[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 04:43:37 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: จารึกหลังพระพุทธรูปจำหลักศิลปะสุโขทัย  (อ่าน 292 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5436


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 30 มีนาคม 2566 14:48:51 »



พระพุทธรูปจำหลัก ศิลปะสุโขทุัย

จารึกหลังพระพุทธรูปจำหลักศิลปะสุโขทัย


โบราณวัตถุชิ้นหนึ่งในห้องจัดแสดงนิทรรศการสุโขทัย ณ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ ชั้น ๒ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ซึ่งเก็บรักษาไว้ระหว่างการปรับปรุงห้องจัดแสงนิทรรศการสุโขทัย คือ โบราณวัตถุ หมายเลขทะเบียน ๒๓๔๕ ด้านหนึ่งจำหลักภาพพระพุทธรูปลีลา แบบศิลปะสุโขทัย กำหนดอายุไว้ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ แต่มีสภาพชำรุดหักหายส่วนล่างไป คงเหลือเฉพาะส่วนบนตั้งแต่พระรัศมีจนถึงพระอุระ มีความสูง ๙.๑ เซนติเมตร กว้าง ๗ เซนติเมตร และหนา ๐.๒ เซนติเมตร

ประวัติในทะเบียนโบราณวัตถุของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร บันทึกว่า ขุดพบที่ป่าปูน ตำบลบ้านไร่ เมืองศรีสัชนาลัย  นายปุ่น หรุ่นเจริญ อำเภอหาดเสี้ยว จังหวัดสวรรคโลก ถวายเมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๔  จากประวัติสันนิษฐานว่า ถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ขณะทรงดำรงตำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสภา ซึ่งทรงมีหน้าที่ในการตรวจรักษาของโบราณในพระราชอาณาเขต และจัดการพิพิธภัณฑสถาน จึงมีผู้นำของโบราณชิ้นเยี่ยม และทรงคุณค่าเป็นจำนวนมากมาถวายไว้เป็นสมบัติของชาติ

รูปแบบศิลปกรรม
รูปแบบศิลปกรรมที่ปรากฏบนแผ่นจารึก เป็นพระพุทธรูปจำหลักมีพระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระเนตรเรียวยาวปลายตวัดขึ้นอย่างงดงาม พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์มีริ้วหยักเป็นคลื่น พระหนุเป็นปม  ขมวดพระเกศาใหญ่ พระเกตุมาลามียอดเป็นรัศมีเปลวสั้นๆ คงด้วยข้อจำกัดของวัสดุ ครองจีวรห่มเฉียง สังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน ปลายแยกเป็นสองแฉก ยกพระหัตถ์ซ้ายขึ้นเสมอพระอุระ หันฝ่าพระหัตถ์ออกด้านหน้า พระอังคุฐ (นิ้วโป้ง) กับพระดัชนี (นิ้วชี้) ชนกันเป็นวงกลม เป็นลักษณะของการแสดงธรรม (วิตรรกะมุทรา)

พุทธลักษณะของพระพุทธรูปเป็นศิลปะสุโขทัย หมวดใหญ่ ที่นิยมสร้างในสมัยสุโขทัย ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ แต่มีลักษณะพระพุทธรูปสุโขทัยระยะแรก คือ ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน ซึ่งเดิมเรียกว่า หมวดวัดตะกวน ซึ่งอาจรับอิทธิพลศิลปะล้านนาระยะแรกหรือศิลปะปาละที่ผ่านมาทางพุกาม ดังเช่น พระพุทธรูปปูนปั้น พบที่วัดพระพายหลวง สุโขทัย  อย่างไรก็ตาม แม้เหลือเพียงภาพจำหลักพระพุทธองค์กระทำวิตรรกะมุทราด้วยพระหัตถ์ซ้าย เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกับรูปแบบศิลปะของพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยแล้ว อิริยาบถของพระพุทธรูปที่จำหลักนี้คงเป็นพระพุทธรูปลีลาที่เกิดขึ้นตั้งแต่ราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ และแพร่หลายอย่างมากในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ และมีลักษณะทางศิลปกรรมแบบเดียวกับพระพุทธรูปหมวดใหญ่ ที่นิยมสร้างในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น พระพุทธรูปลีลาสลักบนแผ่นหิน พระพิมพ์ดินเผา ภาพสลักบนรอยพระพุทธบาทสำริด สมัยสุโขทัย ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และพระพุทธรูปลีลาแบบลอยตัว สำริด วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพฯ ที่มาของการสร้างพระพุทธรูปลีลา น่าจะมาจากพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากดาวดึงสวรรค์ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปะลังกา ที่มีอิทธิพลต่อพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัยเป็นอย่างยิ่ง

