[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
30 เมษายน 2567 14:02:48 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ลูกสวาด–ลูกสวาดสียาตรา” วัตถุอาถรรพ์มหาเสน่ห์ และเรื่องรัก-ลับหลังชายผ้าเหลือง  (อ่าน 192 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2327


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2566 19:30:04 »



พระชั้นผู้ใหญ่และเหล่าลูกสวาท
(ภาพจากประชุมภาพประวัติศาสตร์แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมศิลปากร จัดพิมพ์ พ.ศ.2548)
ผู้เขียน   พร่างพนานต์ ช่วงพิทักษ์

“ลูกสวาด–ลูกสวาดสียาตรา” วัตถุอาถรรพ์มหาเสน่ห์ และเรื่องรัก-เรื่องลับหลังชายผ้าเหลือง

เผยแพร่ - ศิลปวัฒนธรรม วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566

ลูกสวาด” หรือ “ลูกสวาดสียาตรา” วัตถุอาถรรพ์มหาเสน่ห์ และเรื่องรัก-เรื่องลับหลังชายผ้าเหลือง

สวาดต้นคนต้องแล้วร้องอุ๊ย      ด้วยรุกรุยรกเรื้อรังเสือสาง
จนชั้นลูกถูกต้องเป็นกองกลาง   เปรียบเหมือนอย่างลูกสวาดศรียาตรา

ตัวอย่างที่ยกมาข้างต้นนี้เป็นความบางส่วนที่คัดมาจาก ‘นิราศพระประธม’ หนึ่งในผลงานนิราศของ ‘สุนทรภู่’ ความส่วนที่ยกมานี้ เมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่ามีการกล่าวถึง “ลูกสวาด” และ “ลูกสวาดสียาตรา” หรือ “ลูกสวาทสียะตรา” ไว้ด้วย

โดย “สวาด” ที่ปรากฏเป็นคำแรกมีความหมายถึงพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง เมื่อออกผล ผู้คนมักนิยมนำเมล็ดไปทำพิธีจนกลายเป็นวัตถุอาถรรพ์มีฤทธิ์ในด้านเสน่ห์เมตตามหานิยม หรือที่มักเรียกกันว่า “ลูกสวาด”

ส่วน “ลูกสวาดสียาตรา” นั้น มิใช่พันธุ์ไม้แต่ประการใด แต่มีความหมายอ้างอิงถึง เด็กผู้ชายที่พระเถระชั้นผู้ใหญ่นิยมอุปการะไว้เพื่อโอ้อวดบารมี ผ่านเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับที่ลูกสวาทใส่ ทั้งยังรวมไปถึงการอุปการะไว้เพื่อมีความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างพระผู้อุปการะและเด็กชายด้วย




ลูกสวาด
(ภาพจากเว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=dObwVbDhbRQ)

ลูกสวาด : วัตถุอาถรรพ์มหาเสน่ห์
ลูกสวาด เป็นเมล็ดที่อยู่ภายในผลของต้นสวาด สามารถพบได้ทั่วไปในเขตร้อน ในประเทศไทยมักพบได้ตามป่าละเมาะใกล้ทะเล ผลของต้นสวาดจะมีลักษณะเป็นฝักรูปรี หรือขอบขนานแกมรูปรี มีขนยาวแหลมแข็งคล้ายหนาม ภายในแต่ละฝักจะมีเมล็ดอยู่ 2 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะเป็นเมล็ดกลมเปลือกแข็ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2 เซนติเมตร สีเทาแกมเขียว

คนสมัยโบราณนิยมพกลูกสวาดติดตัวไว้ เพราะเชื่อว่าจะให้ผลด้านเสน่ห์ เมตตามหานิยม มีแต่คนรักใคร่ เนื่องด้วยลูกสวาดนั้นมีชื่อพ้องเสียงกับคำว่า ‘สวาท’ [สะหฺวาด] ที่มีความหมายว่า ความรัก ความพอใจหรือความยินดีในทางกามารมณ์

