[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 05:17:57 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติของพวงมาลัย - มาลัยในวัฒนธรรมพื้นบ้าน  (อ่าน 210 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5461


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 10 มีนาคม 2566 21:19:18 »



พวงมาลัยในวัฒนธรรมพื้นบ้าน

ความหมายของพวงมาลัย : “มาลัย” น. ดอกไม้ประดิษฐ์แบบไทยลักษณะหนึ่ง โดยการนำดอกไม้ กลีบดอกไม้ และใบไม้ มาร้อยด้วยด้าย เข็ม แล้วรูดออกมาใส่ด้ายผูกเป็นพวง มีลักษณะต่างๆ กัน (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๕ : ๙๐๕)

ประวัติของพวงมาลัย
ไม่ปรากฏแน่ชัดได้ว่าได้มีการเริ่มต้นมาแต่ในสมัยใดแน่ ไม่มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้นั่นเอง จึงไม่มีหลักฐานใดๆ ให้อนุชนรุ่นหลังได้สืบค้น  ต่อมาในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานีแต่ครั้งสมัยพระเจ้าอรุณมหาราช คือพระร่วง เป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระสนมเอกคือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์หรือนางนพมาศ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสามารถในงานด้านฝีมือในการประดิษฐ์ดอกไม้สดเป็นเลิศในสมัยนั้น ตามหลักฐานที่อ้างอิงในพระราชนิพนธ์ เรื่อง พระราชพิธี ๑๒ เดือน ตอนหนึ่งกล่าวถึงท้าวศรีจุฬาลักษณ์ได้คิดตกแต่งโคมลอยให้งดงามวิจิตรกว่าโคมของพระสนมอื่นทั้งปวง โดยการนำเอาดอกไม้ต่างๆ มาประดิษฐ์ตกแต่ง และยังได้เอาผลไม้มาทำการแกะสลักตกแต่ง แต่ก็มิได้มีการอ้างถึงว่าในการตกแต่งครั้งนั้น มีการร้อยมาลัยประดับตกแต่งด้วยหรือไม่ และในหลักฐานที่อ้างถึงตอนหนึ่งว่า ในเดือนเมษายนมีพระราชพิธีสนามใหญ่ บรรดาเจ้าเมือง เศรษฐี คหบดี เข้าเฝ้าถวายบังคมสมเด็จพระร่วงเจ้า เพื่อถวายเครื่องราชบรรณาการพระสนมกำนัลต่างๆ ก็ร้อยกรองดอกไม้เป็นรูปสัตว์ต่างๆ ใส่เมี่ยงหมากถวายให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ผู้มาเฝ้า และในครั้งนั้น นางนพมาศก็ร้อยดอกไม้สีเหลืองเป็นรูปพานทองสองชั้นรองขัน มีระย้าระบายงดงามในขันใส่เมี่ยงหมาก แล้วร้อยดอกไม้เป็นตาข่ายคลุมขันอีกทีหนึ่ง เป็นที่เจริญตาและถูกกาลเทศะ อีกสมเด็จพระร่วงเจ้าจึงทรงบัญญัติว่า ถ้าชาวไทยทำการรับแขกเป็นการสนามใหญ่ มีการอาวาห์มงคล หรือวิวาห์มงคล เป็นต้น ก็ให้ร้อยกรองดอกไม้เป็นรูปพานขนหมาก ดังนี้ และให้เรียกว่า พานขันหมาก





มาลัยในวัฒนธรรมหลวง
ในวัฒนธรรมหลวงมีการใช้พวงมาลัยในพระราชพิธีต่างๆ เช่น พระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชพิธีมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ นอกจากนี้ในสังคมชั้นสูง มีพวงมาลัยเกี่ยวข้องในวิถีชีวิต เช่น การทำบุญ คนชั้นสูงมักทำพวงมาลัยโดยการร้อยมาลัยแบบวิจิตรบรรจงเพื่อถวายพระภิกษุสงฆ์ นอกจากนี้ครอบครัวของคนชั้นสูงส่งเสริมให้สตรีมีการศึกษาเกี่ยวกับการร้อยพวงมาลัยในรูปแบบต่างๆ ซึ่งแสดงถึงความอ่อนโยนละเอียดลออ และบ่งบอกความเป็นกุลสตรีที่ดี จนเป็นศาสตร์ของคนชั้นสูง