หากพิจารณาขนาดพระพุทธรูปลีลาสลักบนแผ่นหินนี้กับพระพุทธรูปลีลารายการอื่นที่กล่าวมาแล้ว แสดงให้เห็นชิ้นส่วนปัจจุบันคงเหลือเพียงหนึ่งในสาม ดังนั้น หากคาดคะเนขนาดเฉพาะส่วนองค์พระพุทธรูปลีลาที่ไม่หักชำรุดเสียหายไป แผ่นศิลาจำหลักพระพุทธรูปลีลาเต็มองค์ คงมีขนาดประมาณ ๒๐-๒๗ เซนติเมตร



พระพุทธรูปปูนปั้นแบบสุโขทัย ระยะแรก อายุราวครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๑๙
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง สุโขทัย



(ภาพ ๑-๒) แผ่นหินสลักพระพุทธรูปลีลา และพระพิมพ์ลีลาดินเผา
               อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เก็บรักษาที่ห้องสุโขทัย อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์
               พิพิธภัณฑสถาแห่งชาติ พระนคร
(ภาพ ๓-๔) รอยพระพุทธบาท สำริด และภาพขยายพระพุทธเจ้าบนรอยพระพุทธบาท
               พบจากวัดเสด็จ เมืองกำแพงเพชร  ศิลปะสุโขทัย อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐



ที่มา (ข้อมูล/ภาพ) : "จารึกหลังพระพุทธรูปจำหลักศิลปะสุโขทัย" นิตยสารศิลปากร  กรมศิลปากร

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 เมษายน 2566 11:15:51 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5436


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 03 เมษายน 2566 17:11:27 »


(ภาพซ้าย) พระพุทธรูปลีลา สำริด อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ได้จากวัดราชธานี จังหวัดสุโขทัย
              ปัจจุบันประดิษฐานที่วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร
(ภาพขวา) ภาพสันนิษฐานเต็มองค์ของพระพุทธรูปจำหลักศิลปะสุโขทัย
              วาดโดย นายพจศกร ศรีจันทร์กาศ  นายช่างศิลปกรรมอาวุโส
              สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ


การค้นพบอักษรจารึก
แม้ว่าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ได้คัดสรรของชิ้นเยี่ยมมาจัดแสดงให้ประชาชนร่วมชื่นชมอย่างสม่ำเสมอก็ตาม แต่โบราณวัตถุบางรายการมิได้มีความงดงามเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่มีคุณค่าด้านอักขรวิทยาซ่อนอยู่ด้วย เช่น พระพุทธรูปจำหลักศิลปะสุโขทัยชิ้นนี้ เป็นต้น  สันนิษฐานว่า อาจเป็นเพราะของชิ้นเล็ก หรือลักษณะตัวอักษรไม่สอดคล้องกับศิลปะสุโขทัย ซึ่งควรเป็นอักษรไทยสุโขทัย หรืออักษรขอมสุโขทัย จึงไม่ได้ให้ความสำคัญบันทึกข้อมูลไว้เป็นหลักฐาน จนกระทั่งได้รับงบประมาณปรับปรุงการจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อ พ.ศ.๒๕๖๓ นางสาวศรินยา ปาทา ภัณฑารักษ์ชำนาญการ กลุ่มวิจัย สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ได้นำภาพถ่ายโบราณวัตถุและจารึก มาขอให้ตรวจสอบคำอ่านกับทะเบียนจารึกของกลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ เพื่อต้องการนำคำอ่านและคำแปลของจารึกหลักนี้ไปประกอบการจัดแสดง จึงพบว่าจารึกหลักนี้ยังไม่มีทะเบียน และอ่านคำแปลมาก่อน


(บน) จารึกเจ้าวัดบริพารภิกษุ สท.๕๔   (ล่าง) จำลองตัวอักษรจารึกเจ้าวัดบริพารภิกษุ
ที่มา : กรมศิลปากร "จารึกในประเทศไทย" เล่ม ๕ อักษรขอม อักษรธรรม และอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐,๒๕๒๙

เมื่อพิจารณารูปลักษณะตัวอักษรของจารึกหลังพระพุทธรูปจำหลักชิ้นนี้แล้ว สรุปได้ว่าเป็นจารึกอักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เนื่องจากมีรูปลักษณะตัวอักษรคล้ายคลึงกับจารึกเจ้าวัดบริพารภิกษุ ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย เลขทะเบียนจารึก สท.๕๔ หลายตัวอักษร เช่น