นอกจากนี้ยังมีบุคคลบางกลุ่มที่เชื่อว่าลูกสวาดเป็นวัตถุอาถรรพ์มีฤทธิ์ในตัวอยู่แล้วหากนำไปให้อาจารย์ผู้มีวิชาอาคมปลุกเสกหรือลงอาคมก็จะยิ่งทำให้ลูกสวาดเหล่านั้นมีฤทธิ์ในทางมหาเสน่ห์มากยิ่งขึ้นแก่ผู้ครอบครองอีกทั้งในความเชื่อด้านไสยศาสตร์การทำเสน่ห์บางวิธียังมีการใช้ลูกสวาดเป็นหนึ่งในวัตถุดิบประกอบพิธีกรรมอีกด้วยหากแต่ข้อเท็จจริงของผลลัพธ์ที่ได้นั้นก็ล้วนขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแต่ละบุคคล

ลูกสวาดสียาตรา : เรื่องรัก เรื่องลับ หลังชายผ้าเหลือง
ลูกสวาดสียาตราหรือลูกสวาทสียะตรา เป็นคำที่ใช้เรียกเด็กชายที่พระเถระชั้นผู้ใหญ่ หรือพระนอกรีตบางรูปนำมาอุปการะเป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งลูกสวาทเหล่านี้จะมีลักษณะต่างจากเด็กวัดทั่วไปคือ จะได้รับการเลี้ยงดูเป็นอย่างดี มีการแต่งตัว ใส่เครื่องประดับให้แก่ลูกสวาท เพื่อโอ้อวดบารมีแข่งขันกันในหมู่พระที่เลี้ยงลูกสวาท

การเลี้ยงดูลูกสวาทนั้นนอกจากจะเป็นไปเพื่อจุดประสงค์ในการโอ้อวดบารมีแล้วยังอาจเป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการทางเพศของพระผู้อุปการะได้เช่นกันดังที่ปรากฏในสมัยรัชกาลที่ 1 ที่ได้มีการตรากฎพระสงฆ์ 10 ข้อเพื่อจัดระเบียบพระสงฆ์ก็ได้มีการกล่าวถึงกรณีการเลี้ยงลูกสวาทในหมู่พระภิกษุสงฆ์ไว้ว่า

“…ลางเหล่าเหนเด็กชายลูกข้าราชการอาณาประชาราษฎรรูปร่างหมดหน้าก็พูดจาเกลี้ยกล่อม ชักชวนไปไว้ แล้วกอดจูบหลับนอนเคล้าคลึง ไปไหนเอาไปด้วย แต่งตัวเด็กโอ่อวดประกวดกันเรียกว่าลูกสวาศ ลูกสุดใจก็มีบ้างที่ช่วงชิงลูกสวาศ เกิดความหึงษาพยาบาทจนเกิดวิวาทตีรันกันตายด้วยไม้กระบองซั่น พิจารณาได้ตัวมารับเปนสัตยได้ไม้กระบองซั่นเปนหลายอัน…”  กฎให้ไว้ ณ วันอังคาร เดือนเจ็ด แรมสิบสามค่ำ จุลศักราช 1163 ปีรกา นักษัตรตรีศก

แล้วตัวละครสียะตราในอิเหนาเกี่ยวข้องอย่างไรกับลูกสวาท?
ในส่วนที่มาของชื่อเรียก “ลูกสวาดสียาตรา” “ลูกสวาทสียะตรา” นั้น เป็นชื่อที่นำมาจากตัวละครหนึ่งในวรรณคดีเรื่อง “อิเหนา” โดยตัวละครสียะตรา มีบทบาทในเรื่องเป็นพระโอรสอันเกิดแต่ท้าวดาหากับประไหมสุหรี ทั้งยังมีศักดิ์เป็นพระอนุชาของนางบุษบา