มาลัยในวัฒนธรรมพื้นบ้าน
สามัญชนทั่วไปมีการใช้พวงมาลัยเกี่ยวข้องในวิถีชีวิตเช่นเดียวกับวัฒนธรรมหลวง อาทิเช่น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง นอกจากนี้ ประเทศไทยมีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติมาตั้งแต่โบราณ มีประติมากรรมรูปพระพุทธเจ้าเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนพระพุทธเจ้าตามความเชื่อ ไว้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจในการแสดงออกถึงความเคารพในพระพุทธองค์นอกจากการประพฤติตนอยู่ในศีลธรรม เรียกว่า การปฏิบัติบูชา แล้วมีการแสดงออกโดยการบูชาด้วยเครื่องสักการะที่เป็นสิ่งของ เช่น ดอกไม้ธูปเทียน งานประดิษฐ์ดอกไม้บูชา การจัดดอกไม้บูชาหน้าพระ มาลัยไหว้พระ แบ่งเป็นลักษณะใหญ่ๆได้ ดังนี้

๑. ลักษณะหน้าที่ใช้สอย : มาลัยที่ร้อยชายเดียว ใช้สำหรับไหว้พระ (ตั้งบนพานหน้าพระไม่นิยมคล้องคอหรือแขวนไว้กับองค์พระ)  หากพวงใหญ่ใช้คล้องมือ คล้องแขน ใช้บูชาเทพหรือผู้ใหญ่ที่นับถือ
๒. ลักษณะรูปแบบของการร้อย : มาลัยแบบกลม แบบแบน แบบรี แบบซีกหรือเสียว แบบพวงดอกไม้ ฯลฯ
๓. แบ่งตามลักษณะโครงร่างๆ ทั่วไป เช่น มาลัยแบบลูกโซ่ แบบเถา แบบเปีย แบบสัตว์ชนิดต่างๆ ฯลฯ


ดอกไม้ที่ใช้ร้อยมาลัย
นิยมใช้ดอกไม้สดและมีชื่อเป็นมงคล มีความหมายในทางมงคลตามชื่อ
ดอกรัก หมายถึง ความรักที่แท้ ความสดชื่น
ดอกบานไม่รู้โรย หมายถึง ความมั่นคง รักใคร่กลมเกลียว
ดอกกุหลาบ หมายถึง ความบริสุทธิ์ผุดผ่อง อ่อนโยน มีกลิ่นหอมเย็น นิยมร้อยไหว้พระ ไหว้พ่อแม่ ไหว้ผู้ใหญ่
ดอกบัว หมายถึง ความศรัทธา ความเบ่งบาน อิ่มเอิบ
ดอกดาวเรือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง ประดุจมากมีไปด้วยทองคำ
ดอกพิกุล หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ ในการประกอบพิธีสมัยโบราณนิยมโปรยดอกพิกุล ร้อยมาลัยชายเดียว หอมทนนาน
ดอกจำปี หมายถึง รักนิรันด์ ชีวิตราบรื่นสดใส รุ่งเรือง
ดอกจำปา หมายถึง ดอกไม้ตัวแทนความรักในสมัยโบราณ
ดอกกล้วยไม้ หมายถึง การดูแล ความหมั่นเพียร อดทน ความประทับใจ
ดอกพุด หมายถึง บริสุทธิ์ สมบูรณ์ แข็งแรง เจริญมั่นคง

พวงมาลัยในปัจจุบัน
ในปัจจุบันพวงมาลัยได้ถูกใช้อย่างแพร่หลาย มีจุดประสงค์ที่หลากหลายออกไป นอกจากการนำไปใช้สักการะบูชาเพียงอย่างเดียว วัสดุที่ใช้ทำพวงมาลัยมีการเปลี่ยนแปลงตามเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการที่มีหลากหลาย เช่น สบู่ เทียนหอม พลาสติก กระดาษ


----------------------------------------
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม (ที่มาข้อมูล)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.257 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 09 เมษายน 2567 09:45:40