ 100 โลง จาก Saqqara

การค้นพบนี้จึงไม่เพียงไขปริศนาสารประกอบน้ำยาดองศพสำหรับทำมัมมี่เท่านั้น แต่เป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่เปิดเผยเครือข่ายการติดต่อทางการค้าของชาวอียิปต์กับแหล่งอารยธรรมอื่นๆ ของโลก และพวกเขารู้จักคุณสมบัติของสารที่ได้จากวัตถุดิบเหล่านี้จริงๆ ไม่ใช่การนำมาใช้โดยบังเอิญ

คาร์ล เฮรอน (Carl Heron) นักโบราณคดีจากบริติช มิวเซียม ในกรุงลอนดอน (ไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานวิจัยข้างต้น) เคยกล่าวว่า “อียิปต์เป็นดินแดนที่ขาดแคลนทรัพยากรจำพวกยางไม้จำนวนมาก สินค้าจึงถูกกว้านซื้อจากดินแดนอันห่างไกล”

ศาสตราจารย์ ฟิลิปป์ สต็อกแฮมเมอร์ (Philipp Stockhammer) นักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยลุดวิก-แม็กซิมิเลียน ประเทศเยอรมนี ผู้มีส่วนในการวิจัยครั้งนี้ กล่าวว่า “น่าประหลาดใจจริงๆ ที่สารส่วนใหญ่ซึ่งใช้ในการดองศพไม่ได้อยู่ในดินแดนอียิปต์ด้วยซ้ำ บางส่วนถูกนำเข้ามาจากภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียน หรือแม้แต่จากแอฟริกาเขตร้อนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“…ชาวอียิปต์โบราณมีความรู้ด้านเคมีเป็นอย่างดี องค์ความรู้นี้สั่งสมมาอย่างต่อเนื่องนับพันปี จนกลายเป็นองค์ความรู้ว่าสิ่งใดช่วยรักษาคงสภาพศพได้ ทั้งที่พวกเขา (อาจ) ไม่มีความรู้จุลินทรีย์เลย”

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อพิสูจน์ว่าน้ำยาดองศพจากส่วนผสมดังกล่าวเป็นสูตรสามัญที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทุกพื้นที่ในโลกอียิปต์โบราณหรือไม่ เพราะปัจจุบันมีการค้นพบแหล่งทำมัมมี่ภายในสุสานเมืองซักคาราเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น หากมีการค้นพบสารอินทรีย์เหล่านี้พื้นที่หรือแหล่งขุดค้นอื่นอีกในอนาคต ก็จะช่วยยืนยันถึงองค์ความรู้ของชาวอียิปต์โบราณให้หนักแน่นขึ้นอีก

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.331 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 13 เมษายน 2567 15:55:03