ส่วนสาเหตุที่มีการนำชื่อ สียะตรา มาใช้นั้น คาดว่าน่าจะมีที่มาจากพฤติกรรมของ ‘อิเหนา’ ที่กระทำต่อ ‘สียะตรา’ ในเชิงลวนลาม และยังเป็นการลวนลามระหว่างผู้ชายด้วยกันอีกด้วย คือมีการกอด จูบ ลูบ แต่ไม่ถึงขั้นมีเพศสัมพันธ์กัน ดังตัวอย่างที่ยกมานี้

      ๏ ครั้นพระกุมารหลับสนิท     พระโอบอุ้มจุมพิตขนิษฐา
โลมเล้าลูบไล้ไปมา                  สำคัญว่าบุษบานารี
พิศพักตร์พักตร์ผ่องดังเดือนฉาย    พิศทรงทรงคล้ายนางโฉมศรี
พิศปรางเหมือนปรางพระบุตรี       รัศมีสีเนื้อละกลกัน
ทั้งโอษฐ์องค์ขนงเนตรนาสา         ละม้ายแม้นบุษบาทุกสิ่งสรรพ์
พระกอดจูบลูบไล้เกี่ยวพัน           จนบรรทมหลับสนิทไป ฯ

แม้กระทั่งพฤติกรรมการปรนเปรอเอาใจสียะตราของอิเหนาที่มีการหาของเล่นมาให้จำนวนมากหรือพาไปเที่ยวเล่นชมนกชมไม้ก็มีความคล้ายคลึงกับพฤติกรรมของพระเถระที่เอาใจลูกสวาทโดยการให้เครื่องแต่งตัวเครื่องประดับต่างๆ

     ๏ ครั้นถึงจึ่งวางเหนือตัก   แสนรักสนิทเสนหา
แล้วบัญชาสั่งเสนา             เร่งจัดเครื่องเล่นมาทุกสิ่งอัน
โล่ดั้งดาบเขนหอกคู่            ง้าวทวนธนูกั้นหยั่น
กริชกระบี่เสน่าเกาทัณฑ์       ให้สมกันกับองค์พระกุมาร

กระทั่งพฤติกรรมหวงสียะตราของอิเหนาเมื่อครั้งที่จรกาอุ้มสียะตรามาชมโฉมอิเหนาเห็นเช่นนั้นจึงบังเกิดความไม่พอใจเป็นอย่างมากซึ่งคล้ายกับพฤติกรรมหึงหวงลูกสวาทระหว่างพระสงฆ์ผู้เลี้ยงดูลูกสวาทเหล่านั้นดังนี้

     ๏ เมื่อนั้น            อิเหนาแค้นขัดสหัสสา
พิศเพ่งเขม็งนัยนา        ให้สบเนตรสียะตราผู้ร่วมใจ ฯ
    ๏เมื่อนั้น              สียะตรารู้แจ้งอัชฌาสัย
จึงกลับมากอดเชษฐาไว้   เห็นพระเมินพักตร์ไปก็โศกา
แต่แรกเรียกน้องก็ไม่จร    ภูธรขืนขับให้ไปหา
แล้วพระมากริ้วโกรธา      โทษาน้องผิดสิ่งใด ฯ

แม้ว่าพฤติกรรมที่อิเหนากระทำในข้างต้นจะมีเหตุผลเนื่องด้วยเห็นสียะตราเป็นตัวแทนของบุษบาก็จริงแต่การกระทำเหล่านั้นอย่างไรเสียก็เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นกับสียะตราไม่ใช่นางบุษบาอีกทั้งการกระทำเหล่านั้นยังมีความคล้ายคลึงสอดคล้องกับพฤติกรรมของพระเถระที่กระทำกับลูกสวาทจึงเป็นเหตุให้ลูกสวาทเหล่านั้นมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ‘ลูกสวาทสียะตรา’

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 กุมภาพันธ์ 2566 19:32:33 โดย ใบบุญ » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.308 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 11 เมษายน 2567 18:43:28