แม้ว่าจารึกเจ้าวัดบริพารภิกษุจะเป็นจารึกลานทองคำ ที่มีขนาดความกว้างเพียง ๒.๔ เซนติเมตร ยาว ๖.๘ เซนติเมตร แต่สามารถจารึกข้อความได้ถึง ๖ บรรทัด นับว่าเป็นจารึกลานขนาดเล็กมาก แต่อาจารย์ก่องแก้ว วีระประจักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอักษรศาสตร์ ขณะเป็นนักภาษาโบราณได้คัดจำลองตัวอักษรไว้เป็นอย่างดีที่สุดตั้งแต่วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๖ จึงสามารถนำจารึกหลังพระพุทธรูปจำหลักศิลปะสุโขทัยมาศึกษาเปรียบเทียบรูปอักษรได้อย่างชัดเจน กระทั่งสามารถสรุปอายุสมัยของจารึกหลักนี้ได้ว่าเป็นตัวอักษรธรรมล้านนาที่ร่วมสมัยกับจารึกเจ้าวัดบริพารภิกษุ สอดคล้องกับพุทธศิลปะสุโขทัยของโบราณวัตถุ ซึ่งได้ประมาณอายุไว้ก่อนหน้านี้แล้ว


ข้อความและสาระจากจารึก
ศิลาจารึกหลักนี้มีเนื้อหาเป็นส่วนหนึ่งของ อาฏานาฏิยปริตร ซึ่งเป็นพระพุทธมนต์ที่เชื่อว่าสามารถป้องกันอุปัทวอันตรายทั้งปวงได้ แต่ยังไม่จบบทเพราะศิลาจารึกหักหายไปประมาณ ๒ ส่วน สอบเทียบกับข้อความในหนังสือมนต์พิธีสำหรับพระภิกษุสามเณรและพุทธศาสนิกชนทั่วไป รวบรวมโดยพระครูสมุห์ เอี่ยม สิริวณฺโณ วัดราษฎร์บำรุง อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๓ มีข้อความส่วนใหญ่ถูกต้องตรงกัน เฉพาะส่วนที่เป็นตัวเข้มเท่านั้น มีข้อน่าสังเกตว่า ข้อความในจารึกเป็นการกล่าวสรรเสริญพระพุทธคุณของพระพุทธเจ้าจำนวน ๑๙ พระองค์ ชวนให้สันนิษฐานว่า ภาพพระพุทธรูปจำหลักด้านหน้าจารึกนี้ ผู้สร้างคงมุ่งหมายให้เป็นภาพของพระพุทธเจ้านั่นเอง

ข้อความในจารึก และบทอาฏานาฏิยปริตรที่นำมาแสดงต่อไปนี้เฉพาะส่วนที่ปรากฏในจารึกจะพิมพ์เป็นตัวเข้ม ดังนี้


              นะโม เม สัพพะพุทธานัง     อุปปันนานัง มะเหสินัง
              ตัณหังกะโร มะหาวีโร เมธังกะโร มะหายะโส
              สะระณังกะโร โลกะหิโต    ทีปังกะโร ชุตินธะโร
              โกณฑัญโญ ชะนะปาโมกโข มังคะโล ปุริสาสะโก
              สุมะโน สุมะโน ธีโร    เรวะโต ระติวัฑฒะโน
              โสภิโต คุณะสัมปันโน อะโนมะทัสสี ชะนุตตะโม
              ปะทุโม โลกะปัชโชโต    นาระโท วาระสารถี
              ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร สุโมโธ อัปปะฏิปุคคะโล
              สุชาโต สัพพะโลกัคโค ปิยะทัสสี นะราสะโภ
              อัตถะทัสสี การุณิโก     ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท
              สิทธัตโถ อะสะโม โลเก ตัสโส จะ วะทะตัง วะโร
              ปุสโส จะ วะระโท พุทโธ     วิปัสสี จะ อะนูปะโม
              สิขี สัพพะหิโต สัตถา เวสสะภู สุขะทายะโก
              กุสันโธ สัตถะวาโห     โกนาคะมะโม ระณัญชะโห
              กัสสะโป สิริสัมปันโน โคตะโม สักยะปุงคะโวฯ

รายละเอียดและคำอ่าน คำแปลจารึกนี้ได้จัดทำทะเบียนประวัติตามลักษณะหนังสือจารึกในประเทศไทยของหอสมุดแห่งชาติ ตามลำดับต่อไปนี้



ภาพจารึกหลังพระพุทธรูปจำหลัก ศิลปะสุโขทัย
เก็บรักษาที่ห้องสุโขทัย อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร


จารึกหลังพระพุทธรูปจำหลักศิลปะสุโขทัย

              ทะเบียนจารึก    
              อักษร    ธรรมล้านนา
              ภาษา             บาลี
              ศักราช ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๐
              จารึกอักษร     จำนวน ๑ ด้าน มี ๑๖ บรรทัด
              วัตถุจารึก หินชนวน
              ลักษณะวัตถุ     แผ่นรูปใบเสมา (ชำรุด เหลือเพียงครึ่งส่วนครึ่งบน)
              ขนาดวัตถุ กว้าง ๗ เซนติเมตร สูง ๙.๑ เซนติเมตร หนา ๐.๖ เซนติเมตร
              บัญชี/ทะเบียน     สท.๘๘ (เลขทะเบียนในฐานข้อมูลทะเบียนของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
    พระนคร เลขทะเบียน ๒๓๔๕)
              พบเมื่อ -
              สถานที่พบ     ขุดพบที่ป่าปูน ต.บ้านไร่ เมืองศรีสัชนาลัย อ.สวรรคโลก สุโขทัย
              ผู้พบ     -
              ปัจจุบันอยู่ที่ ห้องสุโขทัย ชั้น ๒ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
              พิมพ์เผยแพร่     นิตยสารศิลปากรปีที่ ๖๕ เล่ม ๖
              ประวัติ ศิลาจารึกนี้ นายปุ่น หรุ่นเจริญ ชาวอำเภอหาดเสี้ยว จังหวัดสวรรคโลก
    (จังหวัดสุโขทัย) ถวาย เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๔
         ด้านหน้าของจารึก จำหลักลายเป็นพระพุทธรูปลีลา แต่ชำรุดเหลือ
    เพียงส่วนท่อนบน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร อธิบายลักษณะ
พระพุทธรูปว่า เป็นแบบศิลปะสมัยสุโขทัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๐
    พระพักตร์พระพุทธรูปเป็นรูปไข่ เม็ดพระศกใหญ่มีพระเกตุมาลา และ
พระรัศมีเป็นเปลวรูปคล้ายดอกบัวตูม มีประภามณฑล ยกพระหัตถ์ซ้าย
    ขึ้นเสมอพระอุระ ลักษณะการแสดงธรรม มีสภาพชำรุด ที่กรอบด้านขวา
ขอบกะเทาะ เดิมจัดแสดงที่ห้องสุโขทัย-อยุธยา อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์
จนกระทั่งปรับปรุงการจัดแสดง เมื่อ พ.ศ.๒๕๖๓

              


                              คำแปล
ขอความนอบน้อมจงมีแก่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอความนอบน้อมจงมีแต่พระรัตนตรัย
คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ขอความนอบน้อมจงมีแต่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ คือ


              พระพุทธเจ้าพระนามว่า ตัณหังกร  ผู้มีความกล้าหาญ
              พระพุทธเจ้าพระนามว่า เมธังกร       ผู้มียศมาก
              พระพุทธเจ้าพระนามว่า สะระณังกร   ผู้มีความเกื้อกูลแก่ชาวโลก
              พระพุทธเจ้าพระนามว่า ทีปังกร      ผู้มีปัญญาอันรุ่งเรือง
              พระพุทธเจ้าพระนามว่า โกณทัญญะ         ผู้เป็นประมุขแห่งหมู่ชน
              พระพุทธเจ้าพระนามว่า มังคละ  ผู้เป็นบุรุษผู้ประเสริฐ
              พระพุทธเจ้าพระนามว่า สุมนะ      ผู้มีจิตใจงาม ผู้มีปัญญา
              พระพุทธเจ้าพระนามว่า เรวัตะ   ผู้ยังความยินดีให้เจริญ
              พระพุทธเจ้าพระนามว่า โสภิตะ      ผู้มีพระคุณสมบูรณ์ครบถ้วน
              พระพุทธเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสี   ผู้สูงสุดในหมู่ชน
              พระพุทธเจ้าพระนามว่า ปะทุมะ ผู้ทำโลกให้สว่าง
              พระพุทธเจ้าพระนามว่า นารทะ       ผู้เป็นผู้นำที่ประเสริฐ
              พระพุทธเจ้าพระนามว่า ปะทุมุตตระ   ผู้เป็นที่พึ่งของหมู่สัตว์
              พระพุทธเจ้าพระนามว่า สุเมธะ      ผู้เป็นบุคคลผู้เลิศ
              พระพุทธเจ้าพระนามว่า สุชาตะ   ผู้เลิศกว่าสัตว์โลกทั้งปวง
              พระพุทธเจ้าพระนามว่า ปิยะทัสสี  ผู้ประเสริฐกว่านรชน
              พระพุทธเจ้าพระนามว่า อัตถะทัสสี      ผู้มีความกรุณา
              พระพุทธเจ้าพระนามว่า ธรรมทัสสี   ผู้กำจัดความมืดให้เบาบางลง
              พระพุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ       (ผู้ไม่มีใครเสมอเหมือนในโลก)
นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ  อ่าน ถ่ายทอ
    นายจุง  ติบประโคน  แปล
นายเทิม  มีเต็ม  ให้คำปรึกษ



ที่มา (ข้อมูล/ภาพ) : "จารึกหลังพระพุทธรูปจำหลักศิลปะสุโขทัย" นิตยสารศิลปากร  กรมศิลปากร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 เมษายน 2566 17:14:37 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.298 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้